สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์

โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มก.ฉกส.
หน่วยงานร่วม องค์การบริหารส่วนตำบลนาไคร้
ชื่อชุมชน ตำบลกุดหว้าอำเภอกุฉินารายณ์จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.สุภาพ กัญญาคำ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 59/5 หมู่ที่ 1 ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร 47000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ดร ประภากร แสงวิจิตร/วิศวกรรม
เครื่องกล, นายทวัตชัย อัยยะรัตน์/วิศวกรรมไฟฟ้า
การติดต่อ 0818739863
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 362,600.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ กุฉินารายณ์ กุดหว้า place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านกุดหว้า หมู่ที่ 1 จำนวน 109 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 252 คน หญิง 46 คน ชาย 97 คน, หมู่ที่ 8 จำนวน 41 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 66 คน หญิง 23 คน ชาย 43 คน, หมู่ 9 จำนวน 24 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 26 คน หญิง 3 คนชาย 23 คน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
บ้านกุดหว้าเป็นหมู่บ้านชนเผ่าภูไท ซึ่งมีแบบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตัวเอง ซึ่งบรรพบุรุษของชาวเผ่าผู้ไทยบ้านกุดหว้าได้อพยพมาจากเมืองมุก เมืองวัง ซึ่งตั้งอยู่ที่สาธารณะประชาธิปไตยประชาชนลาวคำขวัญประจำหมู่บ้าน หมู่ 9 "ชาวภูไท เลื่องลือไกลบั้งไฟตะไลล้าน องค์แสนคือเจ้าปู่ คู่หลักบ้าน เหล่าลูกหลานยึดเหนี่ยวใจ ฟ้อนเชิ้งลำภูไทผ้าแพรไหมสวยมากมี ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดหมี่สวยงามดีเสื้อเย็บมือ" หมู่ที่ 8
พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้าน 840 ไร่ แบ่งออกเป็นพื้นที่ทำนา 700 ไร่ พืชสวน 100 ไร่ พืชผัก 40 ไร่ มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ กลุ่มจักสานไม้ไผ่ กลุ่มเลี้ยงโคกระบือ กองทุนหมู่บ้านสวัสดิการชุมชน กลุ่มทอผ้า และกลุ่มจักรสานพลาสติก
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ชุมชนเป็นแหล่งผลิตสินค้า มีทรัพยากรการผลิต และแรงงานที่ไม่ต้องการย้ายถิ่นฐาน แต่ยังเป็นแบบพื้นบ้าน ขาดความเป็นระบบ ขาดความสามารถในการแข่งขัน และการทำการตลาดในระบบเศรษฐกิจใหม่
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
- ต้องการมีแหล่งอุตสาหกรรมในชุมชน
- ต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และขยายตลาดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1) การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน
2) แนวทางการการลดต้นทุนการผลิตและความสูญเสียในกระบวนการทางธุรกิจ

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้เป็นผลมาจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี การติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่งที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ประเทศต่าง ๆ มีการกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับบริบทต่าง ๆ ของโลกที่เปลี่ยนไป

ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้กำหนดกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะ 20 ปีข้างหน้า หรือกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) โดยในเบื้องต้นได้กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศไทยว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่เป็น 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สู่การปฏิบัติ โดยการมุ่งเน้นการพัฒนาที่จะเป็นการวางพื้นฐานที่สามารถสานต่อการพัฒนาในระยะต่อไป เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์กับการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก” โดยได้จัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในการเพิ่มขีดความสามารถ และศักยภาพการแข่งขันในระดับนานาชาติ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน รวมถึงการพัฒนาสังคมไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เป็นการพัฒนาจากประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง

คณะทำงานจึงต้องการได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนวิสาหกิจของประเทศ ทั้งนี้เพื่อจะทำให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในชุมชนสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการประกอบกิจการ และวางรากฐานของการขับเคลื่อนไปสู่ความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในที่สุด

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • เทคโนโลยีดิจิทัล
  • ระบบเศรษฐกิจชุมชน
  • วิสาหกิจชุมชน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย suparp kanyacome suparp kanyacome เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 15:05 น.