สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง

โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน
หน่วยงานหลัก คณะสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
หน่วยงานร่วม โรงเรียนและชุมชนบางบัว
ชื่อชุมชน ชุมชนบางบัว
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.เกรียงไกร สัจจะหฤทัย
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สำนักงานรองอธิการบดี (ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์) ชั้น 1 อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เลขที่ 2410/2 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ นพดล พิมสาร สาขาวิชาสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
อาจารย์ ณัชนรี นุชนิยม สาขาวิชาสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
และ คณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยการบินและคมนาคม
การติดต่อ 0-2579-1111 ต่อ 1356
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กรุงเทพมหานคร จตุจักร ลาดยาว พื้นที่เฉพาะ:ชุมชนแออัด place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
โรงเรียนบางบัว (เพ่งตั้งตรงจิตรวิทยาคาร) ตั้งอยู่บนพื้นที่ทั้งหมด 5 ไร่ 3 งาน 25.7 ตารางวา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
โรงเรียนบางบัวเป็นโรงเรียนขยายโอกาส ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ขวบ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 – 2 ระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โปรแกรม Mini English Program ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 และจัดโครงการการศึกษาพิเศษเรียนร่วม ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1-6
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัญหาที่พบคือความหลากหลายของผู้เรียนและส่วนใหญ่นักเรียนจะมีสมาธิสั้นทำให้ผู้สอนต้องหาวิธีการสอนใหม่ๆเพื่อให้ผู้เรียนสนใจดังนั้น มหาวิทยาลัยศรีปทุมจึงเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงในการร่วมคิดกับครูผู้สอนในการวางกระบวนการสอนรูปแบบ Project Based พร้อมทั้งนำองค์ความรู้จากคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยเข้าไปเติมเต็มองค์ความรู้และทักษะให้ครู
ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
องค์ความรู้และทักษะด้านการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
การสอนแบบบูรณาการข้ามศาสตร์
องค์ความรู้ด้าน STEM ศึกษา

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ประยุกต์ใช้กระบวนการ STEAM 4 INNOVATOR มาใช้เป็นแนวคิดในการดำเนินโครงการ ซึ่งสามารถอธิบายเป็นกระบวนการขั้นตอนได้ ดังนี้
5.1.1 กระบวนการ STEAM + Insight มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ลงพื้นที่เพื่อพูดคุย สังเกต และประชุมหารือกับผู้บริหารและคุณครูในทุกระดับชั้น เพื่อค้นหาความต้องการจากภายใน และระดมสมองเพื่อสร้างสรรค์แนวทางหรือชิ้นงานใหม่ผ่านการพูดคุยหารือ จนได้ข้อสรุปว่าในปีนี้สภาพปัญหาด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนมีความน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก นักเรียนมีคลังคำศัพท์น้อย ตลอดจนรูปแบบการเรียนการสอนไม่สามารถดึงดูดความสนใจให้นักเรียนสนใจเรียนภาษาอังกฤษได้ ทำให้ทุกคนมีความสนใจที่จะพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษขึ้นใหม่ โดยมุ่งเป้าหมายไปที่การใช้เทคโนโลยี AR (Augmented Reality)
5.1.2 กระบวนการ Wow Idea เมื่อได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการแล้ว ในขั้นตอนนี้จะเป็นการพัฒนาต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของนวัตกรรมใหม่ที่ทั้งมหาวิทยาลัยและโรงเรียนจะพัฒนาร่วมกัน ซึ่งจากการพิจารณาแล้ว ที่ประชุมเห็นชอบว่าการใช้เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ในการผลิตนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาต่อยอด เพิ่มเติมเทคนิคลูกเล่นได้ในอนาคต และมีต้นทุนในการผลิตที่ไม่สูงมาก คุณครูสามารถเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดได้ด้วยตนเอง ทำให้นวัตกรรมดังกล่าวสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานมากขึ้น
5.1.3 กระบวนการ BIZ ANALYSIS / BIZ MATCHING / PROTOTYPING มหาวิทยาลัยศรีปทุมนำโดยคณะสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้พัฒนาต้นแบบของนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ขึ้น โดยอาศัยข้อมูลเนื้อหาจากคุณครูโรงเรียนบางบัวฯ พร้อมทั้งวางแผนการผลิต การนำไปใช้งาน และการประเมินผลการใช้นวัตกรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลในการพัฒนาผลงานต่อไป
5.1.4 กระบวนการ PRODUCTION & DIFFUSION เป็นขั้นตอนของการผลิตผลงานและนำไปปฏิบัติใช้ในการเรียนการสอนจริง โดยมหาวิทยาลัยได้สนับสนุนงบประมาณ เทคโนโลยี และทรัพยากรร่วมกับโรงเรียนเพื่อให้เกิดผลการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรรม
5.1.5 กระบวนการ Summarizing สรุปผลการดำเนินงาน คณะกรรมการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้เฝ้าสังเกตการณ์ร่วมกับคุณครูอย่างต่อเนื่อง เพื่อเก็บข้อมูลผลจากการใช้นวัตกรรมดังกล่าวในการเรียนการสอนจริง นอกจากนี้ยังมีการวัดและประเมินผลโดยการใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งผลการประเมินดังกล่าวพบว่านักเรียนมีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และจากการสังเกตการเรียนการสอน พบว่านักเรียนมีความสนใจต่อนวัตกรรมใหม่เป็นอย่างมาก และกะตือรือล้นในการทำกิจกรรม สะท้อนให้เห็นถึงการมีความสุขในการเรียนภาษาอังกฤษ

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรับพยากรมนุษย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดเป้าหมายให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 และมุ่งพัฒนาสังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต อีกทั้งยังมีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ออกเป็นทุกช่วงอายุ เริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์เรื่อยไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ โดยในช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น จะให้ความสำคัญในการปลูกฝังความเป็นคนดี มีวินัย พัฒนาทักษะความสามารถ การเรียนรู้ที่สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน มีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาหรืออาชญากรรมต่าง ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความยืดหยุ่นทางความคิด รวมถึงทักษะด้านภาษา ศิลปะ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจ รวมถึงการวางพื้นฐานการเรียนรู้เพื่อการวางแผนชีวิตและวางแผนทางการเงินที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยและนำไปปฏิบัติได้ ตลอดจนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกับโลกการทำงาน รวมถึงทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศมีทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่นได้ภายใต้สังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม

นอกจากนี้ด้วยประโยชน์ของการใช้สื่อใหม่เพื่อการศึกษาและข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ต ประกอบกับความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี บุคลากร องค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาครูและนักเรียนโดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สอดคล้องตามแนวยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยจะมีกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสนับสนุนด้านเทคโนโลยีให้แก่ครู จากนั้นครูจึงดำเนินการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ด้วยตนเอง เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการและแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด โดยมีสถาบันเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาแนะนำอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ครูได้ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาบทเรียน ซึ่งการดำเนินการตามโครงการนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง รู้จักวิธีใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และยังสามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนได้ ประกอบกับความร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติฯ ในการอบรมด้านนวัตกรรมและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ทั้งหมดนี้ช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • พัฒนาการศึกษา
  • พัฒนาท้องถิ่น
  • สถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย kriangkrai.sa01 kriangkrai.sa01 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 13:52 น.