สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่อาเซียน (ASEAN University Youth Summit: AUYS)

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่อาเซียน (ASEAN University Youth Summit: AUYS)
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
หน่วยงานหลัก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานร่วม คณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน
ชื่อชุมชน ชุมชนเกาะยอ
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.ทวนธง ครุฑจ้อน
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ ดร.อภิรดี จิโรภาส ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์
Panpacific University North Philippines Tayug-Campus,
Universiti Malaysia Kelantan,
Universitas Negeri Jakarta,
การติดต่อ thuanthong@tsu.ac.th
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กันยายน 2561 - 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 80,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ภาคใต้ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
เกาะยอในยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์มีสภาพเป็นป่าเขา ยังไม่มีผู้คนอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐาน ต่อมาในสมัยตอนปลายสุโขทัย และสมัยอยุธยาจึงเริ่มพบหลักฐานเกาะยอในแผนที่ภาพกัลปนาวัดพะโคะ (หอสมุดแห่งชาติจัดไว้ในหมู่ตำรา (ภาพ) ชื่อแผนที่เมืองนครศรีธรรมราช จ.ศ. 977 (พ.ศ. 2158) ที่เขียนขึ้นลัง พ.ศ. 2223 แต่ก่อน พ.ศ. 2242 ซึ่งมีภาพเกาะยออยู่ตอนปลายสุดของแผนที่เขียนเป็นรูปภูเขา ระบุไว้ว่า “เข้าก้อะญอ” นอกจากนี้้เกาะยอยังปรากฏอยู่ในแผนที่เมืองสงขลา (แผนที่เมืองสงขลาปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายแห่งชาติ กรมศิลปากร) เขียนขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2230 โดยนายมองเดียร์ เดอลามาร์ วิศวกรชาวฝรั่งเศส แผนที่ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีชุมชนบน เกาะยอเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อย 9 ชุมชน ชุมชนส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมฝั่งทะเลรอบๆ ภูเขาทางทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกของเกาะยอ ซึ่งปัจจุบันตรงกับบริเวณเขาหัวหลัง เขาสวนใหม่ และเขากุฏิการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเริ่มแรกบน เกาะยอน่าจะตรงกับบริเวณ หมู่ที่ 6 บ้านนาถิ่น หมู่ที่ 7 บ้านป่าโหนด หมู่ที่ 8 บ้านท้ายเสาะ หมู่ที่ 5 บ้านท่าไทร หมู่ที่ 4 บ้านสวนทุเรียน และหมู่ที่ 2 บ้านนอก กลุ่มชนพวกแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเกาะยออย่างน้อยในสมัยอยุธยาจนถึงรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กลุ่มคนจีนอพยพจากเมืองจีน และชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เป็นกลุ่มที่เข้ามาทำเครื่องปั้นดินเผาประเภท อิฐ กระเบื้อง หม้อ ไห โอ่ง อ่าง เพราะบริเวณเกาะยอมีดินดีเหมาะแก่การทำเครื่องปั้นดินเผา นอกจากนี้้แล้วคงจะมีกลุ่มคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาจากท้องถิ่นเมืองสงขลาได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานส่วนหนึ่งด้วย ดังได้พบหลักฐานเจดีย์บรรจุอัฐิสมเด็จเจ้าเกาะยอบนยอดเขากุฎิที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จากหลักฐานดังกล่าวพอสรุปได้ว่าชาวเกาะยอในรุ่นแรกๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นชาวไทยและชาวจีนจากโพ้นทะเลซึ่งผู้คนกลุ่มนี้ ต่อมาได้ผสมกลมกลืนทางสังคมและวัฒนธรรมกับคนไทยพื้นถิ่นได้กลายเป็นตัวตนที่แท้จริงของชาวเกาะยอสืบทอดมาจนปัจจุบันประวัติความเป็นมาของเกาะยอ
การพัฒนาและขยายตัวของชุมชนเกาะยอ
การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนไทยเชื้อสายจีนและคนจีนจากโพ้นทะเลบนเกาะยอ เมื่อมีหลักแหล่งและอาชีพที่มั่นคง การติดต่อค้าขายกับชุมชนภายนอกมีมากขึ้นทำให้มีการอพยพผู้คนจากแผ่นดินใหญ่เมืองสงขลาและบริเวณใกล้เคียงทั้งคนจีนและคนไทยเข้าไปตั้งถิ่นฐานมากขึ้นเกิดเป็นชุมชนใหม่ๆ มีการขยายตัวของชุมชนไปรอบเกาะยอ กล่าวคือ จากชุมชนเกาะยอรุ่นแรกบริเวณหมู่ที่ 6 บ้านนาถินหรือบ้านในบ้าน หมู่ที่ 5 บ้าน ท่าไทร ซึ่งบริเวณนี้้มีสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบเหมาะแก่การทำนา เลี้ยงวัวและเลี้ยงควาย แต่เมื่ออยู่ไปได้ระยะหนึ่งได้ค่อยๆ ขยายตัวไปยังชายฝั่งทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเกาะใกล้กับวัดท้ายยอ หมู่ที่ 8 บ้านท้ายเสาะ ซึ่งบริเวณแถบนี้้พบว่า ในทะเลมีปลาและกุ้งชุกชุมมาก ชาวบ้านจึงหันมาประกอบอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ พร้อมๆ กับมีการขยายชุมชนไปทางชายฝั่งด้านทิศใต้ของเกาะบริเวณวัดโคกเปี้ยว หมู่ที่ 5 บ้านท่าไทร และหมู่ที่ 4 บ้านสวนทุเรียนบริเวณแถบนี้พื้นที่เหมาะแก่การทำนา ทำสวนผลไม้ และทอผ้า เมื่อผู้คนมากขึ้นเศรษฐกิจดีขึ้น ชาวบ้านจึงได้รวมใจกันสร้างวัดแหลมพ้อขึ้นเป็นวัดประจำหมู่บ้าน หลังจากนั้นจึงเริ่มขยายชุมชนไปบริเวณที่ราบชายฝั่งด้านทิศตะวันออกของเกาะยอจนเกิดเป็นชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านนอกหรือบ้านท่าคู และหมู่ที่ 2 บ้านตีน บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบชายฝั่งติดกับเชิงเขาตลอดแนวเหนือ-ใต้ สามารถทำการประมงและสวนผลไม้ได้ดี แต่ด้านชายฝั่งตะวันออกนี้ มักจะมีคลื่นลมแรงในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นชาวบ้านที่ทำการประมงบางส่วนได้เคลื่อนย้ายขึ้น ไปทางทิศเหนือสุดของเกาะยอได้ตั้งชุมชนและสร้างวัดเขาบ่อขึ้นหมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ส่วนชุมชนหมู่ที่ 7 บ้านป่าโหนดนั้นคงเกิดขึ้นจากชาวบ้านที่ขยายตัวมาจากบ้านนาถินและบ้านท้ายยอ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่ใกล้เคียงกัน หลักฐานต่างๆ ที่ยืนยันให้เห็นถึงการเข้ามาตั้งชุมชนบริเวณเกาะยอของคนจีนและคนไทยพื้นถิ่นได้แก่ ซากโรงพระจีนหรือศาลเจ้าจีนที่เหลือเป็นหลักฐานอยู่บางส่วนในหมู่บ้านต่างๆ ได้แก่ หมู่ที่ 3 บ้านนอก หมู่ที่ 4 บ้านสวนทุเรียน หมู่ที่ 8 บ้านท้ายเสาะ และหมู่ที่ 9 บ้านสวนใหม่ ศาลเจ้าจีนที่เป็นหลักฐานค่อนข้าง สมบูรณ์ปัจจุบัน ได้แก่ ศาลเจ้าจีนที่เรียกว่า “แป๊ะก๋ง” หรือ “ไทก๋ง” ในหมู่ที่ 8 บ้านท้ายเสาะ ซึ่งใกล้ๆ กับศาลเจ้ามีบ่อน้ำจืดโบราณก่อด้วยอิฐและหิน 1 บ่อ และยังมีบ่อน้ำจืดโบราณกระจายอยู่ตามแหล่งชุมชนอีกหลายแห่ง เช่น บ่อน้ำโบราณในหมู่ที่ 4 บ้านสวนทุเรียน บ่อน้ำโบราณวัดท้ายยอ เป็นต้น นอกจากนี้้สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นชุมชน ได้แก่ สถาบันทางศาสนา ซึ่งมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนจึงพบว่า บริเวณเกาะยอมีวัดสร้างขึ้นต่างสมัยกันถึง 4 วัด คือ วัดท้ายยอ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2311 วัดแหลมพ้อ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2360 วัดโคกเปี้ยว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2425 และวัดเขาบ่อ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477 นอกจากวัดแล้วยังมีเจดีย์บนยอดเขากุฏิเป็นที่เก็บอัฐิของสมเด็จเจ้าเกาะยอ ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเชื่อความศรัทธาของชาวเกาะยอมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน
การปรับเปลี่ยนและพัฒนาชุมชนเกาะยอสมัยใหม่
ชุมชนเกาะยอมีความเจริญขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการผลิตเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า และการทำสวนผลไม้ ส่งเป็นสินค้าออกไปจำหน่ายตามหัวเมืองต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชุมชนเกาะยอเริ่มมีความสัมพันธ์กับสังคมภายนอกมากขึ้น ซึ่งนำมาสู่การปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่เก้า ความจำเป็นของชุมชนภายนอกในการใช้อิฐ กระเบื้องดินเผา และผ้าทอจากเกาะยอลดน้อยลงเนื่องจากการก่อสร้างส่วนใหญ่ถูกปรับเปลี่ยนไปตามอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตก ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นวัฒนธรรมใหม่แบบตะวันตกมากขึ้น เช่น บ้านทรงไทยตามคติ “มงคลสูตร” เปลี่ยนเป็นแบบบ้านสมัยใหม่ก่ออิฐถือปูน เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนจากเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตในเกาะยอเปลี่ยนเป็นเครื่องที่ผลิตจากโรงงาน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมยิ่งรุนแรงขึ้น หลังจากมีการสร้างสะพานติณสูลานนท์เชื่อมเกาะยอกับแผ่นดินใหญ่ อำเภอเมืองสงขลาและอำเภอสิงหนคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา ทำให้ชาวเกาะยอหันมาประกอบอาชีพใหม่ๆ มากขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ การค้าขายและการรับจ้าง การค้าขายของชาวเกาะยอพอจะแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ กลุ่มที่มีทุนมากจะลงทุนทำร้านอาหารเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าสู่เกาะยอมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งพบว่าระยะแรกร้านอาหารส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางด้านชายฝั่งตะวันออกที่ทางหลวงหมายเลข 408 ตัดผ่าน ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของกิจการเป็นคนในเกาะยอ และส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ตอนในหรือด้านฝั่งตะวันตกของเกาะยอที่มีถนนรอบเกาะเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 408 ส่วนการค้าขายอีกลักษณะหนึ่งเป็นการค้าขายของชาวบ้านจริงๆ คือ การค้าขายสินค้าพื้นเมือง เช่น ผลไม้ต่างๆ อาหารพื้นบ้าน ผ้าทอเกาะยอ เป็นต้น และอาหารพื้นเมืองที่สำคัญ เช่น ข้าวยำใบยอ ขนมจีน ยำสาหร่าย เป็นต้น จากการสร้างสะพานและถนนตัดผ่านเกาะยอนี้เอง ทำให้ที่ดินมีราคาสูงมาก นายทุนจากภายนอกเข้ามากว้านซื้อเพื่อขายเก็งกำไรหรือสร้างเป็นหมู่บ้านจัดสรร เป็นเหตุทำให้ชาวเกาะยอบางส่วนขายที่ดินแล้วอพยพไปตั้งถิ่นฐานนอกเกาะมีมากขึ้น ในเรื่องนี้ ฯพณฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษ ประธานองคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย (พ.ศ. 2523-2531) ได้ให้โอวาทไว้ในโอกาสเดินทางมาเปิดถนน กสช. ที่ตำบลเกาะยอ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
อย่างน่าสนใจว่า “เกาะยอมีของดีหลายอย่าง เช่น ผลไม้ที่อร่อยผ้าทอที่สวยงาม ขอให้รักษาเอาไว้ มีที่ดินแม้ราคาแพงก็อย่าขายเก็บเอาไว้ทำกินสืบไป” ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวเกาะยอพึงนำมาปฏิบัติ เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นไว้สืบไป (องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ, 2561)
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
การวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชน 8 มิติ สามารถจำแนกได้ดังนี้
อัตลักษณ์ชุมชน
คำอธิบาย
1. อาหาร
- ยำสาหร่ายผมนาง
- ปลากะพง
- ข้าวยำใบยอ
- ขนมหม่อฉี่
- ขนมไทยต่างๆ
2. เครื่องแต่งกาย
- ผ้าทอเกาะยอยกดอก (ลายราชวัตร ลายดอกพิกุล และลายรสสุคนธ์)
- ผ้าขาวม้า
- ผ้าคลุมไหล่ (ยกดอก)
- ผ้ายกดอก
3. ที่อยู่อาศัย
- บ้านทรงไทยมุงกระเบื้องดินเผาเกาะยอ
- ขนำ
4. อาชีพ
- จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน
- ทำประมงพื้นบ้าน
- ทำสวนผลไม้
- ทอผ้า
5. ประเพณี
- ขึ้นเขากุฏิ (แห่ผ้าห่มเจดีย์สมเด็จเจ้าเกาะยอ)
- ห่มผ้าพระนอนวัดแหลมพ้อ
- ลอยแพสะเดาะเคราะห์
- ทำบุญเดือน 10 และแห่หมรับ
- ตรุษจีน
6. ความเชื่อ
- บนสมเด็จเจ้าเกาะยอ
- บนพ่อท่านในบัว วัดแหลมพ้อ
7. ภาษา
- ภาษาใต้
- ภาษากลาง
8. ศิลปะพื้นบ้าน
- มโนราห์
- หนังตะลุง
- ไก่ชน
- เปตอง
- แข่งเรือพาย
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การลดลงของป่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่ง
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ต้องการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่ง สู่การเป็นเกาะสีเขียว (green Yor island)

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การวิเคราะห์ผลกระทบจากขาดแคลนป่่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่ง
การสร้างเครือข่ายระดับนานาชาติเพื่อผลักดันให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่ง

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่มีจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นภายใต้ปรัชญามุ่งเน้นเรื่อง การมีคุณธรรม เป็นผู้นำความรู้ จัดการบูรณาการ เพื่อบริหารท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2555 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรของสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นอีกครั้งภายใต้การกำหนดปรัชญาว่า เปี่ยมความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่การปฏิบัติ พัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามนโยบายหลักของมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2560 หลักสูตรได้รับการปรับปรุงภายใต้การเปลี่ยนแปลงจากสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นเป็นสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พร้อมกับการกำหนดปรัชญาใหม่ที่ว่า ปัญญา จริยธรรม นำการพัฒนาองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และได้ผลิตผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes: ELOs) จำนวน 13 ข้อ ดังนี้
1) อธิบายความก้าวหน้าของความรู้ตลอดจนธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบและข้อบังคับที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
2) สรุปความคิดรวบยอดของแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์
3) สร้างความคิดรวบยอดของงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา และการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
4) แสดงออกถึงพฤตนิสัยที่มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบทั้งในส่วนตนและส่วนรวม
5) สามารถค้นหาข้อเท็จจริงและทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับรัฐประศาสนศาสตร์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย

6) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้และการนำเสนอข้อมูลทางรัฐประศาสนศาสตร์ในรูปแบบที่หลากหลายได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่างๆ
7) สื่อสารประเด็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
8) พัฒนาตนเองและแสดงออกด้วยความรับผิดชอบ มีภาวะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
9) ทบทวนและปรับตัวได้ในสังคมที่มีความหลากหลาย รับฟังความเห็นที่แตกต่างและแสดงความเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้อย่างสร้างสรรค์

10) วิเคราะห์และเปรียบเทียบสถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่ซับซ้อน โดยใช้ความรู้แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์
11) ประเมินสถานการณ์ของกิจการสาธารณะได้อย่างเหมาะสมกับพื้นฐานของตนเองและบริบทของกลุ่ม
12) วางแผนวิถีชีวิตในความขัดแย้งทางค่านิยมพหุวัฒนธรรมโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์
13) ผลิตงานวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์โดยใช้ เครื่องมือทางสถิติขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ประกอบกับใน พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งให้ความสำคัญกับ 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) และทางมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง ได้จัดทำโครงการ ASEAN University Youth Summit 2018 – AUYS 2018 ขึ้นเป็นครั้งที่สี่ เพื่อสร้างสรรค์เครือข่ายนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน โดยจัดให้กิจกรรมกระตุ้นเตือนจิตสาธารณะ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคมเมืองและชนบทอย่างยั่งยืน รวมถึงการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีงามของแต่ละประเทศ
จากความสอดคล้องของปรัชญาและประชาคมอาเซียน ตลอดจนการจัดโครงการ AUYS 2018 ส่งผลให้หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นและสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จัดทำ “โครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตสู่อาเซียน (AUYS) สาขารัฐประศาสนศาสตร์” ภายใต้แนวคิดการพัฒนาศักยภาพนิสิตและส่งเสริมวัฒนธรรมไทยสู่อาเซียน เพื่อกระตุ้นและเสริมแรงนิสิตให้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีจิตสาธารณะต่อสังคมและประชาคมอาเซียน การมีส่วนร่วมปกป้องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคมเมืองและชนบทของประชาคมอาเซียนให้เกิดความยั่งยืน ตลอดการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมไทยที่ดีงามสู่ประชาคมอาเซียน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 23:12 น.