สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early - Stage) ปี 2562

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Early - Stage) ปี 2562
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
หน่วยงานหลัก ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
หน่วยงานร่วม สภาอุตสากกรรมแห่งประเทศไทย
ชื่อชุมชน ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มก.ฉกส.
ชื่อผู้รับผิดชอบ ทวัตชัย อัยยะรัตน์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 59 หมู1 ตใเชียงเครือ อ.เมือง จังหวัดสกลนคร ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1. สวนบุญสกุลฉิม นายบุญเต็ม ฉิมศรี
2. สานโพธิ์เกษตรอินทรีย์ผสมผสาน นาย เกียรติคุณ ทองแดง
การติดต่อ 095-8729-133
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2562 - 30 กรกฎาคม 2562
งบประมาณ 450,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ลักษณะภูมิประเทศ : สภาพพื้นที่ทั่วไปมีความลาดชัน และลูกคลื่นลอนลาดเป็นแนวต่อเนื่องไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแนวเทือกเขาภูพาน แล้วลาดไปทางทิศเหนือ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 150 – 250 เมตร ทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นแนวลาดสภาพเป็นที่ราบลุ่มติดต่อกับหนองหาร ลักษณะธรณีสันฐานและวัตถุต้นกำเนิดดิน มีทรายเป็นองค์ประกอบหลักและมีหินพื้นที่รองรับส่วนใหญ่เป็นหินดินดานและหินซิลท์สโตน ของหินชุด โคกกรวด ซึ่งก่อกำเนิดดินลูกรังต่าง ๆ พื้นที่ระหว่างเนินจะมีลำธารเล็ก ๆไหลผ่านแอ่งและส่วนลาดของเนินเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ทำนา
ลักษณะภูมิอากาศ : จากสถิติภูมิอากาศของปี พ.ศ. 2555 พบว่า ภูมิอากาศของจังหวัดสกลนครได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งนี้ฝนจะตกชุกอยู่ช่วงหนึ่งในรอบปี สลับกับช่วงแห้งแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 26.61 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ยตลอดปี เท่ากับ 72.54 เปอร์เซนต์ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย เท่ากับ 145.08 มิลลิเมตรต่อปี ค่าการระเหยของน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 125.53 มิลลิเมตรต่อปี ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน และเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่มีค่าศักยภาพของการระเหยและการคายน้ำที่มีค่าสูงกว่าปริมาณน้ำฝน ซึ่งแสดงว่าในช่วงนี้เป็นช่วงการขาดน้ำ ดังนั้น ถ้ามีการปลูกพืชในช่วงดังกล่าวจะต้องอาศัยน้ำจากการชลประทาน หรือแหล่งน้ำจากที่อื่นมาช่วยในการเพาะปลูก ส่วนในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน เป็นช่วงที่มีศักยภาพของการระเหยและการคายน้ำต่ำกว่าปริมาณน้ำฝนแสดงว่าในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีน้ำมากเกินพอ ดังนั้น ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนจึงเป็นช่วงที่เหมาะที่สุดสำหรับการเพาะปลูกพืช
สภาพทางเศรษฐกิจ

1.อาชีพของประชากร

อาชีพเกษตรกรรม ประมาณร้อยละ 89

อาชีพรับจ้าง ประมาณร้อยละ 7

อาชีพรับราชการ/ลูกจ้างของรัฐ ประมาณร้อยละ 1

อาชีพค้าขาย ประมาณร้อยละ 2

อาชีพอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 1
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1.ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

- แม่น้ำ/ลำน้ำ/ห้วย

1.1 ห้วยลาก จุดกำเนิดที่อ่างเก็บน้ำห้วยลาก ที่บ้านหนองหอย หมู่ที่ 4 ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำหนองหอยออกจากอ่างหนองหอยก็เป็นลำห้วยไหลผ่านบ้านหนองหอยใหญ่ หมู่ที่ 17 และบ้านป่าหว้าน หมู่ที่ 7 ผ่านบ้านเชียงเครือวัดใหญ่ หมู่ที่ 14 แล้วไหลลงสู่หนองหาร

1.2 ห้วยม่วง ไหลผ่านบ้านโคกสว่าง หมู่ที่ 9 ไหลผ่านบ้านหนองสนม หมู่ที่ 6 และไหลผ่านดอนเชียงบาล หมู่ที่ 3 ไหลลงสู่หนองหาร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
สรุปประเด็นปัญหาที่ดำเนินการพัฒนาศักยภาพ ด้านการบริหารจัดการระบบเกษตรผสมผสาน การจัดการพื้นที่ใช้สอย เทคโนโลยีที่เหมาะสม ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่เด่นชัดของการทำธุรกิจ
เนื่องจาก ผู้ประกอบการพึ่งเริ่มดำเนินการ ยังขาดการมองภาพรวมของธุรกิจ และรูปแบบกิจการให้เป็นฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานและครบวงจร ภายใต้การประยุกต์ใช้แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งนำเสนอสินค้าให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของลูกค้าให้หลายหลายช่วงวัยกว้างขึ้น ด้วยเงินลงทุนเริ่มแรกจำนวน 1,500,000 บาท
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
หัวข้อการพัฒนา 1 จัดทำโมเดลแผนธุรกิจ
2. การจัดการพื้นที่สัดส่วนเกษตรผสมผสานให้มีประสิทธิผลสูงสุด และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจ่ายน้ำอย่างประหยัด
-ฬจัดหาการจัดการน้ำนอกเขตชลประทานและเทคโนโลยีที่เหมาะสม

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ขั้นตอน/กระบวนการการพัฒนา จัดทำโมเดลแผนธุรกิจ
1. สัมภาษณ์ภาพรวมธุรกิจ โดยใช้ BMC CANVAS
2. สัมภาษณ์ภาพรวมธุรกิจ โดยใช้ แบบสอบถามการวินิจฉัยและพัฒนาศักยภาพธุรกิจ
3. จัดทำ BMC MODEL นำเสนอผู้ประกอบการเพื่อยืนยันและปรับปรุงแก้ไขแผน
4. นำเสนอการทำแผนที่ปรับปรุงสมบูรณ์
5. นำแผนที่ได้มาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในกิจการ. และดำเนินงานตามแผนธุรกิจที่ได้วางไว้.
ขั้นตอน/กระบวนการการพัฒนา การจัดการพื้นที่สัดส่วนเกษตรผสมผสานให้มีประสิทธิผลสูงสุด และเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจ่ายน้ำอย่างประหยัด
1. สำรวจ Landscape พื้นที่ทำการเกษตรผสมผสาน
2. สำรวจระบบการบริหารจัดการน้ำภายในสวนเกษตร
3. ทำแบบ Landscape การจัดสรรพื้นที่เกษตรผสมผสาน ให้เหมาะกับพื้นที่ ผปก
4. ออกแบบระบบการบริหารจัดการน้ำแบบประหยัดในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
5. นำแบบที่ได้มาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในกิจการ. และดำเนินงานตามแบบที่ได้วางไว้.

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

1) เพื่อหารูปแบบการใช้น้ำและเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อพื้นที่นอกและในเขตชลประทานตามหลักวิชาการ
2) เพื่อศึกษาวิจัยผลจากการใช้น้ำที่เหมาะสม และผลผลิตจากพืชที่ใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และมูลค่าต่อชุมชน
3) เพื่อสร้างและบริหารศูนย์การเรียนรู้และนำไปใช้เพื่อให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และมีการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4) นิสิตสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ รายวิชา การประยุกต์ควบคุมใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องมือวัดคุมทางไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาวิเคราะห์และประมวลผลปัญหาของชุมชน และให้ความช่วยเหลือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย tawatchaiay tawatchaiay เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 14:00 น.