สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการการผลิตสบู่เกลือมะตูมที่มีคุณสมบัติในด้านผิวกระจ่างใสในการเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์สู่การขอมาตรฐานเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลกุดเรือคำ จังหวัดสกลนคร ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

โครงการการผลิตสบู่เกลือมะตูมที่มีคุณสมบัติในด้านผิวกระจ่างใสในการเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์สู่การขอมาตรฐานเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลกุดเรือคำ จังหวัดสกลนคร ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการการผลิตสบู่เกลือมะตูมที่มีคุณสมบัติในด้านผิวกระจ่างใสในการเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์สู่การขอมาตรฐานเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลกุดเรือคำ จังหวัดสกลนคร ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน กุดเรือคำ
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.มิ่งกมล หงษาวงศ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0941659629
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สกลนคร วานรนิวาส กุดเรือคำ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
บ้านกุดเรือคำ ตำบลกุดเรือคำ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร มีการผลิตเกลือสินเธาว์ โดยการต้ม มี 2 ชนิด คือ เกลือสินเธาว์สีขาว และ เกลือสินเธาว์สีแดง จากคุณสมบัติเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์พิเศษของการผลิตเกลือสินเธาว์บ้านกุดเรือคำ เกลือสินเธาว์สีแดงจะถูกผลิตขึ้นตามการสั่งผลิตนั้นเนื่องจากต้องใช้วัตถุดิบอื่นเป็นส่วนผสมนอกเหนือจากการต้มเกลือตามปกติ มะตูมเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญของเกลือสีแดง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ชุมชนมีศักยภาพหลายด้าน โดยเฉพาะเกลือสินเธาว์ ในหลักทฤษฎี ทางการแพทย์แผนไทย เกลือสินเธาว์จัดอยู่ในประเภทธาตุวัตถุ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายในการเป็นส่วนประกอบของตำรับยาสมุนไพรเกลือสินเธาว์บ้านกดุเรือคำ ที่ผลิตมี 2 แบบ คือ เกลือจากการต้มและเกลือจากการตากประกอบกับศักยภาพในชุมชุนยังไม่ได้รับการสนับสนุนให้มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ที่หลากหลาย
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ชุมชนยังต้องการให้พัฒนาการประกอบอาชีพโดยให้มีผลิตภัณฑ์ของชุมชนและมีช่องทางในการจำหน่าย ทั้งยังต้องการลดรายจ่ายในครัวเรือนโดยการผลิตผลิตภัณฑ์อุปโภค

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

เกลือสินเธาว์ ในหลักทฤษฎี ทางการแพทย์แผนไทย เกลือสินเธาว์จัดอยู่ในประเภทธาตุวัตถุ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายในการเป็นส่วนประกอบของตำรับยาสมุนไพร

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยุทธศาสตร์ฉบับที่ 12 และกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาผู้ฝึกอบรมได้ศึกษาบริบทชุมชน ตำบลกุดเรือคำ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จากโครงการพัฒนาหมู่บ้านกุดเรือคำ แบบมีส่วนร่วมภายใต้ศักยภาพของชุมชนอย่างยั่งยืน ประจำปี 2561 ภายใต้โครงการหมู่บ้านราชมงคล อีสาน ผลการศึกษาบริบทชุมชน พบว่าชุมชนมีศักยภาพหลายด้าน โดยเฉพาะเกลือสินเธาว์ ในหลักทฤษฎี ทางการแพทย์แผนไทย เกลือสินเธาว์จัดอยู่ในประเภทธาตุวัตถุ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายในการเป็นส่วนประกอบของตำรับยาสมุนไพรเกลือสินเธาว์บ้านกดุเรือคำ ที่ผลิตมี 2 แบบ คือ เกลือจากการต้มและเกลือจากการตากประกอบกับศักยภาพในชุมชุนยังไม่ได้รับการสนับสนุนให้มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ที่หลากหลาย จากผลของการจัดเวทีประชาคมในชุมชนตามกิจกรรมในโครงการ พบว่าชุมชนยังต้องการให้พัฒนาการประกอบอาชีพโดยให้มีผลิตภัณฑ์ของชุมชนและมีช่องทางในการจำหน่าย ทั้งยังต้องการลดรายจ่ายในครัวเรือนโดยการผลิตผลิตภัณฑ์อุปโภคเช่น สบู่ น้ำยาล้างจาน หรืออื่นๆ ที่จะสามารถลด รายจ่ายในครัวเรือน และสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน ทั้งนี้จาก กิจกรรมการถอดบทเรียนการผลิตเกลือเกลือสินเธาว์บ้านกุดเรือคำ ตำบลกุดเรือคำ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร พบว่า การผลิตเกลือแบบต้ม มี 2 ชนิด คือ เกลือสินเธาว์สีขาว และ เกลือสินเธาว์สีแดง จากคุณสมบัติเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์พิเศษของการผลิตเกลือสินเธาว์บ้านกุดเรือคำ เกลือสินเธาว์สีแดงจะถูกผลิตขึ้นตามการสั่งผลิตนั้นเนื่องจากต้องใช้วัตถุดิบอื่นเป็นส่วนผสมนอกเหนือจากการต้มเกลือตามปกติ
มะตูมเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญของเกลือสีแดง โดยส่วนใหญ่ผู้ผลิตใช้มะตูมจากพื้นที่ ตำบลกุดเรือคำ ซึ่งจากการสำรวจภาคสนามของตำบลกุดเรือคำ พบต้นพืชสมุนไพรคือ ต้นมะตูมในพื้นที่ บ้านกุดเรือคำ คุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ของมะตูมถูกแยกตามส่วนของต้นพืช ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช สมุนไพรมะตูม คือ Aegle marmelos (L.) Correa ผลมะตูมมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการต้านเชื้อเบคที เรีย และเชื้อรา และมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย เช่น ขยายหลอดเลือด ต้านเนื้องอก ต้านการเกาะ กลุ่มของเกล็ดเลือด องค์ประกอบทางเคมีของ ผล ใบ และเมล็ด เช่น marmin , marmelide ,tannin (ดวงเพ็ญ ปัทมดิลกและคณะ,2558.) และ
(Binu Varughese and Jagrati Tripathi, 2013.) ในประเด็น ความเชื่อมะตูมถูกใช้ในการประกอบพิธีกรรมทั้งกรรมวิธีของหมอพื้นบ้านไทยและพิธีกรรมบูชาเทพ เจ้าของอินเดีย บ้านกุดเรือคำถือเป็นหมู่บ้านที่มีตำนานความชื่อมายาวนาน คุณค่าทางวัฒนธรรมการใช้มะตูมจะเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ทางด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ประกอบกับลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นและมีประสิทธิ์ภาพของสบู่เกลือมะตูม จะเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่ามากขึ้น
การบริการวิชาการ เรื่อง การผลิตสบู่เกลือมะตูมที่มีคุณสมบัติในด้านผิวกระจ่างใสในการเพิ่มมูลค่า ในเชิงพาณิชย์สู่การขอมาตรฐานเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลกุดเรือคำ จังหวัดสกลนคร จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านวิชาการให้กลุ่มเป้าหมายสามารถบูรณาการในประกอบวิชาชีพ ทั้ง ยังส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยด้วย โดยการจัดกิจกรรมการบริการวิชาการเป็น การบูรณาการการสอนและเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการใช้องค์ความรู้การแพทย์แผนไทยบริการ วิชาการและเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมให้มีความเข้าใจและสามารถทำผลิตภัณฑ์สบู่มะตูมที่มี คุณสมบัติในด้านผิวกระจ่างใสตามหลักมาตรฐานทางวิชาการประกอบกับการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน และ สามารถต่อยอดการเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ในการขอมาตรฐานเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กุดเรือคำ
  • เกลือมะตูม
  • สบู่

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย monteearu monteearu เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 16:04 น.