สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาป่าสมุนไพรชุมชนในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาป่าสมุนไพรชุมชนในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาป่าสมุนไพรชุมชนในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก สำนกศิลปะและวัฒนธรรม
หน่วยงานร่วม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ชื่อชุมชน บ้านบอนเขียว ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวสิรินภา ขจรโมทย์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1. นางสาวศศิธน อ่อนเหลา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2. นายมารุดิศ วชิรโกเมน สาขาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ คณะครุศาสตร์
3. นายรังสรรค์ พงษ์พัฒนอำไพ สาขาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร คณะเทคโนโลีการเกษตร
4. นางสาวรพีพรรณ แพงวิเศษ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
5. นางสาวทิพวรรณ จิตรบรรจง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
6. นายศราวุธ ชิณวัง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
การติดต่อ 094-5194144
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 พฤศจิกายน 2562 - 18 เมษายน 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions
กาฬสินธุ์ ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
พื้นที่ป่าในเขตบ้านบอนเขียว ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เคยมีป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นพื้นที่ป่าสมุนไพรที่ชุมชนเข้าไปใช้ประโยชน์ทั้งด้านอาหาร ยารักษาโรค ต้นน้ำ การเกษตร ฯ หากแต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าได้ถูกลุกล้ำและถูกทำลายโดยคนในชุมชน เพราะชุมชนไม่เห็นถึงความสำคัญประโยชน์ และการอนุรักษ์ป่าชุมชนเพื่อให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ป่าสมุนไพร ภูมิปัญญาด้านยาแพทย์แผนไทย
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัจจุบันพื้นที่ป่าได้ถูกลุกล้ำและถูกทำลายโดยคนในชุมชน เพราะชุมชนไม่เห็นถึงความสำคัญประโยชน์ และการอนุรักษ์ป่าชุมชนเพื่อให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
สร้างแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าสมุนไพรของชุมชนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งและเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และเส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในเขตพื้นที่ป่าสมุนไพรของชุมชน โดยมุ่งการยกระดับรายได้ของคนและส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากแหล่งเรียนรู้ป่าสมุนไพรของชุมชน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

โดยพื้นฐานสังคมชนบทไทย แต่ละชุมชนต่างล้วนอาศัยพึ่งพาป่าเพื่อปัจจัย 4 ซึ่งได้แก่ แหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคและเครื่องนุ่งห่ม ที่มีความสำคัญต่อชีวิตมาเป็นเวลานาน อีกทั้งป่ายังเป็นแหล่งที่มาของความเชื่อ ประเพณี ซึ่งเป็นรากฐานความสัมพันธ์ของชุมชน บทบาทของป่าต่อความอยู่รอดของชุมชนจึงมีมาเนิ่นนานและไม่สามารถแยกจากกันได้ ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงาน องค์กร สถาบันต่างๆ ได้มีการมุ่งอนุรักษ์ป่าที่อยู่ในชุมชนต่างๆโดยการเข้าไปช่วยในการจัดการทรัพยากรภายในชุมชน เพื่อให้ป่าชุมชนนั้นสามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การช่วยลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมของคนในชุมชน จากการถูกแย่งชิงทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศ และเป็นแนวทางหนึ่งในการรักษาพื้นที่ป่าและความสมบูรณ์ของนิเวศป่าไม้ เพื่อให้ระบบนิเวศคงความสมดุล และยังสมารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจได้ ทั้งนี้ ประโยชน์จากป่าชุมชนในประเทศอาจกล่าวได้ว่ามี 3 ด้าน คือ 1) ประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อม 2) ประโยชน์ทางด้านสังคม และ 3) ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ป่าชุมชนจึงเป็นกลไกที่สำคัญที่เป็นช่องทางให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ จัดการ ฟื้นฟูให้ป่ามีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น และมีการใช้ทรัพยากรและผลผลิตจากป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความมั่นคงแห่งชีวิตของคนในชุมชน
จากที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น ในปีงบประมาณ 2562 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการสนับสนุนให้บุคลากรและคณาจารย์ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในพื้นที่เขตบ้านบอนเขียว ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้รับข้อมูลจากศิษย์เก่าที่ประสงค์ขอความอนุเคราะห์ให้สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้ลงไปสร้างความเข้าใจและแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าในชุมชนบ้านบอนเขียว ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่เยาวชนหรือผู้ที่สนใจและเสริมสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่ป่าในเขตบ้านบอนเขียว ตำบลนาขาม อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เคยมีป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นพื้นที่ป่าสมุนไพรที่ชุมชนเข้าไปใช้ประโยชน์ทั้งด้านอาหาร ยารักษาโรค ต้นน้ำ การเกษตร ฯ หากแต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าได้ถูกลุกล้ำและถูกทำลายโดยคนในชุมชน เพราะชุมชนไม่เห็นถึงความสำคัญประโยชน์ และการอนุรักษ์ป่าชุมชนเพื่อให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ดังนั้นสำนักศิลปะและวัฒนธรรมจึงมีนโยบายในการที่จำดำเนินโครงการกิจกรรมเพื่อตอบรับกับความต้องการของชุมชนในการสร้างแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าสมุนไพรของชุมชนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งและเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และเส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในเขตพื้นที่ป่าสมุนไพรของชุมชน โดยมุ่งการยกระดับรายได้ของคนและส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากแหล่งเรียนรู้ป่าสมุนไพรของชุมชน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ป่าชุมชน แหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย sirinpa sirinpa เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 22:27 น.