สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
หน่วยงานหลัก ส่วนกิจการเพื่อสังคม
หน่วยงานร่วม คณะพยาบาลศาสตร์
ชื่อชุมชน บางอ้อ, บึงศาล, ศีรษะกระบือ
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์นิลภา จิระรัตนวรรณะ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ หมู่ที่ 7 63 ถนน รังสิต - นครนายก ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ นครนายก 26120
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์นิลภา จิระรัตนวรรณะ หัวหน้าโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีสุดา รัศมีพงศ์ กรรมการ
อาจารย์สุคนธ์ วรรธนะอมร กรรมการ
อาจารย์จารุวรรณ ไผ่ตระกูล กรรมการ
อาจารย์ขนิษฐา วิศิษฏ์เจริญ กรรมการ
กฤษณ อู่ทรัพย์ กรรมการ
จ่าเอกอภิวิชญ์ ชอบพิศพุฒิพล กรรมการ
นายศรีสวัสดิ์ นันทโกวัฒน์ กรรมการ
นางสาคร นันทโกวัฒน์ กรรมการ
นางสาวณปภัช นิ่มสง่า กรรมการ
นางนงนุช จิตตสงัด กรรมการ
นางสาวสรัลชนา นครคง กรรมการ
ว่าที่ร้อยตรีสัมภาษณ์ จันทคนธ์ กรรมการ
อาจารย์วิไลวรรณ ปะธิเก กรรมการและเลขานุการ
นางสุธาวี จินตกสิกรรม กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
การติดต่อ 026495000
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ธันวาคม 2561 - 5 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 191,935.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
นครนายก องครักษ์ บึงศาล place directions
นครนายก องครักษ์ ศีรษะกระบือ ชนบท place directions
นครนายก บ้านนา บางอ้อ ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
จากสถิติของจังหวัดนครนายกมีผู้สูงอายุจำนวน 45,118 คน คิดเป็นร้อยละ 17.46 ของประชากรในจังหวัดจำนวน 258,358 คน และจำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 28,499 คน คิดเป็นร้อยละ 63.16 แบ่งเป็น โรคความดันโลหิตสูงมี 19,010 คน คิดเป็นร้อยละ 47.65 โรคเบาหวานมี 8,090 คน คิดเป็นร้อยละ 20.27 และโรคหัวใจและหลอดเลือดมี 1,399 คน คิดเป็นร้อยละ 3.51 ส่วนข้อมูลสถานการณ์ระดับอำเภอบ้านนามีผู้สูงอายุจำนวน 10,986 คน คิดเป็นร้อยละ 17.23 ของประชากรในอำเภอจำนวน 63,759 คน และจำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 7,508 คน คิดเป็นร้อยละ 68.34 แบ่งเป็น โรคความดันโลหิตสูงมี 5,040 คน คิดเป็นร้อยละ 44.95 โรคเบาหวานมี 2,088 คน คิดเป็นร้อยละ 18.62 และโรคหัวใจและหลอดเลือดมี 380 คน คิดเป็นร้อยละ 3.39 และสถานการณ์ของตำบลบางอ้อมีผู้สูงอายุจำนวน 726 คน คิดเป็นร้อยละ 22.15 ของประชากรในอำเภอจำนวน 3,278 คน และจำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 645 คน คิดเป็นร้อยละ 90.1 แบ่งเป็น โรคความดันโลหิตสูงมี 416 คน คิดเป็นร้อยละ 57.30 โรคเบาหวานมี 179 คน คิดเป็นร้อยละ 24.66 และโรคหัวใจและหลอดเลือดมี 50 คน คิดเป็นร้อยละ 6.89 จากข้อมูลดังกล่าว สะท้อนถึงตำบลบางอ้อได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด และมีผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอัตราที่สูงกว่าระดับจังหวัด และประเทศ
การดำเนินการในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่มีอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยความร่วมมือกันของหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางอ้อ และ องค์การบริหารส่วนตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และแกนนำภาคประชาชน มีการดำเนินการ เช่น การสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ การจัดโครงการพัฒนาระบบการดูรักษาฟื้นฟู และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตำบลบางอ้อ การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุที่พัฒนาเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุที่กำลังดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตามความสนใจของผู้สูงอายุ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. การศึกษาทุนทางสังคม นำใช้ในการสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ
2. กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ ร่วมให้ข้อมูลผู้สูงอายุ ปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุ
3. แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ ตามหลักการออตตาวา 1) การพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคล 2) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และ สอดคล้องกับแนวคิดการสร้างพลังอำนาจ คือ 1) การสร้างการเรียนรู้ 2) การสร้างกลุ่มทำงาน และ 3) การสร้างเครือข่าย
4. หลักการออกกำลังกาย ด้วยยางยืด และ กระบอง
5. ความรู้ภูมิปัญญาในการดูแลตนเองด้วยสมุนไพร และ การนวดแผนไทย
6. หลักการบริหารสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 โดยมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ10.5 ปัจจุบันมีจำนวนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากในปี 2558 มีประชากรผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมด และในปี 2564 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 20 ซึ่งจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี 2557 พบว่าโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุไทยเป็นโรคความดันโลหิต ร้อยละ 41.4 โรคเบาหวาน ร้อยละ 18.2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 2.15 และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของการเกิดโรคเรื้อรังนั้นส่วนใหญ่เป็นผลจากวิธีการใช้ชีวิต พฤติกรรมเสี่ยงเรื่องการบริโภคอาหารหวานมันเค็มจัด ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และมีความเครียด หากไม่ได้มีการรักษาควบคุมอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเสียชีวิตได้ และมีปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุที่ไม่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น จากสถิติในปี 2558 ดังนี้ ผู้สูงอายุที่อยู่เพียงลำพังคิดเป็น ร้อยละ 9 และอยู่เพียงลำพังกับคู่สมรสคิดเป็นร้อยละ 19, ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ร้อยละ 34, ผู้สูงอายุยังใช้ส้วมแบบนั่งยอง คิดเป็นร้อยละ 54 และร้อยละ 18 มีห้องนอนอยู่บนชั้นสองของบ้าน ซึ่งจากปัจจัยข้างต้นจะส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้และยังมีส่วนทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะจิตที่แย่ลง เมื่อประชากรของประเทศไทยสูงวัยขึ้น ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายของรัฐในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล เมื่อรวมค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกับค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการด้าน อื่นๆ ที่จะต้องจัดสรรให้แก่ผู้สูงอายุแล้ว รัฐจะต้องมีภาระทางการเงินที่หนักมาก ถ้าไม่เตรียมแผนหรือมาตรการที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอนามัย และสวัสดิการของผู้สูงอายุ แผนหรือมาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยต้องสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรในพื้นที่มีวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว และมีความเฉพาะของพื้นที่ เป็นการนำใช้ศักยภาพของชุมชน ในอนาคตประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่อยู่ในภาระพึ่งพิงเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง คือ ผู้ที่ช่วยตัวเองไม่ได้ในการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเนื่องมาจากสาเหตุแห่งความชรา หรือ การเจ็บป่วย ผู้สูงอายุเหล่านี้ต้องการผู้ดูแลระยะยาว
จากสถิติของจังหวัดนครนายกมีผู้สูงอายุจำนวน 45,118 คน คิดเป็นร้อยละ 17.46 ของประชากรในจังหวัดจำนวน 258,358 คน และจำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 28,499 คน คิดเป็นร้อยละ 63.16 แบ่งเป็น โรคความดันโลหิตสูงมี 19,010 คน คิดเป็นร้อยละ 47.65 โรคเบาหวานมี 8,090 คน คิดเป็นร้อยละ 20.27 และโรคหัวใจและหลอดเลือดมี 1,399 คน คิดเป็นร้อยละ 3.51 ส่วนข้อมูลสถานการณ์ระดับอำเภอบ้านนามีผู้สูงอายุจำนวน 10,986 คน คิดเป็นร้อยละ 17.23 ของประชากรในอำเภอจำนวน 63,759 คน และจำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 7,508 คน คิดเป็นร้อยละ 68.34 แบ่งเป็น โรคความดันโลหิตสูงมี 5,040 คน คิดเป็นร้อยละ 44.95 โรคเบาหวานมี 2,088 คน คิดเป็นร้อยละ 18.62 และโรคหัวใจและหลอดเลือดมี 380 คน คิดเป็นร้อยละ 3.39 และสถานการณ์ของตำบลบางอ้อมีผู้สูงอายุจำนวน 726 คน คิดเป็นร้อยละ 22.15 ของประชากรในอำเภอจำนวน 3,278 คน และจำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 645 คน คิดเป็นร้อยละ 90.1 แบ่งเป็น โรคความดันโลหิตสูงมี 416 คน คิดเป็นร้อยละ 57.30 โรคเบาหวานมี 179 คน คิดเป็นร้อยละ 24.66 และโรคหัวใจและหลอดเลือดมี 50 คน คิดเป็นร้อยละ 6.89 จากข้อมูลดังกล่าว สะท้อนถึงตำบลบางอ้อได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด และมีผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในอัตราที่สูงกว่าระดับจังหวัด และประเทศ
การดำเนินการในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่มีอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยความร่วมมือกันของหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางอ้อ และ องค์การบริหารส่วนตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และแกนนำภาคประชาชน มีการดำเนินการ เช่น การสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ การจัดโครงการพัฒนาระบบการดูรักษาฟื้นฟู และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตำบลบางอ้อ การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุที่พัฒนาเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุที่กำลังดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตามความสนใจของผู้สูงอายุ และที่กำลังจะดำเนินงานคือโครงการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่ต้องการหารูปแบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหน่วยงานทั้งสองหน่วยงานได้สะท้อนข้อมูลจากการดำเนินการที่ผ่านมายังขาดความต่อเนื่อง จำนวนอาสาสมัครไม่เพียงพอสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ จึงยังไม่สามารถลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุมผู้สูงอายุทุกพื้นที่ โดยเฉพาะการนำใช้ข้อมูลสถานการณ์เพื่อการวางแผนที่ชัดเจน การติดตามสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาความรู้การดูแลที่นำไปสู่การทำงานวิจัยแบบ R2R และการจัดทำแผนพัฒนาตำบลได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจึงเกิดการคิดร่วมกันของ 3 ฝ่าย ในเบื้องต้น ที่จะพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของตำบลบางอ้อ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้สูงอายุ การค้นหาทุนทางสังคมที่ร่วมดูแลผู้สูงอายุ การออกแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่นำใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ร่วมกัน โดยคณะพยาบาลศาสตร์เข้าร่วมบูรณาการการทำงาน 2 ส่วน คือ บูรณาการการเรียนการสอนสำหรับนิสิตพยาบาลในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นปีที่ 2 และ รายวิชาการปฏิบัติการสุขภาพชุมชน ชั้นปีที่ 4 และ การบูรณาการการวิจัยเพื่อการพัฒนาข้อมูลตำบลที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ทุนทางสังคมในพื้นที่สำหรับดูแลผู้สูงอายุ และการจัดบริการของหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับพื้นที่ และนำเสนอแลกเปลี่ยนในระดับจังหวัด และ ประเทศต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย SSOSWU SSOSWU เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 15:05 น.