โครงงานการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพทดแทนกรดฟอร์มิก : กรณีศึกษาสวนยางพารา นายสมพร เขียววารี ตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย
โครงงานการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพทดแทนกรดฟอร์มิก : กรณีศึกษาสวนยางพารา นายสมพร เขียววารี ตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย
ข้อมูลโครงการ
ชื่อโครงการ | โครงงานการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพทดแทนกรดฟอร์มิก : กรณีศึกษาสวนยางพารา นายสมพร เขียววารี ตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี |
หน่วยงานหลัก | คณะวิทยาการจัดการ |
หน่วยงานร่วม | สาขาการจัดการทั่วไป |
ชื่อชุมชน | สวนยางพารา นายสมพร เขียววารี ตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุรธานี 41000 |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | ณิชการต์ กองพล ลัดดาวัลย์ จันทะผล ปวีณา ชาปัญญา สมพร เขียววารี |
การติดต่อ | 0894221212 |
ปี พ.ศ. | 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2562 - 30 เมษายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
หนองคาย | รัตนะวาปี | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการปลูกยางพาราจำนวนมาก เกษตรกรทำการผลิตผลผลิตยางพาราในลักษณะของยางก้อนถ้วย โดยใช้กรดฟอร์มิกในการจับตัวยาง ซึ่ง ฟอร์มิกหรือเรียกว่ากรดกำมะถัน เป็นกรดแก่ มีกลิ่นเหม็น แสบจมูก เป็นกรดอนินทรีย์ที่สลายตัวช้า ยางก้อนถ้วยที่ผลิตได้จากกรดชนิดนี้ เนื้อจะแข็งกระด้าง ขาดความยืดหยุ่น ก้อนยางมี สีคล้ำ หากตั้งทิ้งไว้ผิวหน้าจะเหนียวเยิ้มจากการที่เกลือซัลเฟตดูดความชื้นจากอากาศ ไอของกรดส่งผลกระทบต่อหน้ายางเกิดสีดำคล้ำ นอกจากนี้กรดฟอร์มิกยังก่อมลพิษต่อสุขภาพผู้ใช้งาน พื้นที่สวนยางและจุดรวบรวมยาง รวมถึงปัญหาน้ำยางหกลงบนถนน เหม็นตามถนนจนสร้างความเดือดร้อนต่อผู้ใช้รถใช้ถนนและชุมชน อีกทั้งประเด็นที่น่าสนใจเมื่อราคายางพาราตกต่ำ ความต้องการจะลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และมีแนวคิดในการแปรรูปผลผลิตจากยางพาราข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ปัญหาราคายางตกต่ำ ผลผลิตล้นตลาด ไม่สามารถกำหนดราคาของผลผลิตได้ สวนยางของนายสมพร เขียววารี บ้านโนนดู่ ตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ลดลง ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และการใช้กรดเคมีในการทำยางก้อนถ้วยทำให้หน้ายางตาย อายุการผลิตน้ำสั้นลง มีอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง จากการสัมผัสผิวหนังโดยตรง ทำให้ผิวหนังมีอาการไหม้ปวดแสบปวดร้อน เกิดผดผื่นคัน หลุดลอก จากการสูดดมไอระเหยจะทำให้ระคายเคือง มีกลิ่นเหม็นฉุน ติดตามร่างกายและเสื้อผ้า รู้สึกแสบร้อน ตามจมูก ลำคอหายใจถี่ปัจจุบันรัฐบาลส่งเสริมการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาสัมพันธ์ให้หันมาใช้สารชีวภาพมากขึ้น การศึกษาเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ทดแทนกรดเคมีที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และสามารถหาวัตถุดิบที่มีภายในพื้นที่ได้ หรือสามารถนำวัตถุดิบที่เหลือใช้มาทำได้ เพื่อเป็นการรักษาหน้ายางและสุขภาพของชาวสวน รวมถึงกากใยจากการทำน้ำหมักชีวภาพยังสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ จะเป็นลดค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
สวนยางของนายสมพร เขียววารี บ้านโนนดู่ ตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย พบว่าปัญหาหลักของสวนยาง คือ คนงานและเจ้าของสวนมีอาการแพ้กรดฟอร์มิก และผลผลิตล้นตลาดข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
พัฒนาน้ำหมักชีวภาพ โดยนำวัสดุที่เหลือใช้จากผลไม้เช่นกล้วยสัปปะรด น้ำซาวข้าว เศษผักต่าง ๆ และกากน้ำตาล นำมาผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมี แก้ไขปัญหากรดฟอร์มิกก่อมลพิษต่อสุขภาพผู้ใช้งาน วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพอย่างถูกวิธี หันมาใช้สิ่งต่างๆ ในธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัว มาทดลองและประยุกต์ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. แผนการทดลองน้ำหมักชีวภาพ
รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ บึงกาฬ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร และอำนาจเจริญ มีพื้นที่ปลูกยางรวมทั้งสิ้น 2,987,907 ไร่ โดยเป็นพื้นที่อายุยางมากกว่า 6 ปี 1,016,946 ไร่ ปัจจุบันเกษตรกรร้อยละ 65 ผลิตยางก้อนถ้วยซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตยางแท่ง เนื่องจากในหลายท้องที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลิต อีกทั้งกระบวนการผลิตยางก้อนถ้วยมีขั้นตอนในการผลิตที่ง่ายกว่าการผลิตยางแผ่นดิบ รวมถึงมีต้นทุนกลางผลิตที่ต่ำ และใช้แรงงานน้อย ยางก้อนถ้วยในภาคอีสานมีคุณภาพดีที่สุดเกษตรกรส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเกษตรกรสวนยางขนาดเล็ก คือ มีพื้นที่ระหว่าง 1-25 ไร่ อีกทั้ง เป็นพื้นที่ปลูกยางใหม่ และเป็นการผลิตยางแบบใช้แรงงานครอบครัว ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องการเงินทุนสำหรับการจัดซื้อเครื่องจักรในการผลิตยางแผ่นดิบ รวมถึงการขาดทุนหมุนเวียนในการเก็บผลผลิตยางแผ่น เพื่อรอจำหน่าย ทำให้ยางก้อนถ้วย สามารถตอบโจทย์ให้เกษตรกรได้ เพราะใช้เงินลงทุนน้อยกว่า ใช้แรงงานน้อยกว่า และประหยัดเวลามากกว่า (สำนักงานตลาดกลางยางพาราหนองคาย,2562 : ออนไลน์)
อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการปลูกยางพาราจำนวนมาก เกษตรกรทำการผลิตผลผลิตยางพาราในลักษณะของยางก้อนถ้วย โดยใช้กรดฟอร์มิกในการจับตัวยาง ซึ่ง ฟอร์มิกหรือเรียกว่ากรดกำมะถัน เป็นกรดแก่ มีกลิ่นเหม็น แสบจมูก เป็นกรดอนินทรีย์ที่สลายตัวช้า ยางก้อนถ้วยที่ผลิตได้จากกรดชนิดนี้ เนื้อจะแข็งกระด้าง ขาดความยืดหยุ่น ก้อนยางมี สีคล้ำ หากตั้งทิ้งไว้ผิวหน้าจะเหนียวเยิ้มจากการที่เกลือซัลเฟตดูดความชื้นจากอากาศ ไอของกรดส่งผลกระทบต่อหน้ายางเกิดสีดำคล้ำ นอกจากนี้กรดฟอร์มิกยังก่อมลพิษต่อสุขภาพผู้ใช้งาน พื้นที่สวนยางและจุดรวบรวมยาง รวมถึงปัญหาน้ำยางหกลงบนถนน เหม็นตามถนนจนสร้างความเดือดร้อนต่อผู้ใช้รถใช้ถนนและชุมชน อีกทั้งประเด็นที่น่าสนใจเมื่อราคายางพาราตกต่ำ ความต้องการจะลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และมีแนวคิดในการแปรรูปผลผลิตจากยางพารา
จากการที่ปัญหาราคายางตกต่ำ ผลผลิตล้นตลาด ไม่สามารถกำหนดราคาของผลผลิตได้ สวนยางของนายสมพร เขียววารี บ้านโนนดู่ ตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ได้รับผลกระทบทำให้รายได้ลดลง ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และการใช้กรดเคมีในการทำยางก้อนถ้วยทำให้หน้ายางตาย อายุการผลิตน้ำสั้นลง มีอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง จากการสัมผัสผิวหนังโดยตรง ทำให้ผิวหนังมีอาการไหม้ปวดแสบปวดร้อน เกิดผดผื่นคัน หลุดลอก จากการสูดดมไอระเหยจะทำให้ระคายเคือง มีกลิ่นเหม็นฉุน ติดตามร่างกายและเสื้อผ้า รู้สึกแสบร้อน ตามจมูก ลำคอหายใจถี่
ปัจจุบันรัฐบาลส่งเสริมการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชาสัมพันธ์ให้หันมาใช้สารชีวภาพมากขึ้น การศึกษาเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ทดแทนกรดเคมีที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และสามารถหาวัตถุดิบที่มีภายในพื้นที่ได้ หรือสามารถนำวัตถุดิบที่เหลือใช้มาทำได้ เพื่อเป็นการรักษาหน้ายางและสุขภาพของชาวสวน รวมถึงกากใยจากการทำน้ำหมักชีวภาพยังสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ จะเป็นลดค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง
จากการที่ผู้ศึกษาลงพื้นที่ สวนยางของนายสมพร เขียววารี บ้านโนนดู่ ตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย พบว่าปัญหาหลักของสวนยาง คือ คนงานและเจ้าของสวนมีอาการแพ้กรดฟอร์มิก และผลผลิตล้นตลาด จึงสนใจที่จะพัฒนาน้ำหมักชีวภาพ โดยนำวัสดุที่เหลือใช้จากผลไม้เช่นกล้วยสัปปะรด น้ำซาวข้าว เศษผักต่าง ๆ และกากน้ำตาล นำมาผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมี แก้ไขปัญหากรดฟอร์มิกก่อมลพิษต่อสุขภาพผู้ใช้งาน วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพอย่างถูกวิธี หันมาใช้สิ่งต่างๆ ในธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัว มาทดลองและประยุกต์ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- กรดฟอร์มิก
- น้ำหมักชีวภาพ
ประเมินคุณค่าโครงการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น | ผลที่เกิดขึ้น | ||
---|---|---|---|
1 | เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน | find_in_page | |
2 | เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ | ||
3 | การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) | ||
4 | การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ | ||
5 | เกิดกระบวนการชุมชน | ||
6 | มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ |
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ