หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.
PSU สถาบันนโยบายสาธารณะ
menu_book เกี่ยวกับหลักสูตรและรายวิชา
find_in_page เกี่ยวกับ โครงการ folder_open หลักสูตรรุ่นที่ 1 folder_open หลักสูตรรุ่นที่ 2ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
library_books LMS language เว็บพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย (เว็บเดิม) language Links เว็บลิ้งค์ folder_open ตารางข้อมูลภาคีเครือข่าย สสส. พื้นที่ภาคใต้ folder_open ข้อมูล คนใต้สร้างสุข folder_openฐานข้อมูลภาคีเครือข่าย สสส.พื้นที่ภาคใต้ข่าวประชาสัมพันธ์
- รู้จักหลักสูตรพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ @18 เม.ย. 65 14:18 | 405 views
- ประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรผู้นำและการสร้างและบริหารเครือข่ายในงานสุขภาวะ วันที่ 6-7 กรกฎาคม 2564 ณ ห้องประชุม 1405 สนส.มอ. @6 ก.ค. 64 10:37 | 715 views
- ประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสื่อสารเพื่อส่งเสริมสังคมสุขภาวะ วันที่ 1-2 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุม 1401 และห้องประชุม zoom สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. @18 มิ.ย. 64 17:02 | 544 views
- ประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการจัดการความรู้ วันที่ 27-28 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุม 1401 และห้องประชุม zoom สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. @18 มิ.ย. 64 16:59 | 647 views
- ประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรหลักการและแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาวะ และการบริหารโครงการสุขภาวะ วันที่ 15 มีนาคม 2564 ณ ห้อง 1401 สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. @18 มิ.ย. 64 16:55 | 620 views
- ประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรหลักการและแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาวะ และการบริหารโครงการสุขภาวะ วันที่ 8 มีนาคม 2564 ณ ห้อง 1401 สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. @18 มิ.ย. 64 16:52 | 620 views
- ประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรหลักการและแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาวะ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ชุมชนบ้านหูยาน ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง @18 มิ.ย. 64 16:43 | 616 views
- ประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศและหลักสูตรหลักการและแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาวะ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ห้องประชุม 1401 (ชั้น 14) สนส.มอ. @18 มิ.ย. 64 16:09 | 608 views
- สื่อรณรงค์ ช่วยกันสู้โควิด วิธีดูแลตัวเอง และ คู่มือวัคซีนสุ้โควิด ฉบับประชาชน @7 พ.ค. 64 16:40 | 1046 views
- หลักสูตรการจัดการความรู้ วันที่ 27-28 เมษายน 2564 @26 เม.ย. 64 23:23 | 855 views
- หลักสูตรพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. PM 14-17 มิถุนายน 2563 @25 มิ.ย. 63 17:21 | 847 views
การดำเนินกิจกรรมโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2
วางแผนงานหลักสูตร : วางแผนงานหลักสูตร VDO หนังสือ VDO ทีมอาจารย์หลักสูตร > การถ่านทำ (ตัดต่อ) > แขวนเว็บ VDO แขวนเว็บ รายชื่อผู้เรียนแต่ละหลักสูตร > แขวน web โครงการปฏิบัติการ 15 โครงการ > แขวนเว็บ นำผลประเมินทุกหลักสูตรแขวนเว็บ@30 มี.ค. 65 18:53โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียนการบริหารจัดการโครงการ : ....@21 ก.พ. 65 16:10โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2
ประชุมวางแผนการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2 : ....@21 ก.พ. 65 14:11โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2
ประชุมวางแผนการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2 : ....@21 ก.พ. 65 14:10โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปบทเรียนการดำเนินงาน (การเขียนบทความวิชาการ) : ....@21 ก.พ. 65 14:08โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2
ประชุมคณะทำงานเตรียมหลักสูตรสร้างความสัมพันธ์เพื่อการบริหารเครือข่าย : ....@21 ก.พ. 65 14:07โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปบทเรียนการดำเนินงาน (เวทีสานงานเสริมพลังเครือข่ายภาคใต้) : .....@21 ก.พ. 65 14:05โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2
เวทีระหว่างกลุ่มประเด็นของผู้เข้าร่วมระยะที่ 1 และระยะที่ 2 : ...@21 ก.พ. 65 14:02
เอกสาร
วีดีโอประกอบการเรียน PM
คู่มือการใช้งานแอปพลิเคชัน Zoom
เกี่ยวกับ โครงการ
ความเป็นมาหลักการและเหตุผล
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพพ.ศ. 2544 โดยมีภารกิจหลักคือมุ่งส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชนไทยให้มีสุขภาวะที่ดีทั้ง4มิติได้แก่กายจิตปัญญาและสังคมโดยมีพันธกิจสำคัญคือการจุดประกายกระตุ้นสานและเสริมพลังบุคคลและองค์กรทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐเอกชนประชาสังคมสถาบันการศึกษาและชุมชนท้องถิ่นให้มีขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพโดยขับเคลื่อนทั้งในเชิงโครงสร้างการทำงานเชิงนโยบายและมาตรการทางสังคมรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพวิถีชีวิตของคนและสร้างสรรค์ระบบสังคมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี
สสส.ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนของประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์“สานสามพลัง”คือพลังปัญญาพลังสังคมและพลังนโยบายที่มีจุดเน้นและให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนการทำงานเชื่อมโยงระบบและกลไกขับเคลื่อนหลักพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายพร้อมทั้งหนุนเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีทุกภาคส่วนในการใช้ศักยภาพเพื่อขับเคลื่อนการสร้างสังคมสุขภาวะให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและการปฏิรูปประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนโดยมียุทธศาสตร์เฉพาะที่สำคัญยุทธศาสตร์หนึ่งคือ“การพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลและองค์กรให้เท่าทันพลวัตของปัจจัยต่างๆที่กระทบต่อสุขภาพรวมทั้งให้ภาคีมีขีดความสามารถในการทำงานเชิงรุกทั้งที่เป็นงานเฉพาะด้านและการบูรณาการเชื่อมโยงข้ามภาคส่วนข้ามประเด็นและข้ามพรมแดนในการสร้างเสริมสุขภาพในระดับภูมิภาคและระดับโลก”
ผลงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. เกิดจากการขับเคลื่อนของภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพทุกภาคส่วน โดยมีภาคีเครือข่ายเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะร่วมกับ สสส. จากผลการประเมินการดำเนินงานตามแผนหลักระยะ 3 ปี (ปี 2558-2560) พบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำเร็จในการดำเนินงานตามเป้าหมายในแผนหลักคือภาคีเครือข่ายมีศักยภาพและมีความเข้มแข็งซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะจากคณะผู้ประเมินระดับนานาชาติจากองค์กรอนามัยโลก ธนาคารโลก และ สสส.ออสเตรเลียว่าการพัฒนางานของสสส.ในทศวรรษต่อไปนอกจากให้ทุนสนับสนุน (Grant) เป็นเครื่องมือสำคัญแล้ว สสส. ต้องหันมาให้ความสนใจการเสริมสร้างศักยภาพ ให้การเสริมสร้างศักยภาพเป็นส่วนหนึ่งในทุกแผนและโครงการของ สสส. นอกจากนั้น สสส. ยังสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายรายใหม่รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อขยาย หยั่งรากฐาน และสร้างความยั่งยืนให้แก่การสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อทำหน้าที่ด้านการเสริมสร้างศักยภาพ เพื่อสนองตอบความต้องการของภาคีและเจ้าหน้าที่ของ สสส. และลงทุนเพิ่มขึ้นในการเสริมสร้างศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพ พัฒนาหน่วยการสอนสำหรับโครงการฝึกอบรมที่ดำเนินการต่อเนื่องทั้งปีให้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางใหม่ในเชิงยุทธศาสตร์และเชิงระบบสำหรับการเสริมสร้างศักยภาพ จึงเป็นที่มาในการจัดทำแผนหลัก 3 ปี (2561 - 2563) ของสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) ภายใต้แผนงานพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนให้มีส่วนร่วม จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุนพัฒนา เชื่อมประสานความสัมพันธ์ระหว่างภาคีเครือข่ายกับสำนักต่าง ๆ ของ สสส. ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของภาคีเครือข่าย ตลอดจนเพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง โดยแบ่งการทำงานเป็น 4 กลุ่มงาน ได้แก่ 1. “งานพัฒนาศักยภาพ” สนับสนุน พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบโดยการให้ความรู้ เสริมทักษะ และสมรรถนะหลักที่จำเป็นในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร สร้างความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายในการพัฒนาศักยภาพคนทำงานระยะยาว กระตุ้น จุดประกาย สร้างคนรุ่นใหม่รองรับคนทำงานเพื่อสังคม2. “งานภาคีสัมพันธ์” สานงานและเสริมพลังภาคีเครือข่ายโดยการสานงานเสริมพลังภาคีเครือข่าย พัฒนากลไกที่เอื้อให้ภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เกิดการโชว์ผลงาน แชร์ประสบการณ์ และแบ่งปันความรู้ ตลอดจนการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายให้เกิดการหนุนเสริมซึ่งกันและกันในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 4 ภูมิภาค ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้อย่างต่อเนื่อง3.“งานวิเทศสัมพันธ์” สร้างการรับรู้และการยอมรับ ยกระดับงาน สสส.และภาคีเครือข่ายในระดับสากลโดยการพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายยุทธศาสตร์ในระดับนานาชาติ การเคลื่อนไหวผลักดันนโยบายของรัฐ การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพสู่ระดับสากล และการพัฒนากลไกและระบบเพื่อสนับสนุนงานวิเทศสัมพันธ์ของ สสส. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงการรับรู้และการยอมรับในคุณค่าของ สสส. และภาคีเครือข่ายในเวทีโลก และ 4. “งานสนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูลและเทคโนโลยีสร้างเสริมสุขภาพ” สนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูล และเทคโนโลยีสร้างเสริมสุขภาวะโดยการสนับสนุนให้เกิดกลไกเชื่อมโยงระบบข้อมูลภายใน สสส. และภาคีเครือข่าย และสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ ที่สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ
แผนงานพัฒนาศักยภาพ สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.)จึงมุ่งเน้นการพัฒนากลไกกลางที่เอื้อต่อการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพภาคีสสส. จัดตั้งเป็น “สถาบันการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ” (ThaiHealth Academy)เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้สมรรถนะและความสามารถของภาคีเครือข่ายหรือนักสร้างเสริมสุขภาพ ยกระดับความเป็นมืออาชีพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จนนำไปสู่สังคมสุขภาวะ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเชื่อมต่อความรู้ขยายผลต่อยอดให้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิผลในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นองค์กรและนโยบายทั้งในภาคีเครือข่ายเองหรือข้ามภาคีเครือข่ายทำให้สามารถขับเคลื่อนงานทางสังคมและสร้างพลังเครือข่ายได้อย่างยั่งยืนโดยมีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
นอกจากนี้ ในปี 2559 สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ ได้มีการขยายงานพัฒนาศักยภาพไปสู่ระดับภูมิภาค นำร่องในพื้นที่ภาคใต้เป็นแห่งแรก โดยร่วมมือกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้“โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้”เนื่องจากการวิเคราะห์ทุนศักยภาพของพื้นที่ภาคใต้ พบว่า มีศักยภาพและความพร้อมทั้งในด้านทุนทางสังคม ทุนทรัพยากร และทุนเครือข่ายที่สามารถสร้างเครือข่ายนักสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม องค์กรสาธารณะประโยชน์ ภาคประชาสังคม ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง รวมถึงมีกลไกการทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานสถาบันวิชาการในระดับพื้นที่และการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายภายใต้โครงการศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวสต.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้กระบวนการทางวิชาการไปยกระดับความรู้จากการปฏิบัติการดีๆ ในพื้นที่ สามารถยกระดับให้เกิดการขยายผลในเชิงระบบสุขภาพ และเชิงนโยบายสาธารณะทางสุขภาพได้ อย่างไรก็ดีการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายของโครงการ ศวสต.ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรเฉพาะสำหรับภาคีเครือข่ายและกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานเชิงประเด็นและมีส่วนน้อยที่เป็นหลักสูตรเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการขับเคลื่อนงานโครงการเชิงระบบซึ่งถือว่ายังเป็นช่องว่างสำหรับการพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายสสส. ด้วยเหตุนี้สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์จึงได้สนับสนุนให้ สจรส.ม.อ.ซึ่งเป็นสถาบันจัดการงานวิจัยมีภารกิจหน้าที่ในการกำหนดทิศทางสนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยระบบสุขภาพในระดับพื้นที่ภาคใต้ทำการออกแบบพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายของสสส. โดยยึดหลักCore competency for skills set ที่ทางสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์จัดทำขึ้น
“โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2”ซึ่งการดำเนินงานระยะที่ 2 นี้ สจรส.ม.อ.ยังนำยุทธศาสตร์แผนการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายของสภส. และบทเรียนจากการจัดหลักสูตรในระยะที่ 1 มาเป็นตัวกำหนดเป้าหมายให้เป็น“Flagship Program”และวางแผน Roadmap งานพัฒนาศักยภาพในระดับพื้นที่ภาคีใต้และมีการออกแบบหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพที่ตอบสนองในส่วนสำคัญซึ่งมีกระบวนการนำหลักสูตรCore competency for skills set มาทบทวนและปรับตามบริบทของพื้นที่และจัดให้มีกระบวนการเรียนรู้/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของหลักสูตรในระหว่างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตลอดจนจัดการความรู้ที่เกิดขึ้นในปฏิบัติการจริงของพื้นที่อย่างเป็นระบบโดยใช้ "การบริหารจัดการเชิงพื้นที่หรือarea – based approach” ในการบริหารจัดการที่ลงไปทำกระบวนการในพื้นที่เป้าหมายโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชนภาครัฐภาควิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชนที่สำคัญเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนารูปแบบและกลไกการทำงานที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาโดยให้ความสำคัญเรื่อง
สสส.ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนของประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์“สานสามพลัง”คือพลังปัญญาพลังสังคมและพลังนโยบายที่มีจุดเน้นและให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนการทำงานเชื่อมโยงระบบและกลไกขับเคลื่อนหลักพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายพร้อมทั้งหนุนเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีทุกภาคส่วนในการใช้ศักยภาพเพื่อขับเคลื่อนการสร้างสังคมสุขภาวะให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและการปฏิรูปประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนโดยมียุทธศาสตร์เฉพาะที่สำคัญยุทธศาสตร์หนึ่งคือ“การพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลและองค์กรให้เท่าทันพลวัตของปัจจัยต่างๆที่กระทบต่อสุขภาพรวมทั้งให้ภาคีมีขีดความสามารถในการทำงานเชิงรุกทั้งที่เป็นงานเฉพาะด้านและการบูรณาการเชื่อมโยงข้ามภาคส่วนข้ามประเด็นและข้ามพรมแดนในการสร้างเสริมสุขภาพในระดับภูมิภาคและระดับโลก”
ผลงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. เกิดจากการขับเคลื่อนของภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพทุกภาคส่วน โดยมีภาคีเครือข่ายเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะร่วมกับ สสส. จากผลการประเมินการดำเนินงานตามแผนหลักระยะ 3 ปี (ปี 2558-2560) พบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำเร็จในการดำเนินงานตามเป้าหมายในแผนหลักคือภาคีเครือข่ายมีศักยภาพและมีความเข้มแข็งซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะจากคณะผู้ประเมินระดับนานาชาติจากองค์กรอนามัยโลก ธนาคารโลก และ สสส.ออสเตรเลียว่าการพัฒนางานของสสส.ในทศวรรษต่อไปนอกจากให้ทุนสนับสนุน (Grant) เป็นเครื่องมือสำคัญแล้ว สสส. ต้องหันมาให้ความสนใจการเสริมสร้างศักยภาพ ให้การเสริมสร้างศักยภาพเป็นส่วนหนึ่งในทุกแผนและโครงการของ สสส. นอกจากนั้น สสส. ยังสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายรายใหม่รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อขยาย หยั่งรากฐาน และสร้างความยั่งยืนให้แก่การสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อทำหน้าที่ด้านการเสริมสร้างศักยภาพ เพื่อสนองตอบความต้องการของภาคีและเจ้าหน้าที่ของ สสส. และลงทุนเพิ่มขึ้นในการเสริมสร้างศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพ พัฒนาหน่วยการสอนสำหรับโครงการฝึกอบรมที่ดำเนินการต่อเนื่องทั้งปีให้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางใหม่ในเชิงยุทธศาสตร์และเชิงระบบสำหรับการเสริมสร้างศักยภาพ จึงเป็นที่มาในการจัดทำแผนหลัก 3 ปี (2561 - 2563) ของสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) ภายใต้แผนงานพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนให้มีส่วนร่วม จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุนพัฒนา เชื่อมประสานความสัมพันธ์ระหว่างภาคีเครือข่ายกับสำนักต่าง ๆ ของ สสส. ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของภาคีเครือข่าย ตลอดจนเพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง โดยแบ่งการทำงานเป็น 4 กลุ่มงาน ได้แก่ 1. “งานพัฒนาศักยภาพ” สนับสนุน พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบโดยการให้ความรู้ เสริมทักษะ และสมรรถนะหลักที่จำเป็นในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร สร้างความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายในการพัฒนาศักยภาพคนทำงานระยะยาว กระตุ้น จุดประกาย สร้างคนรุ่นใหม่รองรับคนทำงานเพื่อสังคม2. “งานภาคีสัมพันธ์” สานงานและเสริมพลังภาคีเครือข่ายโดยการสานงานเสริมพลังภาคีเครือข่าย พัฒนากลไกที่เอื้อให้ภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เกิดการโชว์ผลงาน แชร์ประสบการณ์ และแบ่งปันความรู้ ตลอดจนการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายให้เกิดการหนุนเสริมซึ่งกันและกันในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 4 ภูมิภาค ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้อย่างต่อเนื่อง3.“งานวิเทศสัมพันธ์” สร้างการรับรู้และการยอมรับ ยกระดับงาน สสส.และภาคีเครือข่ายในระดับสากลโดยการพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายยุทธศาสตร์ในระดับนานาชาติ การเคลื่อนไหวผลักดันนโยบายของรัฐ การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพสู่ระดับสากล และการพัฒนากลไกและระบบเพื่อสนับสนุนงานวิเทศสัมพันธ์ของ สสส. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงการรับรู้และการยอมรับในคุณค่าของ สสส. และภาคีเครือข่ายในเวทีโลก และ 4. “งานสนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูลและเทคโนโลยีสร้างเสริมสุขภาพ” สนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูล และเทคโนโลยีสร้างเสริมสุขภาวะโดยการสนับสนุนให้เกิดกลไกเชื่อมโยงระบบข้อมูลภายใน สสส. และภาคีเครือข่าย และสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ ที่สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ
แผนงานพัฒนาศักยภาพ สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.)จึงมุ่งเน้นการพัฒนากลไกกลางที่เอื้อต่อการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพภาคีสสส. จัดตั้งเป็น “สถาบันการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ” (ThaiHealth Academy)เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้สมรรถนะและความสามารถของภาคีเครือข่ายหรือนักสร้างเสริมสุขภาพ ยกระดับความเป็นมืออาชีพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จนนำไปสู่สังคมสุขภาวะ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเชื่อมต่อความรู้ขยายผลต่อยอดให้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิผลในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นองค์กรและนโยบายทั้งในภาคีเครือข่ายเองหรือข้ามภาคีเครือข่ายทำให้สามารถขับเคลื่อนงานทางสังคมและสร้างพลังเครือข่ายได้อย่างยั่งยืนโดยมีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
- พัฒนาหลักสูตรตามสมรรถนะหลักที่จำเป็นในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Cor Competencies) จากองค์ความรู้ บทเรียน วิธีการทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. และภาคีเครือข่าย
- พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายตามสมรรถนะหลักที่จำเป็นในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ
- พัฒนาแนวทางสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หน่วยงาน เครือข่ายด้านการพัฒนาศักยภาพ เครือข่ายนักวิชาการ เพื่อสร้างกลไกการพัฒนาศักยภาพให้เกิดความยั่งยืน
- ขยายงานพัฒนาศักยภาพจากส่วนกลางไปสู่ภาค เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และสร้างโอกาสการเข้าถึง
- นำองค์ความรู้ที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศพัฒนาสื่อการเรียนรู้สร้างช่องทางและกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้ภาคีเครือข่ายสามารถเข้าถึงและยกระดับงานพัฒนาศักยภาพ
- หลักการและแนวคิดการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ (Health promotion theory and Methodology)
- การบริหารโครงการสุขภาวะ (Project management in Health promotion)
- การสื่อสารเพื่อส่งเสริมสังคมสุขภาวะ (Social communication in Health promotion)
- การสร้างและบริหารเครือข่าย (Network and Partnership Management)
- ผู้นำและการบริหารในงานด้านสุขภาวะ (Leadership and Management skill in Health promotion) และ ควรมีสมรรถนะเสริม (กลุ่มเลือก) จำนวน 2 สมรรถนะ คือ
- การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
- การจัดการความยั่งยืน (Sustainability Management)
นอกจากนี้ ในปี 2559 สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ ได้มีการขยายงานพัฒนาศักยภาพไปสู่ระดับภูมิภาค นำร่องในพื้นที่ภาคใต้เป็นแห่งแรก โดยร่วมมือกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้“โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้”เนื่องจากการวิเคราะห์ทุนศักยภาพของพื้นที่ภาคใต้ พบว่า มีศักยภาพและความพร้อมทั้งในด้านทุนทางสังคม ทุนทรัพยากร และทุนเครือข่ายที่สามารถสร้างเครือข่ายนักสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม องค์กรสาธารณะประโยชน์ ภาคประชาสังคม ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง รวมถึงมีกลไกการทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานสถาบันวิชาการในระดับพื้นที่และการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายภายใต้โครงการศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวสต.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้กระบวนการทางวิชาการไปยกระดับความรู้จากการปฏิบัติการดีๆ ในพื้นที่ สามารถยกระดับให้เกิดการขยายผลในเชิงระบบสุขภาพ และเชิงนโยบายสาธารณะทางสุขภาพได้ อย่างไรก็ดีการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายของโครงการ ศวสต.ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรเฉพาะสำหรับภาคีเครือข่ายและกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานเชิงประเด็นและมีส่วนน้อยที่เป็นหลักสูตรเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการขับเคลื่อนงานโครงการเชิงระบบซึ่งถือว่ายังเป็นช่องว่างสำหรับการพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายสสส. ด้วยเหตุนี้สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์จึงได้สนับสนุนให้ สจรส.ม.อ.ซึ่งเป็นสถาบันจัดการงานวิจัยมีภารกิจหน้าที่ในการกำหนดทิศทางสนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยระบบสุขภาพในระดับพื้นที่ภาคใต้ทำการออกแบบพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายของสสส. โดยยึดหลักCore competency for skills set ที่ทางสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์จัดทำขึ้น
“โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2”ซึ่งการดำเนินงานระยะที่ 2 นี้ สจรส.ม.อ.ยังนำยุทธศาสตร์แผนการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายของสภส. และบทเรียนจากการจัดหลักสูตรในระยะที่ 1 มาเป็นตัวกำหนดเป้าหมายให้เป็น“Flagship Program”และวางแผน Roadmap งานพัฒนาศักยภาพในระดับพื้นที่ภาคีใต้และมีการออกแบบหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพที่ตอบสนองในส่วนสำคัญซึ่งมีกระบวนการนำหลักสูตรCore competency for skills set มาทบทวนและปรับตามบริบทของพื้นที่และจัดให้มีกระบวนการเรียนรู้/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของหลักสูตรในระหว่างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตลอดจนจัดการความรู้ที่เกิดขึ้นในปฏิบัติการจริงของพื้นที่อย่างเป็นระบบโดยใช้ "การบริหารจัดการเชิงพื้นที่หรือarea – based approach” ในการบริหารจัดการที่ลงไปทำกระบวนการในพื้นที่เป้าหมายโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชนภาครัฐภาควิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชนที่สำคัญเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนารูปแบบและกลไกการทำงานที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาโดยให้ความสำคัญเรื่อง
- การเตรียมความพร้อมและออกแบบแผนการพัฒนาศักยภาพ
- การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลทำแผนและข้อเสนอ
- การพัฒนาหลักสูตรเครื่องมือและวิทยากรโดยถอดวิธีการทำงานของภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ
- การมีกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่
- การจัดการความรู้และขยายผลองค์ความรู้ให้สามารถนำไปใช้ในการขับเคลื่อนงาน
- การทดลองระบบการเรียนรู้แบบ online เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคีเครือข่ายที่ไม่สามารถเดินทางมาได้ในบางวัน หรือเปิดโอกาสให้ภาคีที่สนใจอยากเรียนเฉพาะหลักสูตรได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้แบบ online และสื่อการเรียนรู้ที่อยู่บนระบบ online ผู้เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพสามารถเข้ามาทบทวนเนื้อหาหรือเรียนย้อนหลังได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายและรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายของ สสส.โดยพัฒนาต่อยอดจากโครงการระยะที่ 1
- เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและยกระดับเครือข่ายให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่ภาคใต้
- สร้างระบบกลไกพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ เพื่อการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ
คณะทำงาน
บทบาทหน้าที่ | ลำดับ | ชื่อ-นามสกุล | เบอร์โทรศัพท์ | |
---|---|---|---|---|
ผู้รับผิดชอบโครงการ | 0 | ดร.เพ็ญ สุขมาก | 089-5951811 | Sphen013@yahoo.com |
ที่ปรึกษา | 1 | ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ | 089-1971917 | pongthep.s@psu.ac.th |
ผู้ร่วมโครงการ | 2 | ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร | 085-8928455 | kullatat.h@gmail.com |
ผู้ร่วมโครงการ | 3 | ดร.ซอฟียะห์ นิมะ | 081-4796937 | |
เจ้าหน้าที่ประสานงาน | 4 | น.ส.เยาวลักษณ์ ศรีสุกใส | 086-9551217 | yaosuk24@hotmail.com |
ดูแลระบบไอที | 5 | นายภวินท์ แซ่คู | 086-9663324 | |
ดูแลระบบไอที | 6 | นายภาณุมาศ นนทพันธ์ | 086-7489360 | webmaster@softganz.com |
ดูแลระบบไอที | 7 | นายสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน | 081-8182543 | sutthiphongu@gmail.com |
นักศึกษา/การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. รุ่นที่ 1
หลักสูตร
นักศึกษา/การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. รุ่นที่ 2
หลักสูตร
พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.พื้นที่ภาคใต้
รออัพเดท ข้อมูลรายละเอียดLinks - เว็บลิ้งค์
รออัพเดท ข้อมูลรายละเอียดLinks - เว็บลิ้งค์
รออัพเดท ข้อมูลรายละเอียดlms version 0.00.0 release 20.7.1. ช่วยเหลือ