สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในการเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในการเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในการเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
หน่วยงานหลัก วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ม.ราชภัฏศรีสะเกษ
หน่วยงานร่วม ชุมชนบ้านดอนยานาง หมู่ 9 ต.ดอนสมบูรณ์ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
ชื่อชุมชน
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.วระเดช ภาวัตเวคิน
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากกว่าครึ่งประเทศ และในการดำรงชีวิตตั้งแต่บรรพบุรุษนั้นอาศัยการเกษตรกรรมเพื่อการดำรงชีวิตมาตลอด ดังนั้นเกษตรกรรมถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของประชากรไทย ดังเช่นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชการที่ 9 ทรงดำรัสว่า “เมืองไทยนี้ต้องพึ่งเกษตรกรเป็นสำคัญ เพราะว่าเกษตรกรเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศและต้องยึดอาชีพนี้มาและไม่ใช่เพราะเหตุนั่นเท่านั้นเอง แต่ว่าประเทศหนึ่งประเทศใดจะอยู่ได้ก็เพราะว่ามีกสิกรรม การประกอบอาชีพ ในด้านผลิตผลที่ได้จากธรรมชาติ ทั้งในด้านที่จะเป็นการปลูกข้าว ปลูกพืชไร่ ปลูกผลไม้ หรือทำมาหากินในด้านปศุสัตว์หรือประมง” ในการพัฒนาประเทศได้มีการเขียนไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับ เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศตลอดมา เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น ทั้งประชากรโลกและประชากรในประเทศไทย ย่อมส่งผลกระทบกับปัจจัยหลายอย่างในการดำรงชีวิต ประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการในการบริโภคย่อมมีมากขึ้นตามอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร จากเหตุผลที่ประชากรเพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องมีการผลิตเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังยากจน เนื่องจากเกษตรกรมีรายได้ที่ไม่แน่นอน อีกทั้งต้นทุนในการผลิต มีต้นทุนที่สูงขึ้น และประการที่สำคัญ การเกษตรของประเทศไทยส่วนมากยังอาศัยธรรมชาติเป็นปัจจัยหลักในการทำการเกษตร ทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงสูงในประประกอบอาชีพเกษตรกรรม สืบเนื่องจากการอาศัยธรรมชาติเป็นปัจจัยหลักในการทำการเกษตร เมื่อมีภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ฝนแล้ง หรือวาตภัยจะสร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะข้าว ซึ่งประเทศไทยผลิตข้าวเป็นอับดับห้าของโลก และรัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ซึ่งวิธีดังกล่าว เป็นมาตรการในการให้ความช่วยเหลือหรือเป็นการแก้ไขปัญหาเพียงชั่วคราว และเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ไม่ได้เป็นการแกไขปัญหาในระยะยาวแต่อย่างใด
ปัจจุบัน การทำการเกษตรของเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนส่วนใหญ่ในการทำการเกษตร แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังมีการนำเครื่องจักรเข้ามาทดแทนแรงงานคนบ้าง เช่น การทำนา ส่วนใหญ่จะเป็นนาหว่าน ซึ่งในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจะใช้เครื่องจักรในการเตรียมพื้นที่ มีการฉีดยาฆ่าหญ้า (ก่อนหว่านข้าว) การหว่านข้าวใช้แรงงานคน หลังหว่านฉีดยาฆ่าหญ้าอีกครั้ง หว่านปุ๋ย ไปจนถึงกระบวนการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ อาศัยแรงงานคนเป็นหลัก การเกษตรสมัยใหม่ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ รักษาสิ่งแวดล้อม และรักษาสุขภาพของเกษตรกร ดังนั้น ในการเกษตรสมัยใหม่นี้ มีการใช้เทคโนลียีและนวัตกรรมการเกษตรมาช่วยในการทำการเกษตร โดยเฉพาะอากาศยานไร้คนขับ (Drone) มาช่วยในการหว่านข้าว หว่านปุ๋ย พ่นสารชีวภาพทางการเกษตร เป็นต้น ซึ่งจะเป็นช่องทางในการเพิ่มผลผลิต รักษาสุขาภาพของเกษตรกร และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยุ่งยืนต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ผลผลิตทางการเกษตร
  • อากาศยานไร้คนขับ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย s.wongsuwan s.wongsuwan เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 15:36 น.