สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

บูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเครือข่าย จังหวัดกาฬสินธุ์

บูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเครือข่าย จังหวัดกาฬสินธุ์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ บูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเครือข่าย จังหวัดกาฬสินธุ์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
หน่วยงานร่วม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ชื่อชุมชน 1)บ้านสูงเนิน ตำบลเนินยาง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2)บ้านคำม่วง ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ุ จังหวัดกาฬสินธุ์ 3)บ้านดินจี่ ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 4)บ้านกลางหมื่น ตำบลกลางหมื่น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวศศิธร อ่อนเหลา
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 80 ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1. นางสาวสิรินภา ขจรโมทย์ สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2. นายมารุดิศ วชิรโกเมน สาขาออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ คณะครุศาสตร์
3. นายรังสรรค์ พงษ์พัฒนอำไพ สาขาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร คณะเทคโนโลีการเกษตร
4. นางสาวรพีพรรณ แพงวิเศษ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
5. นางสาวทิพวรรณ จิตรบรรจง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
6. นายศราวุธ ชิณวัง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
การติดต่อ 0869881352
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 พฤศจิกายน 2562 - 18 เมษายน 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ในการจัดโครงการในคร้ังนี้ผู้จัดได้มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านสูงเนิน ตำบลเนินยาง อำเภอเมือง, ชุมชนบ้านคำม่วง ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์, ชุมชนบ้านดินจี่ ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง และ บ้านกลางหมื่น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ อันเนื่องมาจาก ในปีงบ 2562 ที่ผ่านมา สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้มีการจัดโครงการ/กิจกรรมลงเก็บข้อมูลในเขตพื้นที่ชุมชนดังที่กล่าวมา โดยได้มีการดำเนินงานตามนโยบายที่มุ่งการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู เผยแพร่ บรูณาการการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการและงานวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ทำให้สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค และโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนดังกล่าวในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งในชุมชนที่ได้ไปลงพื้นที่มาทั้ง 4 ชุมชนนี้ต่างมีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากมรดกทางภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาช้านานและกำลังเริ่มที่จะเลือนหายไปจากชุมชน ด้วยคนในชุมชนไม่มีแนวทางการบริหารจัดการกับภูมิปัญญาที่ชุมชนของตนมีอยู่ จากที่ได้กล่าวมาข้องต้น การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นของตนด้วยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับองค์ความรู้สมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและเป็นการอนุรักษ์มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไปได้
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ชุมชนมีผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาที่หลากหลาย อาทิเช่น หมวกสานจากต้นกก ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ยางพารา ป่าชุมชนสมุนไพร กลุ่มทอผ้าโบราณ ฯ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากมรดกทางภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาช้านานและกำลังเริ่มที่จะเลือนหายไปจากชุมชน ด้วยคนในชุมชนไม่มีแนวทางการบริหารจัดการกับมรดกภูมิปัญญาของตน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนที่นำไปสู่การเสริมสร้างรายได้ในชุมชนอย่างถูกต้อง
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อนำเข้าไปสู้รูปแบบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ด้วยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์และพันธกิจให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี พ.ศ.2560-2579 (ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561) โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) การพัฒนาท้องถิ่น 2) การผลิตครูและพัฒนาครู 3) การยกระดับคุณภาพการศึกษา 4) การพัฒนาระบบบริหารจัดการ ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ระยะที่ 1 พ.ศ.2560-2564 คือ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1) พันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ 2) การผลิตครูและพัฒนาครูมืออาชีพ 3) การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ 4) การพัฒนาระบบบริหารจัดการบนพื้นฐานธรรมาภิบาล โดยผลลัพธ์โครงการมีจุดเน้นด้านสังคม ด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในการจัดกิจกรรมต่างๆสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้เปิดโอกาสให้คณาจารย์และนักศึกษาจากสาขาวิชาต่างๆร่วมลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สำรวจสภาพ บริบทพื้นที่ของชุมชน ณ เขตพื้นที่ในจังหวัดเครือข่าย เพื่อทำให้เกิดการบูรณาการกิจกรรมร่วมกันกับการจัดการเรียนการสอนสำหรับพัฒนาทักษะด้านต่างๆในศตวรรษ ที่ 21 โดยมุ่งเน้นรูปแบบการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษาร่วมกับชุมชนเพื่อบริการวิชาการ ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ของนักศึกษามาสู่กระบวนการการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและเพื่อมุ่งให้ชุมชนได้รับการส่งเสริมแนวทางในการพัฒนาตามแนวคิดด้านการยกระดับของผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปสู่รูปแบบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไปอย่างถูกทิศทาง ส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นก้าวไปสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ในการสร้างเศรษฐกิจชุมชนแล้ว ยังสามารถเป็นฐานรากในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติให้ยั่งยืนสืบไป
จากที่ได้กล่าวมาข้องต้น จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีกลุ่มอาชีพที่ผลิตผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมายหลายกลุ่มด้วยกัน โดยที่ชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์นั้นสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นของตนด้วยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับองค์ความรู้สมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและเป็นการอนุรักษ์มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ และในปีงบ 2562 ที่ผ่านมา สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้มีการจัดโครงการ/กิจกรรมลงเก็บข้อมูลในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จากนโยบายที่มุ่งการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู เผยแพร่ บรูณาการการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการและงานวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ทำให้สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค และโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ ในปีงบประมาณ 2563 นี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม จึงมีความประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนต่างๆไปสู่การสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวต่อไปได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในยุคที่มีการแข่งขันทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจในปัจจุบัน สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะอยู่รอดและได้รับความนิยมอย่างยั่งยืนจะต้องมีความแตกต่างและไม่ซ้ำแบบเดิม ซึ่งแนวคิดในการยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อนำเข้าไปสู้รูปแบบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงเป็นแนวคิดใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นหนึ่งใน 7 องค์ประกอบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ 1) องค์ความรู้ 2) ความคิดสร้างสรรค์ 3) การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา 4)วัฒนธรรม 5) ภูมิปัญญา 6)เทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่และ7) เครือข่ายวิสาหกิจ แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงสามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา การยกระดับผลิตภัณฑ์และเป็นรากฐานในการสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนให้แก่ชุมชนและประเทศชาติได้

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • บูรณาการการเรียนการสอน
  • ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา
  • ยกระดับผลิตภัณฑ์
  • เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย sirinpa sirinpa เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 13:05 น.