สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการโรงเพาะเห็ดเพื่ออาหารกลางวัน ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

โครงการโรงเพาะเห็ดเพื่ออาหารกลางวัน ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการโรงเพาะเห็ดเพื่ออาหารกลางวัน ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน โรงเรียนบ้านจบก ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาววันทนา ศุขมณี
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สุรินทร์ จอมพระ บ้านผือ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
นักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียนบ้านจบกมีฐานะทางครอบครัวยากจน การดูแลด้านสุขภาพจึงเป็นปัญหาอย่างยิ่ง เนื่องจากขาดแคลนอาหารกลางวันทำให้ร่างกายและสติปัญญาไม่เจริญเติบโตตามวัยและวุฒิภาวะ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การผลิตเห็ดในถุงพลาสติกและระบบสเปรย์น้ำในโรงเรือนเพาะเห็ด

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

โรงเรียนบ้านจบก ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านจบก ตำบลบ้านผือ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32180 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 50 คน มีข้าราชการครู 6 คน นักการภารโรง 1 คน มีครูอัตราจ้าง 3 คน รวมบุคลากรในโรงเรียน 10 คน เดิมเรียนร่วมกับโรงเรียนบ้านผือ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2486 ได้แยกออกมาตั้งอยู่ทางทิศเหนือหนองน้ำบ้านจบก บนเนื้อที่ 19 ไร่ โดยชาวบ้านช่วยกันบริจาคทุนทรัพย์สร้างอาคารชั่วคราว ปัจจุบันมีอาคารเรียนถาวร 1 หลัง จำนวน 8 ห้องเรียน มีนักเรียนในเขตบริการ 2 หมู่บ้าน คือ บ้านจบก และบ้านหนองเหล็ก โดยมีนายธีทัต พุฒิธีรวงศ์ เป็นผู้บริหารคนปัจจุบัน ผู้ปกครองของนักเรียนส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้ไม่พอรายจ่าย นักเรียนในโรงเรียนมีอัตราการเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์เนื่องจากรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ทำให้เด็กขาดสารอาหาร ซึ่งเด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของชาติ ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม ให้มีคุณภาพอันพึงประสงค์ตามวัยและวุฒิภาวะ เป็นกำลังในการพัฒนาท้องถิ่นของตนและชาติบ้านเมืองให้เจริญต่อไป แต่การที่เด็กจะมีคุณภาพอันพึงประสงค์ได้นั้นสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนา อาหารกลางวันจึงมีความสำคัญต่อนักเรียนเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และมีผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียนบ้านจบกมีฐานะทางครอบครัวยากจน การดูแลด้านสุขภาพจึงเป็นปัญหาอย่างยิ่ง เนื่องจากขาดแคลนอาหารกลางวันทำให้ร่างกายและสติปัญญาไม่เจริญเติบโตตามวัยและวุฒิภาวะ
โรงเรียนบ้านจบก ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการอาหารกลางวัน ในโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และสนองตอบนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการอาหารกลางวันนักเรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการ อันจะช่วยให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไป ซึ่งทางโรงเรียนได้หาทางแก้ไขโดยพานักเรียนปลูกพืชผักมากมายตามฤดูกาลไม่ว่าจะเป็นผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า หรือแม้แต่แตงกวา เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า ก็ปลูกเช่นกัน ดังแสดงในภาพที่ 1 แต่ก็มีปัญหาตามมาคือเรื่องของการใช้น้ำในการรดผัก
ผักหลายๆประเภทที่กล่าวมาไม่มีปัญหาเรื่องของการใช้น้ำเนื่องจากนักเรียนสามารถสูบน้ำจากบ่อบาดาลและตักน้ำจากสระน้ำข้างโรงเพาะเห็ดมาใช้งานได้ แต่มีผักชนิดหนี่งที่มีปัญหาเรื่องของการใช้น้ำฉีดหรือสเปรย์ นั่นก็คือ เห็ดนางรม และเห็ดนางฟ้า ซึ่งต้องการละอองน้ำความชื้นตลอดเวลาเพื่อการเจริญเติบโตและไม่เน่าเสีย ซึ่งกระบวนการรดน้ำของนักเรียนยังใช้วิธีตักน้ำใส่บัวรดน้ำไปรดทำให้เกิดการสูญเสียของดอกเห็ดและไม่มีความต่อเนื่องในการดูแลเนื่องจากปัญหาเรื่องน้ำ ทั้งที่เห็ดเป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับการทำโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน ประกอบกับโรงเห็ดของโรงเรียนไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการปลูกเห็ดแต่เป็นการออกแบบมาเพื่อเก็บของพัสดุที่เสียหายแต่เมื่อมีครูเกษตรจากราชมงคลสุรินทร์เข้าไปทำหน้าที่เป็นครูอัตราจ้างจึงได้บริหารจัดการจากห้องเก็บของถูกจัดให้เป็นโรงเรือนเพาะเห็ดได้ตามศักยภาพที่มีในพื้นที่ดังแสดงในภาพที่ 2 โรงเพาะเห็ดโรงเรียนบ้านจบก
การเพาะเห็ดถือว่าเป็นอาชีพที่สำคัญต่อเศรษฐกิจอาชีพหนึ่ง สามารถใช้วัสดุที่เหลือจากการเกษตร เช่นฟางข้าว ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย เปลือกมันสำปะหลัง ทะลายปาล์ม ชี้เลื่อย เปลือกถั่วเขียว หรือแม้กระทั่งวัสดุที่มีตามธรรมชาติ เช่นหญ้าชนิดต่างๆ สามารถใช้เป็นวัสดุเพาะให้เหมาะสมกับท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนและทำให้ผลตอบแทนสูงขึ้นได้ เห็ดเป็นพืชผักที่สามารถนำไปประกอบเป็นอาหารได้หลากหลายแบบ คนทั่วไปนิยมบริโภค ราคาไม่แพงนัก มีคุณค่าทางอาหาร และส่วนใหญ่นิยมบริโภคเห็ดสด การผลิตเห็ดโดยเฉพาะเห็ดที่สามารถเพาะได้ในถุงพลาสติก เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม ในท้องถิ่นมักทำกันในโรงเรือนแบบชั่วคราว คือโรงเรือนมีอายุการใช้งานประมาณ 2-3 ปี ถ้ามีการเพาะเลี้ยงกันต่อไปก็จำเป็นต้องมีการสร้างโรงเรือนใหม่ ทำให้ต้นทุนในการผลิตเห็ดเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีการสร้างโรงเรือนเพาะเลี้ยงเห็ดแบบถาวร มีอายุการใช้งานหลายปี ก็ต้องใช้ต้นทุนที่สูงและมักประสบกับโรงเรือนเพาะมีการสะสมโรคและแมลงชนิดต่างๆ ที่เป็นปัญหาในการผลิต การสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดขนาดเล็ก สามารถถอดประกอบได้ สามารถเคลื่อนย้ายไปวางยังตำแหน่งใหม่ได้ อาจสามารถช่วยลดปัญหาเรื่องการสะสมโรคและแมลงที่เป็นศัตรูเห็ดลงได้ และถ้ามีการว่างเว้นจากการเพาะเลี้ยงเห็ดชั่วคราวก็สามารถถอดเก็บไว้สร้างใหม่ได้ โดยไม่ทำให้เสียพื้นที่ในการใช้งาน ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะมากกับเกษตรกรหรือกลุ่มคนที่ต้องการผลิตเห็ดไว้สำหรับรับประทานเองในครอบครัวและหากผลิตภัณฑ์เหลือจากการรับประทานในครัวเรือนก็สามารถนำมาจำหน่ายให้กับเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรด้วยกันได้ ซึ่งสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับเกษตรเพิ่มขึ้นอีก เห็ดเป็นอาหารประเภทผักที่คนนิยมนำมารับประทานกันทั่วไป ทั้งในรูปเห็ดสด และเห็ดที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหาร เช่น เห็ดแห้ง เห็ดกระป๋อง หรือเห็ดที่เป็นอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ โดยเฉพาะโปรตีนในดอกเห็ดสดมีถึงร้อยละ 3 – 6 ซึ่งสูงกว่าผักทั่วไป เป็นอาหารที่มีความปลอดภัยจากสารเคมีและยังเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมังสะวิรัต นอกจากนี้ยังมีเห็ดอีกหลายชนิดมีคุณสมบัติทางยาหรือสมุนไพร ใช้ป้องกันและรักษาโรคบางอย่างได้ ผู้ที่รับประทานเห็ดเป็นประจำจะทำให้กรดไขมันในเส้นเลือดไม่สูงหรือต่ำเกินไป เหมาะหำหรับผู้ที่มีไขมันในเส้นเลือดสูง เช่นโรคหัวใจ และโรคความดัน
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อช่วยส่งเสริมโครงการเกษตรอาหารกลางวันให้กับโรงเรียนบ้านจบก และสนับสนุนจิตวิญญาณของความเป็นครูของศิษย์เก่าสาขาพืชศาสตร์ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียนดังกล่าวให้บรรลุตามความตั้งใจของครู ข้าพเจ้าอาจารย์วันทนา ศุขมณี สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า ร่วมกับอาจารย์ศิริชัย เสาะรส สาขาเครื่องจักรกลเกษตร อาจารย์ประทีป ตุ้มทอง สาขาวิศวกรรมเครื่องกล และนางยุพา บุตรดาพงษ์ สาขาพืชศาสตร์ จึงร่วมกันเขียนโครงการ “โรงเพาะเห็ดเพื่ออาหารกลางวัน” นี้ขึ้นโดยเป็นการบูรณาการร่วมกันทั้ง 4 สาขา และเป็นการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนในรายวิชาระบบควบคุมอัตโนมัติ ของสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า รายวิชาระบบชลประทานแบบฉีดฝอย ของสาขาเครื่องจักรกลเกษตร รายวิชาการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของสาขาวิศวกรรมเครื่องกล และการผลิตเห็ด ของสาขาพืชศาสตร์ และบูรณาการร่วมกับงานวิจัยและปริญญานิพนธ์ของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีเครื่องกลเรื่อง โรงเพาะเห็ดควบคุมอณหภูมิอัตโนมัติแบบถอดประกอบได้ โดยคาดหวังว่าจะสามารถช่วยเหลือแก้ปัญหาของโรงเรียนได้ ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ได้รับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษ และได้เรียนรู้ระบบสเปรย์น้ำในโรงเรือนเพาะเห็ด อันเป็นผลให้เกิดการจุดประกายให้กับน้องๆ นักเรียนและอนุชนรุ่นหลังได้สนใจและหันมาใฝ่เรียนระบบฟาร์มอัจฉริยะมากขึ้น และสำคัญที่สุดเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ให้ขยายวงกว้างมากขึ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการเกษตร ยิ่งไปกว่านั้นจะส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะศิลปะ หัตถกรรมของเขตพื้นที่การศึกษาอีกด้วยเพื่อเป็นการกระจายองค์ความรู้ให้กับโรงเรียนข้างเคียง ดังนั้นโครงการนี้จึงมีแนวคิดที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดแบบถอดประกอบได้และการสเปรย์น้ำด้วยระบบอัตโนมัติและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ดเพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผลิตภัณฑ์จากเห็ดที่หลากหลายไม่จำเจและหากเหลือจากการรับประทานในโรงเรียนก็สามารถจำหน่ายให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองได้ด้วยถือเป็นโอกาสให้นักเรียนได้รู้จักการจัดจำหน่ายสินค้ารู้จักการออมตั้งแต่ยังเด็กเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับอนาคตของชาติต่อไป แต่อย่างไรก็ตามการศึกษา การแก้ปัญหาคือการเรียนรู้ ทั้งนี้ต้องอาศัยขบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองบนพื้นฐานของวิชาการ ตลอดจนประสบการณ์ที่สั่งสมอย่างต่อเนื่อง จะทำให้น้องๆ นักเรียนมีความชำนาญ สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง สามารถดำเนินโครงการไปอย่างต่อเนื่อง ขยายวงกว้างไปยังโรงเรียนข้างเคียง เพิ่มกำลังการผลิต ให้เพียงพอกับความต้องการ และสร้างความมั่นใจให้กับตนเองและผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • โรงเรือนเพาะเห็ดแบบถอดประกอบ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย monteearu monteearu เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 17:22 น.