สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

รายชื่อโครงการ

jakkarin เมื่อ 31 ธ.ค. 2562 15:27 น.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์อาสาประชารัฐ “การพัฒนาการแปรรูปสิ่งทอและหัตถกรรมท้องถิ่น” (ปี 2563)ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด ๓ ประการ ได้แก่ (๑) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ น่ามาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (๒) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่งโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ (๓) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงต้องการพัฒนาสิ่งทอท้องถิ่นให้กับเกษตรกรปักผ้า ทำดอกไม้ ด้วยหัตถกรรม อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการประดิษฐ์และมีสิ่งทอท้องถิ่นซึ่งเป็นต้นทุนของชุมชน ใช้ความรู้ทางวิชาการด้านออกแบบสิ่งทอ แปรรูปผลิตภัณฑ์ การวางแผนในการประชาสัมพันธ์และด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การตลาดออนไลน์ รวมทั้งเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์การทำงานตรงตามสาขาวิชา และองค์ความรู้ที่เรียนโดยมีชุมชนเป็นฐานการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ผ่านโครงงานที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ของชุมชน มุ่งเน้นผลลัพธ์ในการแก้ปัญหาด้านความยากจน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ ให้สามารถสร้างฐานรายได้และขยายโอกาสทางการค้า ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางและลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้
rawipha_lpru เมื่อ 29 พ.ย. 2562 16:47 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปางการประเมินการจัดการพลังงานในกระบวนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้นต่อการปรับเปลี่ยนเตาผลิจไอน้ำก้อนเห็ด (ปี 2562)โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการจัดการพลังงาน ในกระบวนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ต่อการปรับเปลี่ยนเตาผลิตไอน้ำนึ่งก้อนเห็ด ผู้วิจัยได้ทำศึกษา
เพื่อเปรียบเทียบการลดใช้พลังงานในกระบวนการผลิตเห็ด การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของเตาผลิตไอน้ำ พร้อมทั้งศึกษาต้นทุนการผลิต โดยมีการเก็บข้อมูลการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตเห็ดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ซึ่งประกอบไปด้วย การบดขี้เลื่อย การบดผสม การอัดก้อนเชื้อเห็ด การนึ่งก้อนวัสดุเพาะเห็ด การใส่เชื้อเห็ด การนำก้อนวัสดุพักในโรงเรือน การรดน้ำ และการเก็บเกี่ยว
ผลการประเมิน พบว่า สัดส่วนการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตนั้นมีการใช้พลังงาน ในการนึ่งก้อนวัสดุเพาะเชื้อเห็ด มีปริมาณการใช้พลังงาน 84% กระบวนการรดน้ำ สัดส่วนการใช้พลังงาน 12.8% และมีกระบวนการบดผสมมีสัดส่วนใช้พลังงาน 3% สำหรับการลดใช้พลังงานความร้อนจากการใช้เชื้อเพลิงแข็ง (ฟืน) ของเตาผลิตไอน้ำทั้ง 3 ชนิด เปรียบเทียบกับเตาดั้งเดิม ซึ่งเป็นถังขนาด 200 ลิตรได้แก่ เตานึ่งแบบ 3 กลับ เตาฟิวชัน และเตาลุงชูชาติ จะเห็นได้ว่า มีการลดใช้พลังงานของเตาทั้ง 3 ชนิด โดย เตาลุงชูชาติ มีการลดใช้พลังงาน 1,252.7 MJ/tonก้อนเชื้อเห็ด และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในกระบวนการผลิตต่อปีของเตาผลิตไอน้ำทั้ง 3 ชนิด พบว่า เตาลุงชูชาติมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด 1,563.41 kgCO2 –eq /ปี สำหรับการคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตเห็ดที่มีต้นทุนมากที่สุด คือ ขี้เลื่อย 600 บาท/ton ก้อนเชื้อเห็ด
anunya เมื่อ 29 พ.ย. 2562 15:45 น.
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่โครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ ปี พ.ศ.2560 ชุมชนบ้านป่าตึงงาม (ปี 2560)โครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ เป็นโครงการสนับสนุนให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะและเรียนรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตามแนวพระราชดำริ โดยเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ส่งเสริมให้เยาวชนได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน อันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากรน้ำของชุมชนที่เยาวชนเหล่านั้นเป็นเจ้าของ รวมถึงเชื่อมโยงไปสู่เยาวชนกลุ่มอื่นๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายการรับผิดชอบต่อสังคมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ผ่านกระบวนการคิด ไตร่ตรอง ตัดสินใจ และลงมือทำร่วมกันทั้งในระดับมหาวิทยาลัย โรงเรียน และชุมชน ในการนี้เยาวชนยังได้รับการสร้างทักษะในการประสานการพัฒนากับหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ เพื่อไปสู่แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด
การประกวดพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 ภายใต้ “โครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ สนองแนวพระราชดำริ” และจัดประกวดต่อเนื่องมาแล้ว 9 ปี โดยดำเนินงานภายใต้มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ และน้อมนำแนวพระราชดำริไปปรับใช้ในการจัดการทรัพยากรน้ำของโรงเรียนและ/หรือชุมชน เยาวชนจะได้มีความรู้ความเข้าใจและนำเทคโนโลยีไปใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้เรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำของโรงเรียนหรือชุมชนอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 22 พ.ย. 2562 10:20 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง โครงการย่อยที่ 6: การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าขมิ้นชันสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชัน (ปี 2560)ขมิ้นชัน เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าขมิ้นชันมีสีเหลืองเข้ม จนถึงสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เหง้าของขมิ้นชัน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ ใช้รักษาโรคผิวหนัง ผื่น คัน โดยการทำเป็นผงผสมน้ำ หรือเอาเหง้าสดฝนน้ำทา สามารถรักษาแผลได้ดี ขมิ้นชันเป็นพืชสมุนไพรพื้นเมืองของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก ขมิ้นชันที่ปลูกในภาคใต้ พบว่ามีคุณสมบัติที่ดีที่สุด ซึ่งพื้นที่ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เป็นแหล่งผลิตขมิ้นชันที่สำคัญ จากการทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในท้องถิ่น ปี 2558 โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปขมิ้นแห้งและขมิ้นผง ซึ่งเป็นการแปรรูปเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาขมิ้นชันจากขมิ้นชันสดที่เก็บรักษาได้ในระยะเวลาสั้น เมื่อนำมาทำแห้งและทำเป็นผงจะทำให้เก็บรักษาขมิ้นชันได้นานและยังเป็นการเพิ่มทางเลือกในการใช้ประโยชน์ของขมิ้นชัน เช่น ยาทาภายนอก ซึ่งรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลาก เกลื้อน รักษาแผลพุพอง สำหรับการใช้ภายใน จะช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น อาหารไม่ย่อย ทดแทนการใช้ยาในปัจจุบัน (พนิดา, 2540) สำหรับทางเภสัชวิทยาขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการขับลม เนื่องจากขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย ฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นสามารถนำไปใช้สำหรับเป็นเครื่องสำอางค์หรือเครื่องประทินผิวต่างๆ ที่มีขมิ้นเป็นส่วนผสมได้
ตารางที่ 1 แสดงผลการวิเคราะห์คุณภาพของขมิ้นชันจากแหล่งต่างๆ
ตัวอย่างขมิ้น ปริมาณเคอร์คูมินอยด์ น้ำมันหอมระเหย
ขมิ้นชันตำบลลานข่อย 9.55% w/w 6.50% v/w
ขมิ้นอ้อย ราชบุรี 2.02% w/w 6.50% v/w
ขมิ้นชัน ราชบุรี 6.40% w/w 7.50% v/w
References not less than 5.0% w/w 6.0% v/w
ซึ่งจะเห็นได้ว่าขมิ้นชันที่ปลูกในพื้นที่ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นแหล่งที่ปลูกขมิ้นที่ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพมากอีกแหล่งหนึ่ง แต่เนื่องจากราคาขมิ้นสดตกต่ำ ช่องทางการจำหน่ายน้อยและยังมีการผูกขาดของราคาของพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาการขายขมิ้นชัน ทั้งนี้ทางผู้วิจัยตระหนักว่าการที่ชุมชนมีทรัพยากรที่มีคุณภาพดี แต่การนำไปใช้ประโยชน์ยังน้อยนั้นเป็นการเสียโอกาสในการทำรายได้ให้แก่ชุมชนเป็นอย่างมากซึ่งควรให้การสนับสนุนในแง่ของการปลูกและการแปรรูปให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการนำมาใช้ประโยชน์โดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากยังไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานใดที่จะเข้าไปส่งเสริมในการวิจัยและพัฒนา เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ซึ่งทางคณะผู้วิจัยได้ทำโครงการวิจัยกับทางกลุ่มผู้ปลูกขมิ้นชันเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2559 ในหัวข้อเรื่อง การสำรวจข้อมูลและการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของขมิ้นชันในพื้นที่ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นของเกษตรกรผู้ปลูกในแง่ของการปลูก ปริมาณผลผลิต ปัญหาการเพาะปลูกและการวิเคราะห์สาระสำคัญของขมิ้นชัน คือ ปริมาณเคอร์คิวมินอยด์ และน้ำมันหอมระเหย เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเข้ามาพัฒนาให้กับชุมชนต่อไป อีกทั้งทางคณะผู้วิจัยได้มีการสำรวจความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชันในตำบลลานข่อยร่วมกับเทศบาลตำบลลานข่อย พบว่า ความต้องการในลำดับแรกของชุมชนคือต้องการความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ต้องการฝึกปฏิบัติในการแปรรูปขมิ้นชันเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ซึ่งคาดหวังว่าจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพได้
ทั้งนี้ทางคณะผู้วิจัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาการใช้ประโยชน์ของขมิ้นชันดังกล่าว จึงมีความสนใจที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการให้กับเกษตรกรตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และช่วยผลักดันในการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อพัฒนาให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นได้มาตรฐานคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนต่อไป
suparp kanyacome เมื่อ 4 พ.ย. 2562 15:05 น.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติโครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ (ปี 2563)การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้เป็นผลมาจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี การติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่งที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ประเทศต่าง ๆ มีการกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับบริบทต่าง ๆ ของโลกที่เปลี่ยนไป

ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้กำหนดกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะ 20 ปีข้างหน้า หรือกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) โดยในเบื้องต้นได้กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทยว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่เป็น 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สู่การปฏิบัติ โดยการมุ่งเน้นการพัฒนาที่จะเป็นการวางพื้นฐานที่สามารถสานต่อการพัฒนาในระยะต่อไป เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์กับการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก” โดยได้จัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในการเพิ่มขีดความสามารถ และศักยภาพการแข่งขันในระดับนานาชาติ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน รวมถึงการพัฒนาสังคมไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เป็นการพัฒนาจากประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง

คณะทำงานจึงต้องการได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนวิสาหกิจของประเทศ ทั้งนี้เพื่อจะทำให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในชุมชนสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการประกอบกิจการ และวางรากฐานของการขับเคลื่อนไปสู่ความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในที่สุด
SSOSWU เมื่อ 1 พ.ย. 2562 15:31 น.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (ปี 2562)ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรหรือสารจากธรรมชาติได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคเชื่อว่าสามารถทำให้เกิดความสะอาด และความสวยงามต่อร่างกาย และมีความปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี ทำให้การผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยวิสาหกิจชุมชนเพื่อประกอบอาชีพแพร่หลายขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์จำนวน 20 รายการ และนำมาตรวจสอบคุณภาพทางด้านกายภาพ และจุลชีววิทยา พบว่าผลิตภัณฑ์ประมาณร้อยละ 10 ไม่ผ่านการทดสอบและจากการออกตรวจประเมินสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายกพบว่าสถานที่ผลิตเครื่องสำอางหลายแห่งยังไม่ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้
ในปี พ.ศ. 2557-2561 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและวิสาหกิจชุมชน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการใช้สมุนไพร โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน จัดอบรมให้ความรู้ ให้คำปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ให้บริการตรวจการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายการยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางวิสาหกิจชุมชนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข จากการประเมินผลการดำเนินการของโครงการพบว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ มีจำนวนผู้ประกอบการที่ให้ความสนใจจำนวน และมีการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการวิจัยและการเรียนการสอน เพื่อสานต่องานบริการวิชาการแก่ชุมชนโดยมุ่งเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและอย่างยั่งยืน ปี พ.ศ. 2562-2566 คณะเภสัชศาสตร์มีความประสงค์ที่จะจัดโครงการบริการวิชาการต่อยอดจากโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและวิสาหกิจชุมชน จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน โดยคณะเภสัชศาสตร์มีความพร้อมทางด้านองค์ความรู้ของคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต มีหลักสูตรการศึกษาและประสบการณ์ที่จะเป็นปัจจัยที่เอื้อให้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สามารถดำเนินการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
SSOSWU เมื่อ 1 พ.ย. 2562 15:05 น.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก (ปี 2562)ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 โดยมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ10.5 ปัจจุบันมีจำนวนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากในปี 2558 มีประชากรผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมด และในปี 2564 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 20 ซึ่งจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี 2557 พบว่าโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุไทยเป็นโรคความดันโลหิต ร้อยละ 41.4 โรคเบาหวาน ร้อยละ 18.2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 2.15 และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของการเกิดโรคเรื้อรังนั้นส่วนใหญ่เป็นผลจากวิธีการใช้ชีวิต พฤติกรรมเสี่ยงเรื่องการบริโภคอาหารหวานมันเค็มจัด ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และมีความเครียด หากไม่ได้มีการรักษาควบคุมอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเสียชีวิตได้ และมีปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุที่ไม่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น จากสถิติในปี 2558 ดังนี้ ผู้สูงอายุที่อยู่เพียงลำพังคิดเป็น ร้อยละ 9 และอยู่เพียงลำพังกับคู่สมรสคิดเป็นร้อยละ 19, ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ร้อยละ 34, ผู้สูงอายุยังใช้ส้วมแบบนั่งยอง คิดเป็นร้อยละ 54 และร้อยละ 18 มีห้องนอนอยู่บนชั้นสองของบ้าน ซึ่งจากปัจจัยข้างต้นจะส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้และยังมีส่วนทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะจิตที่แย่ลง เมื่อประชากรของประเทศไทยสูงวัยขึ้น ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายของรัฐในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล เมื่อรวมค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกับค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการด้าน อื่นๆ ที่จะต้องจัดสรรให้แก่ผู้สูงอายุแล้ว รัฐจะต้องมีภาระทางการเงินที่หนักมาก ถ้าไม่เตรียมแผนหรือมาตรการที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอนามัย และสวัสดิการของผู้สูงอายุ แผนหรือมาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยต้องสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรในพื้นที่มีวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว และมีความเฉพาะของพื้นที่ เป็นการนำใช้ศักยภาพของชุมชน ในอนาคตประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่อยู่ในภาระพึ่งพิงเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง คือ ผู้ที่ช่วยตัวเองไม่ได้ในการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเนื่องมาจากสาเหตุแห่งความชรา หรือ การเจ็บป่วย ผู้สูงอายุเหล่านี้ต้องการผู้ดูแลระยะยาว
จากสถิติของจังหวัดนครนายกมีผู้สูงอายุจำนวน 45,118 คน คิดเป็นร้อยละ 17.46 ของประชากรในจังหวัดจำนวน 258,358 คน และจำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 28,499 คน คิดเป็นร้อยละ 63.16 แบ่งเป็น โรคความดันโลหิตสูงมี 19,010 คน คิดเป็นร้อยละ 47.65 โรคเบาหวานมี 8,090 คน คิดเป็นร้อยละ 20.27 และโรคหัวใจและหลอดเลือดมี 1,399 คน คิดเป็นร้อยละ 3.51 ส่วนข้อมูลสถานการณ์ระดับอำเภอบ้านนามีผู้สูงอายุจำนวน 10,986 คน คิดเป็นร้อยละ 17.23 ของประชากรในอำเภอจำนวน 63,759 คน และจำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 7,508 คน คิดเป็นร้อยละ 68.34 แบ่งเป็น โรคความดันโลหิตสูงมี 5,040 คน คิดเป็นร้อยละ 44.95 โรคเบาหวานมี 2,088 คน คิดเป็นร้อยละ 18.62 และโรคหัวใจและหลอดเลือดมี 380 คน คิดเป็นร้อยละ 3.39 และสถานการณ์ของตำบลบางอ้อมีผู้สูงอายุจำนวน 726 คน คิดเป็นร้อยละ 22.15 ของประชากรในอำเภอจำนวน 3,278 คน และจำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 645 คน คิดเป็นร้อยละ 90.1 แบ่งเป็น โรคความดันโลหิตสูงมี 416 คน คิดเป็นร้อยละ 57.30 โรคเบาหวานมี 179 คน คิดเป็นร้อยละ 24.66 และโรคหัวใจและหลอดเลือดมี 50 คน คิดเป็นร้อยละ 6.89 จากข้อมูลดังกล่าว สะท้อนถึงตำบลบางอ้อได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด และมีผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอัตราที่สูงกว่าระดับจังหวัด และประเทศ
การดำเนินการในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่มีอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยความร่วมมือกันของหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางอ้อ และ องค์การบริหารส่วนตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และแกนนำภาคประชาชน มีการดำเนินการ เช่น การสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ การจัดโครงการพัฒนาระบบการดูรักษาฟื้นฟู และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตำบลบางอ้อ การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุที่พัฒนาเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุที่กำลังดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตามความสนใจของผู้สูงอายุ และที่กำลังจะดำเนินงานคือโครงการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่ต้องการหารูปแบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหน่วยงานทั้งสองหน่วยงานได้สะท้อนข้อมูลจากการดำเนินการที่ผ่านมายังขาดความต่อเนื่อง จำนวนอาสาสมัครไม่เพียงพอสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ จึงยังไม่สามารถลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุมผู้สูงอายุทุกพื้นที่ โดยเฉพาะการนำใช้ข้อมูลสถานการณ์เพื่อการวางแผนที่ชัดเจน การติดตามสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาความรู้การดูแลที่นำไปสู่การทำงานวิจัยแบบ R2R และการจัดทำแผนพัฒนาตำบลได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจึงเกิดการคิดร่วมกันของ 3 ฝ่าย ในเบื้องต้น ที่จะพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของตำบลบางอ้อ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้สูงอายุ การค้นหาทุนทางสังคมที่ร่วมดูแลผู้สูงอายุ การออกแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่นำใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ร่วมกัน โดยคณะพยาบาลศาสตร์เข้าร่วมบูรณาการการทำงาน 2 ส่วน คือ บูรณาการการเรียนการสอนสำหรับนิสิตพยาบาลในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นปีที่ 2 และ รายวิชาการปฏิบัติการสุขภาพชุมชน ชั้นปีที่ 4 และ การบูรณาการการวิจัยเพื่อการพัฒนาข้อมูลตำบลที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ทุนทางสังคมในพื้นที่สำหรับดูแลผู้สูงอายุ และการจัดบริการของหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับพื้นที่ และนำเสนอแลกเปลี่ยนในระดับจังหวัด และ ประเทศต่อไป
SSOSWU เมื่อ 1 พ.ย. 2562 14:57 น.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)โครงการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรสู่ธุรกิจเพื่อสังคมต้นแบบ: การพัฒนาแผนการตลาดสำหรับกิจการเพื่อสังคม (ปี 2560-2562) (ปี 2562)มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของ Social Enterprise กิจการเพื่อสังคมและได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายพัฒนากิจการเพื่อสังคม ในฐานะหน่วยงานที่มีบุคลากรที่มีองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญการพัฒนาชุมชน การบริการทางวิชาการแก่ชุมชน และมีเครือข่ายความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาบริหารธุรกิจ รวมถึงธุรกิจเพื่อสังคมและได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสังคม ให้กับบุคคลภายนอก ผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไปซึ่งนอกเหนือจากนิสิตในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เข้มแข็งต่อไปในอนาคตตามปณิธานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม
โครงการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรสู่ธุรกิจเพื่อสังคมต้นแบบ : การพัฒนาแผนการตลาดสำหรับกิจการเพื่อสังคม เป็นหนึ่งในโครงการบริการวิชาการเพื่อสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรเขื่อนพระปรง กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ชุมชน สหกรณ์ สมาคม และผู้มี ส่วนได้เสีย ในพื้นที่เขื่อนพระปรง ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่จะยกระดับเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจธุรกิจเพื่อสังคม มีการดำเนินงานตามแผนธุรกิจทางการตลาดสำหรับกิจการเพื่อสังคม ให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชนได้ ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศชาติต่อไป นอกจากนี้ บุคลากร คณาจารย์ และนิสิตได้มีส่วนร่วมในการบริการวิชาการให้แก่ชุมชนพร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้มาใช้บูรณาการกับการวิจัย และการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องพัฒนาการเรียนการสอนแก่นิสิตให้มีประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมจริงและนำมาใช้
SSOSWU เมื่อ 1 พ.ย. 2562 14:32 น.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)โครงการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการจัดการขยะอินทรีย์ (ปี 2562)ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่สำคัญในโลกปัจจุบันซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของมนุษย์อันเนื่องมาจากความต้องการพื้นฐานและความต้องการความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ กระตุ้นให้มนุษย์พัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการในการนำทรัพยากรธรรมชาติใช้อย่างสะดวกสบายและง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการพัฒนากระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าทั้งที่เป็นสินค้าประเภททุน (CapitalGoods) และสินค้าบริโภค (Consumer Goods) ซึ่งกระบวนการผลิตนี้เองที่ก่อให้เกิดของเสียออกสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาอากาศเป็นพิษ ปัญหาด้านเสียง และผลของการบริโภคก็ทำให้เกิดของเสียกระจายสู่สิ่งแวดล้อมในรูปของขยะมูลฝอย น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ฯลฯ จากข้อมูลของแผนพัฒนาจังหวัดนครนายก (พ.ศ. 2561-2564) พบว่า จัวหัดนครนายกประสบปริมาณปัญหาขยะมูลฝอย ตกค้างสะสมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเภทขยะมูลฝอยเปียก (เศษอาหาร ผัก และผลไม้) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.94 ของขยะมูลฝอยทั้งหมด ซึ่งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีเก็บรวบรวมขยะและนำไปกำจัดมีจำนวน 27 แห่ง หากแต่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่ยังไม่มีการเก็บรวบรวมขยะมีจำนวน 18 แห่ง หรือร้อยละ 40 และศักยภาพในการเก็บรวบรวมขยะของจังหวัดได้ 126.03 ตัน/วัน จากอัตราการเกิดขยะ 148.33 ตัน/วัน และมีปริมาณขยะที่ส่งเสริมการกำจัดในครัวเรือน 22.3 ตัน/วัน
จากการประชุมร่วมกันกับ คุณนฤมล บุญเคลิ้ม นักวิจัยในโครงการนักวิจัยชุมชนรุ่นที่ 1 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พบว่า ตำบลหนองแสง กำลังประสบปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างต่อเนื่อง เพราะมีปริมาณขยะ 1 พันตันต่อวันหรือ 3,650 ตันต่อปี และไม่สามารถกำจัดขยะเองได้ ต้องนำไปเทกองและฝังกลบที่บ่อขยะเอกชนในอบต.นาหินลาด อีกทั้งยังขาดการส่งเสริมการกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือน ด้วยเหตุนี้ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงเล็งเห็นว่าการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนต้องมาจากความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่และเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของคณะฯ จึงได้จัด “โครงการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการจัดการขยะอินทรีย์” ขึ้น เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่มีความรู้และความเข้าใจในการจัดการขยะอินทรีย์โดยใช้ธรรมชาติบำบัด จนเกิดความความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชนของตน ในขณะเดียวกัน จะส่งผลถึงความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนอีกด้วย โดยมีการบูรณาการการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมร่วมกับพันธกิจด้านการเรียนการสอนและการทำวิจัย รวมทั้งมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างบุคลากรสายวิชาการ สายสนับสนุน รวมทั้งโรงเรียน เครือข่ายนักวิจัยชุมชน และประชาชนในพื้นที่
SSOSWU เมื่อ 1 พ.ย. 2562 14:07 น.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)โครงการการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : การจัดทำทะเบียนวัตถุและการจัดนิทรรศการ ปีที่ 2 (2560-2562) (ปี 2560)พิพิธภัณฑสถานนับเป็นแหล่งความรู้ที่มีความสำคัญ เป็นองค์กรหลักในการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อการเรียนรู้ในสังคม นอกจากจะช่วยปลูกฝังให้ประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนได้เห็นความสำคัญในมรดกของชาติ จนเกิดความรักความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยอันทรงคุณค่ายิ่งแล้ว พิพิธภัณฑสถานยังเป็นสถาบันการศึกษานอกระบบสำหรับการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ที่เพิ่มพูนและพัฒนาภูมิปัญญาให้แก่ประชาชนในสังคมทุกระดับ
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนเป็นสถานที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของชาวไทยพวน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมลักษณะทางวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของชาวไทยกลุ่มนี้จากสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย ได้แก่ ผ้าซิ่นไทยพวน โม่หิน ถังต้มกาแฟโบราณ อุปกรณ์ทำการเกษตร เครื่องมือทอผ้า เป็นต้น พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนจึงเป็นเสมือนแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทยมานานหลายร้อยปี
อย่างไรก็ตาม จากการจัดโครงการอย่างต่อเนื่องของคณะสังคมศาสตร์ (เงินรายได้ของคณะ) ในพื้นที่ของวัดฝั่งคลอง ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก จากการสรุปผลโครงการสังคมศาสตร์อาสาสู่ชุมชน ปี 5 ที่จัดขึ้นในปีงบประมาณ 2560 ทางคณะสังคมศาสตร์ได้จัดสำรวจความต้องการของชุมชนไปด้วยพร้อมๆกัน ซึ่งทางศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลและรับผิดชอบพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการจัดทำทะเบียนวัตถุในพิพิธภัณฑ์เพื่อช่วยจัดการให้พิพิธภัณฑ์มีความเป็นระบบและระเบียบมากขึ้น เนื่องจากสิ่งของในพิพิธภัณฑ์มักได้รับการบริจาคมาจากประชาชนในท้องถิ่น แต่ไม่เคยมีการทำเป็นทะเบียนรายชื่อหรือการจดบันทึกเกี่ยวกับหลักฐานต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน รวมถึงความต้องการในการนำความรู้ทางวิชาการด้านประวัติศาสตร์มาช่วยอบรมและทำให้เยาวชนในชุมชนพร้อมที่จะสืบสานการดูแลพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ต่อไปในอนาคต จากศักยภาพของคณะสังคมศาสตร์ในการส่งเสริมงานศิลปวัฒนธรรมและผูกพันกับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้คณะฯเล็งเห็นถึงการดำเนินการจัดทำทะเบียนวัตถุ พร้อมๆกับการช่วยทำให้เยาวชนรู้จักและเริ่มที่จะเรียนรู้การจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของตนซึ่งช่วยส่งเสริมการตระหนักและสำนึกรักท้องถิ่นและทราบประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษของตน ซึ่งเยาวชนและคนในชุมชนจะสามารถถ่ายทอดความรู้ในด้านต่างๆ และนำประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานของหน่วยงานตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะสังคมศาสตร์ได้งบประมาณในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวในปีงบประมาณ 2561 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัตถุในพิพิธภัณฑ์มีเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ในปีงบประมาณ 2562 โดยทางคณะสังคมศาสตร์ได้เพิ่มความช่วยเหลือในการจัดนิทรรศการของวัตถุในพิพิธภัณฑ์เพิ่มเข้ามาด้วย โดยเพิ่มคำอธิบายในวัตถุต่างๆ เพื่อเอื้อต่อการเป็นประโยชน์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไปในอนาคต
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงเล็งเห็นว่าการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนต้องมาจากความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ และเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของคณะฯ รวมถึงเพื่อให้เกิดการบูรณาการทั้งการเรียนการสอนและการวิจัย โดยโครงการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้นิสิตในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทมีประสบการณ์จริงจากการเข้าไปช่วยในการจัดการพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบของการปฏิบัติจริง ซึ่งส่วนมากบัณฑิตมักได้รับเพียงแต่การศึกษาจากภาคทฤษฎี โครงการดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมประสบการณ์ตรงในการดำเนินงานในพิพิธภัณฑ์อย่างแท้จริง สามารถปฏิบัติงานได้ทันทีตามความต้องการของหน่วยงานราชการต่างๆ
SSOSWU เมื่อ 1 พ.ย. 2562 13:52 น.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)โครงการการพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพในชุมชน : ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ (ปีที่ 1) (ปี 2561) (ปี 2562)หลักสูตรอัญมณีและเครื่องประดับ ได้ดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากงานวิจัยยาถมดำปราศจากตะกั่วอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2557 ถึงปีงบประมาณ 2561 ซึ่งชาวบ้านในชุมชน อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถเรียนรู้จากผลงานวิจัย แท่งถมดำปราศจากตะกั่วของมหาวิทยาลัย [1] พัฒนาทักษะและฝีมือในการสร้างต้นแบบเครื่องถมเงิน ที่มีลวดลายอันเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดสระแก้วได้ด้วยตนเอง และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน สร้างอาชีพและรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน จากการดำเนินโครงการบริการวิชาการที่ผ่านมา ได้วางรากฐานการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยร่วมกับการบูรณาการกับการเรียนการสอนและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน รวมถึงความร่วมมือของหลายภาคส่วน อาทิ สมาคมเครื่องถมและเครื่องเงินไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมช่างทองไทย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขตพื้นที่ 2 จังหวัดสระแก้ว และเทศบาลนครแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก โดยการสร้างเครือข่ายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ดำเนินการร่วมกับทางด้านการศึกษา เพื่อการเผยแพร่ความรู้ด้านต่างๆ ให้มีการเชื่อมโยงกับการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน เช่น การให้ความรู้ทางด้านธรณีวิทยาท้องถิ่น โดยมีความมุ่งหวังให้มีการพัฒนาอาชีพ สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในแต่ละด้าน รวมทั้งการสร้างแนวทางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยมีแผนการทำงานร่วมกันระหว่างคณะต่างๆ เพื่อให้เกิดการนำชุมชนในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม ภายใต้กรอบนโยบายประชารัฐ ให้มีการขยายฐานการทำงานเชื่อมโยงกับระดับสากล ยังผลให้การดำเนินโครงการที่ผ่านมา 5 ปี การวางกรอบแนวคิดการทำงานแบบบูรณาการเกิดผลสำเร็จ จนทำให้ผลงานเป็นที่ประจักษ์จนได้รับรางวัลผลงานวิจัยที่พัฒนาชุมชนในระดับชาติ การเปิดโอกาสให้เข้าร่วมแสดงผลงานกับนายกรัฐมนตรี การแสดงผลงานในงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ จนนำไปสู่การติดต่อพัฒนาสินค้าร่วมกับผู้ประกอบการซึ่งอยู่ระหว่างการขอรับการพิจารณาจาก สวทช. จนสามารถสร้างความตระหนักให้แก่ภาคเอกชนในแนวคิดของการสร้างหมู่บ้านต้นแบบทางเครื่องประดับ
การพัฒนาโครงการจะสำเร็จไปไม่ได้หากไม่มีความร่วมมือจากกลุ่มชุมชน ซึ่งการดำเนินงานในปีนี้มีแผนการดำเนินงานในการขยายเครือข่ายความร่วมมือกับหมู่บ้านเครื่องถมดำปราศจากตะกั่วและเครื่องเงิน อำเภอวัฒนานคร ร่วมกับชุมชนโดยรอบเพื่อพัฒนาความยั่งยืน โดยใช้แนวคิดของกลุ่มผู้นำชุมชนของการพัฒนาเยาวชนให้มีอาชีพและฝึกฝนฝีมือรวมถึงการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งมหาวิทยาลัยได้เห็นผลสำเร็จของการลงพื้นที่จนได้เยาวชนในชุมชนมาเรียนในหลักสูตรอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อนำกลับไปขับเคลื่อนชุมชนต่อไป ดังนั้น การวางแนวทางของการบริการวิชาการแบบกระจายเครือข่ายในปีนี้ จึงแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ ผลิตภัณฑ์และบริการ โดยขยายผลิตภัณฑ์จากเครื่องถม เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าของหลักสูตรแฟชั่นซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของ อ.วัฒนานคร โดยมุ่งหวังให้เกิดการบูรณาการของผลิตภัณฑ์เพื่อทำแบรนด์สินค้าและการตลาดต่อไปในอนาคต และการขยายแนวทางการบริการความรู้ ให้มีความหลากหลายทั้งทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยการสอนพื้นฐานการออกแบบของหลักสูตรออกแบบผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการสอนเทคนิคการทำเครื่องประดับให้กับนักเรียนแลกเปลี่ยนฮ่องกง โดยคาดหวังผลการทำงานแบบบูรณาการทีมคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต และการพัฒนาเครือข่ายต่างๆของชุมชน จะทำให้เกิดเพิ่มพูนความผูกพันและภูมิใจให้เยาวชน สร้างความตระหนักในการจัดการบริการวิชาการเพื่อสังคมของมหาวิทยาลัย และการสร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายของชุมชนจังหวัดสระแก้วด้วยกันเองนำมาซึ่งการพัฒนาชุมชนด้วยชุมชน แบบเครือข่ายบูรณาการ
จากผลสำเร็จของการพัฒนาพื้นที่แนวชายขอบประเทศกัมพูชา ของ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว จากการมีพื้นฐานทางด้านเครื่องประดับน้อยมาก ทำให้เกิดความมั่นใจหากมีการพัฒนาพื้นที่แนวชายขอบประเทศพม่า ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งเป็นแหล่งตลาดอัญมณีมาก่อน เนื่องจากการกระจายสินค้ามาจากเหมืองของประเทศพม่า แต่ปัจจุบันตลาดอัญมณีได้ซบเซาลงเนื่องจากการทำเหมืองพลอยในประเทศพม่าถูกจำกัดสิทธิโดยรัฐบาลพม่า ดังนั้นการพัฒนาความรู้ทางด้านธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ให้แก่ชุมชนจึงเป็นสิ่งที่ควรพัฒนาให้เกิดการกระจายความรู้ของชายขอบประเทศเพื่อเปิดโอกาสการเจรจากับรัฐบาลพม่าได้อีกครั้ง ทั้งนี้ทางผู้ดำเนินโครงการจึงได้ขยายกิจกรรมการบริการวิชาการเพิ่ม เพื่อพัฒนาและจัดการความรู้ทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อพัฒนาพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับร่วมกับการบูรณาการการเรียนการสอนให้นิสิตได้ลงพื้นที่ในการพัฒนาอีกด้วย
ทั้งนี้การจัดทำโครงการต่างๆ ทางกลุ่มคณาจารย์มีความประสงค์จะเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการต่างๆ ของแต่ละกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ข้ามเครือข่ายจากชุมชนสู่ภายนอก ด้วยวิธีการของสื่อออนไลน์ หรือการจัดหาแนวทางในการจัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้เกิดเป็นรายวิชาให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ ดังนั้นในปีงบประมาณนี้รูปแบบของการดำเนินการจะปรับเปลี่ยนเป็นการจัดกิจกรรมบริการวิชาการแบบมุ่งเป้าเพื่อสร้างแนวทางในการเกิดฐานการเรียนรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของชุมชนอย่างยั่งยืน
chompoo เมื่อ 1 พ.ย. 2562 13:28 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามลดการเผา ลด PM2.5 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (ปี 2563)นับตั้งแต่เริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศตะวันตกประมาณศตวรรษที่ 19 ทำให้มีปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งถือว่าเป็นก๊าชเรือนกระจก (Green House Gas) ที่สำคัญที่ออกสู่บรรยากาศเหนือพื้นผิวโลก (วิสุทธิ์ ใบไม้, 2548) จึงเป็นสาเหตุทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย กล่าวคือ จะมีก๊าชต่างๆ ในบรรยากาศ ทั้งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ และที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นเพิ่มสูงขึ้นมากซึ่งชั้นบรรยากาศนี้เสมือนเป็น “ผ้าห่ม” ปกคลุมโลกไว้หรือที่เรียกว่า ชั้นเรือนกระจก ที่ปิดกั้นความร้อนของโลกเอาไว้ จึงทำให้อุณหภูมิทั่วไปของโลกสูงขึ้นจนเกิดสภาวะที่เรียกว่า “ภาวะโลกร้อน” (Global Warming) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (Climate Change)
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตของประเทศไทยในช่วงระยะเวลา 4-5 ปี ที่ผ่านมานี้ ได้มีการจำลองสภาพภูมิอากาศในอนาคตขึ้น โดยศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA START RC) ได้ร่วมมือกับทางหน่วยงาน Commonwealth Scientific and Industrial Research Organization (CSIRO) ประเทศออสเตรเลีย ทำการศึกษาและจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่างขึ้น อันรวมถึงประเทศไทยทั้งหมดด้วย ทิศทางและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่มีฝนมากขึ้นในเกือบทุกภาคของประเทศไทย ส่วนอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในประเทศไทยจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก อาจเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลง (ศุภกร ชินวรรโณ, 2550)
การเกษตรเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้ปริมาณก๊าชเรือนกระจกเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาวัสดุเหลือทิ้งจากการเก็บผลผลิตเสร็จเรียบร้อย ทำให้ปริมาณก๊าชเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นจึงส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะกระบวนการผลิตข้าวของเกษตรกร ตอซังมักจะถูกเผาในช่วงฤดูแล้งก่อนที่จะมีการไถเตรียมดิน จึงเป็นการสูญเสียทรัพยากรที่มีคุณค่าในนาอย่างยิ่งข้าวเหตุที่เกษตรกรเผาตอซังเพื่อความสะดวกในการจับสัตว์บางชนิดในนาช่วงฤดูแล้ง หรือสะดวกในการไถพรวนเพื่อลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากการเผาตอซังข้าวติดต่อกันหลายปีเกษตรกรบางรายพบปัญหาหน้าดินแข็งไถพรวนและปักดำยาก อนุภาคดินจับตัวแน่นและทำให้เกิดการสูญเสียน้ำในดินในขณะที่เผาตอซัง และที่สำคัญจะเป็นการเพิ่มปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาแนวทางให้เกษตรกรคืนตอซังข้าวสู่ดินโดยการไถกลบฟางลงไปในดินหลังเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อมีการคืนตอซังข้าวสู่ดินแล้วดินนาจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ความแข็งของดินลดลง การอุ้มน้ำของหน้าดินดีขึ้น และลดปัญหาวัชพืชลงเนื่องจากมีการตัดวงจรชีวิตวัชพืชในช่วงฤดูแล้งก่อนที่จะทำนาในช่วงฤดูฝน
มลพิษทางอากาศนับว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งสังเกตได้จากระดับมลพิษในฝุ่นละอองขนาดเล็กมากขนาด 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่มีระดับความเข้มข้นเกินค่ามาตรฐานตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO guideline) และกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศสหรัฐอเมริกา (US EPA) และยังเกินค่ามาตรฐานของประเทศไทยที่อนุญาตให้ระดับมลพิษสูงกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกถึง 2 เท่า จากภาพที่ 1 จะพบว่าระดับมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครจะยิ่งมีค่าสูงมากในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคมของทุกปี โดย Oanh (2007) ได้ทำการศึกษาแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและพบว่าฝุ่น PM2.5 ที่เขตดินแดงมาจากไอเสียรถดีเซลร้อยละ 52 จากการเผาชีวมวลร้อยละ 35 ฝุ่นทุติยภูมิและอื่นๆ ร้อยละ 13 ขณะที่ Oanh (2017) ได้ศึกษาแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ในประเทศแถบเอเชียและพบว่าฝุ่น PM2.5 มาจากไอเสียรถดีเซลร้อยละ 20.8-29.2 จากการเผาชีวมวลร้อยละ 24.6-37.8 ฝุ่นทุติยภูมิร้อยละ 15.8-20.7 และอื่นๆ ทั้งนี้ ในช่วงหน้าแล้งจะมีการเผาชีวมวลสูงกว่าในช่วงหน้าฝน
บ้านโนนเขวา ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ที่ประชาชนส่วนมากมีอาชีพทำนาซึ่งมีทั้งการทำนาปีและนาปรัง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำชีซึ่งการทำนาของเกษตรกรส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้จะใช้เครื่องจักรกลมาช่วยในการทำนา อีกทั้งยังมีการเผาตอซังข้าวเพื่อเตรียมการเพาะปลูกต่อไป จึงก่อให้เกิดปริมาณฝุ่นละออง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่ปัจจุบันมีผลกระทบต้อสุขภาพของมนุษย์ ดังนั้น คณะดำเนินการจึงมีความสนใจที่จะจัดโครงการ ลดการเผา ลดPM2.5 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนขึ้น เพื่อร่วมกันจัดการตอซังข้าวด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวล้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรและเป็นการลดปัญหาฝุ่นละอง และปัญหาภาวะโลกร้อนจากการเผาตอซังข้าวของเกษตรกร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนรวมถึงการบูรณาการกับการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มนักศึกษา นักเรียน อาจารย์ และชุมชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและหาแนวทางในการจัดการที่เหมาะสมและยั่งยืนต่อไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดบ่มเพาะให้บัณฑิตมีทักษะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Start up) (ปี 2562)ตามที่รัฐบาลมีนโยบายปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศและวิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรีที่ต้องการพัฒนา “วิสาหกิจเริ่มต้น เป็นนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Warrior: NEW) และกำหนดให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่เปิดสำหรับการเติบโตของอาเซียน” โดยมุ่งเน้นการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นให้เป็นนักรบทางเศรษฐกิจ ที่สามารถใช้ทรัพยากรของประเทศในการผลิตสินค้าและบริการมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม การจ้างงานในท้องถิ่น และการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค รวมทั้งก่อให้เกิดอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อน ประเทศ โดยพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ในการสร้างความตระหนักและความตื่นตัว (Awareness) จิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial mindset) สู่กระบวนการบ่มเพาะและการพัฒนาผู้ประกอบการ (Incubation) ตลอดจนการการเร่งรัดธุรกิจสู่ตลาดสากล (Acceleration) ก่อให้เกิดการลงทุน (Investment) ทั้งจากการลงทุนร่วมทุน (Venture Capital) นักลงทุนบุคคล (Angel) และนักลงทุนบริษัทขนาดใหญ่ (Corporate Venture Capital) ในวิสาหกิจเริ่มต้น สนับสนุนการเร่งพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและสังคมฐานความรู้ โดยให้ความสำคัญแก่การเป็นพื้นที่เปิด 4 ประการได้แก่ 1) ผู้ที่มีทักษะสูงจากทั่วโลก (Talent) 2) เร่งการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น (Business Growth) 3) สนับสนุนการลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (Investment) 4) การสร้างและพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น (Ecosystem)
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นหน่วยงานการศึกษาและในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว ในการที่จะช่วยสนองตอบนโยบายการพัฒนาประเทศ พัฒนาแผนการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ของประเทศไทย (พ.ศ. 2559 - 2564) ซึงได้กำหนดแนวทางส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ของไทยโดยเร่งดำเนินการให้มีการเพิ่มบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้างความตระหนัก สร้างความตื่นตัว การบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้น การบริหารจัดการนวัตกรรม ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งสร้างสรรค์ ความคิดและนวัตกรรม ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ การผลักดันให้มหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Entrepreneurial university) และดำเนินการร่วมกับภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุน นักศึกษา นักวิจัย และผู้ประกอบการ ให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จะส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้และเป็น New Engine of Growth ของประเทศ เพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จึงจำเป็นต้องจัดโครงการบ่มเพาะให้บัณฑิตเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Start up) เพื่อสร้างจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการ โดยจัดให้คำปรึกษา แนะนำเทคนิค กระบวนการ และอบรมแผนธุรกิจเพื่อพัฒนานิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 และ 4 ให้ได้รับทักษะทั้งด้านการผลิต การตลาด การจัดการ และการบริหารการเงินซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ และได้แผนธุรกิจที่จะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาในการขอรับการสนับสนุนเงินทุนประกอบการได้
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักเรียนในระดับปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ปี 2562)พระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรระบุว่า การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ได้แก่ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง – มีคุณธรรม 3) มีงานทำ– มีอาชีพ 4. เป็นพลเมืองดี และแนวปฏิบัติในเรื่อง “การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง – มีคุณธรรม” ได้แก่ 1) รู้จักแยกแยะ ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี 2) ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม 3) ปฏิเสธสิ่งที่ผิด สิ่งที่ชั่ว 4) ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง (ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. 2560: 10-12) และในปี พ.ศ.2555 ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งพระราชทานให้แก่คณะองคมนตรี ในการจัดตั้ง “กองทุนการศึกษา” โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อดำเนินงานในกองทุน และ ทรงมีพระราชประสงค์ว่า “ให้โรงเรียนสร้างคนดีให้บ้านเมือง” โดยได้พระราชทานหลัก 3 ประการในเรื่องครูและนักเรียน ดังนี้

“ให้ครูรักเด็ก และเด็กรักครู ให้ครูสอนให้เด็กมีน้ำใจต่อเพื่อน
ไม่ให้แข่งขันกัน แต่ให้แข่งกับตัวเอง และให้เด็กที่เรียนเก่งช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า
ให้ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนทำร่วมกัน เพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี”

การจัดการศึกษาให้แก่เยาวชนในปัจจุบัน เป็นไปตามนโยบายและแผนของประเทศ ได้แก่โดยที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนไว้ 8 ประการ ได้แก่ 1.รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2.ซื่อสัตย์สุจริต 3.มีวินัย 4.ใฝ่เรียนรู้ 5.อยู่อย่างพอเพียง 6.มุ่งมั่นในการทํางาน 7.รักความเป็นไทย และ 8.มีจิตสาธารณะ ส่วน2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 กำหนดวัตถุประสงค์ มุ่งให้มีการวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนที่สมบูรณ์ มีคุณธรรม จริยธรรม และจากการวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มของสังคมไทย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังมีปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น ความมีวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต และจิตสาธารณะ และจากการสะท้อนปัญหาของนักเรียนและครู พบว่า ในปัจจุบันนักเรียนยังมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อยู่บางประการ เช่น ขาดวินัย ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ขาดความรับผิดชอบ ขาดความซื่อสัตย์สุจริต มีพฤติกรรมเสี่ยง / ก้าวร้าว และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560–2579 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 4 ประการ ได้แก่ พัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน พัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางและความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง และ4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ได้ระบุไว้ในมาตรา 54 ว่า การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี หรือแม้แต่รัฐบาลปัจจุบันก็ยังมีนโยบายที่จะจัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้เป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นต้น จากข้อมูลเหล่านี้ จึงเป็นเหตุผลเบื้องต้นที่โรงเรียนจำเป็นต้องพัฒนาเป็นโรงเรียนบ่มเพาะคุณธรรมตามความสนใจ
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดมีหน้าที่ในการผลิตและพัฒนาครูเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีภาระกิจการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการบริการวิชาการในท้องถิ่น ซึ่งมีพื้นที่บริการวิชาการจำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร และอำนาจเจริญ โดยมีประเด็นเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ผู้เรียนในระดับต่าง ๆ โดยอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมศาสตร์ทางการศึกษาในการส่งเสริมและพัฒนา
ดังนั้นจึงได้ดำเนินการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดจึงได้ดำเนินการโครงการบ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนในระดับปฐมวัย ประถมและมัธยมศึกษาขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปี 2562)สังคมโลกในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องปฏิรูปเพื่อให้สอดคล้องและทันต่อ การเปลี่ยนแปลง พัฒนาคนให้มีสมรรถนะและทักษะด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น รวมทั้งมีศักยภาพการแข่งขันทั้ง ในระดับชาติและนานาชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) กล่าวว่า คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา การพัฒนาคนให้มีคุณภาพเป็นหัวใจที่สำคัญในการพัฒนาชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าและยั่งยืน
คุณภาพการศึกษาคือกระจกสะท้อนคุณภาพคน จากการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561) ประเทศไทยมีการจัดสรรงบเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอันดับที่ 2 ของโลก (สาธิต วงศ์อนันต์นนท์, 2557) เพื่อการปฏิรูปหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะและทักษะด้านต่าง ๆ ที่จำเป็น ปฏิรูปครู อาจารย์ และผู้บริหารให้มีความรู้มุ่งเน้นความเป็นนักวิชาการ มีสรรถนะสูงขึ้นทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งปฏิรูประบบบริหารจัดการให้สามารถแก้ปัญหาได้จริง ในเชิงประจักษ์และมีประสิทธิภาพ (วิทยากร เชียงกูล, 2559) แต่จากรายงานผลการปฏิรูป ในบริบทจริง ยังมีปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาได้แก่ การคอรัปชั่น ปัญหาหนี้สิน วัฒนธรรมองค์กร สวัสดิการและขวัญกำลังใจในการทำงาน ที่เป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำทางด้านต่าง ๆ ของสังคมไทย แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการขยายโอกาสทางการศึกษาแต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษายังเป็นปัญหาที่เรื้อรังและบั่นทอนคุณภาพของคนในชาติมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเห็นในเชิงประจักษ์ว่าคุณภาพการศึกษาของนักเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงขนาดใหญ่จะสูงกว่านักเรียน ในโรงเรียนขนาดเล็ก (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2558; สสค, 2558; วิทยากร เชียงกูล, 2559) นอกจากนี้ยังพบปัญหาวัฒนธรรมการทำงานและวัฒนธรรมการสอนแบบเดิมในโรงเรียนส่งผลต่อ การบริหาร และการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (สำนักงานเลขาธิการ, 2553; พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค และ จิราภรณ์ - กาแก้ว, 2557; วิทยากร เชียงกูล, 2559)
ครูคือหัวใจของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ (สสค, 2558) จากการรายงานผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พบว่าประเทศไทยประสบปัญหาการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ การศึกษาในประเทศไทยผลิตคุณภาพคนไม่ตรงกับตลาดแรงงาน และปัญหาพื้นฐานที่สำคัญคือคนมีคุณภาพความรู้และทักษะ อยู่ในระดับต่ำ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12, 2-12) สอดคล้องกับผลการสอบวัดผล ในระดับชาติและนานาชาติ ที่พบว่านักเรียนไทยมีทักษะเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา อยู่ในระดับต่ำ ตั้งแต่ปี 2545 ถึง 2558 และผลการทดสอบยังไม่ดีขึ้นจนสามารถชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างได้ชัดเจน (โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560) จากเหตุผลดังกล่าวชี้ให้เห็น ถึงปัญหาคุณภาพครูภายใต้วัฒนธรรมชั้นเรียนแบบเดิม รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้อง กับทิศทางการพัฒนาคุณภาพคนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาคุณภาพครูจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒธรรมแบบเดิม ในโรงเรียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พัฒนานวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ซึ่งประเทศญี่ปุ่นใช้พัฒนาวิชาชีพครูมาอย่างยาวนานมาปรับใช้ พบว่านวัตกรรมดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมแบบเดิม ในโรงเรียน พัฒนาคุณภาพครูและนักเรียน สามารถสร้างชั้นเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้จริง พัฒนาการเรียนรู้และยกระดับการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้สูงขึ้น สอดคล้องกับรายงานการประเมินระดับนานาชาติ TIMM ที่กล่าวว่า ความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นผลมาจากวิธีการสอนของครู โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ใช้และพัฒนานวัตกรรมทั้งสอง โดยส่งผลให้นักเรียนมีระดับผลการคิดวิเคราะห์ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ในปัจุบันนวัตกรรมทั้งสองนี้ยังได้รับการยอมรับจากนักการศึกษา และนักคณิตศาสตรศึกษาว่าสามารถใช้พัฒนาวิชาชีพครูได้จริงในหลายประเทศ ในประเทศไทยได้นำทั้งสองนวัตกรรมนี้มาปรับใช้กับโรงเรียนในเขตพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่นและเริ่มขยายผลในหลายภูมิภาค ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์วิจัยทางคณิตศาสตรศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น กระบวนการหลักของนวัตกรรมเน้นให้นักศึกษา ครู นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเรียกว่ากลุ่มการศึกษาชั้นเรียน ได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การเตรียมสื่อและการสร้างสื่อสำหรับจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสังเกตชั้นเรียน การวิพากษ์ชั้นเรียนและการเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงชั้นเรียน ซึ่งหัวใจของการพัฒนาชั้นเรียน คือการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง
ตามแนวคิดของ Shulman (1986) การบูรณาการความรู้เชิงเนื้อหากับความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอน เป็นสิ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ แต่พบว่าในชั้นเรียนทั่วไปมีจัดการเรียนการสอนที่ไม่เหมาะสมกับธรรมชาติและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การใช้วิธีสอนแบบบรรยายในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาตอนต้น ปัญหานี้ชี้ให้เห็นถึงกิจกรรมการเรียนรู้ที่ขาดการบูรณาการความรู้เชิงเนื้อหากับวิธีการสอน ซึ่ง Stigler & Hiebert (2009) กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลให้นักเรียนขาดโอกาสในการเรียนรู้ การคิดวิเคระห์และแก้ปัญหาด้วยศักยภาพของตนเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชั้นเรียน ควรเริ่มจากการพัฒนาคุณภาพครูด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอน ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2553) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนนั้นควรมีความสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ เต็มตามศักยภาพ กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นกระบวนการแก้ปัญหา นอกจากนี้ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการสอนและการสังเกตชั้นเรียนที่เน้นการแก้ปัญหายังเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพครู (Suttiamporna, Loiphaa, Inprasitha & Sasomb, 2012) รวมทั้งในการเตรียมกิจกรรมและออกแบบการเรียนรู้ควรมีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อพิจารณาตำแหน่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรม (Isoda, 2007) เพื่อสร้างภาพเชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนก่อนลงมือปฏิบัติจริง (ธวัชชัย เหล่าสงคราม, 2556)
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรเน้นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับแนวคิดกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นการมีส่วนร่วมและลงมือปฏัติ (active learning) เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Bonwell, 1991) ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดกิกรรมตามรูปแบบดังกล่าว คือบทบาทของครูในฐานะของผู้ดำเนินการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับเนื้อหา ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอน และความรู้เกี่ยวกับผู้เรียน โดยสะท้อนผ่านการนำเสนอสถานการณ์ปัญหาที่เร้าความสนใจ เหมาะสมและสอดคล้องกับประสบการณ์และพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน การตั้งประเด็นคำถามที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจและตอบสนองได้ง่าย การเป็นผู้อำนวยความสะดวกในด้านการจัดลำดับการใช้สื่อการเรียนรู้ การรวบรวมและการจัดระบบความคิดนักเรียนเพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นข้อมูลในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ ใช้การแทรกแซงที่เหมาะสมผ่านการตั้งคำถาม ตั้งประเด็นอภิปราย รวมทั้งให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสาร สื่อความหมาย สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง การพัฒนาครูให้สามารถบูรณาการความรู้และสามารถจัดการเรียนรู้ในรูปแบบดังกล่าวได้ ควรได้รับการตรวจสอบและคำแนะนำในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้จริงในบริบทโรงเรียน ซึ่งโดยทั่วไปยอมรับว่าระบบการให้คำปรึกษาและชี้แนะ (Coaching & Mentoring) ที่เน้นคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง เป็นระบบที่สะท้อนกระบวนการพัฒนาที่มีความยั่งยืน รวมทั้งยังส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีร่วมกันในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู นอกจากนี้การสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานยังเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการสร้างความตระหนักและค่านิยม ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (ภทัรวรรธน์ นิลแก้วบวรวชิญ์, 2559)
จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะและความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามแผนและกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ยกระดับทักษะการสอนให้มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนานักเรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ จากความสำคัญดังกล่าว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้ลงนามความร่วมมือกับ ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อดำเนินโครงการแก้ปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่านการเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปี 2562)จากการจัดอันดับคะแนนด้านการศึกษาของไทยโดย IMD (International Institute for Management Development : IMD) ปี พ.ศ. 2557 (2014) พบว่าคะแนนตัวชี้วัดด้านการศึกษาของประเทศไทยอันดับลดลงเกือบทุกด้านโดยประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาด้านการศึกษาอย่างเร่งด่วน อาทิเช่น ผลการทดสอบ PISA 2012 (อันดับที่ 44) คุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (อันดับที่ 44) โดยพื้นฐานสำคัญของปัญหาบางส่วนเกิดจาก นักเรียนในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานบางระดับชั้นยังมีปัญหาในเรื่องการอ่านออกเขียนได้ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาในฐานะหน่วยงานปฏิบัติการดำเนินงานจากนโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม จึงกำหนดนโยบายให้นักเรียนทุกระดับชั้นอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง การอ่านจัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคมไทย การอ่านจัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคมไทย การอ่านทำให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญาความรู้ความสามารถพฤติกรรมและค่านิยมต่างๆรวมทั้งช่วยในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตโดยพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดของชีวิตการอ่านจึงมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างยิ่ง 2 ประการ คือ ประการแรก สำคัญต่อชีวิตประจำวัน กล่าวคือ การอ่านเป็นการแสวงหาความรู้เพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ประการที่สองมีความสำคัญต่อการเรียนเพราะการอ่านเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมทั้งหลายในการเรียนการสอนและมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จอันส่งผลต่อการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาหากเริ่มต้นดีรากฐานการอ่านของเด็กก็จะดีด้วย
มหาวิทยาลัยราชภัฏ ๓๘ แห่ง ทั่วประเทศ เป็นสถาบันการศึกษาของท้องถิ่นมีพันธกิจหลักตาม พรบ.มหาวิทยาลัยราชภัฏปี พ.ศ. 2547 ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีรากเหง้าของการพัฒนาสถาบันการศึกษา มาจากโรงเรียนการฝึกหัดครูซึ่งมีประสบการณ์อันยาวนานในการผลิตและพัฒนาครู ตลอดจนบัณฑิตในสาขาอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีบุคลากรที่มีความเชียวชาญเฉพาะด้านโดยเฉพาะด้านการผลิตและพัฒนาครู โดยจุดแข็งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุคือมีความใกล้ชิดกับท้องถิ่น มีฐานข้อมูลและสถานการณ์ปัญหาจริงของชุมชน ตลอดจนความสามารถในการประสานกับผู้บริหารทุกระดับ ได้รับการยอมรับจากภาคีเครือข่ายในระดับจังหวัดและภูมิภาค เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ให้บริการการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการ “การอ่านการเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มวิชาภาษาไทยที่สูงขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน
anndusadee เมื่อ 1 พ.ย. 2562 11:00 น.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมาโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านศาลา ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีมา (ปี 2558)จากแผนการพัฒนาชุมชนบ้านศาลามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับโครงการ เนื่องจากชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผลและร่วมรับประโยชน์ รวมทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มีองค์ความรู้หลากหลาย เพื่อเป็นการบูรณาการร่วมกันของแต่ละศาสตร์ ดังนั้นได้จัดทำโครงการย่อยที่ ๑ – ๖ : เขียนการพัฒนาเมล็ดพันธ์ข้าวสู่สากล และต่อยอดเชิงพาณิชย์ โดยมีชุมชนบ้านศาลามีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านศาลา ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ชื่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านศาลา ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธ์ข้าวสู่สากล และต่อยอดเชิงพาณิชย์ พัฒนาศักยภาพของประชาชนให้มีความพร้อมในด้านการดำรงชีวิตและมีอาชีพที่มั่นคงและพร้อมที่จะขับเคลื่อนชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตบนรากฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
กิจกรรมย่อยที่ ๑ : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการตลาด เชิงการค้าและเชิงพาณิชย์ ในการจำหน่ายผลิตพันธุ์ข้าว
กิจกรรมย่อยที ๒ : โครงการศึกษาดูงานและอบรมเชิงการรับรองเมล็ดพันธุ์ข้าวสู่สากล
กิจกรรมย่อยที่ ๓ : โครงการอบรมเชิงการรับรองเมล็ดพันธุ์ข้าวสู่สากล
กิจกรรมย่อยที่ ๔ : การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ เมล็ดพันธุ์ข้าว และข้าวสาร บ้านศาลา
กิจกรรมย่อยที่ ๕ : โครงการติดตามและประเมินผล เพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์
กิจกรรมย่อยที่ ๖ : โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่บ้านศาลาเพื่อเป็นสินค้าที่ระลึกในช่วงเทศกาลปีใหม่ ๒๕๕๘
anndusadee เมื่อ 1 พ.ย. 2562 10:22 น.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมาโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านศาลา ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (ปี 2557)จากนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมกันบริหารจัดการ และพัฒนาศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ที่มุ่งเน้นการบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม
บ้านศาลา ตั้งอยู่ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่า มีจำนวนครัวเรือน ๒๒๐ ครัวเรือน มีประชากร ๘๑๔ คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่สำหรับการประกอบอาชีพทั้งหมด ๖,๑๑๖ ไร่ ภูมิประเทศเหมาะสำหรับการเพาะปลูกข้าว เนื่องจากมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ (แม่น้ำมูล ระบบชลทาน หนองน้ำ) แต่การทำนาของเกษตรกรมีต้นทุนสูง เนื่องจากต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว และนิยมใช้สารเคมี ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรมีปัญหาสุขภาพ รายได้ลดลง สภาพดินเสื่อม
จากที่มาและปัญหาข้างต้น คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการโครงการ “การมีส่วนร่วมในการจัดการเพื่อพัฒนาชุมชนบ้านศาลา ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร สร้างรายได้ และตอบสนองต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยฯ โดยเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง
จากการเข้าศึกษาบริบทชุมชน หมู่บ้านศาลาด้วยการสุ่มสอบถามด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ประชากรจำนวน ๑๒๒ ครัวเรือน และจากการดำเนินการมาเป็นปีที่ ๒ ได้มีการดำเนินโครงการเพิ่มผลผลิตการปลูกข้าว การลดการใช้สารเคมี และการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งกรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน ศูนย์วิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าว และเกษตรอำเภอพิมาย และบริษัทผู้ผลิตคูโบต้า จำกัด ทำให้เกิดการร่วมมือกันทุกภาคส่วน มีแปลงนาสาธิตที่ให้ผลผลิตข้าวได้ในปริมาณเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมีการนำข้าวเปลือกที่ได้มาทำการบรรจุเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว จำหน่ายในท้องถิ่น
จากแผนการพัฒนาชุมชนบ้านศาลามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับโครงการ เนื่องจากชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผลและร่วมรับประโยชน์ รวมทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มีองค์ความรู้หลากหลาย เพื่อเป็นการบูรณาการร่วมกันของแต่ละศาสตร์ ดังนั้นได้จัดทำโครงการย่อยที่ ๑ – ๖ : เขียนการพัฒนาเมล็ดพันธ์ข้าวสู่สากล และต่อยอดเชิงพาณิชย์ โดยมีชุมชนบ้านศาลามีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านศาลา ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ชื่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านศาลา ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธ์ข้าวสู่สากล และต่อยอดเชิงพาณิชย์ พัฒนาศักยภาพของประชาชนให้มีความพร้อมในด้านการดำรงชีวิตและมีอาชีพที่มั่นคงและพร้อมที่จะขับเคลื่อนชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตบนรากฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดส่งเสริม ความรักสามัคคี ความมีระเบียบวินัยเข้าใจสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น (ปี 2562)แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อความยั่งยืน ตามโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คือพันธกิจสำคัญที่มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งต้องปฏิบัติเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ข้อที่ 3.3 การปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือแผนการพัฒนาประเทศ ที่จะกำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกันอย่างมีเอกภาพ ตามร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีการแบ่งยุทธศาสตร์ออกเป็น 6 ด้าน คือ 1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม 5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ภายในปี 2560-2579
การบรรลุวิสัยทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืน มีจุดเริ่มต้นสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อความยั่งยืน ซึ่งต้องมุ่งสร้างพลเมืองที่มีระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม และมีค่านิยมอันพึงประสงค์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสังคมไทย รวมทั้งหลักการทรงงานและแนวพระราชดำริ โดยมีเป้าหมายคือคนไทยมีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีต่อสังคม และมีตัวชี้วัดคือ ประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมการปฏิบัติที่สะท้อนการมีคุณธรรม จริยธรรมเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องจัดให้มีกิจกรรมการส่งเสริมระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ คือคนไทยมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทยที่ดีงาม รวมทั้ง มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม และมีค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยเฉพาะความพอเพียง การมีวินัย สุจริตและจิตอาสา และมีตัวชี้วัด คือคนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมความเป็นไทย จิตสำนึกที่ดีงามต่อส่วนรวม เพิ่มขึ้น เด็ก เยาวชน และประชาชน มีกิจกรรมการปฏิบัติตนที่สะท้อนการมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมความเป็นไทย จิตสำนึกที่ดีงามต่อส่วนรวม ตามหลักคำสอนทางศาสนาเพิ่มขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในฐานะแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงดำเนินงานโครงการส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความเข้าใจในสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น ภายใต้พื้นฐานประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัย จิตสาธารณะ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ค่านิยม และความเป็นไทย วางรากฐานวิถีชีวิตของคนไทย โดยส่งเสริมการเลี้ยงดูในครอบครัว ฝึกให้เด็กรู้จักการพึ่งพาตัวเองมีความซื่อสัตย์ มีวินัย ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนในและนอกห้องเรียนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม การนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันผลักดันให้มีการนำวัฒนธรรมการทำงานที่พึงประสงค์ไปปฏิบัติตลอดจนเสริมสร้างค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตลอดจนส่งเสริม พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมให้กับเครือข่ายทางสังคมให้มีบทบาทและความสามารถในการปลูกฝัง ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคม ตระหนักและร่วมกันเป็นเครือข่าย มีส่วนร่วมในกระบวนการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การมีวินัย จิตสาธารณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อสร้างสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นหลักชัยในการดำเนินกิจกรรมอันประกอบด้วย งานเฟสที่ 1 เข้าใจ 1) กิจกรรมสร้างหลักสูตรการเรียนรู้ ระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสังคมไทย รวมทั้งหลักการทรงงานและแนวพระราชดำริ ตัวชี้วัดความสำเร็จคือ มีหลักสูตรระยะสั้น และระยะยาว ที่เหมาะสมกับคนในช่วงวัยต่าง ๆ 2) กิจกรรมอบรมนักศึกษาแกนนำ ตัวชี้วัดความสำเร็จคือ มีนักศึกษาเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 1,000 คน งานเฟสที่ 2 เข้าถึง 3)กิจกรรมสร้างเครือข่ายสถานศึกษา อบรมครูในการเผยแพร่หลักสูตร การเรียนรู้ ระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสังคมไทย ตัวชี้วัดความสำเร็จคือ มีสถานศึกษาเข้าร่วมเป็นเครือข่ายไม่น้อยกว่า 101 สถาบัน 4) กิจกรรมสร้างเครือข่ายชุมชน อบรมแกนนำชุมชนในการเผยแพร่หลักสูตร การเรียนรู้ ระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสังคมไทย ตัวชี้วัดความสำเร็จคือ มีชุมชนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายไม่น้อยกว่า 101 ชุมชน 5) กิจกรรมประกวดสื่อ คนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมความเป็นไทย จิตสำนึกที่ดีงามต่อส่วนรวม ประกอบด้วย ศิลปะ หนังสั้น เพลง ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอุดมศึกษา และระดับประชาชน ตัวชี้วัดความสำเร็จคือ เกิดสื่อคนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมความเป็นไทย จิตสำนึกที่ดีงามต่อส่วนรวมงานเฟสที่ 3 พัฒนา 6) กิจกรรมสร้างแหล่งเรียนรู้ ระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสังคมไทย ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ตัวชี้วัดความสำเร็จคือ เกิดพื้นที่ศูนย์กลางอันเป็นที่รวบรวมข้อมูล หลักสูตร ตลอดจนสื่อเพื่อถ่ายทอดให้แก่หน่วยงานอื่น ๆ 7) กิจกรรมสัมพันธ์และประกวดเครือข่ายสถานศึกษา 101 ตัวชี้วัดความสำเร็จคือ นักเรียนจาก 101 สถาบันมีกิจกรรมร่วมกัน 8) กิจกรรมสัมพันธ์และประกวดเครือข่ายชุมชน 101 ตัวชี้วัดความสำเร็จคือ ชุมชน 101 ชุมชนมีกิจกรรมร่วมกัน 9) กิจกรรมถอดบทเรียนและจัดทำสื่อเรียนรู้จากการดำเนินงาน
Thanakit เมื่อ 1 พ.ย. 2562 00:10 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชม “นวัตวิถีเอกลักษณ์ชุมชนกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต”หมู่บ้านหนองสองห้อง (ปี 2563)ชุมชนต้องการให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าร่วมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน จากการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยดำเนินการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ โดยทีมงานสำนักบริการวิชาการ รศ.ประสบสุข ฤทธิเดช และคณะ ได้ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ส่งผลให้ ชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ให้ความสนใจขอให้มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนาชุมชน เมื่อชุมชน โดยการนำของผู้นำชุมชน นายสถาพร ฉายประดิษฐ์ นายกเทศบาล ได้มาติดต่อสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลั้ยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อให้ศึกษาและร่วมพัฒนาชุมชน โดยชุมชนมีความต้องการหลายประเด็น ทั้งนี้หากเป็นไปได้ การทำฐานข้อมูลชุมชน นำสู่การวิเคราะห์เพื่อยกระดับการคุณภาพชีวิตของชุมชน การเข้าใจ เข้าถึง ชุมชนในพื้นที่ จึงเป็นขุดเริ่มต้นในการเข้าร่วมพัฒนา ชุมชนอย่างแท้จริง การที่ชุมชนมีปัจจัยและสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ ทรัพยากร และความหลายกหลายอาชีพและรายได้ที่ดำเนินการชีวิตมาแต่เดิมนั้น หากจะเห็นการศึกษาเรียนรู้เข้าใจวัฒนธรรมของชุมชน สร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ดี ธำรงค์ไว้ และเติมเต็มในสิ่งที่ชุมชนต้องการเพื่อพัฒนาการเป็นอยู่ของชุมชนให้รู้เท่าทันประเทศไทยและโลก ๔.๐ รวมทั้งเทคโนโลยีอื่น ๆที่จะแทรกเข้ามาทางช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อันจะทำให้ชุมชนเข้าใจผิดและหลงเชื่อด้วยความรู้ไม่เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ดังนั้นการทำให้ชุมชนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ ในเทคโนโลยีผสานกับวิถีชีวิตของชุมชนอย่างเข้มแข็ง เพื่อธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดีดีงาม สืบสาน ต่อยอด จนทำให้สังคมได้รับการยอมรับหรือสร้างความโดเด่นเชิงวัฒนธรรมให้กับชุมชนได้นั้น ชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมใน ร่วมคิด ร่วมวางแผน วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ และขับเคลื่อนการพัฒนาไปด้วยกัน ให้เกิดผลงานที่เป็นผลลัพธ์ที่ส่งผลถึงความภาคภูมใจของชุมชน บนพื้นฐานวัฒฯธรรมและวิ๔ชีวิตของชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จึงสนใจรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เป็นการบูรณาการศาสตร์ “บูรณาการศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และปฏิบัติการในพื้นที่จริงให้กับนักศึกษา สร้างงานวิจัยให้กับอาจารย์พี่ลี้ยงที่เป็นงานวิชัยเชิงพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ให้กับประเทศชาติ โดยการนำนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ที่มีความรู้ในศาสตร์ มีประสบการณ์วิจัยในพื้นที่ ร่วมปฏิบัติการลงพื้นที่ในชุมชนที่ต้องและได้เสนอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามลงพื้นที่ เพื่อยกระดับส่งเสริมการพัฒนาชุมชน โดยชุมชนได้ขอร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจ MOU) เพื่อให้ชุมชนได้มีโอกาสพัฒนาต่อยอดตามบริบทและความต้องการของชุมชน ดังนี้ โครงการอาสาประชารัฐ ในครั้งนี้ จะเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากที่จะทำให้มหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบการส่งเสริมพัฒนาชุมชน โดยบูรณาการการเรียนการสอนของอาจารญ์และนักศึกษาหลาย ๆ ศาสตร์ ร่วมลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์บริบท ปัญหา สร้างฐานข้อมูลชุมชน นำมาวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอด
ผลที่ได้กับชุมชน ชุมชนจะมีความเข้าใจในตนเอง รู้จักหน้าที่และสิทธิ ในการครองตนการเป็นพลเมืองที่ดี สร้างสุขภาวะในชุมชน สร้างสุขภาพที่ดีของชุมชนและครอบครัว การดูแลตนเอง การรู้จัดเลือกกิน เลือกใช้ เลือกผลิต อาหารที่ถูกหลัก การดูแลสุขภาวะของตนเอง-คนสูงอายุและเด็กเล็ก-รวมทั้งเยาวชนในวัยเรียน ให้รู้จักการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเทคโนโลยีมือถือของชุมชน โดยกิจกรรมร่วมกับชุมชนน้อมนำราชโชบายของราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่นสร้างจิตอาสาในชุมชน โดย ราชภัฏสร้าง “จิตอาสาประชารัฐพัฒนาชุมชน” ให้เป็นไปตาม ปณิทานของราชภัฏ “”คนของพระราชา ข้าของแผนดิน” ที่ร่วมกันในการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป อันจะส่งผลให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏได้นำนักศึกษาและอาจารย์ได้ลงปฏิบัติการ วิจัยและศึกษาข้อมูลในชุมชน โดยนำนักศึกษาลงพื้นที่ปฏิบัติจริงในชุมชน เสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนให้ครอบคลุมในการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยใช้ศาสตร์ที่ได้ศึกษาในหลักสูตร บูรณาการเข้ากับศาสตร์ของกลุ่มที่ร่วมพัฒนา สร้างองค์ความรู้ใหม่ “ชีวิต ๔.๐ ในชุมชนมีความสุขด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต”
การเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึง อาจารย์ นักศึกษา ชุมชน ได้เข้าใจการใช้ชีวิตในแต่ละบริบท สร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้สภาพแสดล้อม สื่อ เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ นำความรู้ที่ได้มาจัดการชีวิตสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จิตอาสา หมายถึง การที่ทีมงานวิจัยและสมาชิกที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกิจกรรม/โครงการ อันได้แก่ ผู้บริหารบุคลากรและนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย เข้าใจหน้าที่ และสิทธิ การเป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ตามคุณลักณะ ๔ ประการ ในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ความเข้าใจการปกครอง การใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข การอยู่ร่วมกับสังคม การพึ่งพาอาสัยกันและการเสียสระเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมให้เกิด ประโยชน์และความสุขมากขึ้น โดยอาสาสมัครร่วมสร้างงาน สร้างกิจกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวกต่อสังคมและชุมชน
การเรียนรู้จากชุมชน จะทำให้ได้พบข้อเท็จจริง ที่เป็นความต้องการของชุมชน จะได้แนวทางและความต้องการของชุมชนที่ชัดเจน การพัฒนา สร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง มีรายได้ เข้าใจ เข้าถึงการใช้ชีวิต ในโลกเทคโนโลยี โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการกับศาสตร์พระราชา เพื่อให้สังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีกินอย่างมีความสุขและปลอดภัยจากเทคโนโลยี สามารถใช้ชีวิตได้อย่างผาสุข มีความรักสามัคี เข้าใจหน้าที่ บทบาทการเป็นพลเมืองในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอย่างยั่งยืนสืบไป
จากการร่วมจากการลงพื้นที่ เพื่อสอบถาม บริบท ปัญหา และความต้องการกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่ ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ พบว่า ชุมชนมีความต้องการเบื้องต้นดังนี้
๑. ต้องการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเพื่อพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นพี่เลี้ยงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
๒. ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ด้านการการศึกษา ในชุมชนมี โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒ แห่ง ที่เด็กในวัยเรียน ๑๙๗ คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๕๙ คน
๓. ด้านสาธารณสุขพื้นฐาน เทศบาลตำบลลำคลอง มีสถานีอนามัย ตั้งอยู่ที่บ้านสะอาดนาทม หมู่ที่ ๑ มีจำนวนบุคลากร ๔ คน อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐ และการดูแลสุขอนามัยของชุมชน เนื่องจากนุมชนมีการเลี้ยงสัตว์ วัว โค หมู่ ไก่ เป็น สุนัข และแมว
๔. อาชญากรรมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีสถานีตำรวจภายในตำบล ในการรักษาความปลอดภัยภายในตำบล ภายในหมู่บ้าน ทำให้ผู้นำชุมชนเป็นผู้ดูแลความปลอดภัยและรักษาความสงบ ถ้าเกิดเหตุจะประสานไปยังตำรวจภายใน สภ. ลำปาว ดังนั้นการสร้างจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สร้างพลังของชุมชนให้มีความรักสามัคคี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ชุมชนต้องการให้เกิดขึ้นในชุมชน
๕. ยาเสพติด ปัญหาด้านการค้าและแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ อยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ยาเสพติดที่มีปัญหาการค้าและแพร่ระบาดมากที่สุด คือ ยาบ้า รองลงมาเป็นกัญชาแห้ง และสารระเหย ตามลำดับ ส่วนไอซ์ กัญชาสด และพืชกระท่อม สภาพปัญหาอยู่ในระดับไม่รุนแรง การสังคมสงเคราะห์ งานในด้านการบำบัดและพื้นฟูผู้ป่วยและผู้ติดยาเสพติด และการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดและพื้นฟู แก้ไขผู้กระทำผิดประกอบด้วยผู้กระทำผิดที่มาจากหลากหลายรูปแบบของสังคม เป็นเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ชาย หญิง ผู้พิการ
๖. ด้านระบบบริการพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง เทศบาลตำบลลำคลอง มีพื้นที่ห่างจากเมืองกาฬสินธุ์ ๒๐ กิโลเมตร ผ่านไปยัง อำเภอสหัสขันธ์ ส่วนภายในตำบล ถนนสายหลักที่ผ่านภายในหมู่บ้านจะเป็นลาดยาง คสล. และถนนลูกรัง ถนนลูกรังจะมีปัญหาในการคมนาคม ในฤดูฝน เนื่องจากเป็นหลุมเป็นบ่อน้ำขัง
การไฟฟ้า หมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน ๗ หมู่บ้าน และการประปา เทศบาลตำบลลำคลองได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนในการจัดให้มีน้ำประปาอย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ปัจจุบันเทศบาลตำบลลำคลองมีระบบน้ำประปาผิวดิน จำนวน ๖ โครงการ ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในการอุปโภคบริโภค ความต้องการของชุมชนเป็นอย่างไร ต้องการทำอะไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๗. ไปรษณีย์และการสื่อสาร ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการไปรษณีย์ในเขตพื้นที่ตำบลไกลเคียงคือตำบลหนองสอ ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร แต่มีเจ้าหนี้ให้บริการในพื้นที่ การสื่อสารประชาชนในพื้นที่ให้โทรศัพท์สาธารณะเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการตืดต่อสื่อสารเป็นหลัก หากชุมชนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ชุมชนมีอยู่ให้เกิดประโยชน์ รู้จักใช้ จะช่วยด้านการสื่อสารได้สะดวกขึ้น
๘. ระบบเศรษฐกิจ ชุมชนมีอาชีพและรายได้จากการประกอบอาชีพดังนี้ ด้านการเกษตรประชากรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ ข้อมูลด้านการเกษตร พื้นที่ทั้งหมด ๑๔,๗๔๔ ไร่
(๑) ข้าวนาปี ๗,๒๑๔ ไร่ จำนวน ๔๕๖ ครัวเรือน
(๒) ข้าวนาปรัง ๑.๒๐๐ ไร่ จำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน
(๓) พืชไร่ ๒,๖๐๒ ไร่ จำนวน ๑,๒๖๔ ครัวเรือน
(๔) ไม้ผล ๘ ไร่ จำนวน ๙ ครัวเรือน
(๕) ไม้ยืนต้น ๕๒ ไร่ จำนวน ๓ ครัวเรือน
(๖) พืชผัก ๗๔ ไร่ จำนวน ๑๐๗ ครัวเรือน
(๗) การเกษตรอื่นๆ ๑๑๒ ไร่ จำนวน ๕๖ ครัวเรือน
๘.๒ ด้านการประมง ได้แก่ (๑) การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (๒) การเลี้ยงปลาในบ่อดิน (๓) การอนุบาล ลูกปลานิลเพื่อจำน่าย และ (๔) อาชีพการประมงน้ำจืดในเขื่อนลำปาว
๘.๓ ด้านประศุสัตว์ ได้แก่ (๑) การเลี้ยง โค กระบือ (๒) การเลี้ยงสุกร และ (๓) การเลี้ยงเป็ด ไก่ดำ ไก่พันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์พื้นเมือง
๘.๔ ด้านการบริการ เทศบาลตำบลลำคลองได้จัดให้มีการบริการประชาชนดังนี้ (๑) ด้านการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินโดยเปิดให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง (๒) การให้บริการจัดเก็บภาษีเคลื่อนที่ (๓) การให้บริการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และ (๔) การบริการเก็บขยะ และการดูดสิ่งปฏิกูลโดยคิดค่าบริการในราคาต่ำเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่
๘.๕ การท่องเที่ยว พื้นที่รับผิดชอบติดกับแหล่งท่องเทียวที่สำคัญ เช่น จุดชมวิวเขื่อนลำปาว ตลาดชุมชนคนขายปลา (ผันน้ำ) และ หาดดอกเกด (ทะเลอีสาน)
๘.๖ อุสาหกรรม พื้นที่เทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีโรงงานอุสาหกรรม ในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองเป็นลักษณะอุสาหกรรมในครัวเรือน เป็นอุสาหกรรมขนาดเล็ก
๘.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ เป็นการรวมกลุ่มของประชาชน การรวมกลุ่มทุกประเภท …๑๓… กลุ่ม แยกประเภทกลุ่ม (๑) กลุ่มอาชีพ ๑๓ กลุ่ม และ (๒) กลุ่มออมทรัพย์ ๑๒ กลุ่ม
๘.๘ แรงงาน ในพื้นที่เป็นการใช้แรงงานเกี่ยวกับการเกษตร การประมง การประศุสัตว์ ซึงเป็นอุสาหกรรมในครัวเรือน และการใช้แรงงานด้านการก่อสร้างในพื้นที่ และพื้นที่ไกลเคียงเป็นบ่างส่วน ประชากรส่วนมากในพื้นที่ ประกอบอาชีพเกษตรซึ่งซึ่งมีลักษณะการใช้แรงงานเป็นกลุ่ม เป็นชุมชนหมุนเวียนในกลุ่ม ในชุนชน
๙. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การนับถือศาสนา ประชากรส่วนมากในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองนับถือศาสนาพุทธ สถาบัน องค์กรทางศาสนา เช่น วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน ๗ แห่ง ได้แก่ วัดบ้านสะอาดนาทม วัดป่าศิริวรรณ วันศิริเจริญสุข วัดอนุมัจฉาราม วัดป่าชลประทานนิมิต วัดอัมพวันม่วงน้อย และ วัดมัจฉาราม และประเพณีและงานประจำปี ชุมชนมี ประเพณี มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมคติความเชื่อวิถีปฏิบัติที่หลากหลายแต่ละฤดู เดือน จะมีพิธีปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อหลากหลาย ชาวอีสานจะรู้จักดี คือ ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด โดยฮีตสิบสองคลองสิบสี่นี้ จะประกอบไปด้วย ฮีต ๑๒ ฮีต และคลอง ๔ ประเภท มี ๑๔ คลอง ได้แก่ บุญเข้ากรรม(บุญเดือนอ้าย) บุญคูณลาน เดือนยี่ บุญข้าวจี่(เดือนสาม) บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (เดือนสี่) บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) บุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) บุญเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเอาทรัพยากรความรู้ ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งอาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นลักษณะประจำท้องถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นเกิดจากการที่ชาวบ้านแสวงหาความรู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคมที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น การประกอบประเพณี พิธีกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้กระทำสบายใจ รู้สึกอบอุ่นไม่โดดเดี่ยว ให้คุณค่าทางจิตใจและความรู้สึกถือว่าเป็นพลังทางศีลธรรมหรือประเพณี การรวมกำลังช่วยกันทำงานที่ใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำได้สำเร็จคนเดียว เช่น สร้างวัด สร้างถนนหนทาง หรือขุดลอกแหล่งน้ำ เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันภายในชุมชน ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยทั่วไปภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นประโยชน์แก่คนทุกระดับมีลักษณะเด่นคือสร้างสำนึกเป็นหมู่คณะสูงทั้งในระดับครอบครัวและเครือญาติ
และสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เป็นสินค้าที่เกิดจากการผลิตของกลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากเทศบาลตำบลลำคลองเช่น ตระกล้าไม้ไผ่ จากกลุ่มจักรสาร ปลาส้มถอดก้าง ปลาแห้ง ปลาหล้า กุ้งก้ามกราม ผักปลอด

๑๐. ด้านทรัพยากร เทศบาลลำคลองมีทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติและป้าไม้ในที่สาธารณา ดังนี้
๑๐.๑ แหล่งน้ำธรรมชาติ เทศบาลตำบลลำคลอง มีแหล่งดังนี้ แม่น้ำที่เป็นลำห้วย ๔ สาย ที่สำคัญคือ ลำน้ำปาว ลำห้วยซัน ลำห้วยน้อย และลำห้วยใหญ่ บึง,หนองและอื่นๆ ๗ แห่ง ที่สำคัญคือ หนองหัวลิง, หนองสิม, หนองแวง, หนองค่า หนองม่วง กุดฟ้าน้อย และกุดฟ้าใหญ่
๑๐.๒ ป่าไม้ทุ่งที่อยู่ในที่สาธารณะประโยชน์ ได้แก่ โคกดอนก่อ ดอนปู่ตาบ้านหาดทอง โคกป่าช้าหนองม่วง โคกวัดป่าศิวิวรรณ ดอนปู่ตาบ้านสะอาดใต้
๑๐.๓ ด้านคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นป่าเสื่ยมโทรม ซึ่งเกิดจาการบุกรุกของประชาชนในพื้นที่ ซึงเทศบาลตำบลลำคลองได้มีโครงการปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายประจำทุกปี หาประชาชนมีความเข้าใจในการรักษาป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติจะส่งผลให้การอนุรักษ์ป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำ ที่ใช้ในการหาเห็น ที่อยู่อาศัยของนก สัตว์ป่า และแหล่งเลี้ยงชุมชน จะมีป่าอยู่คู่กับชุมชนต่อไป

ดังนั้นจากปัจจัยที่ ชุมชนมีโดยรวมแล้ว การสร้างชุมชนให้สามารถมีความเข้มแข็งสามารถพึงตนเองได้ นั้น จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลบริบทของชุมชน ปัญหา ศักยภาพและความต้องการของชุมชน โดยการใช้หลักการบูรณาการศาสตร์ โดยนักศึกษาและอาจารย์ลงพื้นที่ แฝงตัวในชุมชน เข้าพบและพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งร่วมใช้ชีวิตกับชุมชน เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน จะได้เข้าใจถึงการยอมรับและปฏิเสธความต้องการของชุมชนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
Thanyakon เมื่อ 31 ต.ค. 2562 23:34 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการการใช้ความรู้พื้นฐานทางบัญชี สร้างวิถีการออมและเสริมสร้างค่านิยมการใช้จ่ายเงินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนมันธยมศึกษา ในจังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2561)การจัดทำบัญชีในครัวเรือนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะเยาวชนควรที่จะและเรียนรู้เพื่อปลูกฝังให้เห็นถึงรายจ่ายที่เกิดขึ้นในครอบครัวนอกจากนี้ยังสามารถให้เห็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดไม่อยู่ที่ดีในครอบครัวซึ่งเป็นที่มาให้ครอบครัวสามารถที่จะลดรายได้ดังกล่าวได้มีผลทำให้ตระหนักถึงเรื่องการออมเงินการวางแผนใช้จ่ายเงินการทำบัญชีรับจ่ายการส่งเสริมวินัยการออมสร้างนิสัยประหยัดอดออมทั้งนี้เพื่อเป็นการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังไม่ประมาทและมีการเตรียมพร้อมที่จะเผชิญปัญหาที่จะเข้ามาในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักยึดในการทวนการต้านทานและแก้ไขปัญหาในแนวทางดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการจัดทำบัญชีควรเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่ชุมชนทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนที่เข้าอบรมนำความรู้ไปใช้และปลูกฝังใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป
Thanakit เมื่อ 31 ต.ค. 2562 23:31 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชม “นวัตวิถีเอกลักษณ์ชุมชนกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต” หมู่บ้านอัมพวัน (ปี 2563)ชุมชนต้องการให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าร่วมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน จากการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยดำเนินการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ โดยทีมงานสำนักบริการวิชาการ รศ.ประสบสุข ฤทธิเดช และคณะ ได้ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ส่งผลให้ ชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ให้ความสนใจขอให้มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนาชุมชน เมื่อชุมชน โดยการนำของผู้นำชุมชน นายสถาพร ฉายประดิษฐ์ นายกเทศบาล ได้มาติดต่อสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลั้ยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อให้ศึกษาและร่วมพัฒนาชุมชน โดยชุมชนมีความต้องการหลายประเด็น ทั้งนี้หากเป็นไปได้ การทำฐานข้อมูลชุมชน นำสู่การวิเคราะห์เพื่อยกระดับการคุณภาพชีวิตของชุมชน การเข้าใจ เข้าถึง ชุมชนในพื้นที่ จึงเป็นขุดเริ่มต้นในการเข้าร่วมพัฒนา ชุมชนอย่างแท้จริง การที่ชุมชนมีปัจจัยและสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ ทรัพยากร และความหลายกหลายอาชีพและรายได้ที่ดำเนินการชีวิตมาแต่เดิมนั้น หากจะเห็นการศึกษาเรียนรู้เข้าใจวัฒนธรรมของชุมชน สร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ดี ธำรงค์ไว้ และเติมเต็มในสิ่งที่ชุมชนต้องการเพื่อพัฒนาการเป็นอยู่ของชุมชนให้รู้เท่าทันประเทศไทยและโลก ๔.๐ รวมทั้งเทคโนโลยีอื่น ๆที่จะแทรกเข้ามาทางช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อันจะทำให้ชุมชนเข้าใจผิดและหลงเชื่อด้วยความรู้ไม่เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ดังนั้นการทำให้ชุมชนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ ในเทคโนโลยีผสานกับวิถีชีวิตของชุมชนอย่างเข้มแข็ง เพื่อธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดีดีงาม สืบสาน ต่อยอด จนทำให้สังคมได้รับการยอมรับหรือสร้างความโดเด่นเชิงวัฒนธรรมให้กับชุมชนได้นั้น ชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมใน ร่วมคิด ร่วมวางแผน วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ และขับเคลื่อนการพัฒนาไปด้วยกัน ให้เกิดผลงานที่เป็นผลลัพธ์ที่ส่งผลถึงความภาคภูมใจของชุมชน บนพื้นฐานวัฒฯธรรมและวิ๔ชีวิตของชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จึงสนใจรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เป็นการบูรณาการศาสตร์ “บูรณาการศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และปฏิบัติการในพื้นที่จริงให้กับนักศึกษา สร้างงานวิจัยให้กับอาจารย์พี่ลี้ยงที่เป็นงานวิชัยเชิงพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ให้กับประเทศชาติ โดยการนำนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ที่มีความรู้ในศาสตร์ มีประสบการณ์วิจัยในพื้นที่ ร่วมปฏิบัติการลงพื้นที่ในชุมชนที่ต้องและได้เสนอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามลงพื้นที่ เพื่อยกระดับส่งเสริมการพัฒนาชุมชน โดยชุมชนได้ขอร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจ MOU) เพื่อให้ชุมชนได้มีโอกาสพัฒนาต่อยอดตามบริบทและความต้องการของชุมชน ดังนี้ โครงการอาสาประชารัฐ ในครั้งนี้ จะเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากที่จะทำให้มหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบการส่งเสริมพัฒนาชุมชน โดยบูรณาการการเรียนการสอนของอาจารญ์และนักศึกษาหลาย ๆ ศาสตร์ ร่วมลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์บริบท ปัญหา สร้างฐานข้อมูลชุมชน นำมาวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอด
ผลที่ได้กับชุมชน ชุมชนจะมีความเข้าใจในตนเอง รู้จักหน้าที่และสิทธิ ในการครองตนการเป็นพลเมืองที่ดี สร้างสุขภาวะในชุมชน สร้างสุขภาพที่ดีของชุมชนและครอบครัว การดูแลตนเอง การรู้จัดเลือกกิน เลือกใช้ เลือกผลิต อาหารที่ถูกหลัก การดูแลสุขภาวะของตนเอง-คนสูงอายุและเด็กเล็ก-รวมทั้งเยาวชนในวัยเรียน ให้รู้จักการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเทคโนโลยีมือถือของชุมชน โดยกิจกรรมร่วมกับชุมชนน้อมนำราชโชบายของราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่นสร้างจิตอาสาในชุมชน โดย ราชภัฏสร้าง “จิตอาสาประชารัฐพัฒนาชุมชน” ให้เป็นไปตาม ปณิทานของราชภัฏ “”คนของพระราชา ข้าของแผนดิน” ที่ร่วมกันในการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป อันจะส่งผลให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏได้นำนักศึกษาและอาจารย์ได้ลงปฏิบัติการ วิจัยและศึกษาข้อมูลในชุมชน โดยนำนักศึกษาลงพื้นที่ปฏิบัติจริงในชุมชน เสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนให้ครอบคลุมในการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยใช้ศาสตร์ที่ได้ศึกษาในหลักสูตร บูรณาการเข้ากับศาสตร์ของกลุ่มที่ร่วมพัฒนา สร้างองค์ความรู้ใหม่ “ชีวิต ๔.๐ ในชุมชนมีความสุขด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต”
การเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึง อาจารย์ นักศึกษา ชุมชน ได้เข้าใจการใช้ชีวิตในแต่ละบริบท สร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้สภาพแสดล้อม สื่อ เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ นำความรู้ที่ได้มาจัดการชีวิตสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จิตอาสา หมายถึง การที่ทีมงานวิจัยและสมาชิกที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกิจกรรม/โครงการ อันได้แก่ ผู้บริหารบุคลากรและนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย เข้าใจหน้าที่ และสิทธิ การเป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ตามคุณลักณะ ๔ ประการ ในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ความเข้าใจการปกครอง การใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข การอยู่ร่วมกับสังคม การพึ่งพาอาสัยกันและการเสียสระเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมให้เกิด ประโยชน์และความสุขมากขึ้น โดยอาสาสมัครร่วมสร้างงาน สร้างกิจกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวกต่อสังคมและชุมชน
การเรียนรู้จากชุมชน จะทำให้ได้พบข้อเท็จจริง ที่เป็นความต้องการของชุมชน จะได้แนวทางและความต้องการของชุมชนที่ชัดเจน การพัฒนา สร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง มีรายได้ เข้าใจ เข้าถึงการใช้ชีวิต ในโลกเทคโนโลยี โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการกับศาสตร์พระราชา เพื่อให้สังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีกินอย่างมีความสุขและปลอดภัยจากเทคโนโลยี สามารถใช้ชีวิตได้อย่างผาสุข มีความรักสามัคี เข้าใจหน้าที่ บทบาทการเป็นพลเมืองในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอย่างยั่งยืนสืบไป
จากการร่วมจากการลงพื้นที่ เพื่อสอบถาม บริบท ปัญหา และความต้องการกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่ ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ พบว่า ชุมชนมีความต้องการเบื้องต้นดังนี้
๑. ต้องการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเพื่อพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นพี่เลี้ยงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
๒. ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ด้านการการศึกษา ในชุมชนมี โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒ แห่ง ที่เด็กในวัยเรียน ๑๙๗ คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๕๙ คน
๓. ด้านสาธารณสุขพื้นฐาน เทศบาลตำบลลำคลอง มีสถานีอนามัย ตั้งอยู่ที่บ้านสะอาดนาทม หมู่ที่ ๑ มีจำนวนบุคลากร ๔ คน อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐ และการดูแลสุขอนามัยของชุมชน เนื่องจากนุมชนมีการเลี้ยงสัตว์ วัว โค หมู่ ไก่ เป็น สุนัข และแมว
๔. อาชญากรรมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีสถานีตำรวจภายในตำบล ในการรักษาความปลอดภัยภายในตำบล ภายในหมู่บ้าน ทำให้ผู้นำชุมชนเป็นผู้ดูแลความปลอดภัยและรักษาความสงบ ถ้าเกิดเหตุจะประสานไปยังตำรวจภายใน สภ. ลำปาว ดังนั้นการสร้างจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สร้างพลังของชุมชนให้มีความรักสามัคคี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ชุมชนต้องการให้เกิดขึ้นในชุมชน
๕. ยาเสพติด ปัญหาด้านการค้าและแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ อยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ยาเสพติดที่มีปัญหาการค้าและแพร่ระบาดมากที่สุด คือ ยาบ้า รองลงมาเป็นกัญชาแห้ง และสารระเหย ตามลำดับ ส่วนไอซ์ กัญชาสด และพืชกระท่อม สภาพปัญหาอยู่ในระดับไม่รุนแรง การสังคมสงเคราะห์ งานในด้านการบำบัดและพื้นฟูผู้ป่วยและผู้ติดยาเสพติด และการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดและพื้นฟู แก้ไขผู้กระทำผิดประกอบด้วยผู้กระทำผิดที่มาจากหลากหลายรูปแบบของสังคม เป็นเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ชาย หญิง ผู้พิการ
๖. ด้านระบบบริการพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง เทศบาลตำบลลำคลอง มีพื้นที่ห่างจากเมืองกาฬสินธุ์ ๒๐ กิโลเมตร ผ่านไปยัง อำเภอสหัสขันธ์ ส่วนภายในตำบล ถนนสายหลักที่ผ่านภายในหมู่บ้านจะเป็นลาดยาง คสล. และถนนลูกรัง ถนนลูกรังจะมีปัญหาในการคมนาคม ในฤดูฝน เนื่องจากเป็นหลุมเป็นบ่อน้ำขัง
การไฟฟ้า หมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน ๗ หมู่บ้าน และการประปา เทศบาลตำบลลำคลองได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนในการจัดให้มีน้ำประปาอย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ปัจจุบันเทศบาลตำบลลำคลองมีระบบน้ำประปาผิวดิน จำนวน ๖ โครงการ ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในการอุปโภคบริโภค ความต้องการของชุมชนเป็นอย่างไร ต้องการทำอะไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๗. ไปรษณีย์และการสื่อสาร ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการไปรษณีย์ในเขตพื้นที่ตำบลไกลเคียงคือตำบลหนองสอ ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร แต่มีเจ้าหนี้ให้บริการในพื้นที่ การสื่อสารประชาชนในพื้นที่ให้โทรศัพท์สาธารณะเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการตืดต่อสื่อสารเป็นหลัก หากชุมชนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ชุมชนมีอยู่ให้เกิดประโยชน์ รู้จักใช้ จะช่วยด้านการสื่อสารได้สะดวกขึ้น
๘. ระบบเศรษฐกิจ ชุมชนมีอาชีพและรายได้จากการประกอบอาชีพดังนี้ ด้านการเกษตรประชากรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ ข้อมูลด้านการเกษตร พื้นที่ทั้งหมด ๑๔,๗๔๔ ไร่
(๑) ข้าวนาปี ๗,๒๑๔ ไร่ จำนวน ๔๕๖ ครัวเรือน
(๒) ข้าวนาปรัง ๑.๒๐๐ ไร่ จำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน
(๓) พืชไร่ ๒,๖๐๒ ไร่ จำนวน ๑,๒๖๔ ครัวเรือน
(๔) ไม้ผล ๘ ไร่ จำนวน ๙ ครัวเรือน
(๕) ไม้ยืนต้น ๕๒ ไร่ จำนวน ๓ ครัวเรือน
(๖) พืชผัก ๗๔ ไร่ จำนวน ๑๐๗ ครัวเรือน
(๗) การเกษตรอื่นๆ ๑๑๒ ไร่ จำนวน ๕๖ ครัวเรือน
๘.๒ ด้านการประมง ได้แก่ (๑) การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (๒) การเลี้ยงปลาในบ่อดิน (๓) การอนุบาล ลูกปลานิลเพื่อจำน่าย และ (๔) อาชีพการประมงน้ำจืดในเขื่อนลำปาว
๘.๓ ด้านประศุสัตว์ ได้แก่ (๑) การเลี้ยง โค กระบือ (๒) การเลี้ยงสุกร และ (๓) การเลี้ยงเป็ด ไก่ดำ ไก่พันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์พื้นเมือง
๘.๔ ด้านการบริการ เทศบาลตำบลลำคลองได้จัดให้มีการบริการประชาชนดังนี้ (๑) ด้านการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินโดยเปิดให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง (๒) การให้บริการจัดเก็บภาษีเคลื่อนที่ (๓) การให้บริการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และ (๔) การบริการเก็บขยะ และการดูดสิ่งปฏิกูลโดยคิดค่าบริการในราคาต่ำเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่
๘.๕ การท่องเที่ยว พื้นที่รับผิดชอบติดกับแหล่งท่องเทียวที่สำคัญ เช่น จุดชมวิวเขื่อนลำปาว ตลาดชุมชนคนขายปลา (ผันน้ำ) และ หาดดอกเกด (ทะเลอีสาน)
๘.๖ อุสาหกรรม พื้นที่เทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีโรงงานอุสาหกรรม ในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองเป็นลักษณะอุสาหกรรมในครัวเรือน เป็นอุสาหกรรมขนาดเล็ก
๘.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ เป็นการรวมกลุ่มของประชาชน การรวมกลุ่มทุกประเภท …๑๓… กลุ่ม แยกประเภทกลุ่ม (๑) กลุ่มอาชีพ ๑๓ กลุ่ม และ (๒) กลุ่มออมทรัพย์ ๑๒ กลุ่ม
๘.๘ แรงงาน ในพื้นที่เป็นการใช้แรงงานเกี่ยวกับการเกษตร การประมง การประศุสัตว์ ซึงเป็นอุสาหกรรมในครัวเรือน และการใช้แรงงานด้านการก่อสร้างในพื้นที่ และพื้นที่ไกลเคียงเป็นบ่างส่วน ประชากรส่วนมากในพื้นที่ ประกอบอาชีพเกษตรซึ่งซึ่งมีลักษณะการใช้แรงงานเป็นกลุ่ม เป็นชุมชนหมุนเวียนในกลุ่ม ในชุนชน
๙. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การนับถือศาสนา ประชากรส่วนมากในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองนับถือศาสนาพุทธ สถาบัน องค์กรทางศาสนา เช่น วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน ๗ แห่ง ได้แก่ วัดบ้านสะอาดนาทม วัดป่าศิริวรรณ วันศิริเจริญสุข วัดอนุมัจฉาราม วัดป่าชลประทานนิมิต วัดอัมพวันม่วงน้อย และ วัดมัจฉาราม และประเพณีและงานประจำปี ชุมชนมี ประเพณี มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมคติความเชื่อวิถีปฏิบัติที่หลากหลายแต่ละฤดู เดือน จะมีพิธีปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อหลากหลาย ชาวอีสานจะรู้จักดี คือ ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด โดยฮีตสิบสองคลองสิบสี่นี้ จะประกอบไปด้วย ฮีต ๑๒ ฮีต และคลอง ๔ ประเภท มี ๑๔ คลอง ได้แก่ บุญเข้ากรรม(บุญเดือนอ้าย) บุญคูณลาน เดือนยี่ บุญข้าวจี่(เดือนสาม) บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (เดือนสี่) บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) บุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) บุญเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเอาทรัพยากรความรู้ ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งอาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นลักษณะประจำท้องถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นเกิดจากการที่ชาวบ้านแสวงหาความรู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคมที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น การประกอบประเพณี พิธีกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้กระทำสบายใจ รู้สึกอบอุ่นไม่โดดเดี่ยว ให้คุณค่าทางจิตใจและความรู้สึกถือว่าเป็นพลังทางศีลธรรมหรือประเพณี การรวมกำลังช่วยกันทำงานที่ใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำได้สำเร็จคนเดียว เช่น สร้างวัด สร้างถนนหนทาง หรือขุดลอกแหล่งน้ำ เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันภายในชุมชน ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยทั่วไปภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นประโยชน์แก่คนทุกระดับมีลักษณะเด่นคือสร้างสำนึกเป็นหมู่คณะสูงทั้งในระดับครอบครัวและเครือญาติ
และสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เป็นสินค้าที่เกิดจากการผลิตของกลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากเทศบาลตำบลลำคลองเช่น ตระกล้าไม้ไผ่ จากกลุ่มจักรสาร ปลาส้มถอดก้าง ปลาแห้ง ปลาหล้า กุ้งก้ามกราม ผักปลอด

๑๐. ด้านทรัพยากร เทศบาลลำคลองมีทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติและป้าไม้ในที่สาธารณา ดังนี้
๑๐.๑ แหล่งน้ำธรรมชาติ เทศบาลตำบลลำคลอง มีแหล่งดังนี้ แม่น้ำที่เป็นลำห้วย ๔ สาย ที่สำคัญคือ ลำน้ำปาว ลำห้วยซัน ลำห้วยน้อย และลำห้วยใหญ่ บึง,หนองและอื่นๆ ๗ แห่ง ที่สำคัญคือ หนองหัวลิง, หนองสิม, หนองแวง, หนองค่า หนองม่วง กุดฟ้าน้อย และกุดฟ้าใหญ่
๑๐.๒ ป่าไม้ทุ่งที่อยู่ในที่สาธารณะประโยชน์ ได้แก่ โคกดอนก่อ ดอนปู่ตาบ้านหาดทอง โคกป่าช้าหนองม่วง โคกวัดป่าศิวิวรรณ ดอนปู่ตาบ้านสะอาดใต้
๑๐.๓ ด้านคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นป่าเสื่ยมโทรม ซึ่งเกิดจาการบุกรุกของประชาชนในพื้นที่ ซึงเทศบาลตำบลลำคลองได้มีโครงการปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายประจำทุกปี หาประชาชนมีความเข้าใจในการรักษาป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติจะส่งผลให้การอนุรักษ์ป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำ ที่ใช้ในการหาเห็น ที่อยู่อาศัยของนก สัตว์ป่า และแหล่งเลี้ยงชุมชน จะมีป่าอยู่คู่กับชุมชนต่อไป

ดังนั้นจากปัจจัยที่ ชุมชนมีโดยรวมแล้ว การสร้างชุมชนให้สามารถมีความเข้มแข็งสามารถพึงตนเองได้ นั้น จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลบริบทของชุมชน ปัญหา ศักยภาพและความต้องการของชุมชน โดยการใช้หลักการบูรณาการศาสตร์ โดยนักศึกษาและอาจารย์ลงพื้นที่ แฝงตัวในชุมชน เข้าพบและพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งร่วมใช้ชีวิตกับชุมชน เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน จะได้เข้าใจถึงการยอมรับและปฏิเสธความต้องการของชุมชนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
thanet เมื่อ 31 ต.ค. 2562 23:13 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน กลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2563)ปัจจุบันรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นในทุกมิติเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และจากวิสัยทัศน์และแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้จัดทำโครงการอาสาประชารัฐเพื่อมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 ที่มีคุณภาพ และการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการปฏิบัติงานจริงเพื่อให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่เรียนสู่การปฏิบัติงานตรงตามวิชาชีพของตนเองโดยมีชุมชนเป็นฐานในการฝึกปฏิบัติ และมุ่งเน้นผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาด้านความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิต เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน
อำเภอเขาวงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร ปลูกข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวภูไท พูดภาษาภูไท มีอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และหัตถกรรม ทอผ้า ทำเครื่องจักสาน และไม้กวาด และในตำบลคุ้มเก่าได้มีการก่อตั้งกลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 15 หมู่ 10 บ้านกุดตอแก่น ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้แก่กลุ่มแม่บ้านของบ้านกุดตอแก่น นำโดยคุณวารี ศรีประไหม หัวหน้ากลุ่ม หลังว่างจากการทำการเกษตร กลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือได้มีการพัฒนาสินค้าหลักคือเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ มีรูปแบบเสื้อหลากหลายรูปแบบตามที่มีรายการสั่งของลูกค้า จากการสัมภาษณ์คุณอัจฉราวุฒิ ศรีประไหม หนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม พบว่า ทางกลุ่มยังขาดองค์ความรู้ด้านหลากหลายด้านที่ต้องการให้หน่วยงานของรัฐบาลหรือสถานศึกษาเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังเช่น ภาพลักษณ์ของผ้าย้อมครามสกลนคร เป็นต้น ความต้องการให้ผ้าภูไทปักลายด้วยมือมีการยอมรับและเป็นที่รู้จักจากกลุ่มลูกค้าทั้งภายในและต่างประเทศ นับว่าเป็นโจทย์ท้าทายที่ทางคณะดำเนินงานเล็งเห็น และอยากนำองค์ความรู้จากทั้งศาสตร์การออกแบบผลิตภัณฑ์ วิศวกรรมเครืองกล ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาททางการออกแบบ การผลิต การตลาด การประชาสัมพันธ์ และการขาย มุ่งสร้างอัตลักษณ์เรื่องราว (Storytelling) ให้กับสินค้าส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการขายสินค้าของกลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ สร้างได้รายแก่คนในชุมชน เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้ตระหนักถึงภารกิจด้านบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยตลอดมา การบริการวิชาการแก่ชุมชนเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามให้ความสำคัญ การจัดทำโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนกลุ่มทอผ้าเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ นี้ คณะดำเนินงานได้เล็งเห็นความเชี่ยวชาญของอาจารย์และนักศึกษาจาก หลากหลายสาขาวิชาด้วยกันทั้งด้านการออกแบบมัลติมีเดีย ด้านวิศวกรรมเครืองกล ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้เข้ามามีบทบาทกับกิจกรรมการดำเนินโครงการต่างๆ ดังนี้ การออกแบบลายปักเสื้อภูไทด้วยมือที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์เสื้อเสื้อภูไทปักลายด้วยมือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เครื่องตัดลวดลายผ้าด้วยเลเซอร์แบบสองแกน การใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการขายสินค้าออนไลน์ การใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์และสังคมออนไลน์ด้วยสื่อมัลติมีเดีย คณะผู้ดำเนินงานมีแนวคิดนำความสามารถในด้านต่างๆ เหล่านี้สู่การถ่ายทอดองค์ความรู้แก่คนในชุมชนบ้านกุดตอแก่น ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ของอาจารย์แต่ละท่านเพื่อให้นักศึกษาได้นำประยุกต์องค์ความรู้ที่ได้รับในห้องเรียนสู่การใช้งานจริงนอกห้องเรียน อีกทั้งยังก่อประโยชน์ให้แก่คนในชุมชนที่สามารถนำความรู้และผลลัพธ์จากโครงการไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตสืบต่อไป
THARACH469 เมื่อ 31 ต.ค. 2562 23:12 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเครื่องอบพริกแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอัจฉริยะ สำหรับชุมชนตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2563)รัฐบาลได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชนผู้มีรายได้น้อยทั้งทางด้านการลดต้นทุนการผลิต การให้ความรู้ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การตลาด การช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิต และการใช้แนวคิด "ประชารัฐ "มาเป็นตัวการแก้ไขปัญหา และอาศัยกลไกความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ของประเทศไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(๒๕๖๑) จัดทำรายงาน“สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในระดับภาคของประเทศไทย”ขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลและสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในระดับภาคโดยแบ่งภาคออกเป็น๖ภาคได้แก่ภาคกลางภาคตะวันออกภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคใต้และภาคใต้ชายแดนซึ่งสถานการณ์ความยากจนใช้เส้นความยากจน (Poverty line) เป็นเกณฑ์ในการประเมินส่วนความเหลื่อมล้ำด้านรายได้สะท้อนจากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini Coefficient) ด้านรายได้และสะท้อนจากส่วนแบ่งรายได้ของประชากรในกลุ่มต่างๆ ตามระดับรายได้ทั้งนี้โดยนำเสนอข้อมูลความยากจนระดับภาคตั้งแต่ปี๒๕๕๖ - ๒๕๕๙และข้อมูลความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระดับภาคตั้งแต่ปี๒๕๕๔ปี๒๕๕๖และปี๒๕๕๘เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในระดับภาคในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
จากรายงานพบว่า การให้ความสำคัญกับปัญหาความยากจนในระดับจังหวัดของแต่ละภูมิภาคจะสามารถสะท้อนปัญหาความยากจนได้ชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงเกินกว่าร้อยละ๒๐ของประชากรทั้งหมดในจังหวัดซึ่งในปี๒๕๕๙มีทั้งหมด๑๒จังหวัดประกอบด้วยภาคกลาง๑จังหวัดคือชัยนาทภาคเหนือ๓จังหวัด คือแม่ฮ่องสอนตากน่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๕จังหวัดคือกาฬสินธุ์นครพนมบุรีรัมย์อำนาจเจริญ มุกดาหารภาคใต้ชายแดน๓จังหวัดคือนราธิวาสปัตตานียะลาทั้งนี้จาก๑๒จังหวัดที่มีความยากจนสูงดังกล่าว มีอยู่๗จังหวัดที่เป็นจังหวัดที่มีมิติทั้งความยากจนเรื้อรัง (จังหวัดที่ติดลำดับ๑ใน๑๐จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุดต่อเนื่องหลายปี) และความยากจนรุนแรง (จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงติดลำดับ๑ใน๑๐จังหวัดในปี๒๕๕๙) ได้แก่แม่ฮ่องสอนนราธิวาสปัตตานีกาฬสินธุ์นครพนมตากและบุรีรัมย์ซึ่งจังหวัดเหล่านี้ภาครัฐและภาคีการพัฒนาจะต้องให้ความสำคัญลำดับสูงในการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนต่อไป
จังหวัดกาฬสินธุ์ ถือเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นจังหวัดนำร่องโครงการ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ติดอันดับ ๑ ใน๑๐ ที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดต่อเนื่อง และมีความยากจนรุนแรง จากการลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูล พบว่า ตำบลลำคลองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ห่างจากเมืองกาฬสินธุ์ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีจำนวนประชากร / ครัวเรือน ดังโดยมีรายละเอียดดังนี้

ตารางที่ ๑จำนวนประชากร / ครัวเรือน
หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน ชื่อผู้นำ
ชาย หญิง รวม
๑ สะอาดนาทม ม.๑ ๔๗๗ ๔๘๖ ๙๖๓ ๓๖๐ นางคะนองศิลป์ กงมหา
๒ หนองสองห้อง ม.๒ ๑๙๓ ๑๙๘ ๓๙๑ ๑๐๑ นายเลิศ โศกชาตรี
๓ หาดทอง ม.๓ ๓๓๐ ๓๔๔ ๖๗๔ ๑๖๗ นายประมัย สงค์ประดิษฐ์
๔ ปลาเค้าน้อย ม.๖ ๓๗๓ ๓๘๘ ๗๖๑ ๑๘๐ นายสมศักดิ์ ภูกิ่งเงิน
๕ อัมพวัน ม.๗ ๒๒๑ ๒๒๗ ๔๔๘ ๑๓๙ นายสถาพร ภูบัวเงิน
๖ สะอาดใต้ ม. ๙ ๒๙๕ ๓๑๐ ๖๐๕ ๑๔๙ นายประวิทย์ ไชยงาม
๗ หนองม่วง ม. ๑๐ ๒๓๑ ๒๐๖ ๔๓๗ ๑๑๕ นายวิบูลย์ ภูมาตนา
รวม ๒,๑๒๐ ๒,๑๕๙ ๔,๒๗๙ ๑,๒๑๑
ที่มา :http://lamklong.go.th/?option=List&Menu=Sub&type=9&id=102&to=ข้อมูลพื้นฐาน&

สำหรับอาชีพ พบว่า ราษฎรเทศบาลตำบลลำคลองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีพื้นที่การเกษตรร้อยละ๙๐สามารถแยกประเภทได้ดังนี้

อาชีพทำนาเป็นอาชีพหลักของตำบลส่วนใหญ่ทำนาปีประมาณ๙๐% ของพื้นที่ทั้งหมด
อาชีพทำไร่พื้นที่ตำบลลำคลองเหมาะสมสำหรับทำไร่อ้อยไร่มันสำปะหลัง
อาชีพทำสวนส่วนใหญ่ทำสวนพริก,สวนผัก
อาชีพเลี้ยงสัตว์เลี้ยงกุ้ง,เลี้ยงปลา,เลี้ยงโค–กระบือ,เลี้ยงหมู,เลี้ยงไก่พื้นบ้าน

จากการลงพื้นที่ชุมชนตำบลลำคลอง พบว่า ปัญหาที่พบอย่างหนึ่ง คือ ผลผลิตจากการทำสวนพริก โดยส่วนใหญ่จำหน่ายเป็นพริกสดส่งผลให้ต้องจำหน่ายให้ทันเวลา และผลผลิตราคาต่ำ ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอ แต่ถ้าจะนำผลผลิตไปตากแห้ง ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และใช้เวลาหลายวัน ทำให้ไม่สามารถนำผลผลิตไปตากแห้งได้ตามที่ต้องการ
จากการสอบถามเกษตรกร พบว่า ความต้องการเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถวัดความชื้น อุณหภูมิ และปรับความร้อนได้โดยอัตโนมัติ และสามารถให้ข้อมูลการอบพริกแก่เกษตรกรได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากการอบแต่ละครั้ง เกษตรกรจะนำพริกมาอบแห้ง และไปทำงานอย่างอื่นต่อไป และเมื่อกระบวนการอบพริกเสร็จสิ้น ระบบของเครื่องอบสามารถส่งข้อความไปแจ้งสถานะแก่เกษตรกรได้ ซึ่งการอบพริก จะช่วยให้พริกไม่เน่าเสีย จัดเก็บไว้ได้นาน และขายได้ในราคาที่สูงกว่า
อนิรุทธิ์ต่ายขาวและสมบัติทีฆทรัพย์ (๒๕๕๖:๒๔) กล่าวว่า การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปความร้อนรูปแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงในการใช้งาน ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เมื่อเทียบกับการตากแดด เครื่องนี้สามารถช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองและการรบกวนจากแมลงทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพดีขึ้น และยังช่วยลดระยะเวลาในการตากแห้งอีกด้วย หากเทียบกับการอบแห้งเชิงอุตสาหกรรม ก็จะช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติอีกด้วย
โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน (ออนไลน์) ได้กล่าวว่า การอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งได้ ๒ระบบ คือ๑)ระบบ Passive คือ ระบบที่เครื่องอบแห้งทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมพัดผ่าน เช่น๑.๑) เครื่องตากแห้งโดยธรรมชาติ โดยวางวัตถุในกลางแจ้งอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์และกระแสลมจากบรรยากาศพัดผ่าน และระเหยความชื้นออกจากวัสดุ๑.๒) เครื่องอบแห้งแบบได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง วัสดุที่อบอยู่ในเครื่องอบแห้งซึ่งปกคลุมด้วยวัสดุโปร่งใสความร้อนที่ใช้อบแห้งได้มาจากการดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์ โดยอาศัยหลักการขยายตัวของอากาศภายในเครื่องอบแห้งทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ เพื่อช่วยถ่ายเทอากาศชื้น๑.๓) เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสม เครื่องอบแห้งแบบนี้วัสดุที่อยู่ภายใน จะได้รับความร้อน ๒ทาง คือทางตรงจากแสงอาทิตย์และทางอ้อมมาจากแผงรับรังสีแสงอาทิตย์ทำให้อากาศร้อนก่อนเข้าวัสดุอบแห้ง๒)ระบบActiveการอบแห้งระบบActive คือระบบอบแห้งที่มีเครื่องช่วยให้อากาศไหลเวียนในทิศทางที่ต้องการเช่นจะมีพัดลมติดตั้งในระบบเพื่อบังคับให้มีการไหลของอากาศผ่านระบบพัดลมจะดูดอากาศจากภายนอกให้ไหลผ่านแผงรับแสงอาทิตย์เพื่อรับความร้อนจากแผงรับแสงอาทิตย์อากาศร้อนที่ไหลผ่านพัดลมและห้องอบแห้งจะมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่าความชื้นของพืชผลจึงพาความชื้นจากพืชผลออกสู่ภายนอกทำให้พืชผลที่อบไว้แห้งได้และ ๓) ระบบ Hybrid คือ เครื่องอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และอาศัยพลังงานรูปอื่นเพิ่ม เช่น พลังงานเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า วัสดุอบแห้งจะได้ความร้อนจากอากาศร้อน ที่ผ่านเข้าแผงรับแสงอาทิตย์ การหมุนเวียนทางอากาศอาศัยพัดลม หรือเครื่องดูดอากาศช่วย
เครื่องอบพริกแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถดำเนินการได้โดยใช้เทคโนโลยีควบคุมการดำเนินงาน หรือระบบไอโอที (Internet of Things : IOT)เพื่อตรวจสอบ และควบคุม ความชื้น อุณหภูมิ และสามารถควบคุมพลังงานความร้อนได้ในตู้อบได้ ตลอดจนสื่อสารส่งข้อความไปแจ้งสถานะแก่เกษตรกรได้ มหศักดิ์เกตุฉ่ำ (ออนไลน์) กล่าวว่าเทคโนโลยี ไอโอที หรือ “อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง” หมายถึง การที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการ ควบคุมใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การสั่งเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้านเรือนเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยเทคโนโลยีนี้จะเป็นทั้งประโยชน์อย่างมหาศาล และความเสี่ยงไปพร้อมๆ กัน เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ดีพอ จะทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามากระทำการที่ไม่พึงประสงค์ต่ออุปกรณ์ข้อมูลสารสนเทศหรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลได้ ดังนั้น การพัฒนาไปสู่ไอโอทีจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนามาตรการและเทคนิคในการรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย
ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดพัฒนาเครื่องอบพริกแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอัจฉริยะ สำหรับชุมชน ตำบลลำคลอง อำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน ได้ใช้เครื่องมือที่ช่วยในการอบพริกช่วยในการประหยัดเวลา ที่สามารถอบแห้งได้ทั้งที่มีแสงอาทิตย์ และในสภาวะไม่มีแสงอาทิตย์โดยภายในตู้อบจะติดตั้งพลังงานความร้อนโดยอาศัยพลังงานไฟฟ้าเป็นทางเลือก ทั้งนี้เครื่องอบพริกแห้งนี้จะมีระบบควบคุมแบบอัจฉริยะ ที่สามารถตรวจสอบ และควบคุม ความชื้น อุณหภูมิ และสามารถควบคุมพลังงานความร้อนได้ในตู้อบได้ ตลอดจนสื่อสารส่งข้อความไปแจ้งสถานะแก่เกษตรกรได้ คณะผู้วิจัยคาดหวังว่า ผลจากการวิจัยจะช่วยให้เกษตรกรแปรรูปผลผลิตและจำหน่ายได้ราคาสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น มีการดำรงชีวิตที่มีความมั่นคง ยั่งยืนต่อไป
Thanakit เมื่อ 31 ต.ค. 2562 22:59 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชม “นวัตวิถีเอกลักษณ์ชุมชนกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต” หมู่บ้านหาดทอง (ปี 2563)ชุมชนต้องการให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าร่วมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน จากการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยดำเนินการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ โดยทีมงานสำนักบริการวิชาการ รศ.ประสบสุข ฤทธิเดช และคณะ ได้ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ส่งผลให้ ชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ให้ความสนใจขอให้มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนาชุมชน เมื่อชุมชน โดยการนำของผู้นำชุมชน นายสถาพร ฉายประดิษฐ์ นายกเทศบาล ได้มาติดต่อสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลั้ยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อให้ศึกษาและร่วมพัฒนาชุมชน โดยชุมชนมีความต้องการหลายประเด็น ทั้งนี้หากเป็นไปได้ การทำฐานข้อมูลชุมชน นำสู่การวิเคราะห์เพื่อยกระดับการคุณภาพชีวิตของชุมชน การเข้าใจ เข้าถึง ชุมชนในพื้นที่ จึงเป็นขุดเริ่มต้นในการเข้าร่วมพัฒนา ชุมชนอย่างแท้จริง การที่ชุมชนมีปัจจัยและสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ ทรัพยากร และความหลายกหลายอาชีพและรายได้ที่ดำเนินการชีวิตมาแต่เดิมนั้น หากจะเห็นการศึกษาเรียนรู้เข้าใจวัฒนธรรมของชุมชน สร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ดี ธำรงค์ไว้ และเติมเต็มในสิ่งที่ชุมชนต้องการเพื่อพัฒนาการเป็นอยู่ของชุมชนให้รู้เท่าทันประเทศไทยและโลก ๔.๐ รวมทั้งเทคโนโลยีอื่น ๆที่จะแทรกเข้ามาทางช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อันจะทำให้ชุมชนเข้าใจผิดและหลงเชื่อด้วยความรู้ไม่เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ดังนั้นการทำให้ชุมชนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ ในเทคโนโลยีผสานกับวิถีชีวิตของชุมชนอย่างเข้มแข็ง เพื่อธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดีดีงาม สืบสาน ต่อยอด จนทำให้สังคมได้รับการยอมรับหรือสร้างความโดเด่นเชิงวัฒนธรรมให้กับชุมชนได้นั้น ชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมใน ร่วมคิด ร่วมวางแผน วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ และขับเคลื่อนการพัฒนาไปด้วยกัน ให้เกิดผลงานที่เป็นผลลัพธ์ที่ส่งผลถึงความภาคภูมใจของชุมชน บนพื้นฐานวัฒฯธรรมและวิ๔ชีวิตของชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จึงสนใจรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เป็นการบูรณาการศาสตร์ “บูรณาการศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และปฏิบัติการในพื้นที่จริงให้กับนักศึกษา สร้างงานวิจัยให้กับอาจารย์พี่ลี้ยงที่เป็นงานวิชัยเชิงพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ให้กับประเทศชาติ โดยการนำนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ที่มีความรู้ในศาสตร์ มีประสบการณ์วิจัยในพื้นที่ ร่วมปฏิบัติการลงพื้นที่ในชุมชนที่ต้องและได้เสนอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามลงพื้นที่ เพื่อยกระดับส่งเสริมการพัฒนาชุมชน โดยชุมชนได้ขอร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจ MOU) เพื่อให้ชุมชนได้มีโอกาสพัฒนาต่อยอดตามบริบทและความต้องการของชุมชน ดังนี้ โครงการอาสาประชารัฐ ในครั้งนี้ จะเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากที่จะทำให้มหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบการส่งเสริมพัฒนาชุมชน โดยบูรณาการการเรียนการสอนของอาจารญ์และนักศึกษาหลาย ๆ ศาสตร์ ร่วมลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์บริบท ปัญหา สร้างฐานข้อมูลชุมชน นำมาวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอด
ผลที่ได้กับชุมชน ชุมชนจะมีความเข้าใจในตนเอง รู้จักหน้าที่และสิทธิ ในการครองตนการเป็นพลเมืองที่ดี สร้างสุขภาวะในชุมชน สร้างสุขภาพที่ดีของชุมชนและครอบครัว การดูแลตนเอง การรู้จัดเลือกกิน เลือกใช้ เลือกผลิต อาหารที่ถูกหลัก การดูแลสุขภาวะของตนเอง-คนสูงอายุและเด็กเล็ก-รวมทั้งเยาวชนในวัยเรียน ให้รู้จักการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเทคโนโลยีมือถือของชุมชน โดยกิจกรรมร่วมกับชุมชนน้อมนำราชโชบายของราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่นสร้างจิตอาสาในชุมชน โดย ราชภัฏสร้าง “จิตอาสาประชารัฐพัฒนาชุมชน” ให้เป็นไปตาม ปณิทานของราชภัฏ “”คนของพระราชา ข้าของแผนดิน” ที่ร่วมกันในการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป อันจะส่งผลให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏได้นำนักศึกษาและอาจารย์ได้ลงปฏิบัติการ วิจัยและศึกษาข้อมูลในชุมชน โดยนำนักศึกษาลงพื้นที่ปฏิบัติจริงในชุมชน เสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนให้ครอบคลุมในการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยใช้ศาสตร์ที่ได้ศึกษาในหลักสูตร บูรณาการเข้ากับศาสตร์ของกลุ่มที่ร่วมพัฒนา สร้างองค์ความรู้ใหม่ “ชีวิต ๔.๐ ในชุมชนมีความสุขด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต”
การเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึง อาจารย์ นักศึกษา ชุมชน ได้เข้าใจการใช้ชีวิตในแต่ละบริบท สร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้สภาพแสดล้อม สื่อ เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ นำความรู้ที่ได้มาจัดการชีวิตสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จิตอาสา หมายถึง การที่ทีมงานวิจัยและสมาชิกที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกิจกรรม/โครงการ อันได้แก่ ผู้บริหารบุคลากรและนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย เข้าใจหน้าที่ และสิทธิ การเป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ตามคุณลักณะ ๔ ประการ ในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ความเข้าใจการปกครอง การใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข การอยู่ร่วมกับสังคม การพึ่งพาอาสัยกันและการเสียสระเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมให้เกิด ประโยชน์และความสุขมากขึ้น โดยอาสาสมัครร่วมสร้างงาน สร้างกิจกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวกต่อสังคมและชุมชน
การเรียนรู้จากชุมชน จะทำให้ได้พบข้อเท็จจริง ที่เป็นความต้องการของชุมชน จะได้แนวทางและความต้องการของชุมชนที่ชัดเจน การพัฒนา สร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง มีรายได้ เข้าใจ เข้าถึงการใช้ชีวิต ในโลกเทคโนโลยี โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการกับศาสตร์พระราชา เพื่อให้สังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีกินอย่างมีความสุขและปลอดภัยจากเทคโนโลยี สามารถใช้ชีวิตได้อย่างผาสุข มีความรักสามัคี เข้าใจหน้าที่ บทบาทการเป็นพลเมืองในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอย่างยั่งยืนสืบไป
จากการร่วมจากการลงพื้นที่ เพื่อสอบถาม บริบท ปัญหา และความต้องการกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่ ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ พบว่า ชุมชนมีความต้องการเบื้องต้นดังนี้
๑. ต้องการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเพื่อพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นพี่เลี้ยงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
๒. ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ด้านการการศึกษา ในชุมชนมี โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒ แห่ง ที่เด็กในวัยเรียน ๑๙๗ คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๕๙ คน
๓. ด้านสาธารณสุขพื้นฐาน เทศบาลตำบลลำคลอง มีสถานีอนามัย ตั้งอยู่ที่บ้านสะอาดนาทม หมู่ที่ ๑ มีจำนวนบุคลากร ๔ คน อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐ และการดูแลสุขอนามัยของชุมชน เนื่องจากนุมชนมีการเลี้ยงสัตว์ วัว โค หมู่ ไก่ เป็น สุนัข และแมว
๔. อาชญากรรมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีสถานีตำรวจภายในตำบล ในการรักษาความปลอดภัยภายในตำบล ภายในหมู่บ้าน ทำให้ผู้นำชุมชนเป็นผู้ดูแลความปลอดภัยและรักษาความสงบ ถ้าเกิดเหตุจะประสานไปยังตำรวจภายใน สภ. ลำปาว ดังนั้นการสร้างจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สร้างพลังของชุมชนให้มีความรักสามัคคี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ชุมชนต้องการให้เกิดขึ้นในชุมชน
๕. ยาเสพติด ปัญหาด้านการค้าและแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ อยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ยาเสพติดที่มีปัญหาการค้าและแพร่ระบาดมากที่สุด คือ ยาบ้า รองลงมาเป็นกัญชาแห้ง และสารระเหย ตามลำดับ ส่วนไอซ์ กัญชาสด และพืชกระท่อม สภาพปัญหาอยู่ในระดับไม่รุนแรง การสังคมสงเคราะห์ งานในด้านการบำบัดและพื้นฟูผู้ป่วยและผู้ติดยาเสพติด และการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดและพื้นฟู แก้ไขผู้กระทำผิดประกอบด้วยผู้กระทำผิดที่มาจากหลากหลายรูปแบบของสังคม เป็นเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ชาย หญิง ผู้พิการ
๖. ด้านระบบบริการพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง เทศบาลตำบลลำคลอง มีพื้นที่ห่างจากเมืองกาฬสินธุ์ ๒๐ กิโลเมตร ผ่านไปยัง อำเภอสหัสขันธ์ ส่วนภายในตำบล ถนนสายหลักที่ผ่านภายในหมู่บ้านจะเป็นลาดยาง คสล. และถนนลูกรัง ถนนลูกรังจะมีปัญหาในการคมนาคม ในฤดูฝน เนื่องจากเป็นหลุมเป็นบ่อน้ำขัง
การไฟฟ้า หมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน ๗ หมู่บ้าน และการประปา เทศบาลตำบลลำคลองได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนในการจัดให้มีน้ำประปาอย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ปัจจุบันเทศบาลตำบลลำคลองมีระบบน้ำประปาผิวดิน จำนวน ๖ โครงการ ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในการอุปโภคบริโภค ความต้องการของชุมชนเป็นอย่างไร ต้องการทำอะไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๗. ไปรษณีย์และการสื่อสาร ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการไปรษณีย์ในเขตพื้นที่ตำบลไกลเคียงคือตำบลหนองสอ ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร แต่มีเจ้าหนี้ให้บริการในพื้นที่ การสื่อสารประชาชนในพื้นที่ให้โทรศัพท์สาธารณะเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการตืดต่อสื่อสารเป็นหลัก หากชุมชนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ชุมชนมีอยู่ให้เกิดประโยชน์ รู้จักใช้ จะช่วยด้านการสื่อสารได้สะดวกขึ้น
๘. ระบบเศรษฐกิจ ชุมชนมีอาชีพและรายได้จากการประกอบอาชีพดังนี้ ด้านการเกษตรประชากรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ ข้อมูลด้านการเกษตร พื้นที่ทั้งหมด ๑๔,๗๔๔ ไร่
(๑) ข้าวนาปี ๗,๒๑๔ ไร่ จำนวน ๔๕๖ ครัวเรือน
(๒) ข้าวนาปรัง ๑.๒๐๐ ไร่ จำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน
(๓) พืชไร่ ๒,๖๐๒ ไร่ จำนวน ๑,๒๖๔ ครัวเรือน
(๔) ไม้ผล ๘ ไร่ จำนวน ๙ ครัวเรือน
(๕) ไม้ยืนต้น ๕๒ ไร่ จำนวน ๓ ครัวเรือน
(๖) พืชผัก ๗๔ ไร่ จำนวน ๑๐๗ ครัวเรือน
(๗) การเกษตรอื่นๆ ๑๑๒ ไร่ จำนวน ๕๖ ครัวเรือน
๘.๒ ด้านการประมง ได้แก่ (๑) การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (๒) การเลี้ยงปลาในบ่อดิน (๓) การอนุบาล ลูกปลานิลเพื่อจำน่าย และ (๔) อาชีพการประมงน้ำจืดในเขื่อนลำปาว
๘.๓ ด้านประศุสัตว์ ได้แก่ (๑) การเลี้ยง โค กระบือ (๒) การเลี้ยงสุกร และ (๓) การเลี้ยงเป็ด ไก่ดำ ไก่พันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์พื้นเมือง
๘.๔ ด้านการบริการ เทศบาลตำบลลำคลองได้จัดให้มีการบริการประชาชนดังนี้ (๑) ด้านการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินโดยเปิดให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง (๒) การให้บริการจัดเก็บภาษีเคลื่อนที่ (๓) การให้บริการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และ (๔) การบริการเก็บขยะ และการดูดสิ่งปฏิกูลโดยคิดค่าบริการในราคาต่ำเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่
๘.๕ การท่องเที่ยว พื้นที่รับผิดชอบติดกับแหล่งท่องเทียวที่สำคัญ เช่น จุดชมวิวเขื่อนลำปาว ตลาดชุมชนคนขายปลา (ผันน้ำ) และ หาดดอกเกด (ทะเลอีสาน)
๘.๖ อุสาหกรรม พื้นที่เทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีโรงงานอุสาหกรรม ในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองเป็นลักษณะอุสาหกรรมในครัวเรือน เป็นอุสาหกรรมขนาดเล็ก
๘.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ เป็นการรวมกลุ่มของประชาชน การรวมกลุ่มทุกประเภท …๑๓… กลุ่ม แยกประเภทกลุ่ม (๑) กลุ่มอาชีพ ๑๓ กลุ่ม และ (๒) กลุ่มออมทรัพย์ ๑๒ กลุ่ม
๘.๘ แรงงาน ในพื้นที่เป็นการใช้แรงงานเกี่ยวกับการเกษตร การประมง การประศุสัตว์ ซึงเป็นอุสาหกรรมในครัวเรือน และการใช้แรงงานด้านการก่อสร้างในพื้นที่ และพื้นที่ไกลเคียงเป็นบ่างส่วน ประชากรส่วนมากในพื้นที่ ประกอบอาชีพเกษตรซึ่งซึ่งมีลักษณะการใช้แรงงานเป็นกลุ่ม เป็นชุมชนหมุนเวียนในกลุ่ม ในชุนชน
๙. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การนับถือศาสนา ประชากรส่วนมากในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองนับถือศาสนาพุทธ สถาบัน องค์กรทางศาสนา เช่น วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน ๗ แห่ง ได้แก่ วัดบ้านสะอาดนาทม วัดป่าศิริวรรณ วันศิริเจริญสุข วัดอนุมัจฉาราม วัดป่าชลประทานนิมิต วัดอัมพวันม่วงน้อย และ วัดมัจฉาราม และประเพณีและงานประจำปี ชุมชนมี ประเพณี มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมคติความเชื่อวิถีปฏิบัติที่หลากหลายแต่ละฤดู เดือน จะมีพิธีปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อหลากหลาย ชาวอีสานจะรู้จักดี คือ ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด โดยฮีตสิบสองคลองสิบสี่นี้ จะประกอบไปด้วย ฮีต ๑๒ ฮีต และคลอง ๔ ประเภท มี ๑๔ คลอง ได้แก่ บุญเข้ากรรม(บุญเดือนอ้าย) บุญคูณลาน เดือนยี่ บุญข้าวจี่(เดือนสาม) บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (เดือนสี่) บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) บุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) บุญเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเอาทรัพยากรความรู้ ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งอาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นลักษณะประจำท้องถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นเกิดจากการที่ชาวบ้านแสวงหาความรู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคมที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น การประกอบประเพณี พิธีกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้กระทำสบายใจ รู้สึกอบอุ่นไม่โดดเดี่ยว ให้คุณค่าทางจิตใจและความรู้สึกถือว่าเป็นพลังทางศีลธรรมหรือประเพณี การรวมกำลังช่วยกันทำงานที่ใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำได้สำเร็จคนเดียว เช่น สร้างวัด สร้างถนนหนทาง หรือขุดลอกแหล่งน้ำ เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันภายในชุมชน ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยทั่วไปภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นประโยชน์แก่คนทุกระดับมีลักษณะเด่นคือสร้างสำนึกเป็นหมู่คณะสูงทั้งในระดับครอบครัวและเครือญาติ
และสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เป็นสินค้าที่เกิดจากการผลิตของกลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากเทศบาลตำบลลำคลองเช่น ตระกล้าไม้ไผ่ จากกลุ่มจักรสาร ปลาส้มถอดก้าง ปลาแห้ง ปลาหล้า กุ้งก้ามกราม ผักปลอด

๑๐. ด้านทรัพยากร เทศบาลลำคลองมีทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติและป้าไม้ในที่สาธารณา ดังนี้
๑๐.๑ แหล่งน้ำธรรมชาติ เทศบาลตำบลลำคลอง มีแหล่งดังนี้ แม่น้ำที่เป็นลำห้วย ๔ สาย ที่สำคัญคือ ลำน้ำปาว ลำห้วยซัน ลำห้วยน้อย และลำห้วยใหญ่ บึง,หนองและอื่นๆ ๗ แห่ง ที่สำคัญคือ หนองหัวลิง, หนองสิม, หนองแวง, หนองค่า หนองม่วง กุดฟ้าน้อย และกุดฟ้าใหญ่
๑๐.๒ ป่าไม้ทุ่งที่อยู่ในที่สาธารณะประโยชน์ ได้แก่ โคกดอนก่อ ดอนปู่ตาบ้านหาดทอง โคกป่าช้าหนองม่วง โคกวัดป่าศิวิวรรณ ดอนปู่ตาบ้านสะอาดใต้
๑๐.๓ ด้านคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นป่าเสื่ยมโทรม ซึ่งเกิดจาการบุกรุกของประชาชนในพื้นที่ ซึงเทศบาลตำบลลำคลองได้มีโครงการปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายประจำทุกปี หาประชาชนมีความเข้าใจในการรักษาป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติจะส่งผลให้การอนุรักษ์ป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำ ที่ใช้ในการหาเห็น ที่อยู่อาศัยของนก สัตว์ป่า และแหล่งเลี้ยงชุมชน จะมีป่าอยู่คู่กับชุมชนต่อไป

ดังนั้นจากปัจจัยที่ ชุมชนมีโดยรวมแล้ว การสร้างชุมชนให้สามารถมีความเข้มแข็งสามารถพึงตนเองได้ นั้น จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลบริบทของชุมชน ปัญหา ศักยภาพและความต้องการของชุมชน โดยการใช้หลักการบูรณาการศาสตร์ โดยนักศึกษาและอาจารย์ลงพื้นที่ แฝงตัวในชุมชน เข้าพบและพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งร่วมใช้ชีวิตกับชุมชน เพื่อเรียนรู้วิ๔ชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน จะได้เข้าใจถึงการยอมรับและปฏิเสธความต้องการของชุมชนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
Thanyakon เมื่อ 31 ต.ค. 2562 22:50 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการอบรมการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ขั้นสูง (ปี 2562)ปัจจุบันโทรศัพท์มือหรือแทบเล็ตมีบทบาทอย่างมากในชีวิตการทำงานติดต่อ สื่อสารการเข้าถึงข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดความต้องการในการใช้งานแอพพลิเคชั่นมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแผนที่นำทางการส่งข้อมูลข่าวสารการถ่ายรูปและบันทึกวิดีโอการใช้งานอินเตอร์เน็ตส่งผลให้ประชาชนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างมีความต้องการพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆเพื่อรองรับการเติบโตของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและแทบเล็ตในปัจจุบันจากผลการสำรวจของบริษัทวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์ฉัแดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยจากพื้นที่สำรวจในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าคนคนส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 42 นาทีโดย 86% เป็นเวลาที่ใช้งานบนแอพพลิเคชั่นและอีก 14% ที่ใช้งานบนเว็บบราวเซอร์บนมือถือซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่แล้วพฤติกรรมการใช้งานแอพพลิเคชั่นมีอัตราเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้มีความต้องการนักพัฒนาโปรแกรมบนระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์มืออาชีพรองรับความต้องการของตลาดแรงงานไอทีในยุคปัจจุบันได้ทันท่วงทีระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์เป็นซอฟต์แวร์ที่มีโครงสร้างแบบเรียงทับซ้อนหรือแบบสแตกค์ซึ่งรวมเอาระบบปฏิบัติการมิเดอร์แวร์และแอพพลิเคชั่นที่สำคัญเข้าไว้ด้วยกันที่ใช้สำหรับทำงานบนอุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่โดยเฉพาะการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ได้เปิดกว้างให้กับนักพัฒนาโปรแกรมสามารถพัฒนาโปรแกรมแอพพลิเคชั่นได้อย่างอิสระประกอบกับบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้เปิดตัวอุปกรณ์รุ่นใหม่มาจำหน่ายอย่างมากมายหลากหลายรุ่นในอนาคตการเติบโตจะเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย
Thanyakon เมื่อ 31 ต.ค. 2562 22:30 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการการใช้กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของเยาวชนในจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น (ปี 2560)ในสังคมโลกปัจจุบันการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารการศึกษาการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมและเพื่อการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อให้สามารถนำไปสู่ไปสู่การแข่งขันด้านเศรษฐกิจเข้าใจความแตกต่างทางการเมืองและวัฒนธรรมอีกทั้งยังสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้คนในสังคมโลกที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันของแต่ละเชื้อชาติเพื่อที่จะปฏิบัติตนต่อกันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมภาษาอังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยในปัจจุบันมากขึ้นการเรียนรู้ภาษาไทยอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิตให้ทันต่อเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกได้การสอนภาษาต่างประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีวิธีการสอนที่แตกต่างหลากหลายตามหลักแนวคิดพื้นฐานและวิธีการสอนภาษาที่ต่างกันออกไปตามแต่พี่นางภาษาศาสตร์ประยุกต์คิดคนขึ้นที่ใช้ในการสอนหรือ ปรับปรุงการสอน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นการสอนภาษาอังกฤษตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เกิดขึ้นประมาณปีค.ศ. 1970 และได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศอังกฤษนี่ช่างเป็นแนวทางการสอนที่เน้นเรื่องการสื่อสารตามสถานการณ์ในการใช้ภาษาจริงๆมากกว่าการเน้นการสอนเรื่องรูปแบบหรือโครงสร้างของภาษาเพียงอย่างเดียวแต่การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยปัจจุบันยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากผู้เรียนไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
sirinpa เมื่อ 31 ต.ค. 2562 22:27 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาป่าสมุนไพรชุมชนในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (ปี 2563)โดยพื้นฐานสังคมชนบทไทย แต่ละชุมชนต่างล้วนอาศัยพึ่งพาป่าเพื่อปัจจัย 4 ซึ่งได้แก่ แหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคและเครื่องนุ่งห่ม ที่มีความสำคัญต่อชีวิตมาเป็นเวลานาน อีกทั้งป่ายังเป็นแหล่งที่มาของความเชื่อ ประเพณี ซึ่งเป็นรากฐานความสัมพันธ์ของชุมชน บทบาทของป่าต่อความอยู่รอดของชุมชนจึงมีมาเนิ่นนานและไม่สามารถแยกจากกันได้ ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงาน องค์กร สถาบันต่างๆ ได้มีการมุ่งอนุรักษ์ป่าที่อยู่ในชุมชนต่างๆโดยการเข้าไปช่วยในการจัดการทรัพยากรภายในชุมชน เพื่อให้ป่าชุมชนนั้นสามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การช่วยลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมของคนในชุมชน จากการถูกแย่งชิงทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศ และเป็นแนวทางหนึ่งในการรักษาพื้นที่ป่าและความสมบูรณ์ของนิเวศป่าไม้ เพื่อให้ระบบนิเวศคงความสมดุล และยังสมารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจได้ ทั้งนี้ ประโยชน์จากป่าชุมชนในประเทศอาจกล่าวได้ว่ามี 3 ด้าน คือ 1) ประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อม 2) ประโยชน์ทางด้านสังคม และ 3) ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ป่าชุมชนจึงเป็นกลไกที่สำคัญที่เป็นช่องทางให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ จัดการ ฟื้นฟูให้ป่ามีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น และมีการใช้ทรัพยากรและผลผลิตจากป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความมั่นคงแห่งชีวิตของคนในชุมชน
จากที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น ในปีงบประมาณ 2562 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการสนับสนุนให้บุคลากรและคณาจารย์ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในพื้นที่เขตบ้านบอนเขียว ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้รับข้อมูลจากศิษย์เก่าที่ประสงค์ขอความอนุเคราะห์ให้สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้ลงไปสร้างความเข้าใจและแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าในชุมชนบ้านบอนเขียว ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่เยาวชนหรือผู้ที่สนใจและเสริมสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่ป่าในเขตบ้านบอนเขียว ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เคยมีป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นพื้นที่ป่าสมุนไพรที่ชุมชนเข้าไปใช้ประโยชน์ทั้งด้านอาหาร ยารักษาโรค ต้นน้ำ การเกษตร ฯ หากแต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าได้ถูกลุกล้ำและถูกทำลายโดยคนในชุมชน เพราะชุมชนไม่เห็นถึงความสำคัญประโยชน์ และการอนุรักษ์ป่าชุมชนเพื่อให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ดังนั้นสำนักศิลปะและวัฒนธรรมจึงมีนโยบายในการที่จำดำเนินโครงการกิจกรรมเพื่อตอบรับกับความต้องการของชุมชนในการสร้างแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าสมุนไพรของชุมชนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งและเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และเส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในเขตพื้นที่ป่าสมุนไพรของชุมชน โดยมุ่งการยกระดับรายได้ของคนและส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากแหล่งเรียนรู้ป่าสมุนไพรของชุมชน
Thanakit เมื่อ 31 ต.ค. 2562 22:16 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชม “นวัตวิถีเอกลักษณ์ชุมชนกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต” หมู่บ้านหนองม่วง (ปี 2563)ชุมชนต้องการให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าร่วมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน จากการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยดำเนินการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ โดยทีมงานสำนักบริการวิชาการ รศ.ประสบสุข ฤทธิเดช และคณะ ได้ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ส่งผลให้ ชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ให้ความสนใจขอให้มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนาชุมชน เมื่อชุมชน โดยการนำของผู้นำชุมชน นายสถาพร ฉายประดิษฐ์ นายกเทศบาล ได้มาติดต่อสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลั้ยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อให้ศึกษาและร่วมพัฒนาชุมชน โดยชุมชนมีความต้องการหลายประเด็น ทั้งนี้หากเป็นไปได้ การทำฐานข้อมูลชุมชน นำสู่การวิเคราะห์เพื่อยกระดับการคุณภาพชีวิตของชุมชน การเข้าใจ เข้าถึง ชุมชนในพื้นที่ จึงเป็นขุดเริ่มต้นในการเข้าร่วมพัฒนา ชุมชนอย่างแท้จริง การที่ชุมชนมีปัจจัยและสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ ทรัพยากร และความหลายกหลายอาชีพและรายได้ที่ดำเนินการชีวิตมาแต่เดิมนั้น หากจะเห็นการศึกษาเรียนรู้เข้าใจวัฒนธรรมของชุมชน สร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ดี ธำรงค์ไว้ และเติมเต็มในสิ่งที่ชุมชนต้องการเพื่อพัฒนาการเป็นอยู่ของชุมชนให้รู้เท่าทันประเทศไทยและโลก ๔.๐ รวมทั้งเทคโนโลยีอื่น ๆที่จะแทรกเข้ามาทางช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อันจะทำให้ชุมชนเข้าใจผิดและหลงเชื่อด้วยความรู้ไม่เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ดังนั้นการทำให้ชุมชนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ ในเทคโนโลยีผสานกับวิถีชีวิตของชุมชนอย่างเข้มแข็ง เพื่อธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดีดีงาม สืบสาน ต่อยอด จนทำให้สังคมได้รับการยอมรับหรือสร้างความโดเด่นเชิงวัฒนธรรมให้กับชุมชนได้นั้น ชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมใน ร่วมคิด ร่วมวางแผน วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ และขับเคลื่อนการพัฒนาไปด้วยกัน ให้เกิดผลงานที่เป็นผลลัพธ์ที่ส่งผลถึงความภาคภูมใจของชุมชน บนพื้นฐานวัฒฯธรรมและวิ๔ชีวิตของชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จึงสนใจรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เป็นการบูรณาการศาสตร์ “บูรณาการศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และปฏิบัติการในพื้นที่จริงให้กับนักศึกษา สร้างงานวิจัยให้กับอาจารย์พี่ลี้ยงที่เป็นงานวิชัยเชิงพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ให้กับประเทศชาติ โดยการนำนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ที่มีความรู้ในศาสตร์ มีประสบการณ์วิจัยในพื้นที่ ร่วมปฏิบัติการลงพื้นที่ในชุมชนที่ต้องและได้เสนอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามลงพื้นที่ เพื่อยกระดับส่งเสริมการพัฒนาชุมชน โดยชุมชนได้ขอร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจ MOU) เพื่อให้ชุมชนได้มีโอกาสพัฒนาต่อยอดตามบริบทและความต้องการของชุมชน ดังนี้ โครงการอาสาประชารัฐ ในครั้งนี้ จะเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากที่จะทำให้มหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบการส่งเสริมพัฒนาชุมชน โดยบูรณาการการเรียนการสอนของอาจารญ์และนักศึกษาหลาย ๆ ศาสตร์ ร่วมลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์บริบท ปัญหา สร้างฐานข้อมูลชุมชน นำมาวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอด
ผลที่ได้กับชุมชน ชุมชนจะมีความเข้าใจในตนเอง รู้จักหน้าที่และสิทธิ ในการครองตนการเป็นพลเมืองที่ดี สร้างสุขภาวะในชุมชน สร้างสุขภาพที่ดีของชุมชนและครอบครัว การดูแลตนเอง การรู้จัดเลือกกิน เลือกใช้ เลือกผลิต อาหารที่ถูกหลัก การดูแลสุขภาวะของตนเอง-คนสูงอายุและเด็กเล็ก-รวมทั้งเยาวชนในวัยเรียน ให้รู้จักการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเทคโนโลยีมือถือของชุมชน โดยกิจกรรมร่วมกับชุมชนน้อมนำราชโชบายของราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่นสร้างจิตอาสาในชุมชน โดย ราชภัฏสร้าง “จิตอาสาประชารัฐพัฒนาชุมชน” ให้เป็นไปตาม ปณิทานของราชภัฏ “”คนของพระราชา ข้าของแผนดิน” ที่ร่วมกันในการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป อันจะส่งผลให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏได้นำนักศึกษาและอาจารย์ได้ลงปฏิบัติการ วิจัยและศึกษาข้อมูลในชุมชน โดยนำนักศึกษาลงพื้นที่ปฏิบัติจริงในชุมชน เสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนให้ครอบคลุมในการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยใช้ศาสตร์ที่ได้ศึกษาในหลักสูตร บูรณาการเข้ากับศาสตร์ของกลุ่มที่ร่วมพัฒนา สร้างองค์ความรู้ใหม่ “ชีวิต ๔.๐ ในชุมชนมีความสุขด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต”
การเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึง อาจารย์ นักศึกษา ชุมชน ได้เข้าใจการใช้ชีวิตในแต่ละบริบท สร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้สภาพแสดล้อม สื่อ เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ นำความรู้ที่ได้มาจัดการชีวิตสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จิตอาสา หมายถึง การที่ทีมงานวิจัยและสมาชิกที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกิจกรรม/โครงการ อันได้แก่ ผู้บริหารบุคลากรและนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย เข้าใจหน้าที่ และสิทธิ การเป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ตามคุณลักณะ ๔ ประการ ในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ความเข้าใจการปกครอง การใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข การอยู่ร่วมกับสังคม การพึ่งพาอาสัยกันและการเสียสระเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมให้เกิด ประโยชน์และความสุขมากขึ้น โดยอาสาสมัครร่วมสร้างงาน สร้างกิจกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวกต่อสังคมและชุมชน
การเรียนรู้จากชุมชน จะทำให้ได้พบข้อเท็จจริง ที่เป็นความต้องการของชุมชน จะได้แนวทางและความต้องการของชุมชนที่ชัดเจน การพัฒนา สร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง มีรายได้ เข้าใจ เข้าถึงการใช้ชีวิต ในโลกเทคโนโลยี โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการกับศาสตร์พระราชา เพื่อให้สังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีกินอย่างมีความสุขและปลอดภัยจากเทคโนโลยี สามารถใช้ชีวิตได้อย่างผาสุข มีความรักสามัคี เข้าใจหน้าที่ บทบาทการเป็นพลเมืองในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอย่างยั่งยืนสืบไป
จากการร่วมจากการลงพื้นที่ เพื่อสอบถาม บริบท ปัญหา และความต้องการกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่ ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ พบว่า ชุมชนมีความต้องการเบื้องต้นดังนี้
๑. ต้องการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเพื่อพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นพี่เลี้ยงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
๒. ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ด้านการการศึกษา ในชุมชนมี โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒ แห่ง ที่เด็กในวัยเรียน ๑๙๗ คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๕๙ คน
๓. ด้านสาธารณสุขพื้นฐาน เทศบาลตำบลลำคลอง มีสถานีอนามัย ตั้งอยู่ที่บ้านสะอาดนาทม หมู่ที่ ๑ มีจำนวนบุคลากร ๔ คน อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐ และการดูแลสุขอนามัยของชุมชน เนื่องจากนุมชนมีการเลี้ยงสัตว์ วัว โค หมู่ ไก่ เป็น สุนัข และแมว
๔. อาชญากรรมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีสถานีตำรวจภายในตำบล ในการรักษาความปลอดภัยภายในตำบล ภายในหมู่บ้าน ทำให้ผู้นำชุมชนเป็นผู้ดูแลความปลอดภัยและรักษาความสงบ ถ้าเกิดเหตุจะประสานไปยังตำรวจภายใน สภ. ลำปาว ดังนั้นการสร้างจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สร้างพลังของชุมชนให้มีความรักสามัคคี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ชุมชนต้องการให้เกิดขึ้นในชุมชน
๕. ยาเสพติด ปัญหาด้านการค้าและแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ อยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ยาเสพติดที่มีปัญหาการค้าและแพร่ระบาดมากที่สุด คือ ยาบ้า รองลงมาเป็นกัญชาแห้ง และสารระเหย ตามลำดับ ส่วนไอซ์ กัญชาสด และพืชกระท่อม สภาพปัญหาอยู่ในระดับไม่รุนแรง การสังคมสงเคราะห์ งานในด้านการบำบัดและพื้นฟูผู้ป่วยและผู้ติดยาเสพติด และการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดและพื้นฟู แก้ไขผู้กระทำผิดประกอบด้วยผู้กระทำผิดที่มาจากหลากหลายรูปแบบของสังคม เป็นเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ชาย หญิง ผู้พิการ
๖. ด้านระบบบริการพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง เทศบาลตำบลลำคลอง มีพื้นที่ห่างจากเมืองกาฬสินธุ์ ๒๐ กิโลเมตร ผ่านไปยัง อำเภอสหัสขันธ์ ส่วนภายในตำบล ถนนสายหลักที่ผ่านภายในหมู่บ้านจะเป็นลาดยาง คสล. และถนนลูกรัง ถนนลูกรังจะมีปัญหาในการคมนาคม ในฤดูฝน เนื่องจากเป็นหลุมเป็นบ่อน้ำขัง
การไฟฟ้า หมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน ๗ หมู่บ้าน และการประปา เทศบาลตำบลลำคลองได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนในการจัดให้มีน้ำประปาอย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ปัจจุบันเทศบาลตำบลลำคลองมีระบบน้ำประปาผิวดิน จำนวน ๖ โครงการ ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในการอุปโภคบริโภค ความต้องการของชุมชนเป็นอย่างไร ต้องการทำอะไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๗. ไปรษณีย์และการสื่อสาร ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการไปรษณีย์ในเขตพื้นที่ตำบลไกลเคียงคือตำบลหนองสอ ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร แต่มีเจ้าหนี้ให้บริการในพื้นที่ การสื่อสารประชาชนในพื้นที่ให้โทรศัพท์สาธารณะเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการตืดต่อสื่อสารเป็นหลัก หากชุมชนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ชุมชนมีอยู่ให้เกิดประโยชน์ รู้จักใช้ จะช่วยด้านการสื่อสารได้สะดวกขึ้น
๘. ระบบเศรษฐกิจ ชุมชนมีอาชีพและรายได้จากการประกอบอาชีพดังนี้ ด้านการเกษตรประชากรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ ข้อมูลด้านการเกษตร พื้นที่ทั้งหมด ๑๔,๗๔๔ ไร่
(๑) ข้าวนาปี ๗,๒๑๔ ไร่ จำนวน ๔๕๖ ครัวเรือน
(๒) ข้าวนาปรัง ๑.๒๐๐ ไร่ จำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน
(๓) พืชไร่ ๒,๖๐๒ ไร่ จำนวน ๑,๒๖๔ ครัวเรือน
(๔) ไม้ผล ๘ ไร่ จำนวน ๙ ครัวเรือน
(๕) ไม้ยืนต้น ๕๒ ไร่ จำนวน ๓ ครัวเรือน
(๖) พืชผัก ๗๔ ไร่ จำนวน ๑๐๗ ครัวเรือน
(๗) การเกษตรอื่นๆ ๑๑๒ ไร่ จำนวน ๕๖ ครัวเรือน
๘.๒ ด้านการประมง ได้แก่ (๑) การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (๒) การเลี้ยงปลาในบ่อดิน (๓) การอนุบาล ลูกปลานิลเพื่อจำน่าย และ (๔) อาชีพการประมงน้ำจืดในเขื่อนลำปาว
๘.๓ ด้านประศุสัตว์ ได้แก่ (๑) การเลี้ยง โค กระบือ (๒) การเลี้ยงสุกร และ (๓) การเลี้ยงเป็ด ไก่ดำ ไก่พันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์พื้นเมือง
๘.๔ ด้านการบริการ เทศบาลตำบลลำคลองได้จัดให้มีการบริการประชาชนดังนี้ (๑) ด้านการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินโดยเปิดให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง (๒) การให้บริการจัดเก็บภาษีเคลื่อนที่ (๓) การให้บริการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และ (๔) การบริการเก็บขยะ และการดูดสิ่งปฏิกูลโดยคิดค่าบริการในราคาต่ำเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่
๘.๕ การท่องเที่ยว พื้นที่รับผิดชอบติดกับแหล่งท่องเทียวที่สำคัญ เช่น จุดชมวิวเขื่อนลำปาว ตลาดชุมชนคนขายปลา (ผันน้ำ) และ หาดดอกเกด (ทะเลอีสาน)
๘.๖ อุสาหกรรม พื้นที่เทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีโรงงานอุสาหกรรม ในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองเป็นลักษณะอุสาหกรรมในครัวเรือน เป็นอุสาหกรรมขนาดเล็ก
๘.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ เป็นการรวมกลุ่มของประชาชน การรวมกลุ่มทุกประเภท …๑๓… กลุ่ม แยกประเภทกลุ่ม (๑) กลุ่มอาชีพ ๑๓ กลุ่ม และ (๒) กลุ่มออมทรัพย์ ๑๒ กลุ่ม
๘.๘ แรงงาน ในพื้นที่เป็นการใช้แรงงานเกี่ยวกับการเกษตร การประมง การประศุสัตว์ ซึงเป็นอุสาหกรรมในครัวเรือน และการใช้แรงงานด้านการก่อสร้างในพื้นที่ และพื้นที่ไกลเคียงเป็นบ่างส่วน ประชากรส่วนมากในพื้นที่ ประกอบอาชีพเกษตรซึ่งซึ่งมีลักษณะการใช้แรงงานเป็นกลุ่ม เป็นชุมชนหมุนเวียนในกลุ่ม ในชุนชน
๙. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การนับถือศาสนา ประชากรส่วนมากในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองนับถือศาสนาพุทธ สถาบัน องค์กรทางศาสนา เช่น วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน ๗ แห่ง ได้แก่ วัดบ้านสะอาดนาทม วัดป่าศิริวรรณ วันศิริเจริญสุข วัดอนุมัจฉาราม วัดป่าชลประทานนิมิต วัดอัมพวันม่วงน้อย และ วัดมัจฉาราม และประเพณีและงานประจำปี ชุมชนมี ประเพณี มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมคติความเชื่อวิถีปฏิบัติที่หลากหลายแต่ละฤดู เดือน จะมีพิธีปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อหลากหลาย ชาวอีสานจะรู้จักดี คือ ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด โดยฮีตสิบสองคลองสิบสี่นี้ จะประกอบไปด้วย ฮีต ๑๒ ฮีต และคลอง ๔ ประเภท มี ๑๔ คลอง ได้แก่ บุญเข้ากรรม(บุญเดือนอ้าย) บุญคูณลาน เดือนยี่ บุญข้าวจี่(เดือนสาม) บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (เดือนสี่) บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) บุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) บุญเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเอาทรัพยากรความรู้ ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งอาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นลักษณะประจำท้องถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นเกิดจากการที่ชาวบ้านแสวงหาความรู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคมที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น การประกอบประเพณี พิธีกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้กระทำสบายใจ รู้สึกอบอุ่นไม่โดดเดี่ยว ให้คุณค่าทางจิตใจและความรู้สึกถือว่าเป็นพลังทางศีลธรรมหรือประเพณี การรวมกำลังช่วยกันทำงานที่ใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำได้สำเร็จคนเดียว เช่น สร้างวัด สร้างถนนหนทาง หรือขุดลอกแหล่งน้ำ เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันภายในชุมชน ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยทั่วไปภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นประโยชน์แก่คนทุกระดับมีลักษณะเด่นคือสร้างสำนึกเป็นหมู่คณะสูงทั้งในระดับครอบครัวและเครือญาติ
และสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เป็นสินค้าที่เกิดจากการผลิตของกลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากเทศบาลตำบลลำคลองเช่น ตระกล้าไม้ไผ่ จากกลุ่มจักรสาร ปลาส้มถอดก้าง ปลาแห้ง ปลาหล้า กุ้งก้ามกราม ผักปลอด

๑๐. ด้านทรัพยากร เทศบาลลำคลองมีทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติและป้าไม้ในที่สาธารณา ดังนี้
๑๐.๑ แหล่งน้ำธรรมชาติ เทศบาลตำบลลำคลอง มีแหล่งดังนี้ แม่น้ำที่เป็นลำห้วย ๔ สาย ที่สำคัญคือ ลำน้ำปาว ลำห้วยซัน ลำห้วยน้อย และลำห้วยใหญ่ บึง,หนองและอื่นๆ ๗ แห่ง ที่สำคัญคือ หนองหัวลิง, หนองสิม, หนองแวง, หนองค่า หนองม่วง กุดฟ้าน้อย และกุดฟ้าใหญ่
๑๐.๒ ป่าไม้ทุ่งที่อยู่ในที่สาธารณะประโยชน์ ได้แก่ โคกดอนก่อ ดอนปู่ตาบ้านหาดทอง โคกป่าช้าหนองม่วง โคกวัดป่าศิวิวรรณ ดอนปู่ตาบ้านสะอาดใต้
๑๐.๓ ด้านคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นป่าเสื่ยมโทรม ซึ่งเกิดจาการบุกรุกของประชาชนในพื้นที่ ซึงเทศบาลตำบลลำคลองได้มีโครงการปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายประจำทุกปี หาประชาชนมีความเข้าใจในการรักษาป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติจะส่งผลให้การอนุรักษ์ป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำ ที่ใช้ในการหาเห็น ที่อยู่อาศัยของนก สัตว์ป่า และแหล่งเลี้ยงชุมชน จะมีป่าอยู่คู่กับชุมชนต่อไป

ดังนั้นจากปัจจัยที่ ชุมชนมีโดยรวมแล้ว การสร้างชุมชนให้สามารถมีความเข้มแข็งสามารถพึงตนเองได้ นั้น จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลบริบทของชุมชน ปัญหา ศักยภาพและความต้องการของชุมชน โดยการใช้หลักการบูรณาการศาสตร์ โดยนักศึกษาและอาจารย์ลงพื้นที่ แฝงตัวในชุมชน เข้าพบและพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งร่วมใช้ชีวิตกับชุมชน เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน จะได้เข้าใจถึงการยอมรับและปฏิเสธความต้องการของชุมชนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
Dr.Apichat Lagdee เมื่อ 31 ต.ค. 2562 22:07 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามการส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์แบบครบวงจร ชุมชนชาวผู้ไทย จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2563)1. เพื่อรวบรวมข้อมูลศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนผู้ไทย บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
2. เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนการท่องเที่ยวชุมชนผู้ไทย บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
3. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศการท่องเที่ยวโดยชุมชนผู้ไทย บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
4. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์พื้นที่ชุมชนผู้ไทย บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
Thanyakon เมื่อ 31 ต.ค. 2562 22:03 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการหมู่บ้านมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (ปี 2560)เขาวงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์โดยถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีจุดเด่นและมีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตข้าวมาช้านานโดยเฉพาะข้าวเหนียวเขาวงที่มีชื่อเสียง และมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากเนื่องจากมีสภาพพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายโครงการได้มีการเข้ามาดำเนินการในพื้นที่เช่นโครงการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริถือว่าเป็นโครงการหนึ่งที่ได้สร้างความอยู่ดีกินดีอยู่ดีให้กับประชากรในท้องถิ่นโดยเฉพาะเรื่องของการผลิตข้าวครบวงจรซึ่ง เกษตรกรได้ดำเนินการไปแล้วในส่วนภาคการผลิตข้าวที่มีการใช้ระบบชลประทานและในปี 2550 ได้รับงบประมาณสร้างโรงสีข้าวชุมชนขึ้นในพื้นที่ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการมากกว่า 170 คน มีข้าวเปลือกที่สมาชิกสามารถผลิตได้ต่อปีไม่น้อยกว่า 400 ตัน จากผลการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านราชมงคลปี 2558 ซึ่งเป็นโครงการสุดท้ายของชุดโครงการหมู่บ้านราชมงคลอีสานปัจจุบันโรงสีข้าวดังกล่าวสามารถสีข้าวเปลือกได้ปริมาณไม่น้อยกว่า 140 ตันต่อปีโดยคิดเป็นการสีข้าวเพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่ประมาณ 100 ตันข้าวเปลือก และสีขาวเพื่อการค้าประมาณ 40 ตันข้าวเปลือกผลการดำเนินการที่ผ่านมาประสบปัญหาราคาข้าวเปลือกแพงอันเป็นผลสืบเนื่องจากมีพ่อค้าคนกลางและรู้สีนอกพื้นที่เข้ามากว้านซื้อข้าวเปลือกแต่ก็ยังผลดีให้แก่สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรคือทำให้สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรในพื้นที่สามารถขายข้าวเปลือกได้ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดและสามารถรับเงินสดจากรู้สีได้ทันทีซึ่งขั้นตอนการรับซื้อข้าวเปลือกจาก เกษตรกรก็ดำเนินการเหมือนโรงสีใหญ่โดยทั่วไปคือดูจากคุณภาพข้าวเป็นหลักซึ่งเป็นองค์ความรู้หนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนโครงการหมู่บ้านราชมงคลในปีที่ผ่านมาปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือคณะกรรมการบริหารงานของสหกรณ์และสมาชิกที่ดำเนินการขาดองค์ความรู้ด้านการตลาดการขายการผลิตอาหารที่ปลอดภัยสำหรับโรงสีข้าวตลอดจนยังขาดบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพและหากได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ในเรื่องส่วนที่ยังขาดอยู่ก็จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ศากรรู้สีข้าวชุมชนตำบลสงเปลือยสามารถอยู่ได้อย่างเข้มแข็งและมั่นคงตลอดไป การดำเนินการโครงการหมู่บ้านมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ในปีงบประมาณ 2560 คณะผู้ดำเนินงานมุ่งเน้นกิจกรรมที่ให้สมาชิกสหกรณ์โรงสีข้าวชุมชนตำบลสงเปลือยใช่ไหมถึงจะตนเองพึ่งพากันเองได้อย่างเข้มแข็งและยังยืนซึ่งมีกิจกรรมย่อยประกอบด้วยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรงสีข้าวจีเอ็มพีการบริหารจัดการด้านการขายและการตลาดการบรรจุภัณฑ์มาตรฐานสำหรับข่าวสาร
kannikar เมื่อ 31 ต.ค. 2562 21:44 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อรักษาพันธุกรรมและแปรรูปข้าวหอมมะลิแบบครบวงจร : กรณีศึกษาตำบลเหล่ากลาง อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2563)ข้าวหอมมะลิ (Thai jasmine rice) เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะเด่น คือ “กลิ่นหอมคล้ายใบเตย” เป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก แต่ปัจจุบันกลับพบว่า ข้าวหอมมะลิ “มีความหอมลดลง” เหลือเพียงความนุ่ม ทำให้ผู้ค้าประสบกับปัญหาการแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันกันสูง เนื่องจากกลุ่มลูกค้าหันไปเลือกซื้อข้าวชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่า นอกจากนี้ ข้าวหอมมะลิ ที่วางจำหน่ายเป็นข้าวเปลือกข้าวสาร หรือข้าวสารบรรจุถุง ยังมีคู่แข่งเป็นจำนวนมากทั้งในประเทศเองและนอกประเทศ ดังนั้นการแปรรูป ข้าวหอมมะลิ จึงเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต และเป็นการขยายฐานลูกค้าออกไปอีกทางหนึ่งด้วย
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช มีประโยชน์หลายด้าน ได้แก่ สามารถผลิตต้นพืช ได้เป็นจำนวนมากใน
ระยะเวลาอันสั้น เป็นการผลิตต้นพืชที่ปราศจากโรค สามารถปรับปรุงพันธุ์พืช สามารถผลิตพืชที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลง หรือทนทานต่อสภาพแวดล้อม เป็นต้น และการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ยังทำให้ได้พืชที่มีคุณลักษณะเหมือนต้นแม่ ที่นำมาเพาะเลี้ยง
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของท้องถิ่น มีอาจารย์และนักศึกษาที่มีองค์ความรู้ และมีความพร้อมในการถ่ายทอดให้กับชุมชน จึงเห็นว่า หากเกษตรมีความสามารถในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้เอง ก็จะทำให้สามารถรักษาพันธุกรรมของพืชเอาไว้ได้ และหากสามารถแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนมีความเข้าใจช่องทางการขายแบบพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์เพื่อให้สามารถสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างเข้าถึงโดยตรง ลดต้นทุนการวางจำหน่ายและแรงงานขายหน้าร้าน ก็จะสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง ชุมชน และประเทศได้
Thanyakon เมื่อ 31 ต.ค. 2562 21:42 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการกระบวนการจัดการนวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อเป็นเศรษฐกิจชุมชนต้นแบบ จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2562)จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นอีกจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ในด้านการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสาหรับการเลี้ยงปลา ในบริเวณพื้นที่ เขื่อนลาปาว ซึ่งปัจจุบันมีการเพราะเลี้ยงปลาในบริเวณเขื่อนลาปาวเป็นจานวนมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่เสริมสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งในแต่ละวันมีจานวนปริมาณปลาที่ได้จากเขื่อนลาปาว ด้วยวิธีการธรรมชาติ และการเพาะเลี้ยงเป็นจานวนมาก ทาให้การขายนั้นมีหลากหลายวิธี ในขณะเดียวกันนั้น ก็มีปลาจานวนมากที่ไม่สามารถขายได้ทันความต้องการของตลาด จึงทาให้ชาวบ้านมีการแปรรูปผลผลิตจากปลา ได้หลากหลายรูปแบบ การประยุกต์จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทาการแปรรูปเพื่อให้ได้ผลผลิต การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยซึ่งมีการสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงชีวิต สภาพความเป็นอยู่ ชีวิต สังคม เศรษฐกิจ ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องจึงทาให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังคงอยู่มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันคนในชุมชนสามารถผลิตการแปรรูปปลา เพื่อจาหน่ายในบริเวณพื้นที่เขื่อนลำปาว ภายในจังหวัดกาฬสินธุ์ นั้นยังมีปัญหาเริ่มตั้งแต่ปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพที่แตกต่างกัน ขาดคุณภาพ และความปลอดภัย และยังไม่มีการบริหารจัดการกลุ่มที่เป็นรูปธรรมชัดเจนจากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ จึงสนใจที่จะดาเนินการบริการวิชาการโครงการกระบวนการจัดการนวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อเป็นเศรษฐกิจชุมชนต้นแบบ จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ การจัดการนวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อเป็นเศรษฐกิจชุมชนต้นแบบ จังหวัดกาฬสินธุ์ สามารถนาไปใช้เป็นแนวทางสาหรับการพัฒนาปรับปรุงการวางแผนจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนต้นแบบกาหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน การพึ่งพาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสู่ความยั่งยืนต่อไป
Thanyakon เมื่อ 31 ต.ค. 2562 21:35 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการการถ่ายทอดผลงานวิจัย:นวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารปลอดกลูเตนจากข้าวดอกมะลิ 105 และข้าวไรซ์เบอร์รี่จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2562)ข้าวจัดเป็นยุทธศาสตร์ของชาติ เกษตรกรนิยมปลูกข้าวขาวดอกมะลิ105 ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ด้วยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก นอกจากนี้นิยมเพาะปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ด้วยเป็นพันธุ์ที่ได้รับการส่งเสริมและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่ดีต่อสุขภาพคนไทย ลักษณะเมล็ดข้าวสีม่วงดา รสชาติหอมหวานนุ่มนวล มีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และลดคอเลสเตอรอลในเลือด อย่างไรก็ตามในการนาวัตถุดิบข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์เพื่อประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ต้องทราบข้อมูลพื้นฐานองค์ประกอบทางเคมีของข้าว ได้แก่ ความชื้น โปรตีนรวม ไขมันรวม เยื่อใยรวม เถ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณแอมิโลสและสมบัติความหนืดของแป้งข้าว จากการสืบค้นข้อมูล แต่ยังขาดข้อมูลคุณสมบัติด้านนี้ ในปัจจุบันมีการนาแป้งข้าวเจ้า (ไม่ผ่านการดัดแปร และข้าวนึ่ง ข้าวฮาง) ทดแทนแป้งสาลี โดยเฉพาะผลิตอาหารปลอดกลูเตนสาหรับผู้บริโภคที่แพ้กลูเตน ซึ่งถ้าต้องการใช้แป้งข้าวทดแทนแป้งสาลีทั้งหมด ต้องเติมสารช่วยการพยุงโครงร่างของโปรตีนข้าว ดังนั้นจึงมีแนวคิดการถ่ายทอดผลงานวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารปลอดกลูเตนจากข้าวขาวดอกมะลิ105 และข้าวไรซ์เบอร์รี่จังหวัดกาฬสินธุ์
Thanakit เมื่อ 31 ต.ค. 2562 21:34 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชม “นวัตวิถีเอกลักษณ์ชุมชนกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต” หมู่บ้านสะอาดใต้ (ปี 2563)ชุมชนต้องการพให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าร่วมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน จากการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยดำเนินการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ โดยทีมงานสำนักบริการวิชาการ รศ.ประสบสุข ฤทธิเดช และคณะ ได้ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ส่งผลให้ ชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ให้ความสนใจขอให้มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนาชุมชน เมื่อชุมชน โดยการนำของผู้นำชุมชน นายสถาพร ฉายประดิษฐ์ นายกเทศบาล ได้มาติดต่อสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลั้ยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อให้ศึกษาและร่วมพัฒนาชุมชน โดยชุมชนมีความต้องการหลายประเด็น ทั้งนี้หากเป็นไปได้ การทำฐานข้อมูลชุมชน นำสู่การวิเคราะห์เพื่อยกระดับการคุณภาพชีวิตของชุมชน การเข้าใจ เข้าถึง ชุมชนในพื้นที่ จึงเป็นขุดเริ่มต้นในการเข้าร่วมพัฒนา ชุมชนอย่างแท้จริง การที่ชุมชนมีปัจจัยและสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ ทรัพยากร และความหลายกหลายอาชีพและรายได้ที่ดำเนินการชีวิตมาแต่เดิมนั้น หากจะเห็นการศึกษาเรียนรู้เข้าใจวัฒนธรรมของชุมชน สร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ดี ธำรงค์ไว้ และเติมเต็มในสิ่งที่ชุมชนต้องการเพื่อพัฒนาการเป็นอยู่ของชุมชนให้รู้เท่าทันประเทศไทยและโลก ๔.๐ รวมทั้งเทคโนโลยีอื่น ๆที่จะแทรกเข้ามาทางช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อันจะทำให้ชุมชนเข้าใจผิดและหลงเชื่อด้วยความรู้ไม่เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ดังนั้นการทำให้ชุมชนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ ในเทคโนโลยีผสานกับวิถีชีวิตของชุมชนอย่างเข้มแข็ง เพื่อธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดีดีงาม สืบสาน ต่อยอด จนทำให้สังคมได้รับการยอมรับหรือสร้างความโดเด่นเชิงวัฒนธรรมให้กับชุมชนได้นั้น ชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมใน ร่วมคิด ร่วมวางแผน วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ และขับเคลื่อนการพัฒนาไปด้วยกัน ให้เกิดผลงานที่เป็นผลลัพธ์ที่ส่งผลถึงความภาคภูมใจของชุมชน บนพื้นฐานวัฒฯธรรมและวิ๔ชีวิตของชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จึงสนใจรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เป็นการบูรณาการศาสตร์ “บูรณาการศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และปฏิบัติการในพื้นที่จริงให้กับนักศึกษา สร้างงานวิจัยให้กับอาจารย์พี่ลี้ยงที่เป็นงานวิชัยเชิงพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ให้กับประเทศชาติ โดยการนำนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ที่มีความรู้ในศาสตร์ มีประสบการณ์วิจัยในพื้นที่ ร่วมปฏิบัติการลงพื้นที่ในชุมชนที่ต้องและได้เสนอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามลงพื้นที่ เพื่อยกระดับส่งเสริมการพัฒนาชุมชน โดยชุมชนได้ขอร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจ MOU) เพื่อให้ชุมชนได้มีโอกาสพัฒนาต่อยอดตามบริบทและความต้องการของชุมชน ดังนี้ โครงการอาสาประชารัฐ ในครั้งนี้ จะเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากที่จะทำให้มหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบการส่งเสริมพัฒนาชุมชน โดยบูรณาการการเรียนการสอนของอาจารญ์และนักศึกษาหลาย ๆ ศาสตร์ ร่วมลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์บริบท ปัญหา สร้างฐานข้อมูลชุมชน นำมาวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอด
ผลที่ได้กับชุมชน ชุมชนจะมีความเข้าใจในตนเอง รู้จักหน้าที่และสิทธิ ในการครองตนการเป็นพลเมืองที่ดี สร้างสุขภาวะในชุมชน สร้างสุขภาพที่ดีของชุมชนและครอบครัว การดูแลตนเอง การรู้จัดเลือกกิน เลือกใช้ เลือกผลิต อาหารที่ถูกหลัก การดูแลสุขภาวะของตนเอง-คนสูงอายุและเด็กเล็ก-รวมทั้งเยาวชนในวัยเรียน ให้รู้จักการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเทคโนโลยีมือถือของชุมชน โดยกิจกรรมร่วมกับชุมชนน้อมนำราชโชบายของราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่นสร้างจิตอาสาในชุมชน โดย ราชภัฏสร้าง “จิตอาสาประชารัฐพัฒนาชุมชน” ให้เป็นไปตาม ปณิทานของราชภัฏ “”คนของพระราชา ข้าของแผนดิน” ที่ร่วมกันในการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป อันจะส่งผลให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏได้นำนักศึกษาและอาจารย์ได้ลงปฏิบัติการ วิจัยและศึกษาข้อมูลในชุมชน โดยนำนักศึกษาลงพื้นที่ปฏิบัติจริงในชุมชน เสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนให้ครอบคลุมในการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยใช้ศาสตร์ที่ได้ศึกษาในหลักสูตร บูรณาการเข้ากับศาสตร์ของกลุ่มที่ร่วมพัฒนา สร้างองค์ความรู้ใหม่ “ชีวิต ๔.๐ ในชุมชนมีความสุขด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต”
การเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึง อาจารย์ นักศึกษา ชุมชน ได้เข้าใจการใช้ชีวิตในแต่ละบริบท สร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้สภาพแสดล้อม สื่อ เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ นำความรู้ที่ได้มาจัดการชีวิตสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จิตอาสา หมายถึง การที่ทีมงานวิจัยและสมาชิกที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกิจกรรม/โครงการ อันได้แก่ ผู้บริหารบุคลากรและนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย เข้าใจหน้าที่ และสิทธิ การเป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ตามคุณลักณะ ๔ ประการ ในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ความเข้าใจการปกครอง การใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข การอยู่ร่วมกับสังคม การพึ่งพาอาสัยกันและการเสียสระเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมให้เกิด ประโยชน์และความสุขมากขึ้น โดยอาสาสมัครร่วมสร้างงาน สร้างกิจกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวกต่อสังคมและชุมชน
การเรียนรู้จากชุมชน จะทำให้ได้พบข้อเท็จจริง ที่เป็นความต้องการของชุมชน จะได้แนวทางและความต้องการของชุมชนที่ชัดเจน การพัฒนา สร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง มีรายได้ เข้าใจ เข้าถึงการใช้ชีวิต ในโลกเทคโนโลยี โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการกับศาสตร์พระราชา เพื่อให้สังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีกินอย่างมีความสุขและปลอดภัยจากเทคโนโลยี สามารถใช้ชีวิตได้อย่างผาสุข มีความรักสามัคี เข้าใจหน้าที่ บทบาทการเป็นพลเมืองในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอย่างยั่งยืนสืบไป
จากการร่วมจากการลงพื้นที่ เพื่อสอบถาม บริบท ปัญหา และความต้องการกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่ ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ พบว่า ชุมชนมีความต้องการเบื้องต้นดังนี้
๑. ต้องการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเพื่อพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นพี่เลี้ยงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
๒. ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ด้านการการศึกษา ในชุมชนมี โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒ แห่ง ที่เด็กในวัยเรียน ๑๙๗ คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๕๙ คน
๓. ด้านสาธารณสุขพื้นฐาน เทศบาลตำบลลำคลอง มีสถานีอนามัย ตั้งอยู่ที่บ้านสะอาดนาทม หมู่ที่ ๑ มีจำนวนบุคลากร ๔ คน อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐ และการดูแลสุขอนามัยของชุมชน เนื่องจากนุมชนมีการเลี้ยงสัตว์ วัว โค หมู่ ไก่ เป็น สุนัข และแมว
๔. อาชญากรรมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีสถานีตำรวจภายในตำบล ในการรักษาความปลอดภัยภายในตำบล ภายในหมู่บ้าน ทำให้ผู้นำชุมชนเป็นผู้ดูแลความปลอดภัยและรักษาความสงบ ถ้าเกิดเหตุจะประสานไปยังตำรวจภายใน สภ. ลำปาว ดังนั้นการสร้างจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สร้างพลังของชุมชนให้มีความรักสามัคคี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ชุมชนต้องการให้เกิดขึ้นในชุมชน
๕. ยาเสพติด ปัญหาด้านการค้าและแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ อยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ยาเสพติดที่มีปัญหาการค้าและแพร่ระบาดมากที่สุด คือ ยาบ้า รองลงมาเป็นกัญชาแห้ง และสารระเหย ตามลำดับ ส่วนไอซ์ กัญชาสด และพืชกระท่อม สภาพปัญหาอยู่ในระดับไม่รุนแรง การสังคมสงเคราะห์ งานในด้านการบำบัดและพื้นฟูผู้ป่วยและผู้ติดยาเสพติด และการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดและพื้นฟู แก้ไขผู้กระทำผิดประกอบด้วยผู้กระทำผิดที่มาจากหลากหลายรูปแบบของสังคม เป็นเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ชาย หญิง ผู้พิการ
๖. ด้านระบบบริการพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง เทศบาลตำบลลำคลอง มีพื้นที่ห่างจากเมืองกาฬสินธุ์ ๒๐ กิโลเมตร ผ่านไปยัง อำเภอสหัสขันธ์ ส่วนภายในตำบล ถนนสายหลักที่ผ่านภายในหมู่บ้านจะเป็นลาดยาง คสล. และถนนลูกรัง ถนนลูกรังจะมีปัญหาในการคมนาคม ในฤดูฝน เนื่องจากเป็นหลุมเป็นบ่อน้ำขัง
การไฟฟ้า หมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน ๗ หมู่บ้าน และการประปา เทศบาลตำบลลำคลองได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนในการจัดให้มีน้ำประปาอย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ปัจจุบันเทศบาลตำบลลำคลองมีระบบน้ำประปาผิวดิน จำนวน ๖ โครงการ ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในการอุปโภคบริโภค ความต้องการของชุมชนเป็นอย่างไร ต้องการทำอะไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๗. ไปรษณีย์และการสื่อสาร ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการไปรษณีย์ในเขตพื้นที่ตำบลไกลเคียงคือตำบลหนองสอ ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร แต่มีเจ้าหนี้ให้บริการในพื้นที่ การสื่อสารประชาชนในพื้นที่ให้โทรศัพท์สาธารณะเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการตืดต่อสื่อสารเป็นหลัก หากชุมชนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ชุมชนมีอยู่ให้เกิดประโยชน์ รู้จักใช้ จะช่วยด้านการสื่อสารได้สะดวกขึ้น
๘. ระบบเศรษฐกิจ ชุมชนมีอาชีพและรายได้จากการประกอบอาชีพดังนี้ ด้านการเกษตรประชากรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ ข้อมูลด้านการเกษตร พื้นที่ทั้งหมด ๑๔,๗๔๔ ไร่
(๑) ข้าวนาปี ๗,๒๑๔ ไร่ จำนวน ๔๕๖ ครัวเรือน
(๒) ข้าวนาปรัง ๑.๒๐๐ ไร่ จำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน
(๓) พืชไร่ ๒,๖๐๒ ไร่ จำนวน ๑,๒๖๔ ครัวเรือน
(๔) ไม้ผล ๘ ไร่ จำนวน ๙ ครัวเรือน
(๕) ไม้ยืนต้น ๕๒ ไร่ จำนวน ๓ ครัวเรือน
(๖) พืชผัก ๗๔ ไร่ จำนวน ๑๐๗ ครัวเรือน
(๗) การเกษตรอื่นๆ ๑๑๒ ไร่ จำนวน ๕๖ ครัวเรือน
๘.๒ ด้านการประมง ได้แก่ (๑) การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (๒) การเลี้ยงปลาในบ่อดิน (๓) การอนุบาล ลูกปลานิลเพื่อจำน่าย และ (๔) อาชีพการประมงน้ำจืดในเขื่อนลำปาว
๘.๓ ด้านประศุสัตว์ ได้แก่ (๑) การเลี้ยง โค กระบือ (๒) การเลี้ยงสุกร และ (๓) การเลี้ยงเป็ด ไก่ดำ ไก่พันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์พื้นเมือง
๘.๔ ด้านการบริการ เทศบาลตำบลลำคลองได้จัดให้มีการบริการประชาชนดังนี้ (๑) ด้านการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินโดยเปิดให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง (๒) การให้บริการจัดเก็บภาษีเคลื่อนที่ (๓) การให้บริการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และ (๔) การบริการเก็บขยะ และการดูดสิ่งปฏิกูลโดยคิดค่าบริการในราคาต่ำเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่
๘.๕ การท่องเที่ยว พื้นที่รับผิดชอบติดกับแหล่งท่องเทียวที่สำคัญ เช่น จุดชมวิวเขื่อนลำปาว ตลาดชุมชนคนขายปลา (ผันน้ำ) และ หาดดอกเกด (ทะเลอีสาน)
๘.๖ อุสาหกรรม พื้นที่เทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีโรงงานอุสาหกรรม ในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองเป็นลักษณะอุสาหกรรมในครัวเรือน เป็นอุสาหกรรมขนาดเล็ก
๘.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ เป็นการรวมกลุ่มของประชาชน การรวมกลุ่มทุกประเภท …๑๓… กลุ่ม แยกประเภทกลุ่ม (๑) กลุ่มอาชีพ ๑๓ กลุ่ม และ (๒) กลุ่มออมทรัพย์ ๑๒ กลุ่ม
๘.๘ แรงงาน ในพื้นที่เป็นการใช้แรงงานเกี่ยวกับการเกษตร การประมง การประศุสัตว์ ซึงเป็นอุสาหกรรมในครัวเรือน และการใช้แรงงานด้านการก่อสร้างในพื้นที่ และพื้นที่ไกลเคียงเป็นบ่างส่วน ประชากรส่วนมากในพื้นที่ ประกอบอาชีพเกษตรซึ่งซึ่งมีลักษณะการใช้แรงงานเป็นกลุ่ม เป็นชุมชนหมุนเวียนในกลุ่ม ในชุนชน
๙. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การนับถือศาสนา ประชากรส่วนมากในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองนับถือศาสนาพุทธ สถาบัน องค์กรทางศาสนา เช่น วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน ๗ แห่ง ได้แก่ วัดบ้านสะอาดนาทม วัดป่าศิริวรรณ วันศิริเจริญสุข วัดอนุมัจฉาราม วัดป่าชลประทานนิมิต วัดอัมพวันม่วงน้อย และ วัดมัจฉาราม และประเพณีและงานประจำปี ชุมชนมี ประเพณี มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมคติความเชื่อวิถีปฏิบัติที่หลากหลายแต่ละฤดู เดือน จะมีพิธีปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อหลากหลาย ชาวอีสานจะรู้จักดี คือ ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด โดยฮีตสิบสองคลองสิบสี่นี้ จะประกอบไปด้วย ฮีต ๑๒ ฮีต และคลอง ๔ ประเภท มี ๑๔ คลอง ได้แก่ บุญเข้ากรรม(บุญเดือนอ้าย) บุญคูณลาน เดือนยี่ บุญข้าวจี่(เดือนสาม) บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (เดือนสี่) บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) บุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) บุญเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเอาทรัพยากรความรู้ ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งอาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นลักษณะประจำท้องถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นเกิดจากการที่ชาวบ้านแสวงหาความรู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคมที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น การประกอบประเพณี พิธีกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้กระทำสบายใจ รู้สึกอบอุ่นไม่โดดเดี่ยว ให้คุณค่าทางจิตใจและความรู้สึกถือว่าเป็นพลังทางศีลธรรมหรือประเพณี การรวมกำลังช่วยกันทำงานที่ใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำได้สำเร็จคนเดียว เช่น สร้างวัด สร้างถนนหนทาง หรือขุดลอกแหล่งน้ำ เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันภายในชุมชน ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยทั่วไปภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นประโยชน์แก่คนทุกระดับมีลักษณะเด่นคือสร้างสำนึกเป็นหมู่คณะสูงทั้งในระดับครอบครัวและเครือญาติ
และสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เป็นสินค้าที่เกิดจากการผลิตของกลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากเทศบาลตำบลลำคลองเช่น ตระกล้าไม้ไผ่ จากกลุ่มจักรสาร ปลาส้มถอดก้าง ปลาแห้ง ปลาหล้า กุ้งก้ามกราม ผักปลอด

๑๐. ด้านทรัพยากร เทศบาลลำคลองมีทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติและป้าไม้ในที่สาธารณา ดังนี้
๑๐.๑ แหล่งน้ำธรรมชาติ เทศบาลตำบลลำคลอง มีแหล่งดังนี้ แม่น้ำที่เป็นลำห้วย ๔ สาย ที่สำคัญคือ ลำน้ำปาว ลำห้วยซัน ลำห้วยน้อย และลำห้วยใหญ่ บึง,หนองและอื่นๆ ๗ แห่ง ที่สำคัญคือ หนองหัวลิง, หนองสิม, หนองแวง, หนองค่า หนองม่วง กุดฟ้าน้อย และกุดฟ้าใหญ่
๑๐.๒ ป่าไม้ทุ่งที่อยู่ในที่สาธารณะประโยชน์ ได้แก่ โคกดอนก่อ ดอนปู่ตาบ้านหาดทอง โคกป่าช้าหนองม่วง โคกวัดป่าศิวิวรรณ ดอนปู่ตาบ้านสะอาดใต้
๑๐.๓ ด้านคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นป่าเสื่ยมโทรม ซึ่งเกิดจาการบุกรุกของประชาชนในพื้นที่ ซึงเทศบาลตำบลลำคลองได้มีโครงการปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายประจำทุกปี หาประชาชนมีความเข้าใจในการรักษาป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติจะส่งผลให้การอนุรักษ์ป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำ ที่ใช้ในการหาเห็น ที่อยู่อาศัยของนก สัตว์ป่า และแหล่งเลี้ยงชุมชน จะมีป่าอยู่คู่กับชุมชนต่อไป

ดังนั้นจากปัจจัยที่ ชุมชนมีโดยรวมแล้ว การสร้างชุมชนให้สามารถมีความเข้มแข็งสามารถพึงตนเองได้ นั้น จำเป้นต้องศึกษาข้อมูลบริบทของชุมชน ปัญหา ศักยภาพและความต้องการของชุมชน โดยการใช้หลักการบูรณาการศาสตร์ โดยนักศึกษาและอาจารย์ลงพื้นที่ แฝงตัวในชุมชน เข้าพบและพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งร่วมใช้ชีวิตกับชุมชน เพื่อเรียนรู้วิ๔ชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน จะได้เข้าใจถึงการยอมรับและปฏิเสธความต้องการของชุมชนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
Thanyakon เมื่อ 31 ต.ค. 2562 21:21 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่นเป็นอาหารสัตว์ (ปี 2562)จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นเขตพื้นที่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศที่มีการทำเกษตรปศุสัตว์การเลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งจากการรายงานของกรมปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์ปี พ.ศ. 2558 พบว่า พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจำนวน 14,702 ครัวเรือน และมีจำนวนโคเนื้อรวม 56,102 ตัว ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มาก ในปัจจุบันพบว่าการเลี้ยงโคจะประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตหรือการเลี้ยงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เนื่องมาจากวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ถูกนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงสัตว์คือ ต้นทุนค่าอาหารคิดเป็นประมาณ 70 -80 % ของต้นทุนทั้งหมดในการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคต้องปรับตัวเพื่อลดต้นทุนการผลิต ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหาวัตถุดิบทดแทนที่มีปริมาณมากในท้องถิ่นและราคาถูกมาใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์มีการปลูกมันสำปะหลังเป็นจำนวนมาก หัวมันสำปะหลังคือหนึ่งวัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานในสูตรอาหารสัตว์ ในการปลูกมันสำปะหลังนอกจากจะได้ผลผลิตหัวมันสำปะหลังแล้ว ยังมีใบมันสำปะหลังเป็นเศษเหลือหลังจากเก็บผลผลิต ซึ่งสามารถนำใบมันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ นอกจากนี้ ยังมีผลพลอยได้หรือเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่มากในท้องถิ่นและมีราคาต่ำ เช่น เปลือกมันสำปะหลังล้าง กากมันสำปะหลัง สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ในการเลี้ยงโคที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในสภาวะวัตถุดิบอาหารสัตว์ขาดแคลน หรือมีราคาสูงขึ้น ดังนั้น ถ้ามีการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่นเป็นอาหารสัตว์ก็จะทำให้ต้นทุนค่าอาหารสัตว์ลดลงได้
Thanakit เมื่อ 31 ต.ค. 2562 20:50 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชม “นวัตวิถีเอกลักษณ์ชุมชนกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต” หมู่บ้านปลาเค้าน้อย (ปี 2563)ชุมชนต้องการพให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าร่วมส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน จากการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยดำเนินการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ โดยทีมงานสำนักบริการวิชาการ รศ.ประสบสุข ฤทธิเดช และคณะ ได้ลงพื้นที่พัฒนาชุมชน ส่งผลให้ ชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ให้ความสนใจขอให้มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนาชุมชน เมื่อชุมชน โดยการนำของผู้นำชุมชน นายสถาพร ฉายประดิษฐ์ นายกเทศบาล ได้มาติดต่อสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลั้ยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อให้ศึกษาและร่วมพัฒนาชุมชน โดยชุมชนมีความต้องการหลายประเด็น ทั้งนี้หากเป็นไปได้ การทำฐานข้อมูลชุมชน นำสู่การวิเคราะห์เพื่อยกระดับการคุณภาพชีวิตของชุมชน การเข้าใจ เข้าถึง ชุมชนในพื้นที่ จึงเป็นขุดเริ่มต้นในการเข้าร่วมพัฒนา ชุมชนอย่างแท้จริง การที่ชุมชนมีปัจจัยและสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ ทรัพยากร และความหลายกหลายอาชีพและรายได้ที่ดำเนินการชีวิตมาแต่เดิมนั้น หากจะเห็นการศึกษาเรียนรู้เข้าใจวัฒนธรรมของชุมชน สร้างเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ดี ธำรงค์ไว้ และเติมเต็มในสิ่งที่ชุมชนต้องการเพื่อพัฒนาการเป็นอยู่ของชุมชนให้รู้เท่าทันประเทศไทยและโลก ๔.๐ รวมทั้งเทคโนโลยีอื่น ๆที่จะแทรกเข้ามาทางช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อันจะทำให้ชุมชนเข้าใจผิดและหลงเชื่อด้วยความรู้ไม่เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ดังนั้นการทำให้ชุมชนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ ในเทคโนโลยีผสานกับวิถีชีวิตของชุมชนอย่างเข้มแข็ง เพื่อธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดีดีงาม สืบสาน ต่อยอด จนทำให้สังคมได้รับการยอมรับหรือสร้างความโดเด่นเชิงวัฒนธรรมให้กับชุมชนได้นั้น ชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมใน ร่วมคิด ร่วมวางแผน วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ และขับเคลื่อนการพัฒนาไปด้วยกัน ให้เกิดผลงานที่เป็นผลลัพธ์ที่ส่งผลถึงความภาคภูมใจของชุมชน บนพื้นฐานวัฒฯธรรมและวิ๔ชีวิตของชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จึงสนใจรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เป็นการบูรณาการศาสตร์ “บูรณาการศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และปฏิบัติการในพื้นที่จริงให้กับนักศึกษา สร้างงานวิจัยให้กับอาจารย์พี่ลี้ยงที่เป็นงานวิชัยเชิงพื้นที่ร่วมแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ให้กับประเทศชาติ โดยการนำนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ที่มีความรู้ในศาสตร์ มีประสบการณ์วิจัยในพื้นที่ ร่วมปฏิบัติการลงพื้นที่ในชุมชนที่ต้องและได้เสนอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามลงพื้นที่ เพื่อยกระดับส่งเสริมการพัฒนาชุมชน โดยชุมชนได้ขอร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจ MOU) เพื่อให้ชุมชนได้มีโอกาสพัฒนาต่อยอดตามบริบทและความต้องการของชุมชน ดังนี้ โครงการอาสาประชารัฐ ในครั้งนี้ จะเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากที่จะทำให้มหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิเคราะห์ ออกแบบการส่งเสริมพัฒนาชุมชน โดยบูรณาการการเรียนการสอนของอาจารญ์และนักศึกษาหลาย ๆ ศาสตร์ ร่วมลงพื้นที่เพื่อวิเคราะห์บริบท ปัญหา สร้างฐานข้อมูลชุมชน นำมาวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอด
ผลที่ได้กับชุมชน ชุมชนจะมีความเข้าใจในตนเอง รู้จักหน้าที่และสิทธิ ในการครองตนการเป็นพลเมืองที่ดี สร้างสุขภาวะในชุมชน สร้างสุขภาพที่ดีของชุมชนและครอบครัว การดูแลตนเอง การรู้จัดเลือกกิน เลือกใช้ เลือกผลิต อาหารที่ถูกหลัก การดูแลสุขภาวะของตนเอง-คนสูงอายุและเด็กเล็ก-รวมทั้งเยาวชนในวัยเรียน ให้รู้จักการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านเทคโนโลยีมือถือของชุมชน โดยกิจกรรมร่วมกับชุมชนน้อมนำราชโชบายของราชภัฏสู่การพัฒนาท้องถิ่นสร้างจิตอาสาในชุมชน โดย ราชภัฏสร้าง “จิตอาสาประชารัฐพัฒนาชุมชน” ให้เป็นไปตาม ปณิทานของราชภัฏ “”คนของพระราชา ข้าของแผนดิน” ที่ร่วมกันในการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป อันจะส่งผลให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏได้นำนักศึกษาและอาจารย์ได้ลงปฏิบัติการ วิจัยและศึกษาข้อมูลในชุมชน โดยนำนักศึกษาลงพื้นที่ปฏิบัติจริงในชุมชน เสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนให้ครอบคลุมในการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยใช้ศาสตร์ที่ได้ศึกษาในหลักสูตร บูรณาการเข้ากับศาสตร์ของกลุ่มที่ร่วมพัฒนา สร้างองค์ความรู้ใหม่ “ชีวิต ๔.๐ ในชุมชนมีความสุขด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต”
การเรียนรู้ตลอดชีวิต หมายถึง อาจารย์ นักศึกษา ชุมชน ได้เข้าใจการใช้ชีวิตในแต่ละบริบท สร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้สภาพแสดล้อม สื่อ เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ นำความรู้ที่ได้มาจัดการชีวิตสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
จิตอาสา หมายถึง การที่ทีมงานวิจัยและสมาชิกที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของกิจกรรม/โครงการ อันได้แก่ ผู้บริหารบุคลากรและนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย เข้าใจหน้าที่ และสิทธิ การเป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ตามคุณลักณะ ๔ ประการ ในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ความเข้าใจการปกครอง การใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข การอยู่ร่วมกับสังคม การพึ่งพาอาสัยกันและการเสียสระเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อ เสียสละ เวลา แรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมให้เกิด ประโยชน์และความสุขมากขึ้น โดยอาสาสมัครร่วมสร้างงาน สร้างกิจกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวกต่อสังคมและชุมชน
การเรียนรู้จากชุมชน จะทำให้ได้พบข้อเท็จจริง ที่เป็นความต้องการของชุมชน จะได้แนวทางและความต้องการของชุมชนที่ชัดเจน การพัฒนา สร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเอง มีรายได้ เข้าใจ เข้าถึงการใช้ชีวิต ในโลกเทคโนโลยี โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการกับศาสตร์พระราชา เพื่อให้สังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีกินอย่างมีความสุขและปลอดภัยจากเทคโนโลยี สามารถใช้ชีวิตได้อย่างผาสุข มีความรักสามัคี เข้าใจหน้าที่ บทบาทการเป็นพลเมืองในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอย่างยั่งยืนสืบไป
จากการร่วมจากการลงพื้นที่ เพื่อสอบถาม บริบท ปัญหา และความต้องการกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่ ในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ พบว่า ชุมชนมีความต้องการเบื้องต้นดังนี้
๑. ต้องการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเพื่อพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นพี่เลี้ยงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
๒. ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ด้านการการศึกษา ในชุมชนมี โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒ แห่ง ที่เด็กในวัยเรียน ๑๙๗ คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๕๙ คน
๓. ด้านสาธารณสุขพื้นฐาน เทศบาลตำบลลำคลอง มีสถานีอนามัย ตั้งอยู่ที่บ้านสะอาดนาทม หมู่ที่ ๑ มีจำนวนบุคลากร ๔ คน อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐ และการดูแลสุขอนามัยของชุมชน เนื่องจากนุมชนมีการเลี้ยงสัตว์ วัว โค หมู่ ไก่ เป็น สุนัข และแมว
๔. อาชญากรรมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีสถานีตำรวจภายในตำบล ในการรักษาความปลอดภัยภายในตำบล ภายในหมู่บ้าน ทำให้ผู้นำชุมชนเป็นผู้ดูแลความปลอดภัยและรักษาความสงบ ถ้าเกิดเหตุจะประสานไปยังตำรวจภายใน สภ. ลำปาว ดังนั้นการสร้างจิตอาสาในการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สร้างพลังของชุมชนให้มีความรักสามัคคี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ชุมชนต้องการให้เกิดขึ้นในชุมชน
๕. ยาเสพติด ปัญหาด้านการค้าและแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ อยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ยาเสพติดที่มีปัญหาการค้าและแพร่ระบาดมากที่สุด คือ ยาบ้า รองลงมาเป็นกัญชาแห้ง และสารระเหย ตามลำดับ ส่วนไอซ์ กัญชาสด และพืชกระท่อม สภาพปัญหาอยู่ในระดับไม่รุนแรง การสังคมสงเคราะห์ งานในด้านการบำบัดและพื้นฟูผู้ป่วยและผู้ติดยาเสพติด และการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดและพื้นฟู แก้ไขผู้กระทำผิดประกอบด้วยผู้กระทำผิดที่มาจากหลากหลายรูปแบบของสังคม เป็นเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ ชาย หญิง ผู้พิการ
๖. ด้านระบบบริการพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง เทศบาลตำบลลำคลอง มีพื้นที่ห่างจากเมืองกาฬสินธุ์ ๒๐ กิโลเมตร ผ่านไปยัง อำเภอสหัสขันธ์ ส่วนภายในตำบล ถนนสายหลักที่ผ่านภายในหมู่บ้านจะเป็นลาดยาง คสล. และถนนลูกรัง ถนนลูกรังจะมีปัญหาในการคมนาคม ในฤดูฝน เนื่องจากเป็นหลุมเป็นบ่อน้ำขัง
การไฟฟ้า หมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน ๗ หมู่บ้าน และการประปา เทศบาลตำบลลำคลองได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนในการจัดให้มีน้ำประปาอย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ปัจจุบันเทศบาลตำบลลำคลองมีระบบน้ำประปาผิวดิน จำนวน ๖ โครงการ ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในการอุปโภคบริโภค ความต้องการของชุมชนเป็นอย่างไร ต้องการทำอะไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๗. ไปรษณีย์และการสื่อสาร ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการไปรษณีย์ในเขตพื้นที่ตำบลไกลเคียงคือตำบลหนองสอ ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร แต่มีเจ้าหนี้ให้บริการในพื้นที่ การสื่อสารประชาชนในพื้นที่ให้โทรศัพท์สาธารณะเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในการตืดต่อสื่อสารเป็นหลัก หากชุมชนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ชุมชนมีอยู่ให้เกิดประโยชน์ รู้จักใช้ จะช่วยด้านการสื่อสารได้สะดวกขึ้น
๘. ระบบเศรษฐกิจ ชุมชนมีอาชีพและรายได้จากการประกอบอาชีพดังนี้ ด้านการเกษตรประชากรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้แก่ ข้อมูลด้านการเกษตร พื้นที่ทั้งหมด ๑๔,๗๔๔ ไร่
(๑) ข้าวนาปี ๗,๒๑๔ ไร่ จำนวน ๔๕๖ ครัวเรือน
(๒) ข้าวนาปรัง ๑.๒๐๐ ไร่ จำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน
(๓) พืชไร่ ๒,๖๐๒ ไร่ จำนวน ๑,๒๖๔ ครัวเรือน
(๔) ไม้ผล ๘ ไร่ จำนวน ๙ ครัวเรือน
(๕) ไม้ยืนต้น ๕๒ ไร่ จำนวน ๓ ครัวเรือน
(๖) พืชผัก ๗๔ ไร่ จำนวน ๑๐๗ ครัวเรือน
(๗) การเกษตรอื่นๆ ๑๑๒ ไร่ จำนวน ๕๖ ครัวเรือน
๘.๒ ด้านการประมง ได้แก่ (๑) การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (๒) การเลี้ยงปลาในบ่อดิน (๓) การอนุบาล ลูกปลานิลเพื่อจำน่าย และ (๔) อาชีพการประมงน้ำจืดในเขื่อนลำปาว
๘.๓ ด้านประศุสัตว์ ได้แก่ (๑) การเลี้ยง โค กระบือ (๒) การเลี้ยงสุกร และ (๓) การเลี้ยงเป็ด ไก่ดำ ไก่พันธุ์ไข่ ไก่พันธุ์พื้นเมือง
๘.๔ ด้านการบริการ เทศบาลตำบลลำคลองได้จัดให้มีการบริการประชาชนดังนี้ (๑) ด้านการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินโดยเปิดให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง (๒) การให้บริการจัดเก็บภาษีเคลื่อนที่ (๓) การให้บริการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และ (๔) การบริการเก็บขยะ และการดูดสิ่งปฏิกูลโดยคิดค่าบริการในราคาต่ำเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่
๘.๕ การท่องเที่ยว พื้นที่รับผิดชอบติดกับแหล่งท่องเทียวที่สำคัญ เช่น จุดชมวิวเขื่อนลำปาว ตลาดชุมชนคนขายปลา (ผันน้ำ) และ หาดดอกเกด (ทะเลอีสาน)
๘.๖ อุสาหกรรม พื้นที่เทศบาลตำบลลำคลอง ไม่มีโรงงานอุสาหกรรม ในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองเป็นลักษณะอุสาหกรรมในครัวเรือน เป็นอุสาหกรรมขนาดเล็ก
๘.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ เป็นการรวมกลุ่มของประชาชน การรวมกลุ่มทุกประเภท …๑๓… กลุ่ม แยกประเภทกลุ่ม (๑) กลุ่มอาชีพ ๑๓ กลุ่ม และ (๒) กลุ่มออมทรัพย์ ๑๒ กลุ่ม
๘.๘ แรงงาน ในพื้นที่เป็นการใช้แรงงานเกี่ยวกับการเกษตร การประมง การประศุสัตว์ ซึงเป็นอุสาหกรรมในครัวเรือน และการใช้แรงงานด้านการก่อสร้างในพื้นที่ และพื้นที่ไกลเคียงเป็นบ่างส่วน ประชากรส่วนมากในพื้นที่ ประกอบอาชีพเกษตรซึ่งซึ่งมีลักษณะการใช้แรงงานเป็นกลุ่ม เป็นชุมชนหมุนเวียนในกลุ่ม ในชุนชน
๙. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การนับถือศาสนา ประชากรส่วนมากในพื้นที่เทศบาลตำบลลำคลองนับถือศาสนาพุทธ สถาบัน องค์กรทางศาสนา เช่น วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน ๗ แห่ง ได้แก่ วัดบ้านสะอาดนาทม วัดป่าศิริวรรณ วันศิริเจริญสุข วัดอนุมัจฉาราม วัดป่าชลประทานนิมิต วัดอัมพวันม่วงน้อย และ วัดมัจฉาราม และประเพณีและงานประจำปี ชุมชนมี ประเพณี มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมคติความเชื่อวิถีปฏิบัติที่หลากหลายแต่ละฤดู เดือน จะมีพิธีปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อหลากหลาย ชาวอีสานจะรู้จักดี คือ ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด เป็นภูมิปัญญา มรดกอันล้ำค่าของปราชญ์อีสานที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจในพื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสานมากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้ชาวอีสานมีความสงบสุขร่มเย็นมาโดยตลอด โดยฮีตสิบสองคลองสิบสี่นี้ จะประกอบไปด้วย ฮีต ๑๒ ฮีต และคลอง ๔ ประเภท มี ๑๔ คลอง ได้แก่ บุญเข้ากรรม(บุญเดือนอ้าย) บุญคูณลาน เดือนยี่ บุญข้าวจี่(เดือนสาม) บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (เดือนสี่) บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) บุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) บุญเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเอาทรัพยากรความรู้ ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งอาจเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน หรือเป็นลักษณะประจำท้องถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นเกิดจากการที่ชาวบ้านแสวงหาความรู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคมที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น การประกอบประเพณี พิธีกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้กระทำสบายใจ รู้สึกอบอุ่นไม่โดดเดี่ยว ให้คุณค่าทางจิตใจและความรู้สึกถือว่าเป็นพลังทางศีลธรรมหรือประเพณี การรวมกำลังช่วยกันทำงานที่ใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำได้สำเร็จคนเดียว เช่น สร้างวัด สร้างถนนหนทาง หรือขุดลอกแหล่งน้ำ เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันภายในชุมชน ทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยทั่วไปภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นประโยชน์แก่คนทุกระดับมีลักษณะเด่นคือสร้างสำนึกเป็นหมู่คณะสูงทั้งในระดับครอบครัวและเครือญาติ
และสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก เป็นสินค้าที่เกิดจากการผลิตของกลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากเทศบาลตำบลลำคลองเช่น ตระกล้าไม้ไผ่ จากกลุ่มจักรสาร ปลาส้มถอดก้าง ปลาแห้ง ปลาหล้า กุ้งก้ามกราม ผักปลอด

๑๐. ด้านทรัพยากร เทศบาลลำคลองมีทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติและป้าไม้ในที่สาธารณา ดังนี้
๑๐.๑ แหล่งน้ำธรรมชาติ เทศบาลตำบลลำคลอง มีแหล่งดังนี้ แม่น้ำที่เป็นลำห้วย ๔ สาย ที่สำคัญคือ ลำน้ำปาว ลำห้วยซัน ลำห้วยน้อย และลำห้วยใหญ่ บึง,หนองและอื่นๆ ๗ แห่ง ที่สำคัญคือ หนองหัวลิง, หนองสิม, หนองแวง, หนองค่า หนองม่วง กุดฟ้าน้อย และกุดฟ้าใหญ่
๑๐.๒ ป่าไม้ทุ่งที่อยู่ในที่สาธารณะประโยชน์ ได้แก่ โคกดอนก่อ ดอนปู่ตาบ้านหาดทอง โคกป่าช้าหนองม่วง โคกวัดป่าศิวิวรรณ ดอนปู่ตาบ้านสะอาดใต้
๑๐.๓ ด้านคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นป่าเสื่ยมโทรม ซึ่งเกิดจาการบุกรุกของประชาชนในพื้นที่ ซึงเทศบาลตำบลลำคลองได้มีโครงการปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายประจำทุกปี หาประชาชนมีความเข้าใจในการรักษาป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติจะส่งผลให้การอนุรักษ์ป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำ ที่ใช้ในการหาเห็น ที่อยู่อาศัยของนก สัตว์ป่า และแหล่งเลี้ยงชุมชน จะมีป่าอยู่คู่กับชุมชนต่อไป

ดังนั้นจากปัจจัยที่ ชุมชนมีโดยรวมแล้ว การสร้างชุมชนให้สามารถมีความเข้มแข็งสามารถพึงตนเองได้ นั้น จำเป้นต้องศึกษาข้อมูลบริบทของชุมชน ปัญหา ศักยภาพและความต้องการของชุมชน โดยการใช้หลักการบูรณาการศาสตร์ โดยนักศึกษาและอาจารย์ลงพื้นที่ แฝงตัวในชุมชน เข้าพบและพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งร่วมใช้ชีวิตกับชุมชน เพื่อเรียนรู้วิ๔ชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน จะได้เข้าใจถึงการยอมรับและปฏิเสธความต้องการของชุมชนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
SSOSWU เมื่อ 31 ต.ค. 2562 19:12 น.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตจากห้องเรียนสู่ชุมชน (ปี 2562)คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2552 โดยโครงการบริการวิชาการของคณะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ชุมชนในระดับต่างๆ ได้รับข้อมูล ความรู้ ทักษะทางด้านผลิตภัณฑ์การเกษตร และเป็นโอกาสที่จะสามารถพัฒนาตนเอง เพิ่มคุณภาพชีวิต และพึ่งตนเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และของประเทศในที่สุด ทั้งนี้การดำเนินงานของโครงการฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในการบริการวิชาการแก่สังคมโดยมุ่งเน้นการดำเนินงานที่เห็นผลในพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ได้แก่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก และตรงกับนโยบายที่ต้องการให้มีการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกับการพัฒนามหาวิทยาลัย รวมทั้งให้มีการบูรณาการของพันธกิจด้านการบริการวิชาการกับพันธกิจอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอน และมีการ บูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
ในปี 2562 จะดำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตจากห้องเรียนสู่ชุมชน เป็นโครงการที่นิสิตที่เรียนในวิชาต่างๆ ของคณะฯ จะเข้าไปเรียนรู้ในชุมชนตามลักษณะของรายวิชา และนำปัญหามาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ผ่านการเรียนในชั้นเรียน แล้วนำคำตอบที่ได้กลับมาแลกเปลี่ยนกับชุมชน โดยจะแบ่งกิจกรรมเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากพลาสติกรีไซเคิล
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีพื้นที่เขตปกครอง/รับผิดชอบในปัจจุบัน จำนวน 6 หมู่บ้าน/ชุมชน มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น 5-6 ตันต่อวัน โดยในแต่ละชุมชนไม่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่ แต่มีการเก็บขยะนำไปกำจัดกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทรายมูลเพียงที่เดียว นอกจากนี้การลงพื้นที่สำรวจปัญหาในพื้นที่จัดเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทรายมูล อ.องครักษ์ จ.นครนายก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2559 ของสาขาเทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์ พบว่าขยะที่มาจากมหาวิทยาลัยซึ่งประกอบด้วย ขยะอันตรายและขยะมูลฝอย อาทิเช่น เศษอาหาร ของสด แก้ว พลาสติก ผ้า และโลหะ เป็นต้น มีปริมาณมากและขาดการจัดการที่เหมาะสม ทำให้เป็นอุปสรรคต่อเจ้าหน้าที่จัดเก็บขยะและกำจัดขยะ ของ อบต. ทรายมูล
ดังนั้น จึงเล็งเห็นว่าควรมีการดำเนินการจัดการขยะ เพื่อให้อำเภอองครักษ์เป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้นิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการแยกขยะ และการแปรรูปขยะพลาสติกเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า เพื่อลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาและฝังกลบ และจะขยายผลโครงการจัดการขยะ ในรูปแบบขยายผลสู่ชุมชน อำเภอองครักษ์ ที่มีความประสงค์จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะในรูปธนาคารขยะ และขยายผลสู่โรงเรียนในพื้นที่ ทั้งนี้จะทำให้ อำเภอองครักษ์ เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและความร่วมมือของชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการขยะแบบคัดแยกจากต้นกำเนิด และจัดการขยะอย่างเป็นระบบและถูกวิธี ส่งผลให้เป็นชุมชนต้นแบบแห่งการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง
ส่วนที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากห้องเรียนสู่ชุมชน
ในอีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ถึงแม้รัฐบาลจะเตรียมมาตรการรองรับไว้หลายอย่าง ได้แก่ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถหารายได้ด้วยตนเอง และสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วยการออกนโยบายเรื่องเงินออม เป็นต้น มาตรการเหล่านี้จะสัมฤทธิ์ผลได้ถ้าผู้สูงอายุมีสุขภาพดี มีกำลังพอที่จะดูแลตนเอง ปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ ได้แก่ การขาดสารอาหารและการเป็นโรคไม่ติดต่อชนิดเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของเซลล์ (เช่น ความดันโลหิต เบาหวาน และไต เป็นต้น) ดังนั้นการพัฒนาอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายและสอดคล้องกับโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่เป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งรับผิดชอบหลักสูตร วท.บ.สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ ได้เปิดสอนวิชา วอภ 332 หลักโภชนาการในสภาพปกติและพยาธิสภาพที่มุ่งเน้นให้นิสิตได้มีความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาหารให้เหมาะสำหรับบุคคลทั้งสภาวะปกติและสภาวะเจ็บป่วย ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้นิสิตได้เห็นความสำคัญของวิชาชีพ และปลูกจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคม โครงการนี้จึงได้มีการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนกับรายวิชาดังกล่าว
ส่วนที่ 3 การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น(ปลาดู)เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาความปลอดภัยด้านจุลินทรีย์
ปลาดูเป็นผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านของชาวไทยพวน ผลิตจากปลาดุกหรือปลาช่อนนำมาหมักเกลือและสมุนไพรชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถนอมอาหารที่สืบทอดกันมา จะใช้ระยะเวลาการหมักไม่นาน เป็นอาหารท้องถิ่นที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายกได้ดี แต่การผลิตในระดับครัวเรือนนั้น มีความผันแปรของคุณภาพและการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน และอาจส่งผลเสียอย่างยิ่งหากผลิตภัณฑ์อาหารมีการปนเปื้อนจนเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค สาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัญหาการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ แม้ว่าอาหารกลุ่มนี้ ได้ผ่านกระบวนการหมักที่อาจช่วยทำลายหรือยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ แต่ยังมีโอกาสพบการปนเปื้อนจุลินทรีย์ต่างๆ รวมถึงเชื้อโรคอาหารเป็นพิษได้
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารด้านชนิดและปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหาร จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหาร จุลินทรีย์ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหาร รวมทั้งสารพิษที่เชื้อจุลินทรีย์สร้างขึ้น จึงมีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัยของอาหารให้ถูกสุขลักษณะและสามารถพัฒนากระบวนการถนอมอาหารเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้มีคุณภาพทัดเทียมกับมาตรฐานที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาและสืบสานผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านของชาวจังหวัดนครนายก สาขาเทคโนโลยีชีวภาพและผลิตภัณฑ์การเกษตร จึงดำเนินการลงพื้นที่สำรวจปัญหา ตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางด้านจุลชีววิทยาแก่กลุ่มชุมชน เพื่อให้ทราบถึงปริมาณจุลินทรีย์และชนิดของจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นดัชนีแสดงคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร พัฒนาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษา รวมทั้งเพื่อเป็นการควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนดและยอมรับได้
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 31 ต.ค. 2562 19:09 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงโครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเชื้อชีวินทรีย์ กับดักแมลงในการป้องกันโรคและแมลงใน สวนไม้ผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตไม้ผลปลอดภัย (ปี 2560)สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มีความพร้อมด้านบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในด้านการผลิตพืชปลูก ทุกชนิด อีกทั้งพื้นที่ภาคใต้บริเวณรอบมหาวิทยาลัยทักษิณ มีพื้นที่สวนไม้ผลจำนวนมาก ซึ่งประสบปัญหาโรคและแมลงต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถควบคุมคุณภาพการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ราคาผลผลิตตกต่ำ จึงแก้ปัญหาโดยการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคและแมลงต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สวยงามเป็นที่ต้องการของตลาดและจำหน่ายได้ในราคาสูง แต่ต้องเสี่ยงกับปัญหาสุขภาพและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มีความตั้งใจในการร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาระบบการผลิตไม้ผลปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรโดยการลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพอนามัยที่ดีและผลผลิตที่ได้เป็นผลผลิตที่มีคุณภาพปลอดสารพิษ จึงเสนอโครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเชื้อชีวินทรีย์ และการทำกับดักแมลงในการป้องกันโรคและแมลงในสวนไม้ผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตไม้ผลปลอดภัย เพื่อร่วมแก้ปัญหาดังกล่าวและเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของสาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงให้เป็นที่รู้จักแก่สังคมยิ่งขึ้น
boosiri เมื่อ 31 ต.ค. 2562 18:53 น.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่นการพัฒนานวัตกรรมการผลิตปุ๋ยเกษตรอินทรีย์เพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน (ปี 2563)ปุ๋ยอินทรี คือสารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บแร่ธาตุจากธรรมชาติ ซึ่งได้จาก ดิน เศษไม้ เศษหญ้า ขยะ วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร และมูลสัตว์ ที่สำคัญปุ๋ยอินทรีย์สามารถนำมาใช้ในการช่วยบำรุงพืชผลทางการเกษตรหรือใช้เพาะปลูกในภาคเกษตรกรรม เช่น ใช้บำรุง ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย ไม้สวน และไม้ปะดับ อื่น ๆ เป็นต้น
พืชผลทางการเกษตร เป็นพืชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้บริโภคภายในประเทศ และส่งออก ได้แก่ ข้าว แป้งมันสำปะหลัง ยางพารา น้ำตาลทราย และไม้ประดับบางชนิด โดยเป็นแหล่งสร้างงานแก่เกษตรกรชาวไร่ ชาวนาทั่วประเทศ และแรงงานในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากกว่า 10 ล้านคน และปลูกในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่า 63 ล้านไร่ ครอบคลุม 20 จังหวัดในภาคอีสาน (ผลสำรวจเบื้องต้น ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2562 สำนักงานเศษกิจการเกษตร) และเป็นพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในประเทศ แต่ปัจจุบันการพืชผลทางการเกษตรของกลุ่มเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประสบปัญหาในเรื่องของภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม และ อื่น ๆ ซึ่งส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเกิดความเสียหา และไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ จากปัญหาดังกล่าว ยังเกิดผลพวงส่งผลให้เกิดโรคระบาดกับมีแมลงศัตรูพืชเพิ่มสูงขึ้น นั้นหมายถึงต้นทุนในการเพาะปลูกและการบำรุงรักษาจากค่ายาฆ่าแมลง และสารเคมีเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อถึงฤดูของการเก็บเกี่ยวผลผลิตก็เกิดการขาดดุลทางการค้า จากราคาที่ตกต่ำสุดในรอบ 5 ปี เช่น อ้อย ข้าว ยางพารา ดังนั้นการแก้ไขปัญหาและหาแนวทางออกร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ชุมชนร่วมกับกลุ่มเกษตรกรจึงเป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน เพื่อฟื้นฟูและยกระดับของกลุ่มเกษตรให้กลับมามีความมั่นคง มั่งคั่ง และศักยภาพที่เข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจต่อไป
ดังนั้นคณะกลุ่มทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จึงได้ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มเกษตรที่อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ และพื้นที่ใกล้เคียงนำมาวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางแก้ไข ซึ่งพบว่าทางออกที่ดี คือหน่วยงานจากภาครัฐควรสนับสนุน และเร่งส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรมีองค์ความรู้ ทักษะความสามารถในการแก้ไขปัญหา และการบริหารจัดการทรัพยากรได้ด้วยตัวเองในระยะยาวเพื่อส่งเสริมกรรมวิธีในการเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตร ลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิต และสนับสนุนให้เกิดการแปรรูปเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ของเสีย และมูลสัตว์ ให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนการใช้ปุ๋ยที่ได้จากสารเคมีโดยตรง เพื่อช่วยยกระดับของเกษตรกรในพื้นที่ให้เกิดการพัฒนาการทำเกษตรได้อย่างยั่งยืน และเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเกิดรายได้ ที่สำคัญยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการทำลายชั้นหน้าดินที่เกิดจากการใช้สารเคมีในปัจจุบัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวิจัย และสร้างเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อเพิ่มช่องทางเลือกให้แก่เกษตรกรในชุมชน โดยมีแผนบูรณาเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการผลิตปุ๋ยเกษตรอินทรีย์เพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นโครงการบูรณาการที่หาช่องทางเลือกให้กับกลุ่มเกษตรในจังหวัดพื้นที่กาฬสินธุ์ โดยโครงการมีการจัดการปัญหาที่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ด้วยต้นแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มูลสัตว์กลับมาเพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชนอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 31 ต.ค. 2562 18:52 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง โครงการย่อยที่ 2: การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างเสริม รายได้ให้ชาวสวนยางและสวนปาล์ม (ปี 2560)พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่ 10 อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 อำเภอของจังหวัดพัทลุง และ 1 อำเภอของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ พื้นที่ทั้งหมดของอำเภอปากพนัง อำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอพระพรหม พื้นที่บางส่วนของอำเภอลานสกา และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง ได้แก่ พื้นที่อำเภอควนขนุน และอำเภอป่าพะยอม และจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอระโนด รวมทั้งสิ้น 13 อำเภอ 75 ตำบล 599 หมู่บ้าน ประชากร 128,844 ครัวเรือน 606,323 คน เป็นเกษตรกรในเขตโครงการทั้งสิ้น 83,983 ครัวเรือน พื้นที่ทำการเกษตรรวม 1.092 ล้านไร่ รวมพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,100 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,937,500 ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในอดีตลุ่มน้ำปากพนังเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำของภาคใต้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ ๆ มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกข้าวได้ดี ทำให้มีพื้นที่ในการทำนามากที่สุด แต่เมื่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขยายมากขึ้น การใช้ทรัพยากรที่ปราศจากการจัดการที่ดี และการถางป่าที่เป็นต้นน้ำเพื่อการทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ ส่งผลให้ความอุดมบูรณ์ลดลง รวมทั้งการประสบปัญหาน้ำท่วม ขาดแคลนน้ำจืด ดินเปรี้ยว น้ำเค็มรุกล้ำ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินของเกษตกร เนื่องจากการทำนาไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีพ เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และไม้ผล หรือปรับพื้นที่เป็นไร่นา สวนผสม
ภาคใต้ของไทยถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันที่สำคัญของไทยมากที่สุด และเกษตรกรในภาคใต้ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยางพารา แต่อาชีพการเกษตรมักประสบปัญหาด้านราคาผลผลิตมีความไม่แน่นอน เพราะกลไกลของตลาดโลก ภาวะวิกฤตของราคายางพาราดังกล่าว ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราโดยเฉพาะภาคใต้ลดลง ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกรด้อยลง และภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนมีความฝืดเคืองเพิ่มมากขึ้น ในสถานการณ์เช่นนี้เกษตรกรจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นการแสวงหาแหล่งได้จากแหล่งอื่น โดยการพึ่งทรัพยากรของตนที่มีอยู่จึงจะสามารถประคองสถานะเศรษฐกิจของครัวเรือนได้ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีความคาดหวังว่าการแสวงหารายได้จากแหล่งอื่นเพื่อเพียงต้องการพยุงตัวเองให้อยู่รอดในระหว่างที่ราคาตกต่ำเท่านั้น สังคมครัวเรือนก็จะไม่มีภูมิคุ้มกันหากได้รับผลกระทบเช่นเดิม ดังนั้น การสร้างอาชีพเสริมและต่อยอดผลผลิตจนถึงแหล่งตลาดหรือจนถึงมือผู้บริโภคให้แก่เกษตรกรและเพื่อให้เกษตรกรมีได้รายได้เพิ่มขึ้น จึงเป็นหนทางหนึ่งเพื่อความอยู่รอดได้ในภาวะเช่นนี้ และยังเป็นหนทางที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพได้เช่นกัน
การหารายได้ในพื้นที่สวนยางและสวนปาล์ม เช่น การเลี้ยงผึ้งโพรง เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถทำเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สวนยางและยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาติ อีกทั้งวิธีการเลี้ยงผึ้งดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของการทำอาชีพสวนยางของเกษตรกร ซึ่งจากการลงสำรวจพื้นที่และการบริการวิชาการในศาสตร์ต่างๆให้แก่เกษตรกร พบว่า ในพื้นที่หมู่ 3, 5, 6, 9 และ 11 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีประชากรส่วนหนึ่งมีอาชีพเสริมโดยการเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรง โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรง และชันโรงตำบลปันแต” จากข้อมูลเบื้องต้น พบว่า การเลี้ยงผึ้งในสวนยางทำได้ไม่ยาก แต่ผู้ที่เลี้ยงจำเป็นต้องมีความรู้ในเบื้องต้นและต้องมีการเรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงบางประการเพื่อให้ได้น้ำผึ้งที่มีคุณภาพ เช่น แหล่งน้ำหวานของผึ้ง ซึ่งจากการให้ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งบอกว่าแหล่งน้ำหวานของผึ้งคือยอดและดอกยางพารา ดังนั้นการเลี้ยงผึ้งในสวนยางจึงเป็นวิถีที่สอดคล้องกับวิถีของการทำสวนยาง และเมื่อเปรียบเทียบวิธีการเลี้ยงผึ้งแบบดั้งเดิม (เลี้ยงแบบธรรมชาติ) ของเกษตรกรจะขายน้ำผึ้งได้น้อยกว่าการเลี้ยงแบบประณีต (มีเทคนิคการเลี้ยง) ซึ่งปัจจุบันพบว่า เกษตรกรที่ใช้วิธีการเลี้ยงแบบประณีตจะสามารถขายผึ้งโพรงได้ขวดละ 500 บาท และชันโรงขวดละ 1,500-2,100 บาท จะเห็นว่าการเลี้ยงผึ้งมีแนวโน้มที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ นอกจากนั้นแล้วผลผลิตจากการเลี้ยงผึ้ง เช่น น้ำผึ้ง รังผึ้ง ขี้ผึ้ง ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง เช่น สบู่น้ำผึ้ง คีมบำรุงผิว อาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของน้ำผึ้ง หรือเครื่องดื่ม และยาสมุนไพร เเป็นต้น
จากการที่ทีมนักวิจัยดำเนินโครงการวิจัยและโครงการบริการวิชาการในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง มาอย่างน้อย 5 ปี จึงทำให้ทราบความต้องการของเกษตรกรในการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากผึ้ง ทางหน่วยงานต่าง ๆ ได้ติดต่อมาทางนักวิจัยให้จัดอบรมเรื่องการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้ในหลาย ๆ ครั้ง เช่น อบต. ขอนหาด อบต. ลานข่อย และ อบต.การะเกด ดังนั้นในโครงการบริการวิชาการประจำปี 2560 นี้ ทางคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชนได้ร่วมกับวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ดำเนินโครงการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อสร้างเสริมรายได้ให้ชาวสวนยางและสวนปาล์มในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง” จึงมีความมุ่งหวังที่จะสร้างจิตสำนึกให้กับเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มให้เข้าใจระบบอาชีพการทำสวนพืชเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืน โดยเน้นให้เกษตรกรชาวสวนให้เข้าใจธรรมชาติการผันแปรของราคาผลผลิต และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์ม โดยเน้นอาชีพการเลี้ยงผึ้งและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ในครัวเรือนของประชากรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 31 ต.ค. 2562 18:40 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลาโครงการการทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน (ปี 2561)การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำสวนยางพาราและสวนผลไม้เชิงเดี่ยวที่มีระบบการบริหารจัดการในสวนโดยการใช้ยากำจัดวัชพืช ใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในดิน น้ำ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีการไถพรวนในแปลงยางพาราทำให้เกิดการชะล้างของตะกอนไปทับถมตามลำห้วยลำธาร ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้มากเหมือนเดิม นอกจากนี้บางพื้นที่ยังมีการทำลายป่าต้นน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในชุมชนขาดแคลนน้ำใช้ในยามหน้าแล้ง และนับวันระยะเวลาการขาดแคลนน้ำจะยาวนานเพิ่มขึ้น จากปัญหาดังกล่าว สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงเห็นโอกาสที่จะใช้องค์ความรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิถีทำกิน และการดำเนินชีวิตที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ ด้วยการเสวนาและพูดคุยกลุ่มผู้นำชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่เพื่อร่วมคิดในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ น้ำและดินอย่างยั่งยืนของชุมชน จนได้แนวทางแก้ปัญหาที่เป็นข้อสรุปของความคิดเห็นที่สอดคล้องกันคือ การนำระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานมาประยุกต์ใช้กับสวนยางพาราและสวนผลไม้ ด้วยการปลูกไม้ยืนต้นแซมระหว่างแถวของยางพารา และการปลูกผลไม้แบบผสมผสานหลากหลายชนิดพืช ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าให้กับชุมชนและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร อีกทั้งช่วยลดผลกระทบจากปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงได้จัดโครงคืนป่าให้ผืนดินด้วยวิถีเกษตรผสมผสาน สร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน และโครงการสวนยางพาราเพิ่มป่ารักษ์น้ำ โดยในระยะแรกได้ดำเนินการในพื้นที่ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด ต่อมาได้ขยายผลไปยังตำบลหนองธง อำเภอป่าบอนและตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง สามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับชุมชนได้ในระดับหนึ่ง เกิดองค์ความรู้ที่สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน นิสิตและชุมชนอื่นๆ จนมหาวิทยาลัยทักษิณได้รับการเชื่อถือศรัทธาจากชุมชน และเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างแท้จริงและเห็นผลได้ชัดเจน การดำเนินการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ ของชุมชน จึงควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนเกิดความตื่นตัว ยอมรับกรอบคิดการปรับเปลี่ยนวิถีการทำสวนยางพารามาเป็นรูปแบบสวนยางพาราเพิ่มป่ารักษ์น้ำ และการทำสวนผลไม้แบบผสมผสานที่ปลูกไม้ป่าร่วม เพื่อให้เป็นสวนผสมผสานที่สมบูรณ์แบบและมีมูลค่าที่สูงขึ้น มีความมั่นคงทั้งทางด้านรายได้ของเกษตรกร และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
SSOSWU เมื่อ 31 ต.ค. 2562 18:37 น.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร (ปี 2562)คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2552 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ชุมชนในระดับต่างๆ ได้รับข้อมูล ความรู้ ทักษะทางด้านผลิตภัณฑ์การเกษตร และเป็นโอกาสที่จะสามารถพัฒนาตนเอง เพิ่มคุณภาพชีวิต และพึ่งตนเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และของประเทศในที่สุด การดำเนินงานโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ของคณะฯ ยึดถือแนวทางที่ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งทางด้านเกษตรกรรม ดังนั้นการต่อยอดโดยใช้พื้นฐานทางเกษตรกรรม อาทิ การใช้วัตถุดิบทางการเกษตร จึงน่าจะเป็นการต่อยอดจากรากฐานเดิม ให้นำไปสู่การพัฒนาภูมิปัญญาของท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเป็นการพัฒนาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตดั้งเดิม ทั้งนี้การดำเนินงานของโครงการฯ จะได้ยึดถือจากนโยบายของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ว่าในการบริการวิชาการแก่สังคมนั้น ต้องการให้มีการมุ่งเน้นการดำเนินงานที่เห็นผลในพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ได้แก่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก และ อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม และตรงกับนโยบายที่ต้องการให้มีการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกับการพัฒนามหาวิทยาลัย รวมทั้งให้มีการบูรณาการของพันธกิจด้านการบริการวิชาการกับพันธกิจอื่น และมีการบูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เกิดงานบริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนครนายกในระยะเวลา 4 ปี (2561 – 2564) ประเด็นที่ 1 คือ การพัฒนาการเกษตรครบวงจร เพื่อเพิ่มการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด โดยหนึ่งในนั้นคือโครงการพัฒนาแปรรูปสินค้าเกษตรและ SME ซึ่งคณะฯ มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่ามีศักยภาพในการดำเนินการดังกล่าวร่วมกับจังหวัดได้เป็นอย่างดี
จากการที่คณะฯ ได้มีการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนในพื้นที่เป้าหมายและมีการติดตามผลการดำเนินงาน/ผลกระทบต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประชุมร่วมกับองค์กรท้องถิ่น และการได้พบกับวิสาหกิจชุมชนที่มีความต้องการ ทำให้สามารถร่วมกันวางแผนการดำเนินการเบื้องต้นได้ตรงตามความต้องการของชุมชน ในปี 2560 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชน หลายโครงการได้แก่ โครงการเสริมศักยภาพโดยการบ่มเพาะชุมชนต้นแบบ การอบรมเกี่ยวกับมาตรฐาน GMP และทักษะการทำงาน การอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักและผลไม้ คลีนิกเทคโนโลยีอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และยังมีความต้องการจากชุมชนในเขตจังหวัดนครนายก และผู้สนใจทั่วไปอีกมาก โดยมุ่งเป้าสู่อาหารปลอดภัย เพื่อสร้างมาตรฐานให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าเชื่อถือ หรือการแปรรูปผักและผลไม้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการเกิดผลิตภัณฑ์เหลือทิ้งจากการไม่ได้มาตรฐาน และยืดอายุการเก็บรักษา และส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพเพื่อสร้างรายได้ นอกจากนี้การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณาจารย์ คณะทำงาน และผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพเพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนต่อไปได้ คณาจารย์สามารถใช้ในการบูรณาการการเรียนการสอนและงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้นิสิตที่เข้าร่วมโครงการยังได้รับความรู้ และประโยชน์ในหลายได้ เช่น มีความรู้ และมีทักษะการแปรรูปอาหารที่ใช้ในการเรียน และการต่อยอดสร้างอาชีพในอนาคต รวมถึงการมีทักษะสื่อสาร และการสร้างจิตสาธารณะให้กับนิสิต ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้นิสิตนำไปใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคตได้
ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 คณะจะได้ดำเนินการโครงการบริการวิชาการ โครงการจึงได้วางแผนโดยนำข้อมูลงานวิจัยของคณาจารย์ในคณะฯ ที่ได้ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรในจังหวัดนครนายก มาดำเนินการเผยแพร่ในรูปแบบนิทรรศการร่วมกับหน่วยงานราชการของจังหวัดนครนายก เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัดและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เป็นต้น เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรหรือผู้ประกอบการในจังหวัดนครนายกได้มีแนวทางในการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายโอกาสทางการตลาดได้ หากมีผู้สนใจในการนำผลิตภัณฑ์ไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร จะดำเนินการบ่มเพาะผู้ประกอบการให้สามารถต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำออกสู่ตลาดได้ โดยจัดกิจกรรมอาทิเช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอด การส่งเสริมมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด และการควบคุมคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ครบวงจร และมีความยั่งยืนต่อไปได้
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 31 ต.ค. 2562 18:29 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงโครงการ การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (ปี 2561)ประเทศไทยมีจำนวนประชากรรวดเร็วมากโดยเป็นผลจากนโยบายการเพิ่มประชากรก่อนปี พ.ศ.2500 จากที่มีประชากรเพียง 20 ล้านคนในปี พ.ศ. 2493 เพิ่มขึ้นเป็น 67.4 ล้านในปี 2555 (สำนักงานประชากรขององค์การสหประชาชาติ, 2555) ผลกระทบจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีการประกาศนโยบายประชากรอย่างเป็นทางการและบรรจุนโยบายการลดอัตราเพิ่มประชากรไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) เป็นครั้งแรก และมีการดำเนินงานตามนโยบายลดอัตราเพิ่มประชากรดังกล่าวในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อๆ มา จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) ซึ่งทำให้อัตราเจริญพันธุ์รวมยอดหรือจำนวนการมีบุตรเฉลี่ยของผู้หญิงลดลงจาก 6.3 คนในช่วงปี พ.ศ.2507-2508 เหลือแค่ 1.83 คนในช่วงปี พ.ศ.2543-2548 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าระดับทดแทนซึ่งกำหนดไว้ที่ 2.1 คน (Replacement Level) จึงทำให้สิ้นสุดนโยบายลดการเพิ่มประชากร อย่างไรก็ตามภายหลังสิ้นสุดนโยบายเพิ่มประชากรแล้ว ผู้หญิงไทยก็ยังคงมีจำนวนบุตรเฉลี่ยน้อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ รายงานว่าในปี 2553 ผู้หญิงไทยมีจำนวนบุตรเฉลี่ยเหลือแค่ 1.62 ในขณะที่สหประชาชาติคาดประมาณการจำนวนบุตรเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่ 1.4 เท่านั้น จากผลของนโยบายลดอัตราการเพิ่มประชากรดังกล่าวทำให้ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่จะมีอัตราการเติบโตของประชากรติดลบ โดยสำนักงานประชากรแห่งสหประชาชาติระบุว่า ประเทศไทยจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นไปอีกระยะหนึ่ง และจะมีจำนวนประชากรสูงสุดจำนวน 67.9 ล้านคน ในปี พ.ศ.2568 และจำนวนประชากรจะค่อยๆ ลดลง เหลือประมาณ 40 ล้านคนในปี พ.ศ.2643 หรืออีกประมาณ 80 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการลดลงของจำนวนประชากรในอนาคตนั้นอาจจะยังมีเวลาตั้งรับและปรับนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญแล้วและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็คือ ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว โดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุจำนวนผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ในปี พ.ศ.2513 มีจำนวน 1.7 ล้านคน (ร้อยละ 4.9) เพิ่มขึ้นเป็น 8.4 ล้านคน (ร้อยละ 13.2) ในปี 2553 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในอีก 30 ปีข้างหน้า หรือ พ.ศ.2583 และข้อมูลจากสหประชาชาติพบว่า ในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศไทยมีร้อยละของประชากรที่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีสูงเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ และอัตราการเติบโตของประชากรสูงวัยของไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 2 เท่าในอีก 15 ปีข้างหน้า ซึ่งผลกระทบจากการมีสัดส่วนผู้สูงอายุจำนวนมาก จะทำให้มีภาระพึ่งพิงทางเศรษฐกิจสูง ประชากรวัยแรงงานจะมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ครัวเรือนมีภาระหนี้สินสูง มีการออมต่ำไม่พียงพอต่อการใช้จ่ายในยามเกษียณ ภาครัฐจึงต้องนำเงินงบประมาณมาจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชากร จนอาจลุกลามเป็นหนี้สินของประเทศส่งผลทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและตกต่ำได้
จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงประชากรอย่างรวดเร็วดังกล่าว ประทศไทยได้จัดทำแผนประชากรขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 2555 – 2559 โดยกำหนดวิสัยทัศน์คือ “ประชากรไทยทุกคนเกิดมามีคุณภาพ ได้รับการพัฒนาทุกช่วงวัยให้สามารถเป็นพลังในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของประเทศ มีหลักประกันที่มั่นคงพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุที่มีการจัดสวัสดิการอย่างยั่งยืนโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม” และกำหนดยุทธศาสตร์หลัก 3 ข้อ คือ 1) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้ประชากรไทยทุกคนเกิดมามีคุณภาพ พร้อมที่จะพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพเมื่อเติบโตขึ้น 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพประชากรไทยทุกช่วงวัย เพื่อเป็นพลังต่อการเจริญเติบโตของประเทศ และยุทธศาสตร์ข้อที่ 3 คือ ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมประชากรไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุที่มีสวัสดิการทางสังคมอย่างยั่งยืน และในปัจจุบันก็กำลังจัดทำแผนประชากรในการพัฒนาประเทศระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2559 – 2579) เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ด้านประชากรของประเทศไทย
จากวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 คือ “ประชากรไทยทุกคนเกิดมามีคุณภาพ ได้รับการพัฒนาทุกช่วงวัยให้สามารถเป็นพลังในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของประเทศ มีหลักประกันที่มั่นคงพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุที่มีการจัดสวัสดิการอย่างยั่งยืนโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม” จะเห็นได้ว่า ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุโดยครบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ประกอบกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทักษิณข้อที่ 4 การจัดการบริการวิชาการร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ขับเคลื่อนการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต ความมั่นคง และการพัฒนาในภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬาข้อที่ 4 บริการวิชาการเพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ดังนั้นสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการบริการวิชาการเรื่อง การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนขึ้น โดยใช้กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และกระบวนการพัฒนาสุขภาพชุมชนซึ่งเป็นทางเลือกที่ดี เพราะเป็นกลวิธีที่ให้ชุมชนเป็นผู้ระบุปัญหา หาสาเหตุและเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมของชุมชนเอง และนอกจากนี้เป็นการพัฒนาประชาชนในชุมชนให้เรียนรู้และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในระยะยาวด้วย โดยจัดทำโครงการในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านศาลาน้ำ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม ซึ่งเป็นหมู่บ้านซึ่งมีที่ตั้งติดกับมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และที่ผ่านมาภาระการดูแลผู้สูงอายุเป็นบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็นภาระที่ค่อนข้างหนักและส่งผลกระทบในระยะยาวต่อครอบครัวและชุมชนด้วย ดังนั้นในฐานะที่มาหวิทยาลัยทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนดังกล่าวจึงควรเข้ามามีบทบาทในการร่วมกันดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วย
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 31 ต.ค. 2562 18:15 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลาโครงการทักษิณถิ่นยุติธรรม นำยุติธรรมสู่ชุมชน (รอบรั้วมหาวิทยาลัย) (ปี 2561)ท่ามกลางปัญหาท้าทายหลากหลายที่เป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศในระยะยาวก็เป็นที่ตระหนักร่วมกันในทุกภาคส่วนว่าการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในระยะยาวได้นั้น ประเทศต้องเร่งพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ในทุกด้าน ได้แก่ การเพิ่มการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งต้อง ดำเนินการควบคู่กับการเร่งยกระดับทักษะฝีมือแรงงานกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานและกลุ่มที่อยู่ใน ตลาดแรงงานในปัจจุบันให้สอดคล้องกับสาขาการผลิตและบริการเป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลงด้าน เทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาคนในภาพรวมให้เป็นคนที่สมบูรณ์ในทุกช่วงวัยที่สามารถบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสภาพแวดล้อมการดำเนินชีวิตได้อย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทุนมนุษย์จากการยกระดับคุณภาพการศึกษา การเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ และยกระดับคุณภาพบริการสาธารณสุขให้ทั่วถึงในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งต้องส่งเสริมบทบาทสถาบันทางสังคมในการกล่อมเกลาสร้างคนดี มีวินัย มีค่านิยมที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนั้น ในช่วงเวลาต่อจากนี้การพัฒนาต้องมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่และเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของเมืองต่างๆ ให้สูงขึ้นภายใต้การใช้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ลักษณะการใช้ที่ดิน การจัดระเบียบผังเมืองและความปลอดภัยตามเกณฑ์เมืองน่าอยู่ที่เหมาะสมเพื่อกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจ และสังคมให้ทั่วถึงและเป็นการสร้างฐานเศรษฐกิจและรายได้จากพื้นที่เศรษฐกิจใหม่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำภายในสังคมไทยลงและในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันจากการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังประสบปัญหาคุณภาพในเกือบทุกด้าน อาทิ คุณภาพคนต่ำทั้งใน ด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติ มีปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ประชากรจำนวนไม่น้อยไม่เคารพสิทธิผู้อื่น และไม่ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ จึงซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนปริมาณกำลังแรงงานในภาวะที่โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นประเทศไทยยังประสบปัญหาคุณภาพบริการสาธารณะ คุณภาพการศึกษาและบริการด้านสาธารณสุขและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ ระบบโลจิสติกส์รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำยังไม่เป็นระบบโครงข่ายที่สมบูรณ์และการพัฒนามีความล่าช้า โครงสร้างพื้นฐานยังคงมีปัญหาในหลายด้าน อาทิ รูปแบบการขนส่งยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพได้ตามเป้าหมาย การบริหารจัดการยังขาดเอกภาพ รวมทั้งการให้บริการยังไม่ทั่วถึง ไม่เพียงพอ ไม่มีคุณภาพ กระจุกตัวอยู่ในเมือง และมีราคาค่าบริการค่อนข้างสูง นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังเป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมก็นับว่ามีความล่าช้า มีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาน้อยไม่เพียงพอ การวิจัยที่ดำเนินการไปแล้วไม่ถูกนำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างคุ้มค่าและการพัฒนานวัตกรรมมีน้อย
ปัญหาดังกล่าวข้างต้นส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากปัญหาการบริหารจัดการภาครัฐที่ประสิทธิภาพต่ำ ขาดความโปร่งใส และขาดความรับผิดชอบ และการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ขาดความต่อเนื่อง ในขณะที่ การบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิผลและกฎระเบียบต่างๆ ล้าสมัยไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงธรรมาภิบาล และการบริหารจัดการประเทศยังไม่บรรลุเป้าหมาย แม้ว่าบริการสาธารณะที่จัดให้กับประชาชนและ ภาคเอกชน จะพัฒนาได้เร็วขึ้น แต่เมื่อเทียบกับต่างประเทศประเทศไทยยังมีความล่าช้าและไม่ได้มาตรฐานสากล ประกอบกับภาครัฐมีโครงสร้างที่ใหญ่และซับซ้อนขึ้น มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระบวนการจัดสรรงบประมาณใช้เวลาค่อนข้างนาน ซึ่งไม่ทันกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน นอกจากนั้นการใช้จ่ายงบประมาณยังไม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร ขาดความโปร่งใสและธรรมาภิบาล ในขณะที่คุณภาพของบุคลากรภาครัฐลดลงเนื่องจากการเข้าทำงานในภาครัฐไม่ใช่ทางเลือกแรกของคนที่มีความสามารถหรือการศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์ดีเหมือนในอดีต ในขณะที่บุคลากรที่มีความสามารถลาออกจำนวนมากเพราะมีทางเลือกอื่นๆ ที่ดีกว่า สาเหตุสำคัญคือ ภาครัฐขาดการพัฒนาเส้นทางอาชีพที่ชัดเจนและขาดการพัฒนาระบบการฝึกอบรมบุคลากรที่สอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งปัญหาคอร์รัปชั่นได้ขยายวงกว้างทั้งในภาครัฐและเอกชน
ดังนั้น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงเกิดแนวคิดในการจัดโครงการทักษิณถิ่นยุติธรรมนำยุติธรรมสู่ชุมชน (รอบรั้วมหาวิทยาลัย) ในการรวมมือกันทํางานของหนวยงาน สนับสนุนการพัฒนาภายนอกชุมชนทุกภาคสวน โดยยึดหลักการใชพื้นที่เปนตัวตั้งชุมชนเปนศูนยกลาง ชาวบ้าน เปนเจ้าของเรื่อง โดยใชกระบวนการจัดทําแผนชุมชนเปนเครื่องมือดําเนินกิจกรรมพัฒนาใหเปนไปตามความต้องการของชุมชนมากกวาวัตถุประสงคของหนวยสนับสนุน การบูรณาการมีทั้งบูรณาการด้านกลไก/บุคลากร กระบวนการและเครื่องมือแผนงานและงบประมาณ คนในชุมชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำตั้งแต่ต้นเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนและทุกคนในชุมชนรับประโยชน์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 31 ต.ค. 2562 17:57 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงโครงการ การพัฒนาชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปี 2561)จากการที่ฝ่ายวิชาการ สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ลงพื้นที่เพื่อจัดประชุมหารือและรับฟังความต้องการหรือโจทย์ปัญญาชุมชนบ้านพร้าว หมู่ที่ 3 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.บ้านพร้าว อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง เพื่อใช้เป็นแนวทางการให้บริการวิชาการในลักษณะโครงการบริการเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง โดยการนำปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือจากชุมชน มาเป็นโจทย์ในการจัดกิจกรรมด้านบริการวิชาการ ซึ่งมุ่งเน้นให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนได้ โดยให้มีการบูรณาการในหลายมิติทั้งในด้านพื้นที่เป้าหมาย ผู้ให้บริการ องค์ความรู้ และช่วงเวลาดำเนินการซึ่งให้เป็นไปตามหลักการของพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม คือ ร่วมคิดร่วมทำแบพันธมิตรและหุ้นส่วนเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดผลงานวิชาการ ส่งผลกระทบต่อสังคมที่สามารถประเมินได้ นำพาไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นปัญหาและความต้องการของชุมชนบ้านพร้าวหมู่ที่ 3 อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง ที่เกี่ยวพันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในชุมชน เช่น การเลี้ยงกบและการเลี้ยงปลาน้ำจืด เพื่อการเศรษฐกิจ การทำแก๊สชีวภาพจากเศษอาหารหรือของเสียในครัวเรือน การบริหารจัดการด้านการเกษตร เพื่อการบริโภคและเพื่อการจำหน่ายสำหรับเป็นรายได้ในครัวเรือน การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรใช้ในชุมชน เป็นต้น
คณะวิทยาศาสตร์ จึงเห็นว่าประเด็นปัญหาและความต้องการของชุมชน สามารถดำเนินการแก้ไขได้โดยการใช้องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนไปพร้อมๆ กัน โดยมีนักวิชาการ นักวิจัยและบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษาทำให้ชุมชนเกิดความมั่นใจ และไว้วางใจว่าคณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยทักษิณเป็นที่พึ่งทางวิชาการสำหรับคนพัทลุงอย่างแท้จริง
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 31 ต.ค. 2562 17:40 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงโครงการการจัดการขยะอินทรีย์จากครัวเรือน ด้วยระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพ (ปี 2561)การลดรายจ่าย แบบเกิดจากกระบวนที่สร้างความเชื่อมั่น ซึ่งปัจจุบันปัญหาของขยะอินทรีย์เป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง โดยปัญหาที่เกิดขึ้นมีผลมาจากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งที่เกิดจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งขยะในครัวเรือนประมาณ 40-50% นั้นจะเป็นขยะที่สามารถเน่าเสียได้ มีผลให้เกิดความเน่าเสียส่งกลิ่นเน่าเหม็น มีผลให้การจัดการขยะอื่นๆ มีความยุ่งยากมากขึ้นอีก และจากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้รัฐบาลจะต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นงบประมาณในการจัดการขยะในแต่ละปีค่อนข้างสูง ดังนั้นแนวทางหนึ่งที่มีต้นทุนต่ำ และมีการจัดการที่ไม่ยุ่งยาก และไม่ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการจัดการขยะอื่นๆ คือ การจัดการกำจัดในแต่ละครัวเรือน ด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ เทคโนโลยีการกำจัดของเสียแบบไร้อากาศ (Anaerobic Digestion) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้การบำบัดของเสียอินทรีย์ที่ให้ก๊าซชีวภาพเป็นผลพลอยได้ ก๊าซชีวภาพโดยทั่วไปเป็นก๊าซผสม ประกอบไปด้วยก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ (H2S) เป็นต้น ซึ่งก๊าซมีเทนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของก๊าซชีวภาพโดยก๊าซมีเทนนี้จะถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การหุงต้มประกอบอาหารภายในครัวเรือนแล้วผลพลอยได้จากการทำก๊าซชีวภาพอย่างหนึ่ง ก็คือน้ำหมักชีวภาพซึ่งเกิดจากการหมักของเสียอินทรีย์ สามารถนำมาเป็นน้ำปุ๋ยอินทรีย์ใช้ในการเพิ่มสารอาหารให้แก่พืชและช่วยในการลดใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยแนวทางการหมักแบบไร้อากาศ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครัวเรือนถึงสามต่อด้วยกันคือ ได้รับก๊าซชีวภาพซึ่งสามารถนำไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้มในครัวเรือนได้ ช่วยลดต้นทุนการใช้ก๊าซ LPG ที่กำลังมีราคาแก๊สต่อถังสูงขึ้นทุกช่วงเวลา หากชาวบ้านมีแหล่งพลังงานทดแทนแก๊ส LPG และแหล่งพลังงานทดแทนนั้นชาวบ้านสามารถผลิตได้เอง จะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น ลดรายจ่ายของครอบครัว ลดการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ทั้งในส่วนของก๊าซ LPG และน้ำมันดีเซลในการขนส่งก๊าซหุงต้ม LPG และช่วยลดปัญหาของเสียอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของชุมชน
ดังนั้นการนำของเสียอินทรีย์มาผลิตก๊าซชีวภาพ จึงสามารถช่วยให้ครัวเรือนลดการใช้พลังงานในรูปแบบเดิมได้มาก ได้แก่ ลดการใช้แก๊สหุงต้ม และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่งแก๊สหุงต้มเป็นการสร้างตัวอย่างความสำเร็จในการจัดการของเสียด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพ และเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเรื่องของขยะอินทรีย์ สร้างความมั่นคงในการใช้พลังงานให้เกิดการเรียนรู้หรือเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และยังสามารถสร้างบ้านนำร่องเป็นตัวอย่างของการสร้างต้นทุนพลังงานในชุมชนด้วยของเสียในชุมชนของตนเอง
SSOSWU เมื่อ 31 ต.ค. 2562 17:25 น.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)โครงการศิลป์อาสาพัฒนาชุมชน (2560-2562) (ปี 2562)พันธกิจหลักอันสำคัญประการหนึ่งของสถาบันการศึกษา คือ การบริการวิชาการแก่ชุมชน ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้ตระหนักถึงบทบาทของการเป็น “ผู้ให้” แก่ชุมชนและสังคมมาตั้งแต่อดีตกาล เริ่มตั้งแต่คณาจารย์ไปสู่การปลูกสร้างนิสิตให้เป็นผู้มีจิตอาสาเพื่อการสร้างสรรค์สังคม ภายใต้แนวคิดที่ว่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจะส่งเสริมและปลูกสร้างจิตสำนึกของคณาจารย์ บุคคลากรและนิสิตให้รับผิดชอบต่อสังคมด้วยจิตสำนึก มิใช่แค่เพียงการตามกระแสหรือเพื่อการตลาด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณค่าอย่างเต็มที่
ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ และวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดโครงการศิลป์อาสาพัฒนาชุมชนขึ้น เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปกรรมเชื่อมโยงความสัมพันธ์เครือข่ายชุมชนชุมชน อีกทั้งเปิดพื้นที่สาธารณะให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์และสร้างสุขแก่เยาวชน ครอบครัว และชุมชน โดยใช้กิจกรรมการแสดงดนตรีและศิลปะการแสดงเป็นสื่อกลาง รวมทั้งการจัดกิจกรรมศิลปะแบบมีส่วนร่วมสำหรับเยาวชนทั่วไป เป็นการต่อยอดกระบวนการจิตอาสาของเยาวชนรุ่นใหม่ และเพื่อเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของโครงการศิลปกรรมสร้างสุขให้เยาวชน ครอบครัว และชุมชน ได้มีพื้นที่สาธารณะเพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
ในปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้จัดโครงการศิลป์อาสาพัฒนาชุมชน จำนวน 6 ระยะ จากผลการดำเนินโครงการพบว่า ครูและนักเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดนครนายกได้รับความรู้ ความเข้าใจ และการพัฒนาศักยภาพทางด้านศิลปะแขนงต่างๆ ทั้งด้านทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง นาฏศิลป์ ดนตรีไทยและดนตรีสากล เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้แก่โรงเรียนในชนบท อีกทั้งได้รับการเสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะทางศิลปะเกิดสุขภาวะที่ดีในชุมชน เกิดความกล้าแสดงออก เกิดความมั่นใจ และความภาคภูมิใจในคุณค่าของตนเอง เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 31 ต.ค. 2562 17:23 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลาโครงการการสร้างตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ในชุมชน (ปี 2561)หลักสูตรศิลปะการออกแบบ สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ เห็นความสำคัญของการฝึกฝนทักษะทางด้านปฏิบัติทางการออกแบบกราฟฟิก เพื่อใช้ในการสร้างเสริมประสบการณ์เรียนรู้ทางด้านการออกแบบ จึงได้จัดการอบรมและฝึกปฏิบัติการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ต้องการการพัฒนาด้านรูปแบบทางด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อการแข่งขันในตลาดให้มีความทัดเทียมกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ จึงสนับสนุนให้บุคคลทั่วไป เยาวชน นักเรียน นักศึกษาและบุคคลที่สนใจการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ เพื่อพัฒนาทักษะ ความสามารถ ความชำนาญทางการออกแบบให้มีความเชี่ยวชาญเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและเป็นการเผยแพร่ศักยภาพทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยทักษิณ ให้เป็นที่ประจักษ์และรู้จักกันอย่างแพร่หลาย
vettech เมื่อ 31 ต.ค. 2562 17:16 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ธุรกิจการเลี้ยงไก่ด้วยขมิ้นชัน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเลี้ยงไก่ของชุมชนบ้านโคกนางาม ตำบลภูดิน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน (ปี 2563)อาชีพหลักของเกษตรกรในชุมชนบ้านโคกนางาม ตำบลภูดิน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มีการผลิตพืชสัตว์เศรษฐกิจ เช่น อ้อย ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ไก่บ้าน และ โค แต่สิ่งที่เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์นั้น ต้องเผชิญอำนาจการต่อรองทางด้านการซื้อปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูงมีผลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงและขาดทักษะเทคนิคการผลิตที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันนั้นลูกค้าต้องการสินค้าที่มีความปลอดภัยและลดการใช้สารเคมีในการเลี้ยง จึงทำให้ผลผลิตไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าทำให้การจัดจำหน่ายผลผลิตนั้นไม่สามารถกำหนดราคาได้เองทำให้ขายผลผลิตได้ในราคาที่ต่ำ จากประเด็นปัญหาดังกล่าวได้นำแนวทางห่วงโซ่อุปทานที่เน้นให้กระบวนการดำเนินธุรกิจ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ที่มีการดำเนินงานอย่างสอดคล้อง เพื่อผลิตสินค้าที่มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมายเป็นหลัก
จากปัญหาดังกล่าว มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มีความพร้อมที่จะนำองค์ความรู้และแนวทางการดำเนินธุรกิจการเลี้ยงไก่ด้วยขมิ้นชัน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเลี้ยงไก่ ของชุมชนบ้านโคกนางาม อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากมีบุคลากรและนักศึกษาที่มีองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมทางการดำเนินธุรกิจและพื้นที่ที่สามารถนำมาเชื่อมต่อให้เกิดเป็นรูปธรรมเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร โดยนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการและนักศึกษาสาขาวิชาบัญชี มีการเรียนรายวิชาพยาธิวิทยาทางเทคนิคการสัตวแพทย์ วิชาเตรียมความพร้อมเพื่อการฝึกปฏิบัติงานและวิชาการเงินธุรกิจ นักศึกษานั้นสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับรายวิชาดังกล่าว สู่การถ่ายทอดความรู้และดำเนินการในโครงการธุรกิจการเลี้ยงไก่ด้วยขมิ้นชัน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเลี้ยงไก่ ของชุมชนบ้านโคกนางาม อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน ที่นำไปปฏิบัติงานจริง โดยนักศึกษามีความสามารถในการค้นคว้า คิดวิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสังสรรค์ สามารถ ออกแบบระบบงานมีความฉลาดในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีสำนึกในความเป็นธรรมและมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตร่วมกับชุมชนท้องถิ่นของตนเอง
asc.rmu.63 เมื่อ 31 ต.ค. 2562 15:42 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโครงการบูรณาการเรียนการสอนสู่การส่งเสริมพัฒนาหมู่บ้านการเพาะเลี้ยงกบนาครบวงจร เพื่อการค้าและอนุรักษ์พันธุ์กบนา (ปี 2563)กบนา (Rana rugulosa) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำพบทั่วไปในประเทศไทยพบได้ของทุกภาค กบนาถือเป็นสัตว์น้ำที่สำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเพาะเลี้ยงและบริโภคเป็นอาหาร เนื่องจากกบเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ ส่วนของน่องกบมีโปรตีนสูงถึง 83 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 5.8 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งและมีกรดอะมิโนที่สำคัญสองชนิด คือ ไรซีนและเมไธโอนีน รวมทั้งยังมีวิตามินและแร่ธาตุ ได้แก่ ธาตุเหล็ก 2.1 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และไนอาซีน 2.0 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ส่วนการจำหน่าย จะขายลูกกบ 2 ขนาด คือ 1 บาท และ 1.50 บาท ลูกกบ อายุ 45 – 50 วัน ราคาเฉลี่ยตัวละ 1 บาท และลูกกบ อายุ 51 – 60 วัน ราคาเฉลี่ยตัวละ 1.50 บาท ส่วนกบเนื้อ 70 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับการแปรรูปส่วนใหญ่เกษตรกรจะนำไปย่างเพื่อจำหน่าย ราคา ไม้ละ 30 บาทขึ้นอยู่กับขนาด
ปัจจุบันเกษตรกรอำเภอแกดำ จังหวัดมาสารคาม ได้เลี้ยงกบนา จำนวน 40 ราย ทำการเพาะเลี้ยงกบนาเพื่อเป็นอาชีพ สร้างรายได้แก่ครอบครัว รวมถึงอนุรักษ์พันธุ์กบนาเพื่อปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จากการสัมภาษณ์เกษตรกรเบื้องต้นพบว่า การเพาะพันธุ์กบนายังไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยทั่วไปสามารถเพาะเลี้ยงกบนาได้ 2 ฤดู ได้แก่ ช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูผสมพันธุ์ของสัตว์น้ำโดยทั่วไป และการเพาะเลี้ยงกบนานอกฤดูในช่วงฤดูร้อน โดยการจำลองธรรมชาติโดยทำให้เหมือนในฤดูฝนเพื่อกระตุ้นให้กบนาสืบพันธุ์วางไข่ สำหรับในช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่อุณหภูมิต่ำ กบนาจะไม่กินอาหาร ส่งผลต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ หรือชาวบ้านเรียกว่ากบจำศีล ประกอบกับเป็นช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโรคทำให้พ่อแม่พันธุ์กบนาติดเชื้อโรคตายในที่สุด สิ่งที่เกษตรกรต้องการได้แก่ องค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยง เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกบนา การป้องกันโรค ตลอดจนการแปรรูปและการตลาด ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่พัฒนาชุมชนสู้ความยั่งยืน ได้น้อมนำพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่นยืน ตามศาสตร์พระราชา ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชุมชนท้องถิ่นในทางที่ดีขึ้น เจริญรุ่งเรืองขึ้น ในทุกๆด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
จากประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการเรียนการสอนสู่การส่งเสริมพัฒนาหมู่บ้านการเพาะเลี้ยงกบนาครบวงจร เพื่อการค้าและอนุรักษ์พันธุ์กบนาได้แก่ พัฒนาระบบการทำฟาร์มให้มีระบบหรือเทคโนโลยีในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกบนาให้สามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี ตั้งแต่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การจัดการโรงเพาะฟักที่มีระบบควบคุมอุณหภูมิ การจัดการโรค การอนุบาล การเลี้ยง รวมถึงอาหารและการให้อาหารที่เหมาะสมต่อการเลี้ยง และการอนุบาล ตลอดจนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกบนาที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ผลิตกบนาทั้งจำหน่ายเป็นลูกอ๊อด กบเนื้อ และแปรรูป ที่สามารถส่งตลาดได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปีเพียงพอกับความต้องการของตลาด รวมถึงอนุรักษ์พันธุ์กบนาปล่อยสู่แหล่งน้ำสร้างสมดุลแก่ธรรมชาติ และความมั่นคงทางอาหารชุมชน

๖. วัตถุประสงค์โครงการ (Outcomes)
๖.๑ เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงกบนาให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี
๖.๒ เพื่อศึกษาชนิดโรคและการป้องกันรักษาโรคในกบนาโดยใช้สมุนไพร
๖.๓ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูป รวมถึงช่องทางการตลาด
๖.๔ เพื่อส่งเสริมอาชีพและการอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์กบนาเป็นแหล่งอาหารในท้องถิ่น

๗. เป้าหมายโครงการ (Outputs)
เกษตรกรผู้เลี้ยงกบนาสามารถเพาะเลี้ยงกบนาได้ตลอดทั้งปี มีผลผลิตจำหน่ายอย่างต่อเนื่องทั้งปริมาณและคุณภาพ และจำหน่ายลูกกบ กบเนื้อ พ่อแม่พันธุ์กบ รวมทั้งสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกบได้ เช่น กบนาชูริมิ ป่นกบกึ่งสำเร็จรูป ลูกกบอัดกระป๋อง ตลอดจนสามารถปล่อยพันธุ์กบนาคืนสู่แหล่งธรรมชาติเป็นการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนทรัพยากรกบนาเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่น
๘. กลุ่มเป้าหมายโครงการ (Target group)
เกษตรกรผู้เลี้ยงกบนา จำนวน 40 ราย บ้านหนองแวงใต้ ตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

๙. ตัวชี้วัดเป้าหมายโครงการ (Outputs) และตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcomes)
ผลผลิต : เกษตรกรผู้เลี้ยงกบนาได้รับการพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงกบนาครบวงจร รวมถึงสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กบนาชูริมิ ป่นกบนากึ่งสำเร็จรูป และลูกกบนาอักกระป๋อง
ผลลัพธ์ : เกิดการสร้างเครือข่ายการเพาะเลี้ยงกบนา เครือข่ายระบบตลาดการซื้อขายกบนา ซึ่งสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่เกษตรกร รวมถึงอนุรักษ์พันธุ์กบนาสร้างความสมดุลแก่ระบบนิเวศและความมั่นคงทางอาหารระดับท้องถิ่น

๑๖. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Impact)
๑๖.๑ สามารถผลผิตกบนาทั้งปริมาณ และคุณภาพได้ตลอดทั้งปี
๑๖.๒ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกบนามีความหลากหลายและเป็นที่ต้องการของตลาด
๑๖.๓ เกิดชุมชนเพาะเลี้ยงกบนาและมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
๑๖.๔ เกิดช่องทางการตลาดกบนาและเครือข่ายการเพาะเลี้ยงกบนา
SSOSWU เมื่อ 31 ต.ค. 2562 15:31 น.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)โครงการพัฒนาแกนนำสร้างความสุขสู่ชุมชน : สยามหัวเราะ (ปี 2562)การทำงานบริการวิชาการแก่ชุมชน มีจุดมุ่งหมาย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน ผ่านองค์ความรู้จากทางมหาวิทยาลัย ที่แต่ละคณะ หรือหน่วยงานสามารถเข้าไปให้เพื่อตรงกับความต้องการของทางชุมชน จากการลงพื้นที่ทำงานของบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ ณ ตำบลหนองหมากฝ้าย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 มาถึงปีพ.ศ. 2561 พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและตัวแทนผู้นำในชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการโครงการพัฒนาสาระชีวิต มีพัฒนาการด้านความกล้าแสดงออกดีขึ้น (ปีพ.ศ. 2554-2557) ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการศาสตร์และศิลป์แห่งการหัวเราะ ด้วยสยามหัวเราะ (ปีพ.ศ.2556-2557) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น มีอัตราการเจ็บป่วยด้านกายและจิต จนปรับเปลี่ยนเป็นโครงการพัฒนาแกนนำสร้างสุขสู่ชุมชน (ปีพ.ศ.2558-2561) เนื่องจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความต้องการเป็นแกนนำความสุขด้วยสยามหัวเราะ และได้เริ่มมีกิจกรรมเป็นแกนนำร่วมกับผู้สูงอายุ และในปี 2559 มีการนำเด็กในชุมชนมาร่วมเป็นแกนนำจนเกิดแกนนำ 3 วัย ขึ้นมา และมีการขยายผลของความรู้ด้านการสร้างสุขด้วยเสียงหัวเราะ ไปยังงานส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ของทางตำบล ผู้สูงอายุเข้มแข็งขึ้น จนชุมชนนั้นได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องสยามหัวเราะ และขยายผลไปยังอำเภอข้างเคียง จนในปัจจุบัน ที่ท่าช้างเป็นอีกหนึ่งสถานที่ของการดูงานจากจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทย และจากความเข้มแข็งของผู้สูงอายุ จึงเป็นผลกระทบ (Impact) จุดเริ่มต้นส่วนหนึ่งที่ทางอำเภอได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ หมากฝ้ายวัยเก๋า ให้กับผู้สูงอายุดทั้งตำบลนอกจากนี้ ปี พ.ศ. 2558 ถือเป็นการเปิดตัวระดับจังหวัดที่ได้จัดมหกรรมหัวเราะโลกครั้งที่ 1 และในปีพ.ศ. 2559 ทางจังหวัดกำหนดยุทธศาสตร์ให้แต่ละอำเภอมีการสร้างกลุ่มหัวเราะบำบัดขึ้นมา เพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับคนในชุมชน อันเป็นผลจากความสำเร็จในการทำโครงการที่ชุมชนท่าช้าง จนนำมาสู่การบูรณาการระดับจังหวัดและมหาวิทยาลัย โดยมีการทำ MOU ในปี 2559 ทางปลัดสาธารณสุขจังหวัดมีการวางแผนจัดการพัฒนาแกนนำหัวเราะในแต่ละตำบล และทางจังหวัด นำเรื่องหัวเราะบำบัด เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ประจำปี 2559 ทั้งนี้ ได้ขยายผลการจัดโดยตัวแทนแต่ละอำเภอส่งคนเข้าร่วม อย่างไรก็ตาม ผลจากการส่งตัวแทนจากอำเภอเพียง 2-3 คน ไม่สามารถนำไปสู่การจัดตั้งหรือการขยายผลได้อย่างเข้มแข็ง เพราะงานอื่นๆ และความสามารถในการจดจำท่า หรือการต่อเนื่องของการนำความรู้ไปใช้ทำได้ไม่เต็มที่นัก จึงมีการประเมินผลร่วมกันระหว่างตัวแทนผู้เข้าอบรมและคณะทำงานว่า ควรจัดเข้าพื้นที่หมู่บ้านที่มีความต้องการให้มีการจัดอบรม และจะสะดวกต่อการเดินทางเพื่อเข้าร่วมมากกว่าด้วย
โดยในปีงบประมาณ 2561 ทางคณะทำงานฯ ได้รับการติดต่อจากทางชุมชมหนองหัวข้าง ว่ามีความประสงค์จะให้กิจกรรมสร้างสุขให้แก่ชุมชนด้วยสยามหัวเราะ จึงได้ลงไปยังพื้นที่เพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ และวางแผนที่จะร่วมสร้างกิจกรรมต่อเนื่องกับทางชุมชน และมีพื้นที่ตำบลหนองแวง ซึ่งเป็นพื้นที่ใหม่เช่นกัน ที่มีความประสงค์ให้ช่วยทำกิจกรรมสร้างแกนนำชุมชนสร้างสุขด้วยเสียงหัวเราะ ทางคณะทำงานฯ จึงเห็นว่าควรจะเริ่มเปิดพื้นที่ใหม่ และวางแผนให้พื้นที่มีการสร้างเครือข่ายภายในชุมชนของอำเภอวัฒนานคร ให้มีความเข้มแข็งต่อไป
นอกจากนี้ สำหรับชุมชนบ้านท่าช้าง ทางคณะทำงานฯ ยังคงมีการลงพื้นที่ต่อเนื่องเพื่อติดตามและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มแกนนำ 3 วัย โดยเฉพาะกับวัยเยาวชน ที่จะเป็นทรัพยากรชุมชนที่เข้มแข็ง หากได้เริ่มสร้างตนเองให้เป็นเด็กคุณภาพ มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญประโยชน์ให้ชุมชน และเป็นการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับตนเองอีกด้วย และจากการลงพื้นที่ของโครงการบริการจิตอาสาม หมอจิ๋ว จากทางโรงพยาบาลชลประทานด้วยนั้น ยิ่งทำให้งานด้านส่งเสริมสุขภาพและการสร้างความสุขด้วยการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยตามบ้านมีการผสมผสานกระบวนการอย่างอัศจรรย์ใจ ซึ่งทางกลุ่มแกนนำสามวัย จึงยังต้องการองค์ความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้การทำงานส่งเสริมสุขภาพภายในชุมชนเกิดประสิทธิภาพขึ้น
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาศักยภาพมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย ร่วมบูรณาการกับ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาพัฒนาแกนนำสร้างสุขด้วยสยามหัวเราะ โดยในปีงบประมาณ 2562 จะเป็นการเข้าไปเปิดพื้นที่ชุมชนหนองแวงและชุมชนหนองหัวช้าง เนื่องจากปีงบประมาณ 2561 ได้ทดลองนำร่องเข้าไปในชุมชน และมีการประสานงานกับผู้นำชุมชน ซึ่งมีความต้องการให้มาสร้างแกนนำ ซึ่งจากการลงพื้นที่ 2 พื้นที่นี้ มีความแตกต่างจากชุมชนหนองหมากฝ้าย โดยคณะทำงาน จะใช้รูปแบบการทำงานที่เคยทำกับทางชุมชนบ้านท่าช้างมาทำกับทางชุมชนหนองแวง โดยจะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนจัดกิจกรรม ร่วมประเมินผล เพื่อให้ได้ผลที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และจะได้เป็นการขยายผลองค์ความรู้ต่อด้วย
ในชุมชนบ้านท่าช้าง จะยังคงมีการติดตามกลุ่มสามวัย และการให้ความรู้เพิ่มเติม เพือ่มุ่งหวังให้นำความรู้ไปบูรณาการกับงานส่งเสริมสุขภาพ เพื่อจะได้ช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยตามบ้านได้ โดยใช้การสยามหัวเราะเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการสร้างกำลังใจให้แก่คนไข้
vettech เมื่อ 31 ต.ค. 2562 15:15 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ธุรกิจการเลี้ยงสุกรด้วยขมิ้นชัน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเลี้ยงสุกรของชุมชนในบ้านหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน (ปี 2563)จากปัญหาดังกล่าว มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มีความพร้อมที่จะนำองค์ความรู้และแนวทางการสร้างนวัตกรรมการดำเนินธุรกิจสุกรสมุนไพร โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพรด้วยขมิ้นชันของชุมชนในบ้านหลุบ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากมีบุคลากรและนักศึกษาที่มีองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมทางการดำเนินธุรกิจและพื้นที่ที่สามารถนำมาเชื่อมต่อให้เกิดเป็นรูปธรรมเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร โดยนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์และนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ทุกภาคการศึกษาในรายวิชาการเรียนรู้ภาคปฏิบัติด้านการผลิตขมิ้นชั้น การเจริญเติบโตของสุกร และการจัดการธุรกิจค้าปลีกและนักศึกษาได้ศึกษารายวิชาพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อการบริหารสินค้าในธุรกิจค้าปลีก นักศึกษานั้นสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคสุกรสมุนไพร โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพรต่างชนิดของชุมชนในบ้านหลุบ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมการดำเนินธุรกิจสุกรสมุนไพร โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพรต่างชนิดของชุมชนในบ้านหลุบ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้กับเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน ที่นำไปปฏิบัติงานจริง โดยนักศึกษามีความสามารถในการค้นคว้า คิดวิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสังสรรค์ สามารถ ออกแบบระบบงานมีความฉลาดในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีสำนึกในความเป็นธรรมและมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตร่วมกับชุมชนท้องถิ่นของตนเอง
aranyanontarach เมื่อ 31 ต.ค. 2562 15:06 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการชุมชนต้นแบบปลอดขยะและสารพิษ ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2563)มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์พื้นที่นามน ตั้งอยู่ที่ตำบลสงเปลือย อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ อยู่ใกล้กับหมู่บ้าน 3 หมู่บ้านขึ้นกับตำบลสงเปลือย อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นับตั้งแต่มีการตั้งมหาวิทยาลัย ปีพ.ศ. 2542 ชุมชนมีการขยายตัวเรื่อยมามีการก่อสร้างร้านค้าและหอพักต่างๆ ทำให้มีขยะเกิดขึ้นจากชุมชนและการประกอบการของแม่ค้าปริมาณมากขึ้นทุกปี แม้รัฐบาลจะมีการณรงค์ให้แยกขยะ แต่จากการสังเกตองค์ประกอบของขยะที่เกิดขึ้นจากชุมชนทั้งร้านค้าและครัวเรือน ยังมีขยะอินทรีย์ปนกับขยะพลาสติกก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นและมีปริมาณขยะมากเกินความจำเป็น ทำให้เป็นภาระของเทศบาลสงเปลือยในการขนย้ายไปทิ้งแหล่งฝังกลบซึ่งห่างออกไปหลายสิบกิโลเมตรและทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนมีการแพร่กระจายของกองขยะพลาสติกลงคลองข้างถนนทำให้เกิดสารพิษที่ปนมาในขยะแพร่กระจายลงไปยังพื้นที่การเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้มีการจัดการเรียนการสอนหลายหลายสาขารวมทั้งวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขศาสตร์ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงมีโครงการชุมชนปลอดขยะและสารพิษ เป็นการนำนักศึกษาที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการ เพื่อลดปัญหาจากขยะและนำขยะไปใช้ประโยชน์เช่น การคัดแยกขยะเพื่อจำหน่าย การนำขยะอินทรย์ไปทำสารกำจัดศตรูพืชแบบชีวภาพโดยใช้นวัตกรรมการหมักจุลินทรีย์สูตรต่างๆ เช่น พด.2 พด.3 และไตรโคเดอรมา ซึ่งสอดคล้องกับสถาณการปัจจุบันที่มีการยกเลิกการใช้สารอันตราย พาราควอท ไกลโฟเสต คลอไพรีฟอส จะเป็นจุกเริ่มต้นในการสร้างชุมชนปลอดสารพิษและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต
suchada6881 เมื่อ 31 ต.ค. 2562 13:39 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโครงการ การจัดการอาหารกลางวันพื้นบ้านอีสานสำหรับเด็กปฐมวัยโดยชุมชน (ปี 2563)ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายและยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ ถึง ๒๕๘๐ ที่กำหนดวิสัยทัศน์ ประเทศไทย โดยน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และกำหนดยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่มีเป้าหมายการพัฒนาและยกระดับคนในภูมิภาคและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่งและมีคุณภาพโดยจะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาพที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านเด็กปฐมวัยทั้งหมด ๔ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เด็กทุกคนได้รับบริการในการพัฒนาเต็มศักยภาพ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ไอโอดีนกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และยุทธศาสตร์ที่ ๔ กลไกการดำเนินงานพัฒนาเด็กปฐมวัย(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๕๕ : ๑) ซึ่งการอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัย ได้เจริญเติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้ จะเป็นรากฐานที่ดีที่จะให้เขาได้เจริญเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดี มากกว่าปลูกฝังสร้างเสริมในช่วงอื่น
จากสภาพปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โครงสร้างครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งเขตเมืองและชนบท พ่อแม่ออกไปทำงานนอกบ้าน ทิ้งลูกไว้ให้อยู่ในความดูแลของตา ยาย ปู่ ย่า และผู้อื่น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มที่สมควรได้รับการคุ้มครองเรื่อง การได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัยต่อการบริโภคมากกว่าเด็กกลุ่มอื่น แต่สภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่เด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการบริโภคอาหารอันเนื่องมาจากเหตุหลายประการที่สำคัญคือ การเสี่ยงต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารตามอิทธิพลของการโฆษณา ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสิ่งล่อใจ จากอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการจะทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองของเด็ก (กรมอนามัย, มปป : คำนำ) อีกทั้งพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒ มุ่งเน้นให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพให้กับเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง และสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ได้รับการพัฒนาตามแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในเขตจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความพร้อมในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ โดยการบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาในจังหวัด เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้เข้าร่วมโครงการอาสาประชารัฐ ในการนำองค์ความรู้ทางวิชาชีพลงสู่การปฏิบัติ และจัดทำโครงการ การจัดการอาหารกลางวันพื้นบ้านอีสานสำหรับเด็กปฐมวัยโดยชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัยให้ได้สารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย และเป็นแนวทางสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูและผู้มีหน้าที่ประกอบอาหารทั้งภาครัฐ เอกชน และครัวเรือนในอำเภอยางตลาด ได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดเตรียมอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยให้เจริญเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพและจิตใจที่สมบูรณ์เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
reru101 เมื่อ 31 ต.ค. 2562 13:09 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดโครงการพัฒนากลุ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน (ปี 2562)1. เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนกลุ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ร่วมกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
2. สร้างความหลายหลายของสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอินทรีย์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม ทุกวัย และทุกช่วงอายุ
3. ผลักดันสินค้าให้ได้มาตรฐานการผลิตสินค้าทางการเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษ (มกษ. 9000)
4. พัฒนาและอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้ได้ตามมาตรฐานการรับรองที่กำหนดและกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจสมัยใหม่เพื่อความสำเร็จตามเป้าหมาย
5. พัฒนาและอบรมให้ความรู้ทางด้าน IT เพื่อส่งเสริมการขายและประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักแบบกว้างขวางและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า
aomdussadee เมื่อ 31 ต.ค. 2562 10:44 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิโครงการบริการชาการ เชิงปฏิบัติการบูรณาการทางวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน (ปี 2563)โครงการบริการวิชาการ เชิงปฎิบัติการบูรราการทางวิทยาศาสตร์ นี้ ต้องการที่จะพัฒนาและส่งเสริม อีกทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ ยังเป็นเป็นแหล่งรวมความรู้ มีบุคลากรที่มีความสามารถทางวิชาการ การน าหลักการ วิชาการที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยออกมาทำประโยชน์สู่ชุมชน จึงนับเป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว ขึ้นเพื่อบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม สามารถที่จะบูรณาการองค์ความรู้ จากการจัดการเรียนการสอน การวิจัย มาสู่การให้บริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม และนำ ประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการกลับมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและ โดยจัดทำรูปแบบของการบริการจัดฝึกอบรม และประชุมเชิง ปฏิบัติการ
rujikarn เมื่อ 31 ต.ค. 2562 09:59 น.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติการพัฒนาหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรแบบมีส่วนร่วมตามแนวพระราชดำริ (ปี 2563)พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้สร้างปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ครอบคลุมหลายๆ เรื่อง ได้แก่ การจัดการดิน การจัดการน้ำ การเกษตรแปรรูป พลังงานทางเลือก สิ่งแวดล้อมชุมชน การปลูกป่า ปลูกต้นไม้ ปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น ทรงชี้แนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่ปวงชนชาวไทยตลอดพระชนชีพ มุ่งให้พสกนิกรได้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน มั่นคง และปลอดภัย ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามกระแสโลกาภิวัฒน์ เป็นแนวทางการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ โดยยึดแนวทางการพัฒนาที่มีคนหรือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะเป็นตัวการที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า
เกษตรอินทรีย์ คือการทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดินความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมี เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ก่อให้เกิดความพอเพียงระดับชุมชนและสอดคล้องกับความพอเพียงตามหลักแห่งศาสตร์พระราชา ซึ่งสามารถสร้างความเข้มแข็งต่อชุมชนและประเทศต่อไปได้
การบูรณาการเกษตรอินทรีย์กับวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการนำนักศึกษาหลากหลายสาขาลงพื้นที่แล้วใช้รูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านแบบมีส่วนร่วมของชุมชน หาวิธีแก้ไขปัญหาเรื่องรายได้ เรื่องสุขภาพ เพื่อก่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง มีการพัฒนาที่ยั่งยืน และก้าวไปสู่ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) อีกทั้งสามารถรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวม เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยใช้รูปแบบ(Model)การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบการมีส่วนร่วม มีองค์ประกอบ คือ 1. รายได้ดี 2.สุขภาพดี 3.สิ่งแวดล้อมดี 4.คุณธรรมดี มีกระบวนการดังนี้
1. สร้างความตระหนักรู้ถึงพิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรที่มีต่อร่างกาย ด้วยการตรวจหาค่าคลอรีนเอสเตอเรส และทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยการตรวจสารตกค้างในดินและน้ำในพื้นที่
2. ให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ แบบ ห่วงโซ่อุปทาน
3. สร้างกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็ง
asc.rmu.63 เมื่อ 31 ต.ค. 2562 08:32 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามการยกระดับกลุ่มผู้ผลิตข้าวสู่มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร (ปี 2563)ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒o ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ๒o ปี ระหว่างปี ๒๕๖o ถึง ปี ๒๔๗๙ โดยน้อมเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ก็ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดคณะทีมทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนในเขตองค์กรปกครองเทศบาลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒ พบว่าพื้นที่เขตเทศบาลตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีพื้นที่ประมาณ ๗ ถึง ๙ หมู่บ้าน มีอาชีพการทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักปลูกข้าวหลายชนิด มีปัญหาการทำนาปลูกข้าวแบบใช้สารเคมี ข้าวประสบปัญหาการเกิดโรค เกษตรกรขาดองค์ความรู้ การป้องกันปราบปรามศัตรูพืช ขาดองค์ความรู้เรื่องการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวและมีปัญหาในการรวมกลุ่มไม่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเกษตรกรมีความต้องการให้มีการรวมกลุ่มและมีการแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในระดับท้องถิ่นของตนเอง และได้บริโภคข้าวที่เป็นข้าวอินทรีย์ คณะทีมทำงานได้ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาจากองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เคยมีประสบการณ์จากโครงการบริการวิชาการการยกระดับผู้ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานสินค้าเกษตรอย่างครบวงจรซึ่งเป็นโครงการได้รับทุนสนับสนุนด้วยยุทธศาสตร์แผนบูรณาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีชุดความรู้เรื่องกระบวนการทำงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเมืองเตาการผลิตข้าวหอมมะลิได้มาตรฐานพืชอาหาร GAP ตามการรับรองของกรมวิชาการการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และได้ชุดความรู้เรื่องกระบวนการแปรรูปข้าวหอมมะลิเป็นข้างฮางงอก ข้าวคั่วสมุนไพร ข้าวกล้อง เป็นต้น
ด้วยความสำคัญและปัญหาดังกล่าวมาทำให้คณะทีมทำงานได้จัดทำโครงการยกระดับกลุ่มผู้ผลิตข้าวสู่มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร โดยระดมองค์ความรู้ นวัตกรรม บุคลากร และเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมพัฒนาข้าวในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเริ่มตั้งแต่ด้านกระบวนการผลิต ปรับปรุงคุณภาพดินและน้ำ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การแปรรูปข้าวและเชื่อมประสานช่องทางการตลาดที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP (Good Agricultural Practice) และเกษตรอินทรีย์โดยการร่วมกับภาคีเครือข่ายภายในจังหวัดที่เป็นองค์กรเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมปลูกข้าวให้ได้มาตรฐานตามกระกรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดไว้ ให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรกร ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับการผลิตข้าวในจังหวัดกาฬสินธุ์
asc.rmu.63 เมื่อ 31 ต.ค. 2562 08:06 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเพื่อโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร (ปี 2563)พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามจึงได้จัดตั้งหน่วยงาน “สำนักบริการวิชาการ” เพื่อขับเคลื่อนงานการให้บริการวิชาการภายในมหาวิทยาลัยและท้องถิ่น โดยการประสานภาคีเคลื่อนข่ายระดมองค์ความรู้และทรัพยากรทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นและสังคม ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จัดโครงการส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเพื่อโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและถ่ายทอดเทคโนโลยีท้องถิ่นให้สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

๓. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ OKR (Objectives & Key Results)
๓.๑ เพื่อตอบสนองต่อพระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
๓.๒ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีบ่อก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือน
๓.๓ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร
KPI อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ครัวเรือนในพื้นที่การพัฒนาของ มรภ.

๔. เป้าหมายโครงการ (Outputs)
๔.๑ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน

๕. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Impact)
๕.๑ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีบ่อก๊าซชีวภาพสำหรับครัวเรือน
๕.๒ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกผักและพืชอินทรีย์สำหรับ
การเกษตร
kriengkrai sriprasert เมื่อ 30 ต.ค. 2562 21:27 น.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปางโครงการอาสาประชารัฐเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ (ปี 2563)สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กลุ่มภารกิจด้านการอุดมศึกษา) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนระดับอุดมศึกษา จึงจัดทำโครงการอาสาประชารัฐเพื่อผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 ที่มีคุณภาพ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษากับการปฏิบัติงานจริง ลดระยะเวลาเรียนในชั้นเรียนให้น้อยลง มุ่งเน้นการปฏิบัติงานจริงมากขึ้น เพื่อให้นิสิต/นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์การทำงานตรงตามสาขาวิชา และองค์ความรู้ที่เรียน โดยมีชุมชนเป็นฐานในการนำองค์ความรู้ทางวิชาชีพในสาขาที่เรียนสู่การปฏิบัติ (Community-based Learning Program: CBL) ผ่านโครงงานที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ของชุมชน (Area-based) และมุ่งเน้นผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาด้านความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป

ด้วยเหตุนี้โครงการ “พัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ” มีความประสงค์จะดำเนินกิจกรรมโครงการอาสาประชารัฐควบคู่ไปกับการบริการวิชาการ โดยการนำนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ที่เป็นกลุ่มบุคคลที่กำลังศึกษาหาความรู้ทางวิชาการทั้งจากตำราและในชั้นเรียน และความรู้จากประสบการณ์จริงที่เกิดจากทักษะปฏิบัติ หรือจากสภาวะการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง หากนักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายในมหาวิทยาลัย และประสบการณ์ที่มีมาบูรณาการ และปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา และพัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล อาจสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมทางสังคมร่วมกับกลุ่ม หรือชุมชน จากการปฏิบัติหน้าที่เป็นอาสาสมัครในโครงการอาสาประชารัฐในโครงการบริการข้างต้น

จากการรวบรวมปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการของกลุ่ม Cluster Plakad ในเขตภาคเหนือ และตอนล่าง ในวันที่ 23 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมแกรนด์ จังหวัดพิษณุโลก ในเบื้องต้นพบว่า ผู้ประกอบยังประสบปัญหาของการขาดความรู้พื้นฐานในการพัฒนาสายพันธ์ใหม่ ๆ ปัญหาในการเพาะเลี้ยงที่ขาดแหล่งอาหารที่มีชีวิต ได้แก่ ไรแดง จึงต้องการให้มีการส่งเสริมการสร้างอาหารทดแทนในการเพาะเลี้ยง การดูแลปลา การกำจัดโรคปลาที่มักระบาดในฤดูฝน นอกจากนี้ผู้ประกอบการบางส่วนประสบปัญหาด้านเงินลงทุน และต้องการได้รับการจัดสรรงบประมาณที่สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงแหล่งทุนเพื่อการเพาะเลี้ยง อีกทั้งยังพบปัญหาผลผลิตปลากัดไทย ที่ขาดช่องทางการจัดจำหน่ายที่ยั่งยืน ทั้งการจัดจำหน่ายผ่านเว็บไซด์และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ รวมถึงปัญหาของการทำสต๊อกออนไลน์เป็นต้น

เพื่อให้โครงการอาสาประชารัฐของนักศึกษาเป็นไปด้วยความราบรื่น ทางผู้ดำเนินโครงการฯ จึงได้จัดทำข้อเสนอโครงการที่ครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจและตระหนักถึงสภาพปัญหาพื้นฐาน ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ และกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงภารกิจ กิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจ และตระหนักเห็นว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือ หรือเป็นอีกหนึ่งพลังที่สามารถทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมได้ นอกจากนี้นักศึกษายังได้ประโยชน์จากการร่วมกิจกรรมอาสาสมัครทำงานเพื่อสังคม ในแง่ของการได้นำความรู้ที่เรียนมาไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง ได้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับชุมชน หรือกลุ่มผู้ประกอบการ และผู้อื่น ตามนโยบายด้านการอุดมศึกษาที่มุ่งสร้างและพัฒนาคนไทยเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ขับเคลื่อนหลักสูตรอุดมศึกษายุคใหม่ให้เข้ากับอาชีพแห่งอนาคต อันเป็นช่วยเสริมสร้างบัณฑิตสู่โลกใบใหม่ แห่งศตวรรษที่ 21 และขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะร่วมกับผู้ประกอบการจริงเพื่อก้าวสู่อาชีพแห่งอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการใช้ศักยภาพจากการเรียนรู้จากสถานศึกษาในช่วยขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ด้วยการบูรณาการนโยบายเศรษฐกิจ บีซีจี โมเดล (BCG Model) เพื่อการปรับเปลี่ยนประเทศด้วยปัญญาจากฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นต่อไป
kriangkrai.sa01 เมื่อ 30 ต.ค. 2562 20:49 น.
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่นโครงการบริการวิชาการจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุน ความรู้ ปรัชญา สู่การปฎิบัติ โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ปี 2563)จากสภาวะสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสวัตถุนิยม และความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ จนทำให้คนไทยหลงเดินทางผิดไปตามกระแสนิยมจนกลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่ไม่มีวัน จบสิ้น อย่างไรก็ตามคนไทยยังมีทางออก ซึ่งการจะดำรงชีวิตให้อยู่รอดภายใต้สังคมในปัจจุบัน แนวทางหนึ่งที่ประชาชนไทยควรยึดถือคือการพึ่งตนเอง รู้จักความพอประมาณ และไม่ประมาท ตามแนวปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมองเห็นถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง รู้จักความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ คำนึงถึงหลักเหตุผลและการประมาณตนเอง พร้อมกับทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต
การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว
ดังที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการจัดทำบัญชีครัวเรือนมีความสำคัญกับชุมชน โดยคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น มุ่งที่จะให้ความรู้กับชุมชนในเขตจังหวัดกาฬสินธิ์ จึงเลือกหมู่บ้านเสียว ตำบลหัวงัว อำเภอยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรจำนวนมาก ดังนั้น คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น จึงได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน หมู่บ้านบ้านเสียวโดยไปให้ความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุน เพื่อให้ชาวบ้านสามารถ พึ่งตนเอง รู้จักความพอประมาณ และไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต ตามแนวปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 30 ต.ค. 2562 17:51 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงโครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศสำหรับผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ (ปี 2562)ตามแผนยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงมุ่งเน้นการพัฒนาข้าวอินทรีย์ 5 ปี (ปี 2561-2565) เพื่อเพิ่มพื้นที่การผลิตให้เกิดผลสำเร็จ จำนวน 27,000 ไร่ และพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกในการทำนาอินทรีย์ที่ผ่านมา ได้แก่ พันธุ์ข้าวสังข์หยดเท่านั้น สาเหตุเนื่องจากข้าวสังข์หยดเป็นข้าวที่ผ่านการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และเป็นข้าวสุขภาพที่ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศต้องการ สามารถสร้างมูลค่าและเพิ่มทางการตลาดได้เป็นอย่างดี กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ค่อนข้างเข้มงวดเรื่องของการใช้สารเคมีในแปลงนาสำหรับผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ที่กำลังจะจดทะเบียน organic Thailand หรือ IFOAM ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับรองการผลิตข้าวอินทรีย์ที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นตลอดทั้งระบบการผลิต ดังนั้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในแปลงนาอินทรีย์จึงต้องมาจากแหล่งผลิตที่ได้รับการรับรองว่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ปราศจากการปนเปื้อนสารเคมีอย่างแน่นอน การผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับการผลิตปุ๋ยหมักของกลุ่มเกษตรกรที่จะรวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยหลักกระบวนการผลิตปุ๋ยต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติและขอตรารับรองปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้ได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศเป็นกระบวนการหมักเริ่มขึ้นหลังจากนำส่วนผสมวัสดุอินทรีย์ตามสูตร คือ มูลไก่แกลบ 3 ส่วน มูลวัว 3 ส่วน และเศษวัสดุ 1 ส่วน โดยน้ำหนัก ที่ระดับความชื้นใกล้เคียงกัน ได้ผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันดีแล้วพร้อมกับปรับความชื้นให้ได้ในระดับ 60 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก หรือเปียกชุ่มแต่ไม่แฉะ หรือเมื่อใช้มือกำจะเป็นก้อนแต่ต้องไม่มีน้ำไหลออกมาจากวัสดุและเมื่อใช้นิ้วบี้จะแตกออกโดยง่าย การปรับความชื้นมีความสำคัญเพราะมีผลต่อช่องว่างในกองปุ๋ยหมัก ช่องว่างที่เหมาะสมมีผลทำให้อากาศในกองปุ๋ยหมักมีการหมุนเวียนเติมออกซิเจนให้กับจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ภายในกองปุ๋ยไม่เกิดสภาวะขาดออกซิเจน และช่วยปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำจากการหายใจของจุลินทรีย์ และสะสมความร้อนในกองปุ๋ยหมักให้มีความสมดุลกับจุลินทรีย์ย่อยสลายซึ่งชอบอุณหภูมิสูง สร้างเสริมกระบวนการหมักให้ประสิทธิภาพสูงเร่งการย่อยสลายให้เร็วขึ้นสม่ำเสมอทั่วทั้งกอง ลดการสูญเสียไนโตรเจน และการเกิดแก๊สมีเทนกับไนตรัสออกไซด์มีน้อยลง ซึ่งภายในกองปุ๋ยหมักจะมีการเปลี่ยนแปลงสมบัติต่างๆ ดังนี้
1) อุณหภูมิและความชื้น เป็นปัจจัยที่ต้องตรวจสอบและควบคุม ในช่วงแรกทำให้เกิดความร้อนสะสมขึ้นในกองปุ๋ยหมัก จะเริ่มมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากความร้อนสะสมที่ขับออกมาจากการหายใจของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักภายใน 3 วัน และจะเพิ่มเรื่อยๆไปจนถึงระดับที่ควบคุม 55-65 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 21 วัน (หากอุณหภูมิสูงเกินไปจุลินทรีย์ย่อยสลายบางชนิดจะถูกทำลาย) ความร้อนสูงในระดับนี้ จะช่วยฆ่าเชื้อโรคของคน สัตว์ และพืช รวมทั้งทำลายการงอกของวัชพืชและสารพิษบางชนิดที่ตกค้างในวัสดุอินทรีย์ จึงทำให้กองปุ๋ยหมักปลอดภัยจากเชื้อโรคและวัชพืช เมื่อครบ 30 วัน จึงย้ายออกจากซองหมักระบบเติมอากาศ เพื่อให้เกิดการย่อยสลายต่อเนื่อง และเมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยลดต่ำลงเท่ากับอุณหภูมิในอากาศ ปุ๋ยหมักก็จะเข้าสู่ระยะที่มีการย่อยสลายสมบูรณ์
2) อินทรียวัตถุและอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ปุ๋ยหมักเป็นวัสดุอินทรีย์ที่สำคัญที่ให้อินทรียวัตถุแก่ดิน ซึ่งอินทรียวัตถุในปุ๋ยหมักเป็นอินทรียวัตถุที่ผ่านการย่อยสลายจนคงตัวในรูปของฮิวมัส ปริมาณอินทรียวัตถุในปุ๋ยหมักจะมีมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับวัสดุอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยหมัก ความคงตัวของปุ๋ยหมักวัดจากอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ซึ่งอัตราส่วนจะลงลงน้อย หรือการย่อยสลายจะน้อยมาก ปริมาณอินทรียวัตถุจะคงที่หลังจากมีการลดความชื้นให้ต่ำลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุอินทรีย์ที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก
3) การเปลี่ยนแปลงของค่าปฏิกิริยากรด-ด่าง ในกองปุ๋ยหมัก ปฏิกิริยากรด-ด่างของวัสดุอินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักจะค่อยๆ เปลี่ยนสภาพเป็นกรด ค่าปฏิกิริยากรด-ด่าง อาจต่ำถึง 4.5-5 และเมื่อปุ๋ยหมักย่อยสลายสมบูรณ์ ค่าปฏิกิริยากรด-ด่าง มากกว่า 7.5
4) การแปรสภาพของธาตุอาหารพืชในกองปุ๋ยหมัก ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักมาจากแร่ธาตุที่ปนมากับวัสดุ และการแปรสภาพในกระบวนการย่อยสลายหรือกระบวนการปุ๋ยหมัก ปลดปล่อยสารอนินทรีย์ในรูปอิออนต่างๆที่พืชดูดใช้ได้ เช่นเดียวกับรูปอิออนแร่ธาตุในปุ๋ยเคมี แต่ได้มาจากกาย่อยสลายจากวัสดุอินทรีย์ จึงทำให้ปุ๋ยหมักมีข้อดีที่ประกอบด้วยแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นกับพืชเกือบทุกชนิดทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม รวมทั้งยังมีสารอินทรีย์ที่ยังย่อยสลายแปรสภาพเป็นแร่ธาตุยังไม่หมดจะค่อยๆ แปรสภาพเป็นแร่ธาตุที่พืชดูดไปใช้ได้ปลดปล่อยออกมาทีหลังใส่ให้กับพืช
5) การย่อยสลายสมบูรณ์ของปุ๋ยหมัก เป็นตัวชี้วัดความเป็นประโยชน์ของปุ๋ยหมักต่อพืชโดยตรง เนื่องจากเป็นการวัดปริมาณสารพิษที่มีผลกระทบต่อการงอก ได้แก่ แก๊สแอมโมเนียและแก๊สไฮโดรเจนซัลโฟด์หรือแก๊สไข่เน่า กรมวิชาการเกษตร (2558 : 5-6)
ข้อดีของปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ คือ ให้ธาตุอาหารอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ ทำลายเมล็ดวัชพืชและเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค สะดวกในการเก็บรักษา ขนส่งและนำไปใช้ ช่วยลดต้นทุนการกลับกองปุ๋ยหมักและขั้นตอนในการดำเนินงาน ไม่ใช้ยูเรียเป็นส่วนผสมเหมาะสำหรับการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ และระยะเวลาในการหมักสั้น ดังนั้นการนำหญ้าเนเปียร์ ต้นข้าวโพด หรือผักตบชวามาใช้สำหรับการทำปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้และเพิ่มรายได้จากการผลิตปุ๋ยจำหน่ายรวมถึงการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากวัชพืชน้ำที่มีการเพิ่มปริมาณและขยายพันธุ์มากขึ้น จึงน่าจะเป็นแนวทาง หรือทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ที่จะรวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ไว้ใช้เองหรือจำหน่ายโดยผ่านการรับรองมาตรฐานตามข้อกำหนดของมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ และเป็นแนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักและปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ที่เป็นไปตามมาตรฐานข้าวอินทรีย์อย่างจริงจัง
Iot_SPU เมื่อ 30 ต.ค. 2562 17:41 น.
มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขนโครงการพัฒนาโรงเรือนเลี้ยงไหมอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมห่วงโซ่ธุรกิจผ้าไหมแพรวา ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2563)การกำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ดังยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ ในยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ กำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม เพื่อสร้างคนไทยที่มี คุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ปฎิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม (Transformative of Learning) สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ ที่ยึดหลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for all) ความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (All for Education)
ในการแข่งขัน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาภาคการผลิตและบริการให้สามารถแข่งขันได้ เกิดความยั่งยืน ประชาชนมีคุณภาพชีวิต และมีรายได้ที่ดีขึ้น รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน มีแนวทางเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในเชิงธุรกิจของภาคบริการ และพันธกิจกระทรวงมหาดไทย ข้อ 4. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตลอดจนภารกิจอำนาจหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชน
จากวิสัยทัศน์และแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ อุดมศึกษาจึงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ชาติ ดังที่กำหนดไว้ในแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 โดยการดำเนินงาน ผ่านกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและการสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้อง กับความต้องการของภาคสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศให้สามารถ ลดความเหลื่อมล้ำทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจของคนไทยได้อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน ประกอบกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้มีนโยบายด้าน การอุดมศึกษาให้สร้างและพัฒนาคนไทยเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ขับเคลื่อนหลักสูตรอุดมศึกษายุคใหม่ให้เข้ากับอาชีพแห่งอนาคต สร้างบัณฑิตสู่โลกใบใหม่ แห่งศตวรรษที่ 21 และขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการใช้ศักยภาพ ของสถาบันอุดมศึกษาในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลด้วยการบูรณาการนโยบายเศรษฐกิจ บีซีจี โมเดล (BCG Model) เพื่อการปรับเปลี่ยนประเทศด้วยปัญญาจากฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น
การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ประเทศไทย 4.0 ด้วยการเน้นการเพิ่มมูลค่า (Value Added) ของสินค้าและบริการ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังนั้นเมื่อภาคอุตสาหกรรมมีทิศทางขับเคลื่อนไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 กิจกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึงอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการพัฒนาสู่ยุค “ดิจิทัล 4.0” สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) และแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2579)

แผนภาพที่ 1 ตัวเลขที่ผู้ประกอบการต้องรู้เพื่อใช้ในการต่อยอดทางธุรกิจ
แหล่งที่มา https://www.marketingoops.com/news/ecommerce/e-commerce-shapes-logistics/

จากภาพพบว่าภาพรวมของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่า E-Retail เป็นของธุรกิจในไทย 1% จากการคาดการณ์ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 8.6% แสดงให้เห็นว่าธุรกิจ E-Retail ยังมีโอกาสขยายการเติบโตได้อีก
รัฐบาลปัจจุบัน มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งเน้นสร้างรายได้และความเจริญความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกับภาครัฐเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศคือ คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) เป็นผู้ขับเคลื่อน และมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นผู้รับผิดชอบหลักส่งเสริมการดำเนินงาน OTOP จนถึงปัจจุบัน โดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุนส่งเสริม ยกระดับผลิตภัณฑ์ และพัฒนาช่องทางการตลาดที่หลากหลายเพื่อให้ขายได้ มุ่งปรับตัวสู่การค้าแบบสากล ทำให้ผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่สามารถแข่งขันได้ต้องออกไปขายสินค้าตามที่ต่าง ๆ ไม่มีความสุข รายได้ไปตกอยู่แก่ผู้ประกอบการคนเดียว หรือบางกลุ่มเล็กไม่กระจายถึงประชาชนกลุ่มใหญ่ในชุมชนอย่างแท้จริง ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ไม่ประสบผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร รายได้จากการท่องเที่ยวที่เป็นกระแสหลักของประเทศ ส่วนใหญ่ตกไปอยู่ในกลุ่มทุนเอกชน เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ห้างร้านใหญ่ๆ กรุ๊ปทัวร์ ไม่ลงไปถึงฐานรากเช่นเดียวกัน
ดังนั้นจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนผ่านยุคการผลักดันขายสินค้า OTOP(ผ้าไหมแพรวา) ออกจากชุมชนเพียงด้านเดียวสู่การเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ตามความต้องการ (Demand Driven Local Economy) โดยการขายสินค้า(ผ้าไหมแพรวา) ซึ่งเป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนโดยใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์แปลงเป็นรายได้ ทั้งนี้ครอบครัวและลูกหลานยังอยู่ร่วมกัน ไม่ต้องแข่งขันนำผลิตภัณฑ์ออกไปขายนอกชุมชนเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่เป็นเจ้าบ้านที่ดี ชวนกันคิด ชวนกันทำ ผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งมีการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวระดับชุมชน ที่มีเสน่ห์ดึงดูด และมีคุณค่าเพียงพอให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนและใช้จ่ายเงินในทุกกิจกรรมของชุมชน ซึ่งรายได้จะกระจายอยู่กับคนในชุมชน ทุกคนมีความสุข เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (Strength with in) และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง
จากความสำคัญข้างต้นหลักคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบัญชีและ วิทยาการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 ที่มีคุณภาพและสร้างนวัตกรรม องค์ความรู้ใหม่ ด้วยการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษากับการปฏิบัติงานจริง ลดระยะเวลา เรียนในชั้นเรียนให้น้อยลง มุ่งเน้นการปฏิบัติงานจริงมากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ การทำงานตรงตามสาขาวิชาและองค์ความรู้ที่เรียน โดยมีชุมชนเป็นฐานในการนำองค์ความรู้ทางวิชาชีพ ในสาขาที่เรียนสู่การปฏิบัติ (Community-based Learning Program: CBL) ผ่านโครงงานที่ตอบสนอง ต่อปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ของชุมชน (Area-based) และมุ่งเน้นผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาด้าน ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิต โดยได้ตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนาตัวเองและพัฒนาสังคมควบคู่กัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไปตามนโยบายประเทศไทย 4.0
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 30 ต.ค. 2562 17:29 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Farmer ในจังหวัดพัทลุง (ปี 2562)สาขาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ได้เห็นความสำคัญของเกษตรกรซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการยกระดับประชากรไทย และพัฒนาให้ไทยก้าวไปสู่การเป็นประเทศดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบตามนโยบาย Thailand 4.0 ดังนั้นแนวคิดเรื่อง Smart Farmer ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดที่ต้องการให้คนไทยที่มีความรอบรู้ หรือทำอาชีพด้านเกษตรกร มีความภูมิใจในการเป็นเกษตรกร โดยครอบคลุมด้านความรู้ในการเกษตร สามารถบริหารจัดการทั้ง การผลิต การตลาด รวมถึงวิเคราะห์ เชื่อมโยงให้คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค สังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ที่สนใจในการทำการเกษตรตามแนวคิด smart farmer ในจังหวัดพัทลุงยังขาดองค์ความรู้ต่างๆ ในการส่งเสริมการก้าวเข้าสู่การเป็น Young Smart Farmer ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในธุรกิจเกษตร ความรู้ด้านการตลาด และเทคนิคการเพิ่มมูลค่าการขายสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง
สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มีความตั้งใจในการร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาระบบการผลิตให้เป็นไปตามนโยบายในการพัฒนาเกษตรกรไทยเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) จึงต้องมีการ พัฒนาเกษตรกรที่อยู่ในกลุ่ม Existing Smart Farmer ให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ (Model) เพื่อให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดในการประกอบอาชีพการเกษตร โดยใช้ แหล่งเรียนรู้จากหน่วยงานต่างๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และมีเครือข่ายที่สามารถประสานงานในด้านต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ได้ ดังนั้น สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น Young smart farmer ในจังหวัดพัทลุง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเห็นความสำคัญ สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นเกษตรกรแห่งยุคสมัยใหม่ที่เพิ่มความภูมิใจได้ด้วยแนวคิดของ Smart Farmer และให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาประเทศต่อไป
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 30 ต.ค. 2562 16:29 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลาโครงการ พัฒนากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง (ปี 2562)การพัฒนาเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง เป็นกรอบคิดและเครื่องมือที่สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ นำมาใช้เพื่อพัฒนาระบบการผลิตทางการเกษตรในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน เนื่องจากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เป็นวิธีการผลิตทางการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เป็นระบบการผลิตที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติ ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน เกษตรอินทรีย์จึงสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากพิษของสารเคมี ลดต้นทุนการผลิต และส่งผลดีต่อสุขภาพผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม เป็นระบบที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกษตรกรยืนอยู่บนหลักเหตุและผล มีการบริหารจัดการที่มีภูมิคุ้มกันตามหลักความพอเพียง
แนวคิดนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องจากการดำเนินงานของสถาบันฯ ในระยะที่ 1 ( 2550-2555) ซึ่งเป็นการปรับกระบวนทัศน์การทำสวนยางพาราเชิงเดี่ยวสู่การทำเกษตรผสมผสาน ทำให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการอยู่ร่วมกันของคน ป่า ดิน และน้ำ มีความตระหนักว่าการทำการเกษตรในระบบเสรีนิยม ที่ต้องพึ่งพาสารเคมี และปุ๋ยเคมี จะไม่ส่งผลดีในอนาคต จนดำเนินการมาถึงในระยะที่ 2 (2556-ปัจจุบัน) มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรในชุมชนทำเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์จึงถือได้ว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สถาบันฯ ได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์โดยเริ่มจากการคัดเลือกจุลินทรีย์ในท้องถิ่นมาใช้เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์และพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์สูตรต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ชุมชนสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง ผลปรากฏว่าทุกชุมชนยอมรับคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ที่พัฒนาสูตรโดยสถาบันปฏิบัติการชุมชนฯ จึงได้มีการพัฒนากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มเครือข่ายผลิตพืชอินทรีย์ที่สถาบันฯขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและสามารถใช้เป็นฐานการเรียนรู้ให้นิสิต ประกอบด้วย 5 อำเภอในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ได้แก่ 1) กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์และกลุ่มผลิตผักอินทรีย์ชุมชนตะโหมด อำเภอตะโหมด 2) กลุ่มผลิตผักอินทรีย์ชุมชนบ้านทุ่งยาว อำเภอเขาชัยสน 3) กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์และกลุ่มผลิตเห็ดอินทรีย์ชุมชนดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน 4) กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ชุมชนโตนดด้วน อำเภอควนขนุน และ 5) กลุ่มการทำเกษตรผสมผสานระบบอินทรีย์ชุมชนบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม ผลจากการดำเนินการจะเห็นได้ว่าเกษตรกรในชุมชนได้เห็นความสำคัญและกลับมาทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์เป็นที่ยอมรับและต้องการของสมาชิกกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ที่มีจำนวนมากกว่า 100 ครัวเรือน จากการสำรวจการดำเนินงานของกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทั้ง 5 กลุ่ม พบว่าสมาชิกส่วนใหญ่ไม่นิยมผลิตปุ๋ยอินทรีย์ แต่มีความต้องการซื้อปุ๋ยอินทรีย์มาใช้แทนปุ๋ยเคมี กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์จึงประสบปัญหาไม่สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้เพียงพอต่อความต้องการได้ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกในชุมชนและขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การบริหารจัดการกลุ่ม และการวางแผนธุรกิจ เพื่อยกระดับกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์สู่วิสาหกิจชุมชนให้สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้า และส่งเสริมให้ชุมชนทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงต่อไป
kriangkrai.sa01 เมื่อ 30 ต.ค. 2562 16:28 น.
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่นโครงการพัฒนารูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนบ้านศรีฐาน ตำบลบ้านสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (ปี 2561)การท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับประโยชน์อย่างมากจากภาคอุตสาหกรรมบริการ เช่น ภาคธุรกิจบริการต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สามารถทดแทนการถดถอยของรายได้ภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรมอื่น และเสริมสร้างความเจริญต่อระบบเศรษฐกิจสังคมอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ ตลอดจนสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นในทุกภูมิภาคอย่างทั่วถึงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปให้เป็นนักท่องเที่ยวที่มีจิตสานึกที่ดีตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปะ วัฒนธรรมไทย ทรัพยากรการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นไปอย่างยั่งยืน
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของของการจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านศรีฐาน จังหวัดขอนแก่น ในการจัดโครงการบริการวิชาการ “เส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนบ้านศรีฐาน” เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้พื้นฐานด้านการจัดการการท่องเที่ยว และมีความสามารถในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว สามารถบรรยายให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนบ้านศรีฐาน จังหวัดขอนแก่นได้ เปรียบเสมือนทูตตัวแทนของจังหวัดช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว รูปแบบการท่องเที่ยว ประเพณี วัฒนธรรม สินค้าของที่ระลึก ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองเป็นการหารายได้เสริม และกระตุ้นให้คนในชุมชนสำนึกรักบ้านเกิด มีความรักและหวงแหนในทรัพยากรการท่องเที่ยวท้องถิ่นของตน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาบุคลากรที่มีความประสงค์จะเป็นมัคคุเทศก์ในอนาคต ให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพ คุณสมบัติ มีจรรยาบรรณที่ดีและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 30 ต.ค. 2562 16:15 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงโครงการ การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ปี 2 (ปี 2562)ประเทศไทยมีจำนวนประชากรรวดเร็วมากโดยเป็นผลจากนโยบายการเพิ่มประชากรก่อนปี พ.ศ.2500 จากที่มีประชากรเพียง 20 ล้านคนในปี พ.ศ. 2493 เพิ่มขึ้นเป็น 67.4 ล้านในปี 2555 (สำนักงานประชากรขององค์การสหประชาชาติ, 2555) ผลกระทบจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีการประกาศนโยบายประชากรอย่างเป็นทางการและบรรจุนโยบายการลดอัตราเพิ่มประชากรไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) เป็นครั้งแรก และมีการดำเนินงานตามนโยบายลดอัตราเพิ่มประชากรดังกล่าวในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อๆ มา จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) ซึ่งทำให้อัตราเจริญพันธุ์รวมยอดหรือจำนวนการมีบุตรเฉลี่ยของผู้หญิงลดลงจาก 6.3 คนในช่วงปี พ.ศ.2507-2508 เหลือแค่ 1.83 คนในช่วงปี พ.ศ.2543-2548 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าระดับทดแทนซึ่งกำหนดไว้ที่ 2.1 คน (Replacement Level) จึงทำให้สิ้นสุดนโยบายลดการเพิ่มประชากร อย่างไรก็ตามภายหลังสิ้นสุดนโยบายเพิ่มประชากรแล้ว ผู้หญิงไทยก็ยังคงมีจำนวนบุตรเฉลี่ยน้อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ รายงานว่าในปี 2553 ผู้หญิงไทยมีจำนวนบุตรเฉลี่ยเหลือแค่ 1.62 ในขณะที่สหประชาชาติคาดประมาณการจำนวนบุตรเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่ 1.4 เท่านั้น จากผลของนโยบายลดอัตราการเพิ่มประชากรดังกล่าวทำให้ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่จะมีอัตราการเติบโตของประชากรติดลบ โดยสำนักงานประชากรแห่งสหประชาชาติระบุว่า ประเทศไทยจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นไปอีกระยะหนึ่ง และจะมีจำนวนประชากรสูงสุดจำนวน 67.9 ล้านคน ในปี พ.ศ.2568 และจำนวนประชากรจะค่อยๆ ลดลง เหลือประมาณ 40 ล้านคนในปี พ.ศ.2643 หรืออีกประมาณ 80 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการลดลงของจำนวนประชากรในอนาคตนั้นอาจจะยังมีเวลาตั้งรับและปรับนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญแล้วและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็คือ ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว โดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุจำนวนผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ในปี พ.ศ.2513 มีจำนวน 1.7 ล้านคน (ร้อยละ 4.9) เพิ่มขึ้นเป็น 8.4 ล้านคน (ร้อยละ 13.2) ในปี 2553 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในอีก 30 ปีข้างหน้า หรือ พ.ศ.2583 และข้อมูลจากสหประชาชาติพบว่า ในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศไทยมีร้อยละของประชากรที่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีสูงเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ และอัตราการเติบโตของประชากรสูงวัยของไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 2 เท่าในอีก 15 ปีข้างหน้า ซึ่งผลกระทบจากการมีสัดส่วนผู้สูงอายุจำนวนมาก จะทำให้มีภาระพึ่งพิงทางเศรษฐกิจสูง ประชากรวัยแรงงานจะมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ครัวเรือนมีภาระหนี้สินสูง มีการออมต่ำไม่พียงพอต่อการใช้จ่ายในยามเกษียณ ภาครัฐจึงต้องนำเงินงบประมาณมาจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชากร จนอาจลุกลามเป็นหนี้สินของประเทศส่งผลทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและตกต่ำได้
จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงประชากรอย่างรวดเร็วดังกล่าว ประทศไทยได้จัดทำแผนประชากร (2555 – 2559) โดยกำหนดวิสัยทัศน์คือ “ประชากรไทยทุกคนเกิดมามีคุณภาพ ได้รับการพัฒนาทุกช่วงวัยให้สามารถเป็นพลังในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของประเทศ มีหลักประกันที่มั่นคงพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุที่มีการจัดสวัสดิการอย่างยั่งยืนโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม” และกำหนดยุทธศาสตร์หลัก 3 ข้อ คือ 1) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้ประชากรไทยทุกคนเกิดมามีคุณภาพ พร้อมที่จะพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพเมื่อเติบโตขึ้น 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพประชากรไทยทุกช่วงวัย เพื่อเป็นพลังต่อการเจริญเติบโตของประเทศ และยุทธศาสตร์ข้อที่ 3 คือ ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมประชากรไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุที่มีสวัสดิการทางสังคมอย่างยั่งยืน และในปัจจุบันก็กำลังจัดทำแผนประชากรในการพัฒนาประเทศระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2559 – 2579) เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ด้านประชากรของประเทศไทย
นอกจากนี้จากวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 คือ “ประชากรไทยทุกคนเกิดมามีคุณภาพ ได้รับการพัฒนาทุกช่วงวัยให้สามารถเป็นพลังในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของประเทศ มีหลักประกันที่มั่นคงพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุที่มีการจัดสวัสดิการอย่างยั่งยืนโดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม” และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564) ซึ่งเป็นแผนที่สอดคล้องสอดรับอยู่บนพื้นฐานของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศ และร่วมทั้งยังยึดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ด้วย ซึ่งในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุโดยครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมไว้หลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ซึ่งมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุวัยต้นมีงานทำและมีรายได้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านที่มสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ จะเห็นได้ว่า ประกอบกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทักษิณข้อที่ 4 การจัดการบริการวิชาการร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ขับเคลื่อนการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต ความมั่นคง และการพัฒนาในภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬาข้อที่ 4 บริการวิชาการเพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และนอกจากนี้ ในปี2561 สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ได้จัดทำโครงการ การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้กระบวนการพัฒนาสุขภาพชุมชน ซึ่งอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน จนสามารถก่อตั้งชมรมผู้สูงอายุ และมีคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ มีการจัดทำข้อบังคับของชมรมฯ และเริ่มเปิดรับสมัครสมาชิกเข้าชมรมผู้สูงอายุ โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ม.ทักษิณ อสม. ผู้ใหญ่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน ตำบลบ้านพร้าม เทศบาลตำบลบ้านพร้าว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอป่าพะยอม และรวมทั้งนิสิตชมรมรากแก้ว ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ซึ่งได้รับการก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเข้ามาร่วมสานต่อในการพัฒนาสุขภาพของผู้สูงอายุรอบๆ มหาวิทยาลัยทักษิณโดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนั้นในปี 2562 สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการบริการวิชาการเรื่อง การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ปีที่ 2 ขึ้น โดยใช้กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และกระบวนการพัฒนาสุขภาพชุมชนซึ่งเป็นทางเลือกที่ดี เพราะเป็นกลวิธีที่ให้ชุมชนเป็นผู้ระบุปัญหา หาสาเหตุและเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมของชุมชนเอง และนอกจากนี้เป็นการพัฒนาประชาชนในชุมชนให้เรียนรู้และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในระยะยาวด้วย โดยจัดทำโครงการในพื้นที่หมู่ที่ 1 2 3 8 และ 9 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม ซึ่งเป็นหมู่บ้านซึ่งมีที่ตั้งติดกับมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ทั้ง 4 ด้าน และที่ผ่านมาภาระการดูแลผู้สูงอายุเป็นบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็นภาระที่ค่อนข้างหนักและส่งผลกระทบในระยะยาวต่อครอบครัวและชุมชนด้วย ดังนั้นในฐานะที่มาหวิทยาลัยทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนดังกล่าวจึงควรเข้ามามีบทบาทในการร่วมกันดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วย
Thanyakon เมื่อ 30 ต.ค. 2562 16:10 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการพัฒนาทักษะการตลาดทางตรงและการตลาดทางออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2562)วิสาหกิจชุมชนเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนโดยนำเอาเศรษฐศาสตร์ชุมชนหรือเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และทำการผลิตเพื่อบริโภคในท้องถิ่น ลดการซื้อจำภายนอกลงได้ประมาณหนึ่งในสี่ วิสาหกิจชุมชนที่ตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานและวงจรชีวิตของชุมชนจะทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจชุมชน ระบบที่พึ่งพาตนเองได้ ชุมชนมีรายรับมากกว่ารายจ่ายผลิตอาหารและปัจจัยพื้นฐานได้เอง ถ้าไม่มีวิสาหกิจชุมชน ไม่มีเศรษฐกิจชุมชนก็ได้แต่รอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือจากภายนอก ต้องขึ้นอยู่กับคนอื่นพึ่งตนเองไม่ได้ กลายเป็นระบบอุปถัมภ์ที่ชุมชนต้องพึ่งพาคนอื่นตลอดไป วิสาหกิจชุมชนจะเน้นในเรื่องของวิธีคิดและกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด ปัญหาที่ผ่านมาของชุมชนนั้นเป็นปัญหาวิธีคิดมากกว่าวิธีทำ ชุมชนสามารถผลิตได้มากมาย แต่ขายไม่ออก ขาดทุน หาตลาดไม่ได้ เพราะเริ่มต้นจากวิธีทำ จากสูตรสำเร็จจากการเลียนแบบการทำวิสาหกิจชุมชนนั้นจึงควรเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและทำการหาช่องทางการตลาดที่หลากหลายช่องทางและทันสมัยเพื่อให้สามารถหาตลาดได้เพิ่มขึ้นและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว มากยิ่งขึ้น
ช่องทางการตลาดออนไลน์ ผ่านสังคมออนไลน์ถือได้ว่าเป็นกระแสที่กำลังมาแรงที่สุดในปัจจุบัน ในที่นี้คงจะไม่มีใครไม่รู้จัก Facebook, Instragram, Twitter ซึ่งช่องทางเหล่านี้เป็นช่องทางที่กว้างมากที่สุด เพราะคนไทยส่วนใหญ่มีบัญชีของสังคมออนไลน์ที่เรากล่าวมา นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการรวมกลุ่มกันโดยผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน ซึ่งง่ายต่อการทำตลาดยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นช่องทางที่ประหยัด และมีผลตอบรับที่รวดเร็วอีกด้วยการตลาดทางตรงและการตลาดออนไลน์ช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน ส่งข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไปยังกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ให้ความสะดวกสบายแก่ผู้จำหน่ายสินค้า สามารถประเมินผลได้ รู้จำนวนผู้สนใจสินค้าอย่างชัดเจนและรวบรวมข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายได้ อีกทั้งลูกค้าเองนั้นยังสามารถมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มีความสะดวกสบายมากขึ้นในการซื้อสินค้า และสร้างความพึงพอใจแก่ให้แก่ลูกค้าได้อย่างสูงสุด เนื่องจากสิทธิพิเศษที่เหนือผู้อื่น อันนำมาซึ่งจะก่อให้เกิดการขยายฐานกลุ่มลูกค้าและเพิ่มยอดขายให้มากขึ้นในอนาคต
จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านช่องทางการขายสินค้านั้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะต้องได้รับทักษะและได้รับเทคนิคความรู้ทางด้านการตลาดทางตรงและการตลาดออนไลน์ และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าในระยะยาวและสร้างยอดขายให้ได้มากยิ่งขึ้น และการดำเนินชีวิตในอนาคตต่อไป จึงควรมีการจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการตลาดทางตรงและการตลาดออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านช่องทางการขายสินค้า สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าในระยะยาวและสร้างยอดขายให้ได้มากยิ่งขึ้น
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 30 ต.ค. 2562 15:59 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลาโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มอาชีพสมาชิกสหพันธ์กลุ่มอาชีพเทศบาลเมืองเขารูปช้าง (ปี 2562)ผู้บริโภคส่วนใหญ่พึงพอใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ ทั้งนี้เพราะ ตรายี่ห้อทำให้ผู้บริโภคแน่ใจว่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการถูกต้องแล้ว และมั่นใจได้ในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อภายใต้ยี่ห้อที่ระบุไว้นั้น ตรายี่ห้อทำให้กระบวนการซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้จากหลาย ๆ ยี่ห้อ และสามารถเห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ในแต่ละยี่ห้อได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้การตัดสินใจซื้อง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ ผู้ขายเองก็พึงพอใจที่จะขายผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อเพราะขายได้ง่ายกว่า เมื่อผู้บริโภคระบุชื่อตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการซื้อ ผู้ขายก็สามารถรับคำสั่งซื้อได้ทันที ตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ทำให้ผู้ขายสามารถตกแต่งและจัดวางผลิตภัณฑ์ที่ขายได้สวยงามมากขึ้น และสามารถแยกส่วนตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ขายออกจากกันได้ชัดเจน
ในส่วนของผู้ผลิตสามารถนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีตรายี่ห้อเข้าเสนอขายเข้าเสนอขาย และแนะนำในตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ง่ายกว่าการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ ผู้ผลิตสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ที่จะเสนอขายสู่ตลาดมีความหลากหลายแตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิม ๆ ที่มีขายอยู่แล้วในตลาดและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้หลาย ๆ ส่วน ในเวลาเดียวกัน เช่น เมื่อต้องการขายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่ละคนและตลาดก็ผลิตสินค้าออกมาให้คุณภาพต่างกัน ราคาต่างกันเพื่อส่วนตลาดที่ต่างกัน โดยผู้บริโภคแต่ละส่วนตลาดสามารถเห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อได้อย่างชัดเจน สังคมโดยรวมก็ได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อผู้ผลิตต้องการเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อขายในตลาดให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ขายต้องมีความแตกต่างชัดเจนจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันนั้น ผู้ผลิตจำเป็นต้องคิดค้นและนำเสนอประโยชน์และรูปแบบใหม่ ๆ ของผู้บริโภคบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ มีคุณค่ามากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) หรือการบรรจุหีบห่อนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญทั้งในทางเศรษฐกิจการขนส่งและการจำหน่ายสินค้าทุก ประเภท ทั้งนี้เพราะสินค้าแทบทุกชนิดจำเป็นต้องอาศัยการบรรจุหีบห่อแทบทั้งสิ้น ผลิตภัณฑ์มากกว่าร้อยละ 70 ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากสภาวะสิ่งแวดล้อมภายนอก และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ให้นานที่สุด พร้อมทั้งก่อให้เกิดความสะดวกในการนำผลิตภัณฑ์ไว้ให้นานที่สุด พร้อมทั้งก่อให้เกิดความสะดวกในการนำผลิตภัณฑ์ออกใช้ นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ยังมีส่วนในการเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์และเร่งเร้าให้ เกิดความต้องการเพื่อผลทางการตลาดอีกด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว บรรจุภัณฑ์จึงได้รับความสำคัญขึ้นมาเป็นอย่างมาก และเป็นองค์ประกอบหลักที่ผู้ผลิตนำมาเป็นเครื่องมือสำหรับการแข่งขัน ซึ่งถ้าตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีฐานะเป็นพระเอก (The Lead) บรรจุภัณฑ์ก็เปรียบเสมือนพระรอง (The Subordinate) ที่นำมาเน้นย้ำการบริการตัวเองเป็นผู้ช่วยขายผลิตภัณฑ์ เพราะสามารถแสดงตัวหรือตราสินค้า (Brand) ต่อผู้ใช้ประจำได้อย่างรวดเร็ว และยังพยายามที่จะจูงใจผู้ที่ไม่เคยใช้ให้เกิดความสนใจอยากที่จะทดลองใช้ เป็นครั้งแรกอีกด้วย ดังสินค้าและบรรจุภัณฑ์จึงเป็นของคู่กันมาตลอด ยิ่งสินค้าผลิตภัณฑ์มีการคิดค้น การผลิต การแข่งขันมากเท่าใด การบรรจุภัณฑ์ก็จะได้รับการพัฒนาขึ้นตามไปมากเท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญสำหรับสินค้าและการตลาดอย่างจะขาดเสียซึ่งสิ่งหนึ่งใด มิได้
จากการสัมภาษณ์ประธานสมาชิกสหพันธ์กลุ่มอาชีพเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ซึ่งมีกลุ่มอาชีพในเทศบาลตำบลเขารูปช้างจำนวน 48 กลุ่ม พบว่า มีความต้องการโครงการบริการวิชาการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การพัฒนาตราสินค้า การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะทำให้สินค้าของกลุ่มอาชีพสามารถสร้างรายได้จากการขายได้มากขึ้น รวมถึงเป็นการปรับปรุงสินค้าอันนำไปสู่การขอมาตรฐาน อาทิ อย. มผช. มาตรฐาน พช. ได้ในอนาคต ดังนั้นโครงการบริการวิชาการเพื่อสังคมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มอาชีพสมาชิกสหพันธ์กลุ่มอาชีพเทศบาลเมืองเขารูปช้างนั้น มีเป้าหมายที่สำคัญที่ทำให้สมาชิกในกลุ่มอาชีพได้เล็งเห็นวามสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อก่อให้เกิดการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด ซึ่งจะนำมายังรายได้จากการขายและการขยายตลาดได้ในอนาคต
Thanyakon เมื่อ 30 ต.ค. 2562 15:57 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการการใช้ความรู้พื้นฐานทางบัญชี สร้างวิถีการออมและเสริมสร้างค่านิยมการใช้จ่ายเงิน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในอำเภอเมืองสมเด็จ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2562)การจัดทำบัญชีในครัวเรือนถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะเยาวชนควรที่จะเรียนรู้ เพื่อปลูกฝังให้เห็นถึงรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในครอบครัว นอกจากนี้ยังสามารถให้มองเห็นถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีในครอบครัวซึ่งเป็นที่มาให้ครอบครัวสามารถที่จะลดรายได้ดังกล่าวได้ มีผลทำให้ตระหนักถึงเรื่องการออมเงิน การวางแผนใช้จ่ายเงิน การทำบัญชีรับ – จ่าย การส่งเสริมวินัยการออม สร้างนิสัยประหยัดอดออม ทั้งนี้เพื่อเป็นการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังไม่ประมาทและมีการเตรียมพร้อมที่จะเผชิญปัญหาที่จะเข้ามาในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักยึดในกระบวนการต้านทานและแก้ไขปัญหา ในแนวทางดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการจัดทำบัญชี ครัวเรือน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนที่เข้าอบรมนำความรู้ที่ได้ไปใช้และปลูกฝังใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป นักเรียนในโรงเรียนถือเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว หน้าที่หลักคือศึกษาเล่าเรียน นอกจากนี้ยังสามารถที่จะคอยช่วยเหลือพ่อแม่ ในการจัดการการเงินของครอบครัวได้ โดยสามารถจัดทำรายงานข้อมูลรายรับ – รายจ่ายในครอบครัว เพื่อได้รับรู้การใช้เงินของครอบครัว รู้ว่าครอบครัวกำลังใช้เงินในการจัดทำอะไรไปบ้างในแต่ละเดือน ในแต่ละเดือนมีเงินเหลือเท่าไหร่หรือมีเงินไม่พอใช้ หากนักเรียนได้มีโอกาสในการจัดทำข้อมูลก็จะทำให้เกิดจิตสำนึกในการจ่ายเงิน เห็นคุณค่าของเงิน มีผลให้เกิดความตระหนักในการใช้จ่ายเงินตั้งแต่เด็กและสามารถที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีวินัยในการใช้จ่ายเงินในอนาคตค ดังนั้นสาขาวิชาชีพบัญชีจึงเล็งเห็นความสำคัญกับการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนได้ใช้ความรู้ทางบัญชี สร้างวิถีการออมและเสริมสร้างค่านิยมการใช้จ่ายเงิน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการเพื่อให้เยาวชน ได้มีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนเห็นความสำคัญและประโยชน์จากการจัดทำบัญชีอย่างง่ายในครอบครัว และนำข้อมูลที่ได้จัดทำมาวิเคราะห์ รายรับรายจ่ายและเงินคงเหลือในแต่ละเดือน เพื่อจะนำไปใช้ในการออมเงินได้ ถือเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักการเก็บออม เพื่ออนาคตวันข้างหน้า เกิดความรักและความสามัคคีในครอบครัว อีกทั้งยังเป็นประสบการณ์ตรงสำหรับตัวแทนนักศึกษาที่ร่วมโครงการ ให้สามารถนำความรู้ที่เรียนในรายวิชาหลักการบัญชีไปช่วยพัฒนาครอบครัวและชุมชนให้เกิดความยังยืนต่อไป
มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อ 30 ต.ค. 2562 15:42 น.
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลาโครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ต.คลองขุด อ.เมือง จ.สตูล (ปี 2562)ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสตูล (กรอ. จังหวัด) ครั้งที่ 3/2561 วันที่ 22 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมโต๊ะพญาวัง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสตูล ประธานหอการค้าจังหวัดสตูล ได้นำเสนอโครงการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ตำบลปูยู-ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยได้มีการเสนอโปรแกรมการท่องเที่ยวอเมซิ่ง อันดามัน : เขาจีน ตำมะลัง ปูยู เกาะยาว ตันหยงโป สตูล เพื่อจะใช้การท่องเที่ยวเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดสตูล แต่ยังขาดข้อมูลความรู้ทางวิชาการของพื้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และชุมชนเองก็ขาดองค์ความรู้ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ขณะที่ตำบลปูยู มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพื้นที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ได้รับความร่วมมือจากสาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณซึ่งเกิดจากการนำนิสิตทั้งในระดับปริญญาโท และปริญญาตรี ศึกษาภาคสนามรายวิชาต่าง ๆ การทำวิจัยของคณาจารย์ การจัดโครงการบริการวิชาการ และ โครงการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรมในพื้นที่ตำบลปูยูต่อเนื่องมากว่า 10 ปี ดังนั้น ประธานหอการค้าจังหวัดสตูล จึงขอความอนุเคราะห์มายังสาขาวิชาภูมิศาสตร์ในการให้ความรู้และกระบวนการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบตามหลักวิชาการให้กับพื้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ทางสาขาวิชาภูมิศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการถ่ายทอดความรู้ การบริการวิชาการ และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นให้ก่อประโยชน์ต่อชุมชน และ สามารถบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาฯที่เน้นชุมชนเป็นฐาน จึงได้จัดโครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้น
udonthani_ru เมื่อ 30 ต.ค. 2562 15:26 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมทองข้าวเกรียบกล้วย (ปี 2561)กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว โดยกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นกล้วยหอมที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไปจัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ เช่น มีวิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ Escherichia coli
เป็นต้น กล้วยหอมถูกจัดเป็นผลไม้เมืองร้อน สามารถปลูกได้เกือบทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทย สามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค ที่มา : ( พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย )
ผู้ประกอบการ ชื่อ นางเพ็ญ ประสบศิลป์ ปัจจุบันประกอบอาชีพ เกษตรกร
อาชีพหลักเลี้ยงปลา ผู้ประกอบการมีอาชีพเสริม คือ ปลูกสวนยาง เพาะเห็ด ปลูกกล้วย ปลูกข้าว ปลูกอ้อย ที่สามารถจำหน่ายและบริโภคได้ตลอดทั้งปี ฟาร์มแม่เพ็ญตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 51 หมู่ที่ 15
ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีเนื้อที่ทั้งหมด 24 ไร่ เริ่มแรกผู้ประกอบการได้ทำการเกษตรแค่ปลูกข้าวจำนวน 10 ไร่ พื้นที่ที่เหลือเป็นป่าดงดิบผู้ประกอบการจึงได้คิดริเริ่มทำการลงทุนปลูกสวนยางในปี 52 จำนวน 4 ไร่ ทำมาได้สักพักเศรษฐกิจก็ไม่ค่อยดี ผู้ประกอบการจึงหันมาทำฟาร์มเห็ดในปี 57 จำนวน 1 ไร่ ปีถัดมาปี 58 ได้ลงทุนปลูกสวนอ้อยจำนวน 1 ไร่ และบ่อปลาดุกจำนวน 5 ไร่ ในปีเดียวกัน หลังจากนั้นผู้ประกอบการได้มีความสนใจที่จะปลูกกล้วยในปี 59 จำนวน 3 ไร่ ซึ่งเป็นกล้วยหอมทองปลอดสารพิษใช้ระยะเวลาในปลูก 7 – 9 เดือน พอเข้าเดือนที่ 10 – 11 ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจำหน่ายขายให้กับให้กับกลุ่มวิสาหกิจกล้วยหอมสานน้ำโขงและลูกค้าทั่วไป
ผู้ประกอบการประสบปัญหากล้วยที่ไม่ได้คุณภาพ กล้วยมีผิวขรุขระไม่เรียบสวย จึงทำให้ผลผลิตไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และยังทำให้กล้วยที่มีผิวขรุขระนี้ราคาต่ำ ผู้ประกอบการมีความต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้กับกล้วย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการ

ดังนั้น คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหาจึงได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่สามารถมาพัฒนากล้วยหอมที่ไม่ได้คุณภาพ คณะผู้จัดทำจึงได้ทราบแนวทางแก้ไข้ปัญหานี้พบว่าสิ่งที่สามารถพัฒนากล้วยหอมได้คือ การทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอม ปัญหาดังกล่าวคือการทดลองทำผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกล้วยหอมซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่มีใครได้ทำในชุมชนและได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการทำให้กล้วยที่เหลือจากการคัดออกและนำเข้าสู่กระบวนการผลิตให้เป็นข้าวเกรียบกล้วยหอมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเดิมที่ทำกล้วยหอมทอด
Thanyakon เมื่อ 30 ต.ค. 2562 15:21 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์แนวทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามแนวพระราชดำริ เพื่อการสร้างอาชีพที่ยั่งยืน (ปี 2562)จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างแพร่หลายและมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยง เช่น ปลานิล กุ้งก้ามกราม ปลาดุก ปลาหมอไทย เป็นต้น ซึ่งการที่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะประสบผลสำเร็จได้ เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างได้แก่ พันธุ์สัตว์น้ำ อาหารสัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ วิธีการเลี้ยง รวมถึงสภาพแวดล้อม ทั้งนี้หากเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในปัจจัยต่างๆ ย่อมนำมาซึ่งความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปัจจุบันแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 ที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ พออยู่ พอกิน และพอเพียงในการใช้ชีวิตเป็นแนวคิดที่เกษตรกรให้ความสนใจและหันมาปฏิบัติตามมากขึ้นในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่แต่จากเดิมเกษตรกรมีเพาะเลี้ยงแล้วจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลาง แต่ปัจจุบันมีเกษตรกรส่วนหนึ่งได้หันมาใช้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพโดยเริ่มตั้งแต่การเพาะเลี้ยงจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ซึ่งศาสตร์ในการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารก็เป็นอีกด้านที่เกษตรกรพึงมี เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัวนอกเหนือจากการจำหน่ายในรูปแบบสดเท่านั้น ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจนถึงการแปรรูปสัตว์น้ำจึงเป็นการสร้างอาชีพให้เกิดความยั่งยืนและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป
Thanyakon เมื่อ 30 ต.ค. 2562 14:51 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์ (ปี 2560)จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหนึ่งจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายและสมบูรณ์ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายของชนเผ่า วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปะพื้นบ้านท้องถิ่น อารยธรรมประวัติศาสตร์ความเป็นมา ซากดึกดำบรรพ์ เป็นต้น จึงทำให้จังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนอกจากการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวแล้ว การมีบุคลากรทางการท่องเที่ยวที่มีความรู้ ความเข้าใจในบริบทชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่น จะเป็นอีกหนึ่งจุดขายทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ สามารถสร้างมูลค่าให้กับสินค้าทางการท่องเที่ยว และกระจายรายได้สู่ชุมชนท่องเที่ยวต่างๆ ในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง
ดังนั้นสาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะเทคโนโลยีสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในการผลิตบุคลากรทางการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชน นั่นก็คือมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ผู้ที่เปรียบเสมือนทูตวัฒนธรรม ที่จะคอยทำหน้าที่ต้อนรับขับสู้แขกผู้มาเยือน ให้ความรู้ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ถูกต้อง สร้างความเข้าใจในประวัติความเป็นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นบุคคลในท้องถิ่นนั้น จะมีความเข้าใจในบริบทชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ ดังนี้จึงได้พิจารณาว่าเยาวชนในชุมชนจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาให้เป็นยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น เพื่อจะได้นำเอาความรู้ไปนำเที่ยวในท้องถิ่นของตน สร้างงาน และรายได้พิเศษ อีกทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกรักทรัพยากรท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตน อันจะเป็นประโยชน์กับชุมชนและจังหวัดกาฬสินธุ์ สืบไป
udonthani_ru เมื่อ 30 ต.ค. 2562 14:49 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีการพัฒนาสูตรปุ๋ยชีวภาพเพื่อป้องกันรากผักเน่า กรณีศึกษา สวนผักบ้านห้วยสำราญ ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (ปี 2560)คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและประเทศไทยจะอาศัยการเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรมการเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะพืช ผลทางการเกษตรเป็นสินค้าที่ส่งออกที่สำคัญนำรายได้เข้าประเทศได้ปีละมหาศาล และผลักดันประเทศไปเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลกแต่ปัจจุบันการเกษตรได้ รับผลกระทบจากการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงมากส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนการ ผลิตสูงขึ้นประกอบกับคนไทยนิยมทำการเกษตรเคมีมากกว่ายึดรูปแบบตามธรรมชาติ การใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรประเทศไทยมีแนวโน้มมากขึ้นแต่กำลังความสามารถใน การผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรของประเทศไทยนั้นไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องนำ ปุ๋ยเคมีเข้าจากต่างประเทศทำให้ประเทศไทยเสียดุลการค้า การใช้ปุ๋ยเคมีใน ปริมาณมากแทนธาตุอาหารที่เป็นอินทรียวัตถุและการใช้สารเคมีฆ่าแมลงแทน สมุนไพร เพื่อการกำจัดศัตรูพืช ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่าง ๆ เช่นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เกิดจากสารปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำและดินทำให้ระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตเสียไป ปัญหาต่อความปลอดภัยสุขภาพของเกษตรกรซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพชีวิตของ เกษตรกรต่ำลงเนื่องจากได้รับสารเคมีเข้าไปในร่างกายมากๆ ตลอดจนปัญหาการตก ค้างของสารเคมี ผลิตผลทางการเกษตร ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค (ที่มา:สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560,จาก https://jantip.wordpress.com)
จากการที่ชุมชนในละแวกบ้านของผู้ประกอบการเองนั้นมีการปลูกผักชีไทยและผักสลัดจำหน่ายให้แก่ตลาดเมืองทอง และตลาดแหล่งอื่น ๆ ในจังหวัดอุดรธานีที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในช่วงนั้นเพราะผู้ประกอบการในชุมชนที่ปลูกผักชีไทยและผักสลัดได้ปลูกในปริมาณที่น้อย เนื่องจากมีการทำการเกษตรอย่างอื่นผสมผสานกันไปด้วยทางคุณไพวันเจ้าของสวนจึงมีความสนใจในการทำธุรกิจปลูกผักชีไทยและผักสลัดเพื่อจำหน่าย ก็ได้พบกับปัญหาหลักๆทั่วไปที่ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรมักพบและมักเกิดขึ้นในการทำการเกษตรคือ ปัญหารากเน่าและแมลงศัตรูพืชจะมาอาศัยกัดกินและทำลายผลผลิตของผู้ประกอบการหรือเกษตรกร ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตน้อย ผู้ประกอบการและเกษตรกรส่วนใหญ่จึงเลือกใช้สารเคมีที่มีอันตรายและต้นทุนสูงที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปในการเพิ่มผลผลิตแทนการใช้สารชีวภาพซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการทำธุรกิจสูงขึ้นและผู้ประกอบการก็เสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ดังนั้นทางผู้ศึกษาจึงมองเห็นปัญหาและแนวทางในการแก้ไขโดยการค้นหาและพัฒนาสูตรปุ๋ยหมักสารชีวภาพที่มีประสิทธิสูงสุดในการในการป้องกันรากเน่า เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรที่สนใจสามารถผลิตและนำไปใช้ได้ในการทำธุรกิจการปลูกผักชีไทยและผักสลัดเพื่อจำหน่ายได้จริง และไม่เป็นอันตรายได้ด้วยเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตด้านลงทุนซื้อปุ๋ยเคมี คณะผู้ศึกษาคิดค้นพัฒนาสูตรปุ๋ยชีวภาพได้ 2 สูตร เพื่อทำการทดสอบและเปรียบเทียบประสิทธิภาพ
Prakardao.a01 เมื่อ 30 ต.ค. 2562 14:46 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และจัดสรรน้ำทางการเกษตรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ (ปี 2562)งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์และจัดสรรน้ําทางการเกษตรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน อําเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ และจัดสรรน้ําเพื่อการเกษตร การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีใหม่การสร้างนวัตกรรมในการอนุรักษ์และจัดสรรน้ําเพื่อการเกษตรบนพื้นฐานศาสตร์พระพระราชา ในเขตพื้นที่นอกเขตชลประทาน ให้กลมกลืนกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน
kriangkrai.sa01 เมื่อ 30 ต.ค. 2562 14:25 น.
มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขนบัญชีครัวเรือน (ปี 2562)ชุมชนบ้านทุ่งเหียง เป็นชุมชนที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมาก ประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้น้อย และขาดโอกาสการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ดังนั้นคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จึงตระหนักความสำคัญของการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการบัญชีให้แก่ชุมชน จึงได้จัดโครงการบัญชีครัวเรือนเพื่อให้ความรู้ด้านบัญชีครัวเรือน วิธีการควบคุมค่าใช้จ่าย วางแผนการใช้เงิน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทำให้การเงินของครอบครัวดีขึ้น ช่วยส่งเสริมการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่นักศึกษาที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการบัญชีครัวเรือน
udonthani_ru เมื่อ 30 ต.ค. 2562 14:16 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายดาวอินคา กรณีศึกษาไร่พรปวีณ์ อาเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (ปี 2560)ปัจจุบันเครื่องสำอางไทยมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านบาท เฉพาะตลาดในประทศ มีมูลค่าถึง 1.2 แสนล้านบาท ตลาดส่งออกไปต่างประเทศมีมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท กสอ. จะผลักดันให้เครื่องสำอางไทยส่งออกไปต่างประเทศติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ใน 3-5 ปีข้างหน้า ขยายตัวต่อเนื่องปีละ 10% เป้าหมายสำคัญ คือ กลุ่มประเทศ AEC ที่มีประชากร 600 ล้านคน มีประชากรในวัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่มีกำลังซื้อสูงถึง 300 ล้านคน ซึ่งตลาดเครื่องสำอางในประเทศไทยกลุ่มสกินแคร์ มีมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านบาท เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวขาว 48% บำรุงผิวทั่วไป 43% ผลิตภัณฑ์บำรุงแบบให้คุณประโยชน์เฉพาะ 9% กลุ่มสกินแคร์ มีการแข่งขันสูงมาก เพราะปัจจุบันมีการเปิดแบรนด์ใหม่ ๆ เป็นจำนวนมาก มีการผลิตออกจำหน่ายหลายยี่ห้อ มีการทำตลาดแบบ E-Commerce จึงทำให้มูลค่าตลาดขยายตัวอย่างรวดเร็วปัจจัยหนุนที่สำคัญของประเทศไทย คือ ความอุดมสมบูรณ์ด้านวัตถุดิบสมุนไพรที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพ ปัจจุบันภาครัฐได้ให้การสนับสนุน มีการส่งเสริมการจัดตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ และการแก้ไข พ.ร.บ. เครื่องสำอางบางส่วนที่ยังเป็นอุปสรรคต่อผู้ผลิต หัวใจสำคัญ คือ ท่านผู้ประกอบการจะต้องมีการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องสำอาง อาทิเช่น ASEAN GMP มาตรฐานฮาลาล EU Cosmetic Regulation และ Gulf standard ซึ่งจะส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือ เป็นผลดีต่อการทำตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ว่าเศรษฐกิจการเมืองจะเป็นอย่างไร ก็ไม่สามารถยับยั้งความต้องการของมนุษย์ที่อยากหล่ออยากสวยได้ เรื่องของความสวยงามเป็นเรื่องที่ผู้คนยอมเสียเงินจำนวนมากเพื่อให้ความสวยอยู่กับตัวให้นานที่สุด และทุกวันนี้นอกจากผู้บริโภคจะใส่ในในเรื่องความสวยความงามแล้วและเราต้องยอมรับว่า ผู้บริโภคนั้นยังได้มีความพิถีพิถันในเรื่องการเลือกสิ่งต่างๆให้ตัวเองมากขึ้น สมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ ผู้บริโภคให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารเสริมถ้ามีส่วนผสมของสมุนไพรอยู่นั้น ก็เป็นที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินในซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ง่ายขึ้น ยิ่งถ้าเป็นสมุนไพร 100% ยิ่งทำให้ตัวผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้นเป็นที่น่าซื้อหายิ่งขึ้น สมุนไพรที่เรายินชื่อกันคุ้นหูที่มีอยู่ในเครื่องสำอางนั้นก็มีอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไพร ขมิ้น ธนาคา มะขาม เป็นต้น แต่เชื่อว่าหลายคนคงไม่ค่อยคุ้นหูหรืออาจจะไม่รู้จักกับ ดาวอินคา สมุนไพรที่เป็นพืชชนิดหนึงที่สามารถนำทุกส่วนของลำต้นมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆใด้ หนึ่งในนั้น ก็คือการสกัดนำมันจากเมล็ดถั่วดาวอินคา มาใช้ในการรักษา ดูแลผิวพรรณ ให้ผิวมีสุขภาพที่ดีได้ และส่วนต่างๆของลำต้น ใบ เปลือก เมล็ด นั้นยังมีสรรพคุณในการช่วยดูแลสุขถาพได้อีกด้วย ซึ่งทุกวันนี้มีการปลูกอย่างแพร่หลายในหลายภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน เพราะถั่วดาวอินคาเป็นพืชที่ให้ผลเร็วมาก ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 4-6 เดือนก็สามารถให้ผลผลิตได้แล้ว และสามารถให้ผลผลิตได้เป็นระยะเวลายาวนานถึง 15-50 ปี จากการปลูกเพียงครั้งเดียว (ที่มา:สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561,จาก www.thaicosmeticcluster.com/tag/กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
โดยผู้ประกอบการ คุณพรปวีณ์ หงส์ประสิทธ์ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนหลายคนที่ได้หันมาประกอบธุรกิจในด้านดูแลความสวยความงามเช่นกัน คือการผลิตสบู่สมุนไพรดาวอินคา แต่ทางกลุ่มผู้จัดทำโครงการได้มองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการประกอบกิจการของผู้ประกอบการครั้งนี้ทั้งนี้คือ แพคเก็จจิ้ง ไม่ดึงดูด ไม่น่าสนใจ ทำให้ตัวสินค้าดูมีราคาถูก ไม่มี อย. รับประกันคุณภาพของสินค้า ตามมาด้วยตัวผลิตภัณฑ์ไม่มีความหลากหลายให้ผู้บริโภค รวมทั้งฉลากกับชื่อแบรนด์ดูไม่ทันสมัย ดูไม่ได้มาตราฐาน และยังไม่มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ชัดเจน
ดังนั้นทางกลุ่มผู้จัดทำโครงการจึงมองเห็นปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขโดยการทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สภาพทางการแข่งขัน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ จำนวนผู้แข่งกัน วิธีการขอจดทะบียนองค์การอาหารและยารวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ การแตกไลล์ผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้นที่มีนอกเหนือจากสบู่ เช่น สบู่เหลวดาวอินคา สคับดาวอิคา โลชั่นบำรุงผิวกายดาวอินดา ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทางผู้คณะจัดทำโครงการได้นำสมุนไพรไทยมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมด้วยเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับกลุ่มลูกค้า รวมไปถึงการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบธุระกิจดังกล่าวนี้ด้วย
Patcharaporn เมื่อ 30 ต.ค. 2562 14:04 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกและบูรณาการสู่การเรียนรู้ในชุมชน ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2563)หลักการและเหตุผล
จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือนและจากการสำรวจพื้นที่พบว่าตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีจำนวนหลังคาเรือน ๑,๑๐๔ หลังคาเรือน มีจำนวนประชาก ๕,๖๑๗ ครน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ ๖๐๑ คน ตำบลลำคลอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดกาฬสินธุ์ พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม ทำสวน ทำไร่ ชุมชนไม่มีรายได้เสริม ประชาชนวัยทำงานจึงต้องเดินทางเข้าเมืองเพื่อหารายได้ต่างแดน ปู่ย่าตายาย ทำหน้าที่เลี้ยงหลานๆ ที่บ้าน (เทศบาลตำบลลำคลอง, ๒๔๖๒) ชุมชนมีการทอเสื่อกกในครัวเรือนแต่ไม่ได้รับการพัฒนา ไม่มีผลิตภัณฑ์ OTOP ในชุมชน เนื่องจากกลุ่มทอเสื่อเป็นชาวบ้านและผู้สูงอายุ ทำให้ขาดการพัฒนาและการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยทั้งภูมิปัญญาการทอเสื่อยังไม่ถูกถ่ายทอดสู่รุ่นหลังจึงอาจจะสูญหายไป
การทอเสื่อกกของชุมชนในยามว่างจากการทำนานับเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่น ดังเช่นการทอเสื่อกกที่บ้านแพง ตำบลแพง ของจังหวัดมหาสารคาม ตามประวัติมีมาประมาณ ๑๐๐ ปี ส่วนใหญ่ทอเสื่อเพื่อใช้สอยในครัวเรือน หรือสำหรับแลกเปลี่ยนกับสิ่งของเครื่องใช้ภายในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง โดยได้มีการเริ่มต้นทอเสื่อจากต้นกกสามเหลี่ยม (ต้นผือ) ก่อน ต่อมาพระที่วัดได้นำพันธุ์ต้นกก (ไหล) จากจังหวัดร้อยเอ็ด มาทดลองปลูกที่ริมบึงบ้านแพง (เป็นหนึ่งทอเสื่อกก “เสื่อกกบ้านแพง”, ๒๕๕๑) และปัจจุบันเสื่อกกบ้านแพงได้แปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่หลากหลาย เช่น ที่รองจาน อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน แจกัน กระเป๋า ซึ่งได้รับความนิยมมาก จนก่อตั้งเป็นกลุ่ม OTOP ที่มีชื่อเสียงและชุมชมมีรายได้สูง ซึ่งผู้วิจัยได้นำรูปแบบกลุ่มทอเสื่อกกบ้านแพงมาทำการวิจัยจัดตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกที่หมู่บ้านหนองโดน หอกลอง ซึ่งเป็นหมู่บ้านในบริเวณดินเค็มทำให้ไม่มีผลผลิตทางการเกษตร โดยดำเนินการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโดน จนก่อตั้งได้สำเร็จ (ทุนวิจัย วช พ.ศ. ๒๕๕๔) จัดโครงการอบรมการทำผลิตภัณฑ์ และอบรมการออกแบบ ทำให้ชุมชนมีรายได้เสริม และสร้างบทเรียนให้ความรู้เรื่องดินเค็ม และการทอเสื่อ ให้กับนักเรียนและได้ทำการวิจัยต่อเนื่องเกี่ยวกับการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเสื่อกกในชุมชนด้วยสีย้อมธรรมชาติ ได้สำเร็จ (ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ๒๕๕๗) ดังจะเห็นผลงานตีพิมพ์ระดับชาติ ๒ เรื่องคือ ๑. Patcharaporn Pimchan, Nittaya Saesim. (2016). Effects of Saline Soils on Culms and Culm Strands of Cyperus Corymbosus Rottb. Naresuan University Journal: Science and Technology. 24(3). (TCI ฐาน 1, Thai-Journal Impact Factors 0.025) และ ๒. พัชราภรณ์ พิมพ์จันทร์ (2558). การเพิ่มการติดสีและความคงทนของสีย้อมธรรมชาติสำหรับเส้นใยจากกก. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น. 37(2). (TCI ฐาน 2, Thai-Journal Impact Factors 1.564) ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะทำการพัฒนากลุ่มทอเสื่อ และทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ให้มีเอกลักษณ์ให้กับชุมชนตำบลลำคลอง เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมและสร้างแหล่งเรียนรู้เพื่อให้เยาวชนตะหนักถึงภูมิปัญญาท้องถิน และส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มองเห็นอาชีพเสริมในชุมชนได้

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการนำองค์ความรู้ที่หลากหลายในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรมโดยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รู้ในท้องถิ่น ประชาชน อาจารย์ นักศึกษา ครู นักเรียน มาบูรณาการในการแก้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดความยั่งยืน
๒. เพื่อนำองค์ความรู้ เกี่ยวกับ การย้อมสีธรรมชาติ การทอเสื่อ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนผลิตเพื่อจำหน่ายได้
๓. เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก เพื่อให้เกิดอาชีพที่ยั่งยืน
๔. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสื่อออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าในท้องถิ่นเป็ฯการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
๕. เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนเกี่ยวกับ สีย้อมจากธรรมชาติ การทอเสื่อกก และการทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก
๖. เพื่อให้นักศึกษาได้ประยุกต์องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง มีความสามารถในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบระบบงาน จนสามารถทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคม และมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ประโยชน์ที่จะได้รับ
๑. ด้านวิชาการ นำองค์ความรู้ เกี่ยวกับ สีย้อมธรรมชาติ การทอเสื่อ การทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก การสร้างสื่อออนไลน์ มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนผลิตเพื่อจำหน่ายได้
๒. ด้านสังคม และชุมชน มีแหล่งเรียนรู้สำหรับเยาวชนเกี่ยวกับสีย้อมจากธรรมชาติ การทอเสื่อกก และการทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก
๓. ด้านเศรษฐกิจ มีกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ที่มีความรู้ด้านการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์เพื่อให้เกิดอาชีพที่ยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย
๑. ประชาชนในชุมชนตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๗๐ คน
๒. นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองม่วง ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๔๐ คน

วิธีการดำเนินงาน
๑. จัดการประชุมเสวนาในชุมชนให้กับกลุ่มชาวบ้านและนักเรียนโรงเรียนบ้านหน่องม่วง เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น การต่อยอดภูมิปัญญาสู่รายได้และขออาสาสมัครร่วมกิจกรรมการทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกที่เป็นชาวบ้านและนักเรียน
๒. จัดอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก เช่น กระเป๋า ที่รองแก้ว แจกัน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเสื่อกกให้กับกลุ่มอาสาสมัครในชุมชนและจัดตั้งกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก
๓. คัดเลือกตัวแทนกลุ่มทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกที่ผ่านการอบรมเพื่อเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองม่วง
๔. พัฒนาสภาวะที่เหมาะสมในการย้อมสีกกด้วยสีย้อมธรรมชาติ เช่น ขมิ้น ดอกอัญชัญ เปลือกฝาง เปลือกมังคุด หมักโคลน ร่วมกับสารเติม (มอร์แดน) เพื่อช่วยการติดสีและความคงทน จากนั้นถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการย้อมสีกกด้วยสีย้อมธรรมชาติให้กับกลุ่มและนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองม่วง
๕. จัดกิจกรรมประกวดเสื่อกกที่ย้อมด้วยสีย้อมธรรมชาติและอบรมให้ความรู้วิธีการสร้างสื่อออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าชุมชน
๖. สร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยใช้สื่อวิดิทัศน์ถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการย้อมและสภาวะการย้อมสีธรรมชาติที่ทำให้สีคงทน และการทำผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน
chonticha เมื่อ 30 ต.ค. 2562 13:46 น.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีโครงการบูรณาการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี (ปี 2563)ตำบลนาเกตุตั้งอยู่ในพื้นที อำเภอโคกโพธิ์. จังหวัดปัตตานี มประกอบด้วยจำนวน 7 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 7,365 คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖1) มีสมาชิกจำนวน 1,729 ครัวเรือน สมาชิกในชุมชนนับถือศาสนา ลักษณะชุมชน เป็นพหุวัฒนธรรม อยู่ร่วมกันทั้ง ไทยพุทธและไทยมุสลิม นับถือศาสนาอิสลาม 68.47 % ศาสนาพุทธ 31.53 มีรายได้เฉลี่ย 15,000 – 30,000.-บาท ต่อคนต่อปี รายได้เฉลี่ยครัวเรือน 36,000.บาท/ต่อครัวเรือน ต่อปี ประชากรประกอบอาชีพทำสวนยางพารา เกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลัก ลักษณะของชุมชนจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มตามเส้นทางคมนาคม แนวโน้มการขยายตัวของชุมชน ยังคงกระจายอยู่ในรอบ ๆ ชุมชนเดิม ปัจจุบันกิจกรรมทีกลุ่มได้ดำเนินการโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เช่น กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ กิจกรรมการดูแลผู้ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ (ผู้พิกาล) กิจกรรมด้านการเกษตรชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวยังคงขาดความต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนั้นหากได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ หาความต้องการร่วมกันระหว่าง ตัวแทนชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประชาตำบล และนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมศึกษาเรียนรู้ และนักวิชาการจากสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง ร่วมกันขับเคลื่อน รวมพลังในการปฏิบัติงานในเชิงพื้นที่ นำองค์ความรู้ หรือนวัตถกรรมจากมหาวิทยาลัยถ่ายทอดสู่ชุมชน ในการบูรณาการถ่ายทอดความรู้ ทั้งด้านทฤฏีและปฏิบัติ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ชุมชนเข้มแข็ง เตรียมพร้อมให้คนในสังคม รับผลกระทบ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและเศรษฐกิจโลก สามารถพัฒนาตนเอง สังคม ส่งผลให้เกิดการเสริมสร้างพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนนำไปสู่เป้าหมายของการบริหารจัดการชุมชนตามแนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
asc_rpu_9 เมื่อ 30 ต.ค. 2562 13:44 น.
มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบางขนุน (การป้องกันโรคไข้เลือดออก) (ปี 2561)เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของชุมชน มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์จึงทำการสำรวจความต้องการของชุมชนในตำบลบางขนุนด้วยแบบสอบถาม ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพทำสวน ซึ่งมีพื้นที่เป็นแหล่งน้ำค่อนข้างมาก ทำให้ชุมชนเป็นโรคไข้เลือดออก จึงมีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออกดังกล่าว พร้อมทั้งแนวทางการประกอบอาชีพเสริมให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน ทางมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์จึงจัดและดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของชุมชน ดังนี้
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการบรรยายให้ความรู้และจัดทำแผ่นพับโปสเตอร์ให้ความรู้
2. แนะนำพืชสมุนไพร และผักสวนครัวสำหรับไล่ยุง
3. สาธิตการนำวัสดุเหลือใช้มาปลูกต้นไม้ไล่ยุง
4. แนะนำการทำผลิตภัณฑ์ไล่ยุง คือ เกลือขัดผิวสูตรตะไคร้ไล่ยุง และสเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุง
5. ให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการและการคิดต้นทุน เพื่อวางแผนการนำผลิตภัณฑ์ไล่ยุงไปประกอบอาชีพเสริม
Thanyakon เมื่อ 30 ต.ค. 2562 13:32 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการพัฒนาและปรับปรุงร้านค้าปลีกท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2560)ตามที่คณะเทคโนโลยีสังคม เป็นสถานศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษา มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป นอกจากการให้การศึกษาในระบบแล้วยังมีการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน โดยมีการจัดฝึกอบรมให้แก่ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงและในเขตภาคอีสาน นอกจากนี้ยังมีโครงการให้ความร่วมมือกันระหว่างประเทศกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน อีกด้วย
ร้านค้าปลีกดั้งเดิมเป็นร้านค้าที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี รวมถึงยังเป็นแหล่งในการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและเงินหมุนเวียนในท้องถิ่นโดยรวมเป็นจานวนมากมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งในปัจจุบันร้านค้าปลีกได้มีรูปแบบ การดาเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ในปัจจุบันการค้าปลีกมีการแข่งขันที่สูง ทาให้ผู้ประกอบการจาเป็นต้องมีการปรับตัวทั้งในเรื่องขององค์ความรู้ การจัดการ และแนวทางการประกอบการต่างๆ เพื่อให้สามารถอยู่รอดต่อไปได้
การที่ร้านค้าปลีกในท้องถิ่นจะปรับตัวเข้าหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เป็นเรื่องที่ทาได้ยากเพราะเหตุจากการห่างไกลจากองค์ความรู้ที่เหมาะสม การขาดแคลนทุนทรัพย์ในการพัฒนาความรู้ การขาดการรับรู้ข่าวสารต่างๆ รวมถึงการขาดวิสัยทัศน์ต่อสภาวการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
ดังนั้น เมื่อร้านค้าปลีกไม่มีการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทั้งในบริบทของสังคม เศรษฐกิจ กฎหมาย และเทคโนโลยีแล้ว ก็ยากที่จะทาให้ร้านค้าปลีกท้องถิ่นจะสามารถอยู่รอดในสภาวการณ์แข่งขันที่สูงขึ้น ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ร้านค้าปลีกท้องถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์สามารถที่จะพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนและสามารถที่จะอยู่รอดในสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสม จึงควรมีการสนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจค้าปลีกให้แก่ร้านค้าในท้องถิ่น ซึ่งทางคณะเทคโนโลยีสังคม ได้มีการเปิดสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก ซึ่งเป็นที่รวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีกในแนวใหม่ ซึ่งหากได้มีการเผยแพร่องค์ความรู้นี้ต่อร้านค้าปลีกในท้องถิ่น ก็จะช่วยให้ร้านค้าปลีกในท้องถิ่นมีองค์ความรู้และความพร้อมที่จะสร้างผลกาไร รวมถึงสามารถที่จะอยู่รอดต่อไปได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
udonthani_ru เมื่อ 30 ต.ค. 2562 13:00 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพเพื่อรักษาเชื้อราในโรงเห็ดฟาง กรณีศึกษา โรงเห็ดฟางบ้านข้าวสาร ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (ปี 2560)เห็ดเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีนซึ่งสามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยาป้องกันรักษาโรคได้หลายชนิด เห็ดเศรษฐกิจหลายชนิดเป็นเห็ดที่เพาะให้เกิดดอกได้ดี เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว และเห็ดกระด้าง เป็นต้น โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรชนิดต่างๆ เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา กากมัน ทลายปาล์ม ชานอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ฯลฯ มาใช้เป็นวัสดุสำหรับเพาะ สามารถทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่ครอบครัวได้อีกทาง (www.ubu.ac.th สืบค้นวันที่ 6 ก.ย. พ.ศ. 2560 )
กรณีศึกษาโรงเห็ดฟาง บ้านข้าวสาร ตำบลโนนสูง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเพิ่งเปิดกิจการเพาะเห็ดฟางขายได้ 10 เดือนก็ต้องประสบปัญหาในเรื่องของเชื้อราที่เกิดขึ้นกับเห็ดฟาง ซึ่งสาเหตุในการเกิดเชื้อรานั้นก็มาจากอุณหภูมิและความชื้น ถ้าร้อนเกินไปก็จะเกิดราขาว เย็นเกินไปก็จะเกิดรารากไม้ ราเม็ดผักกาด เข้ามาปะปนหรือทำลายเส้นใยเห็ด ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่เร่งจัดการก็จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตได้ และราพวกนี้จะส่งผลให้เห็ดฟางไม่ได้คุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการ เช่น เห็ดฟางฝ่อ เห็ดฟางมีผิวดำ ผิวเห็ดอ่อน เห็ดไม่ออกดอก หรือเห็ดมีน้ำหนักเบา ขายได้ราคาต่ำอาจทำให้กิจการขาดทุนได้ จากปัญหาที่โรงเห็ดเผชิญตอนนี้ ได้ก่อให้เกิดแนวคิดที่อยากจะศึกษาปัญหา สาเหตุ หรือปัจจัยในการทำให้เกิดเชื้อราเพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ได้มาเป็นแนวทางประกอบในการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการ เป็นการลดต้นทุนในการใช้สารเคมีและมีความปลอดภัย และการจัดทำโครงงานในครั้งนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายอื่นที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ ที่สนใจจะแก้ไขปัญหาด้วยน้ำหมักชีวภาพนำไปพัฒนาต่อยอดให้กับกิจการให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้




ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงงานได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ศึกษาและหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพที่มีต้นทุนต่ำ และมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยรักษาโรคเชื้อราในโรงเห็ด จากการศึกษาหาข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดินจังหวัดอุดรธานีและสอบถามจากผู้ประกอบการรายอื่นรวมทั้งค้นคว้าในอินเทอร์เน็ตพบว่ามีน้ำหมักชีวภาพ 3 สูตรที่คณะผู้จัดทำโครงการสนใจเลือกมาทดลองใช้กับปัญหานี้ ได้แก่ 1.สูตรฮอร์โมนตีนเห็ด 2.สูตรน้ำหมักหอยเชอรี่ 3.สูตรน้ำหมักเหล้าขาว ที่สามารถนำมาทดลองปรับใช้กับการรักษาเชื้อราที่เกิดกับเห็ดได้ดี ปลอดภัย และน่าจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
udonthani_ru เมื่อ 30 ต.ค. 2562 12:45 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีการพัฒนาความหลากหลายของรสชาติผลิตภัณฑ์ถั่วตัด : กรณีศึกษา กลุ่มแปรรูปถั่วลิสงเมืองเพีย ตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี (ปี 2560)ถั่วลิสงนอกจากการใช้เมล็ดเป็นวัตถุดิบในการสกัดน้ำมันแล้ว ยังได้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ถั่วลิสงต้ม ถั่วสมุนไพร ถั่วอบแห้ง ถั่วกระจก ถั่วตัด ถั่วคั่ว และ อีก ฯลฯ ด้วยรสชาติหวานมัน อร่อย จนสามารถทานเล่นได้อย่างเพลิดเพลิน รวมไปถึงเรื่องของคุณประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากการทานถั่วลิสงไม่ว่าจะเป็น โปรตีน ที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ไบโอตินหรือวิตามินบี 7 ที่เป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างเล็บ ผม และ ผิวหนังให้มีสุขภาพดี มีกากใยช่วยในการขับถ่าย(สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, 2552)
กากใยในอาหารเป็นสารที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่าไฟเบอร์ (fiber) เป็นสารที่อยู่ในพืชผักที่ร่างกายเราย่อยสลายหรือดูดซึมไม่ได้ ซึ่งต่างจากสารอาหารอย่างอื่น เช่น แป้ง ไขมัน โปรตีน ที่ร่างกายเราสามารถย่อยและดูดซึมได้ กากใยอาหารจึงผ่านลำไส้กลายเป็นอุจจาระ(ดร.นพ. ประสงค์ เทียนบุญ, 2555)
ดังนั้นถั่วลิสงจึงกลายมาเป็นส่วนผสมหลักในขนมขบเคี้ยวหลากชนิดที่ผู้คนทุกเพศทุกวัยชอบทานมาช้านาน และขนมถั่วตัด ยังนำไปใช้ในงานหมั้น พิธีแต่งงานจีน พิธีแต่งงานไทย เทศกาลตรุษจีน สารทจีน เป็นขนมมงคลที่มีมาแต่โบราณ ความหมายดี หวาน เจริญงอกงาม
(www.ang-kee.com สืบค้นวันที่ 30 ต.ค. พ.ศ. 2560)
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเมืองเพีย เป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรเมืองเพียในเรื่องของการปลูกถั่วลิสง ในปี พ.ศ.2540 เกษตรกรในหมู่บ้านปลูกถั่วลิสงเป็นจำนวนมากเวลานำมาขายทำให้ได้ราคาต่ำ ดังนั้นกลุ่มแม่บ้านจึงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มและได้นำถั่วลิสงมาคั่วด้วยทรายและนำออกมาจัดจำหน่ายตามหมู่บ้านและส่งตลาด ทำให้มีราคาที่ดีขึ้นหลังจากนั้นจึงมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ คือ ถั่วตัด และได้มีการพัฒนาการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าของถั่วลิสง กลุ่มแม่บ้านได้ทำถั่วตัดออกจำหน่าย ลักษณะของถั่วตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีรสชาติหวาน บรรจุใส่ห่อถุงพลาสติกใส ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 15 คน แม่หนูจันทร์ สมศิลา เป็นประธานกลุ่ม โดยมีเทศบาลตำบลเมืองเพีย และเกษตรชุมชน เป็นผู้สนับสนุนเงินและสถานที่จำหน่าย

กลุ่มแม่บ้านได้เลือกผลิตภัณฑ์ ถั่วตัด เพราะถั่วตัดมีรสชาติเดียวคือรสชาติหวาน มีลักษณะเดียวคือเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า บรรจุภัณฑ์ที่ใส่เป็นห่อพลาสติกใสธรรมดา จึงไม่เป็นที่ดึงดูดใจของผู้บริโภค ดังนั้นกลุ่มผู้จัดทำจึงได้พัฒนารสชาติของผลิตภัณฑ์ถั่วตัดขึ้น โดยจะเปลี่ยนจากรสชาติเดิมซึ่งมีแต่รสหวานคือเพิ่มเป็นรสหลายรส ได้แก่ รสนมสด รสช็อกโกแลต เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มความแปลกใหม่และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยผู้บริโภคจะได้มีทางเลือกทานขนมถั่วตัดหลายรสชาติ และจะมีการปรับเปลี่ยนลักษณะบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้น่าดึงดูดใจผู้บริโภคได้ยิ่งขึ้น
udonthani_ru เมื่อ 30 ต.ค. 2562 12:28 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีการพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจจำหน่ายพันธุ์ไม้ กรณีศึกษา : ร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (ปี 2560)ปัจจุบันธุรกิจพันธุ์ไม้เริ่มชะลอตัว เมื่อเทียบกับอดีต 5-10 ปี ที่ผ่านมาตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ธุรกิจพันธุ์ไม้เป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ถ้าหากธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์เติบโตขึ้นจะส่งผลต่อการเติบโตธุรกิจพันธุ์ไม้ ในขณะเดียวกันถ้าหากธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวจะส่งผลต่อธุรกิจพันธุ์ไม้ชะลอตัวเช่นเดียวกัน (โสภณ พรโชคชัย, 2553)
จากกระแสอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการป้องกันและลดปัญหาภาวะโลกร้อน ประกอบกับการสนับสนุนของภาครัฐ อาทิเช่น นโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ธุรกิจจำหน่ายพันธุ์ไม้เติบโตและมีจำนวนมาก การแข่งขันในธุรกิจจำหน่ายพันธุ์ไม้เริ่มมีการแข่งขันสูงมาก ร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้เป็นหนึ่งในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่กำลังประสบกับสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจจำหน่ายพันธุ์ไม้ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา แสดงดังภาพที่ 1.1 ร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้จึงจำเป็นต้องนำกลยุทธ์และวิธีการดำเนินงานต่างๆมาใช้ในธุรกิจของตนเพื่อให้อยู่รอดได้ต่อไป (ไฉน คงสิบ, สัมภาษณ์ 18 กันยายน 2560)
ผู้ศึกษาได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่า ลูกค้าปัจจุบันของร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้เป็นกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่รักและชื่นชอบการปลูกต้นไม้และลูกค้าสัญจรทั่วไป ผู้ประกอบการ คือ คุณไฉน คงสิบ ต้องการจะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดและยอดขายของร้านให้มากขึ้น โดยการหาตลาดกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ อันได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัย อาชีวะศึกษา โรงแรม ร้านอาหาร หน่วยงานราชการ และ
สถานที่ท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันทางร้านต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ ด้วยการบริการที่ดีเยี่ยมและสร้างความแตกต่างของร้าน ด้วยการมีการจำหน่ายพันธุ์ไม้หายากและสมุนไพรนานาชนิด เพื่อให้ร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้และมีศักยภาพในการแข่งขัน
ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงจะทำการศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการ และความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใหม่ เพื่อจะมาจัดทำเป็นแผนกลยุทธ์การตลาด ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของร้านณรงค์ทิพย์พันธุ์ไม้ต่อไป
musika เมื่อ 30 ต.ค. 2562 12:25 น.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติโครงการเพิ่มศักยภาพการค้าสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) จังหวัดสกลนครแบบครบวงจรและยั่งยืน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้า GI (ปี 2562)1. ทิศทางยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ (Local Economy) และสร้างความสมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจจากภายในสู่ภายนอก (Local to Global) อันจะส่งผลต่อการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้แก่ประเทศในระยะยาว การผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ในชุมชน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ถือเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ที่จะต้องได้รับการส่งเสริมเพื่อเชื่อมโยงตั้งแต่การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการ การใช้เทคโนโลยี และการพัฒนานวัตกรรมให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ รวมทั้ง การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ จนสามารถนำไปสู่การสร้าง ผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเพิ่มการลงทุนในประเทศ และผลักดันรายเดิมให้มีศักยภาพและสามารถขยายการค้าการลงทุนจากตลาดท้องถิ่น ไปสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลกได้ในที่สุด

2. ทิศทางยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งเน้น การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศยุทธศาสตร์จังหวัดที่สะท้อนความต้องการและศักยภาพของพื้นที่และให้อยู่บนการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม พัฒนาทักษะองค์ความรู้ของผู้ประกอบการไทย ในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ให้มีจุดเด่น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ยกระดับศักยภาพของสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ไทยให้ก้าวไกลสู่สากล เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พัฒนาฐานการผลิตใหม่ กระจายกิจกรรมเศรษฐกิจและความเจริญสู่ภูมิภาค สร้างความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งด้านการผลิตร่วมและช่องทางการตลาดร่วมกัน

3. จังหวัดสกลนคร ได้ดำเนินการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 5 ชนิดสินค้า ได้แก่ 1) ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร 2) ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี 3) หมากเม่าสกลนคร 4) น้ำหมากเม่าสกลนคร 5) เนื้อโคขุนโพนยางคำ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอัตตลักษณ์โดดเด่นที่มีชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับจังหวัดสกลนคร ปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นที่รู้จักของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแรงกระตุ้นเชิงอัตลักษณ์ของจังหวัด ให้เกิดความต้องการสินค้าและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ
Napon.ku เมื่อ 30 ต.ค. 2562 12:18 น.
มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขนโครงการค่าย Digital Media Workshop ครั้งที่ 9 (ปี 2562)จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองปิดที่อยู่ค่อนข้างห่างไกล ทำให้การติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก แต่ด้วยปัจจัยทางทรัพยากรทางธรรมชาติและมรดกวัฒนธรรมของจังหวัดที่สั่งสมมากว่าหลายร้อยปี เป็นแหล่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยือนแม่ฮ่องสอนจำนวนไม่น้อย ประกอบกับในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร การคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้โลกเราเล็กลง สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น เดินทางพบปะกันได้สะดวกรวดเร็ว ด้วยปัจจัยดังกล่าวในปี พ.ศ.2549 โครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเล่ย์จึงเริ่มดำเนินการขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย ฯลฯ ในการส่งเสริมและสนับสนุนในการเสริมสร้างทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งผลให้ครูและนักเรียนมีขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีความสนใจมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะให้สูงขึ้น นอกจากนั้นหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน วิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยการงานและอาชีพ เป็นต้น มีความตื่นตัวในการที่จะร่วมกันพัฒนาศักยภาพของบุคลากรโดยเฉพาะเยาวชนให้มีองค์ความรู้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านดิจิทัลมีเดีย และเป็นแหล่งผลิตดิจิทัลคอนเทนท์ที่เหมาะสม โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่นสามารถมีงานทำได้ตลอดทั้งปี

ทางคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้พัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมทั้งจัดโครงการอบรมให้กับบุคลากรในชุมชน เพื่อสามารถพัฒนาและดูแลเว็บไซต์ ในการประชาสัมพันธ์ชุมชนของตนเองได้เป็นอย่างดี ซึ่งในระยะต่อไปของโครงการ เป็นการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบดิจิทัลประเภทต่างๆ พร้อมทั้งจัดอบรมให้กับนักศึกษาที่ร่วมในโครงการและบุคคลในชุมชน ให้มีความรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปผลิตสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบดิจิทัล เพื่อตอบโจทย์ Flagship Project เพิ่มคุณภาพชีวิตชาวแม่ฮ่องสอนด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้ยุทธศาสตร์แม่ฮ่องสอนเที่ยวได้ทั้งปี [Theme] “MHS is where culture and nature converge. แม่ฮ่องสอน ที่ที่ธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมมาพบกัน" จะเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่า มารวบรวมเพื่อนำเสนอผ่านสื่อที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและDigital Media โดยสามารถสื่อสารประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วโลก
จากผลตอบรับของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการในครั้งที่ 8 มีนักเรียนประสงค์สมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นกว่า 80 เปอร์เซนต์ ดังนั้นเพื่อให้การสร้างคน สร้างงานและสร้างเครือข่าย ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของโครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเลย์ ได้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน การจัดกิจกรรมพัฒนาเยาวชนในโครงการฯ ครั้งที่ 9 นี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดรับกับแนวทางการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จัดกิจกรรมในโครงการค่าย Digital Media Workshop ครั้งที่ 9 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภายใต้โครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเลย์ วันที่ 10-15 มกราคม 2562 ณ พิชชาพรเฮ้าส์ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
udonthani_ru เมื่อ 30 ต.ค. 2562 12:13 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าถั่วลิสงที่ไม่ได้มาตรฐาน : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรบ้านหนองฆ้อง ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี (ปี 2560)ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและเป็นแหล่งของโปรตีนและพลังงาน ซึ่งเป็นอาหารบำรุงร่างกายที่ไม่แพงและหาง่าย จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ถั่วลิสงมีประโยชน์มากต่อสุขภาพ อีกทั้งถั่วลิสงสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านมและโรคหัวใจได้ ถั่วลิสงมีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยถั่วลิสงมีโปรตีนสูงถึง 30% ซึ่งสูงกว่าข้าวสาลีถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณค่าสูงสามารถดูดซึมได้ง่าย ถั่วลิสงยังมีกรดอะมิโนแปดชนิดที่จำเป็นต่อร่างการและยังอุดมไปด้วยไขมันไรโบฟลาวินเลซิติน กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว วิตามิน A B E K แคลเซียม เหล็กและธาตุอื่นๆ ถั่วลิสงสามารถรับประทานได้ทั้งแบบสุกและแบบดิบก็ได้ล้วนแล้วแต่มีโภชนาการสูงต่อร่างกาย ถั่วลิสงมีประโยชน์ช่วยลดคอเลสเตอรอลในน้ำมันถั่วลิสงมีกรดไลโนเลอิกอย่างสูง ซึ่งป็นสารที่สามารถช่วยสลายคอเลสเตอรอลในร่างกาย แล้วขับถ่ายออกจากร่างกายไป จะได้หลีกเลี่ยงปัญหาคอเลสเตอรอลที่สะสมในร่างกาย ถั่วลิสงยังเป็นอาหารต้านอนุมูลอิสระเพราะในถั่วลิสงมีธาตุสังกะสีสูงกว่าอาหารทั่วไป โดยสังกะสีสามารถช่วยเสริมสร้างความจำและกระตุ้นเซลล์สมองทั้งเด็กและผู้สูงอายุให้สามารถทำงานได้ปกติ ถั่วลิสงยังช่วยสร้างโปรตีนและเสริมสร้างคอลาเจนซึ่งเป็นอาหารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถั่วลิสงอุดมไปด้วยแคลเซียมสามารถช่วยป้องกันการเสื่อมของกระดูกให้กับผู้สูงอายุได้ และถั่วลิสงหรือน้ำมันถั่วลิสงเป็นแหล่งสารเรสเวอราทรอล ( reverattrol ) ซึ่งจะช่วยลดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันและลดน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจได้อีกด้วย
จากการลงพื้นที่สำรวจและสอบถามปัญหาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองฆ้อง ที่บ้านหนองฆ้อง หมู่ที่4 ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ทางกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองฆ้อง ได้ให้ข้อมูลแก่คณะผู้จัดทำว่าทางกลุ่มแม่บ้านมีปัญหาเกี่ยวกับถั่วที่ไม่ได้มาตรฐานที่เหลือจากการทำถั่วคั่วทราย คือ ถั่วที่นำมาทำถั่วคั่วทรายนั้นคือถั่วที่มีสองข้อเท่านั้น จึงทำให้เหลือถั่วที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นจำนวนมากโดยกลุ่มแม่บ้านได้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ถั่วตัด ถั่วคั่วสมุนไพร ถั่วเคลือบโอวัลติน แต่ก็ยังมีถั่วที่ไม่ได้มาตรฐานเหลือเป็นจำนวนมาก
คณะผู้จัดทำจึงได้คิดหาแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาถั่วที่ไม่ได้มาตรฐานที่ยังเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก โดยนำมาแปรรูปเป็นถั่วทอดกรอบธัญพืช สามารถช่วยลดปริมาณถั่วที่ไม่ได้มาตรฐานที่เหลืออยู่เป็นจำนวนมากและยังทำให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองฆ้องมีผลิตภัณฑ์ใหม่ไว้จำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองฆ้องเพิ่มขึ้นอีกด้วย
udonthani_ru เมื่อ 30 ต.ค. 2562 11:54 น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีการแปรรูปมะนาวสดเป็นน้ามะนาวพร้อมดื่ม : กรณีศึกษาสวนมะนาวไร่ภูตะวัน บ้านอีหลุ่ง ต้าบลเชียงยืน อ้าเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (ปี 2560)มะนาว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Lime และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Citrus AurantifoliaSwingleหรือ Citrus Aurantifolia Swing เป็นพืชที่มีต้นกาเนิดอยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประโยชน์ของมะนาวนั้นสามารถนาไปปรุงอาหารได้ โดยถูกใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มรสชาติในการปรุงอาหารชนิดต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะในการให้รสเปรี้ยว และมีกลิ่นหอมพิเศษของมะนาวเป็นตัวเพิ่มรส นอกจากนั้นแล้วยังถูกนามาใช้เป็นเครื่องดื่ม เช่น น้ามะนาวเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มชนิดต่างๆ รวมถึงถูกนามาใช้เป็นส่วนประกอบ เครื่องสาอาง ผงซักฟอก ยาสระผม น้ายาล้างจาน เป็นต้น
ปัจจุบันมะนาว จัดเป็นกลุ่มของพืชที่สาคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย ทาให้การใช้มะนาวเพื่อการบริโภคในประเทศไทยมีปริมาณหลายพันตันต่อปี ถึงแม้ว่ามะนาวสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และให้ผลตลอดปี แต่ผลผลิตของมะนาวก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาล และพบว่าประเทศไทยประสบปัญหาการขาดแคลนมะนาวในช่วงหน้าแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ซึ่งทาให้มะนาวมีราคาแพงขึ้น 5-10 เท่า และประสบปัญหามะนาวล้นตลาดในช่วงหน้าฝน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม - ประมาณกลางเดือนตุลาคม และทาให้มะนาวมีระดับราคาต่าในช่วงเวลานี้
สวนมะนาวไร่ภูตะวัน ตั้งอยู่หมู่ที่3 บ้านอีหลุ่ง ต.เชียงยืน อ.เมือง จ.อุดรธานี มีผู้ประกอบคือ อาจารย์สาราญ โยจาปา ผู้ประกอบการได้ปลูกพืชแบบผสมผสาน ได้แก่ตระไคร้ขาวพันธุ์เกษตร กล้วยน้าว้าปากช่อง เบี้ยเพกา(ลิ้นฟ้า) ไผ่ตงอินโดจีน และมะนาว มีมะนาวพันธ์แป้นวโรชา พันธ์พิจิตร1 พันธ์แป้นราไพ พันธ์ทูลเกล้าไร้เมล็ด พันธ์แป้นเจ้าพระยา และพันธ์แป้นดกพิเศษ ปัญหาของผู้ประกอบการสวนมะนาวไร่ภูตะวันที่ปลูกมะนาว มะนาวมีผลผลิตมะนาวอย่างต่อเนื่องเป็นจานวนมากและประสบปัญหามะนาวล้นตลาดในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคม ของทุกปี ทาให้ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง มะนาวที่ปลูกไว้ไม่ได้ขาย ขายได้ไม่คุ้มทุน ด้วยเหตุนี้กลุ่มผู้จัดทาและผู้ประกอบการจึงระดมความคิดกัน แล้วจึงได้แนวคิดวิธีการในการแก้ปัญหาคือ การแปรรูปจากมะนาวสดเป็นน้ามะนาวพร้อมดื่ม เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค และลดการสูญเสียมะนาวทิ้งโดยเปล่าประโยชน์
Abdulkareem เมื่อ 30 ต.ค. 2562 11:48 น.
มหาวิทยาลัยฟาฏอนีการพัฒนาเยาวชนขยะความดีสู่การพัฒนาอาชีพ (ปี 2563)จากสถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติด พื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติด จากสถิติการจับกุมคดียาเสพติดทุกข้อหาทุกตัวยาในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ปีงบประมาณ 2561 พบว่ามีการจับกุมทั้งหมด 36,796 คดี ผู้ต้องหา 39,882 คน เปรียบเทียบกับปีงบประมาณที่ผ่านมาพบว่าสถิติการจับกุมมีจำนวนคดีเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 21.68 (ปีงบประมาณ 2560 จับกุมได้ 30,241 คดี ผู้ต้องหา 34,367 ราย) 5 จังหวัดมีสถิติการจับกุมเพิ่มขึ้น ได้แก่ จ.สงขลา จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.ตรัง และ จ.ยะลา และลดลง 2 จังหวัด ได้แก่ จ.สตูล และ จ.พัทลุง โดยจังหวัดที่มี การจับกุมสูงสุดได้แก่ จ.สงขลา และต่ำสุดได้แก่ จ.พัทลุง (รายงานการตรวจราชการระดับเขตสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 หัวข้อ การบำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดเขตสุขภาพที่ 12) ซึ่งพื้นที่ชุมชนเทศบาลตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ตระหนักต่อปัญหาการระบาดยาเสพติดในชุมชนและต้องการให้แก้ไขมากที่สุดโดย การยับยั้งการระบาดของยาเสพติดในหมู่เยาวชน การลดจำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และการปัองกันเยาวชนกลุ่มเสี่ยงให้ออกห่างต่อสิ่งแวดล้อมด้านยาเสพติด ซึ่งเป็นโจทย์ที่สำคัญของชุมชน เป็นความตระหนักของสมาชิกในชุมชน แต่ยังไม่มีกระบวนการขับเคลื่อนชุมชมในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกับให้กับเยาวชนได้ จากการสังเกตุพบว่า มีกลุ่มเยาวชนกลุ่มหนึ่งภายใต้การกำกับดูแลของมัสยิดยาเมร์ ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลยี่งอ ได้มีความพยายามรวมกลุ่มเยาวชนกลุ่มเสี่ยงมาสร้างกิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าต่อตัวเยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้ตระหนักต่อคุณค่าความเป็นบุคคลในชุมชน มีความสามารถ มีพลังในตัวเยาวชน โดยมีกิจกรรมการเก็บขยะพลาสติกซึ่งเป็นเครื่องมือ หรือสื่อกลางระหว่างกลุ่มเยาวชนกลุ่มเสี่ยงกับสมาชิกในชุมชนเทศบาลตำบลยี่งอ ให้ชุมชนได้เห็นคุณค่าของเยาวชน และเยาวชนได้รู้จักคุณค่าของตนเองผ่านการเป็นจิตอาสา หรืออาสาสมัครทำความดี การเก็บขยะพลาติกเพื่อนำไปสู่โรงงานรับซื้อพลากติกนำไปรีไซเคิล เยาวชนกลุ่มนี้ได้รับกำลังใจจากชุมชนว่า “กลุ่มเยาวชนขยะความดี” แต่ปัจจัยที่สำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเยาวชนที่ได้เริ่มสร้างคุณค่าของตนเองด้วยตนเองแล้ว คือ ความยั่งยืนด้วยปัจจัยของเศรษฐกิจ ที่จะต่อยอดความดีที่ไม่สิ้นสุด ให้ขยะความดีได้เป็นพื้นที่ของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในรุ่นต่อไป ได้ใช้พื้นที่ของขยะความดี นี้ สร้างคุณค่าให้กับตนเอง
ทางมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้เห็นถึงความสำคัญต่อชุมชน เยาวชน และมัสยิด แต่ทั้งหมดนี้ยังขาดองค์ความรู้ อยู่มากต่อการแก้ปัญหากับยาเสพติด ดังนั้นมหาวิทยาลัยฟาฏอนีต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือ กลไกในการขับเคลื่อน องค์กร ชุมชน ต่อการแก้ปัญหา ด้วยความยั่งยืนในการพัฒนาตามโครงการจิตอาสาประชารัฐ
Thanyakon เมื่อ 30 ต.ค. 2562 11:21 น.
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์โครงการการพัฒนาชุมชนสู่บ้านตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง (ปี 2560)เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางปฏิบัติตน โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อพร้อมรับต่อความเสี่ยง บนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ ระมัดระวัง และคุณธรรม การใช้ความรู้อย่างถูกหลักวิชาการ ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการกระทำที่ไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความร่วมมือปรองดองกันในสังคม จะสร้างสายใยเชื่อมโยงคนในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้าด้วยกัน สร้างสรรค์พลังในทางบวก นำไปสู่ความสามัคคี การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน และการเตรียมพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
ในปัจจุบันในเขตบ้านโคกศรีทุ่ง หมู่ 7 ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีพื้นที่เกษตรกรรมเป็นจำนวนมาก แต่เกษตรยังไม่ทราบถึงการทำการที่ถูกต้องและปลอดภัย จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนภายในเขตพื้นที่ได้ตระหนัก และเกิดการเรียนรู้ในการพึ่งพาตนเอง มีการดำเนินชีวิตให้อยู่อย่างพอประมาณตน เดินทางสายกลาง มีความพอดีและพอเพียงกับตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกต่าง ๆ โดยใช้ปัจจัยด้านพื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่ประชาชนโดยทั่วไปใช้ในการบริโภค มีส่งเสริ