โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (พื้นที่จังหวัดสุรินทร์) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ข้อมูลโครงการ
ชื่อโครงการ | โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (พื้นที่จังหวัดสุรินทร์) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา |
หน่วยงานหลัก | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา |
หน่วยงานร่วม | ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน |
ชื่อชุมชน | |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | ผศ.ดุษฎี เทียมเทศ บุญมาสูงทรง |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | |
การติดต่อ | 0815476552 |
ปี พ.ศ. | 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดสุรินทร์ ด้านอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องหรือต่อยอดเป็นซับพลายเชนและอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ประกอบการและบุคลากรในภาคธุรกิจ SMEs ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปข้อมูลประเด็นปัญหา
การลดระยะเวลาและต้นทุนการผลิต ลดภาระการพึ่งพิงกำลังแรงงาน ขณะเดียวกันสามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้นข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจ กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การลดความ สูญเปล่า การลดต้นทุน ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการและบุคลากรในสถานประกอบการ SMEs ให้มีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล
โดยมีจำนวน SMEs จำนวนกว่า 3 ล้านราย มีการจ้างงานในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ถึง 10.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 80.4 ของการจ้างงานทั้งหมด ปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบไม่ว่าจะเป็น การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานภายใต้ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันย่อมส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ SMEs ผนวกกับความ ผันผวนจากทิศทางของค่าเงิน การปรับเพิ่มสูงขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ การขยับขึ้นของราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาคอุตสาหกรรมโดยมีแรงจูงใจจากผลต่างค่าจ้าง และสวัสดิการที่แรงงานได้รับ ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปซึ่งมีสัดส่วน 85,000 ราย ในปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง
วิธีหนึ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริหารธุรกิจ โดยการลดระยะเวลาและต้นทุนการผลิต ลดภาระการพึ่งพิงกำลังแรงงาน ขณะเดียวกันสามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้นตาม ซึ่งเป็นการมองภาพรวมของระบบการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการผลิตสินค้า กระบวนการขนส่งและกระจายสินค้า รวมถึงการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มทักษะฝีมือทรัพยากรแรงงานให้สอดคล้องและเหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ซึ่งผู้ประกอบการอาจคิดหาวิธีตัดลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนลง เช่น การปรับเปลี่ยนสถานที่วางเครื่องจักร เพื่อลดเวลาการประกอบ และขนถ่ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เป็นต้น
แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้มีศักยภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถดำเนินการได้หลายวิธีการ ได้แก่ ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด โดยการนำเทคโนโลยีหรือระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในการผลิต หรือใช้เทคนิค Productivity Improvement Tools (เครื่องมือการปรับปรุงการเพิ่มผลิตภาพเชิงบูรณาการ) เช่น Lean-Kaizen เพื่อลดต้นทุนจากความสูญเปล่า TPM – Total Productive Maintenance เพื่อลดความสูญเสียที่เครื่องจักร TQM – Problem Solving Techniques เพื่อลดความสูญเสียจากของเสียในกระบวนการผลิต เป็นต้น นอกจากนี้ ในการบริหารจัดการธุรกิจสามารถนำระบบอัตโนมัติและระบบดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินการ เพื่อเตรียมความพร้อมองค์กรเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0
จากเหตุผลดังกล่าว สถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เพื่อช่วยให้ SMEs มีการบริหารจัดการธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น และสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องต่อไป
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
ประเมินคุณค่าโครงการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น | ผลที่เกิดขึ้น | ||
---|---|---|---|
1 | เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน | ||
2 | เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ | ||
3 | การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) | ||
4 | การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ | ||
5 | เกิดกระบวนการชุมชน | ||
6 | มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ |
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
