สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ลดการเผา ลด PM2.5 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ ลดการเผา ลด PM2.5 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานร่วม องค์การบริหารส่วนตำบลฆ้องชัยพัฒนา, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อชุมชน บ้านเขวา ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ชมภู่ เหนือศรี
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1. อาจารย์เมตตา เก่งชูวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
2. อาจารย์รติกร แสงห้าว อาจารย์สาขาวิชาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
3. อาจารย์สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตร
การติดต่อ 086-8571427
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 348,408.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions
กาฬสินธุ์ ฆ้องชัย ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านโนนเขวาประกอบไปด้วย 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4 โดยมีนายประมวล พลอาจทันเป็นผู้ใหญ่บ้าน และหมู่ที่ 5 มีนายไพโรจน์ อินทะวรรณ เป็นกำนันตำบลฆ้องชัยพัฒนา มีประชากรทั้งสองหมู่บ้านจำนวน 1,233 คน 253 ครัวเรือนประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาทั้งนาปี และนาปรัง

สภาพทั่วไป สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเทศบาลตำบลฆ้องชัยพัฒนา
ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลฆ้องชัยพัฒนา เป็นเขตการปกครองของอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 26 กิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของเทศบาลตำบลฆ้องชัยพัฒนามีเขตติดต่อพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสยจังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลลำชี อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศตะวัวนออก ติดต่อกับตำบลเหล่ากลาง อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลโคกสะอาด อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่
เทศบาลตำบลฆ้องชัยพัฒนา มีพื้นที่โดยประมาณ 29.52 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 47,232 ไร่
สภาพภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลฆ้องชัยพัฒนา มีภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและที่ราบลุ่ม แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน โดยพื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบสูงนาดอน และบางส่วนเป็นที่ราบลุ่มแอ่งกระทะ เทศบาลตำบลฆ้องชัยพัฒนา มี 3 ฤดูกาล คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม อากาศร้อนมากในเดือนเมษายน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน มีฝนตกชุกมากเป็นบางช่วง
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากในช่วงเดือนมกราคม
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ประชาชนในพื้นที่ตำบลฆ้องชัยพัฒนาประกอบด้วยอาชีพ ดังนี้
อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา จำนวน 850 ครัวเรือน
อาชีพรอง ได้แก่ - ทำไร่ ส่วนใหญ่ได้แก่ มันสำปะหลัง จำนวน 50 ครัวเรือน
- ทำสวน ส่วนใหญ่ ได้แก่ 1. พืชผัก จำนวน 23 ครัวเรือน
2. ไม้ดอก ไม้ประดับ จำนวน 3 ครัวเรือน
- อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่
1. โค -กระบือ จำนวน 290 ครัวเรือน
2. สุกร จำนวน 60 ครัวเรือน
3. เป็ด – ไก่ จำนวน 150 ครัวเรือน
- อาชีพค้าขาย
ส่วนมากมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 20,000 บาท/ปี
ข้อมูลประเด็นปัญหา
เนื่องด้วยอาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่เป็นอาชีพเกษตรกรรมโดยทำนาเป็นหลัก และมีการทำนาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จึงมีการเผาตอซังข้าวในช่วงฤดูหลังเก็บเกี่ยวเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ชุมชนต้องการองค์ความรู้ด้านการจัดการตอซังข้าวในกรณีที่ไม่เผาจะสามารถดำเนินการได้อย่างไร และไม่ส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตรของประชาชน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1) ด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ และการทำเกษตรที่ยั่งยืน
2) ขับเคลื่อนกิจกรรมโดยการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้รู้ในท้องถิ่น ประชาชน อาจารย์ นักศึกษา ครู และนักเรียน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่เริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศตะวันตกประมาณศตวรรษที่ 19 ทำให้มีปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งถือว่าเป็นก๊าชเรือนกระจก (Green House Gas) ที่สำคัญที่ออกสู่บรรยากาศเหนือพื้นผิวโลก (วิสุทธิ์ ใบไม้, 2548) จึงเป็นสาเหตุทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย กล่าวคือ จะมีก๊าชต่างๆ ในบรรยากาศ ทั้งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ และที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นเพิ่มสูงขึ้นมากซึ่งชั้นบรรยากาศนี้เสมือนเป็น “ผ้าห่ม” ปกคลุมโลกไว้หรือที่เรียกว่า ชั้นเรือนกระจก ที่ปิดกั้นความร้อนของโลกเอาไว้ จึงทำให้อุณหภูมิทั่วไปของโลกสูงขึ้นจนเกิดสภาวะที่เรียกว่า “ภาวะโลกร้อน” (Global Warming) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (Climate Change)
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตของประเทศไทยในช่วงระยะเวลา 4-5 ปี ที่ผ่านมานี้ ได้มีการจำลองสภาพภูมิอากาศในอนาคตขึ้น โดยศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA START RC) ได้ร่วมมือกับทางหน่วยงาน Commonwealth Scientific and Industrial Research Organization (CSIRO) ประเทศออสเตรเลีย ทำการศึกษาและจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่างขึ้น อันรวมถึงประเทศไทยทั้งหมดด้วย ทิศทางและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่มีฝนมากขึ้นในเกือบทุกภาคของประเทศไทย ส่วนอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในประเทศไทยจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก อาจเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลง (ศุภกร ชินวรรโณ, 2550)
การเกษตรเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้ปริมาณก๊าชเรือนกระจกเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาวัสดุเหลือทิ้งจากการเก็บผลผลิตเสร็จเรียบร้อย ทำให้ปริมาณก๊าชเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นจึงส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะกระบวนการผลิตข้าวของเกษตรกร ตอซังมักจะถูกเผาในช่วงฤดูแล้งก่อนที่จะมีการไถเตรียมดิน จึงเป็นการสูญเสียทรัพยากรที่มีคุณค่าในนาอย่างยิ่งข้าวเหตุที่เกษตรกรเผาตอซังเพื่อความสะดวกในการจับสัตว์บางชนิดในนาช่วงฤดูแล้ง หรือสะดวกในการไถพรวนเพื่อลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากการเผาตอซังข้าวติดต่อกันหลายปีเกษตรกรบางรายพบปัญหาหน้าดินแข็งไถพรวนและปักดำยาก อนุภาคดินจับตัวแน่นและทำให้เกิดการสูญเสียน้ำในดินในขณะที่เผาตอซัง และที่สำคัญจะเป็นการเพิ่มปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาแนวทางให้เกษตรกรคืนตอซังข้าวสู่ดินโดยการไถกลบฟางลงไปในดินหลังเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อมีการคืนตอซังข้าวสู่ดินแล้วดินนาจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ความแข็งของดินลดลง การอุ้มน้ำของหน้าดินดีขึ้น และลดปัญหาวัชพืชลงเนื่องจากมีการตัดวงจรชีวิตวัชพืชในช่วงฤดูแล้งก่อนที่จะทำนาในช่วงฤดูฝน
มลพิษทางอากาศนับว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งสังเกตได้จากระดับมลพิษในฝุ่นละอองขนาดเล็กมากขนาด 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่มีระดับความเข้มข้นเกินค่ามาตรฐานตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO guideline) และกระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศสหรัฐอเมริกา (US EPA) และยังเกินค่ามาตรฐานของประเทศไทยที่อนุญาตให้ระดับมลพิษสูงกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกถึง 2 เท่า จากภาพที่ 1 จะพบว่าระดับมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครจะยิ่งมีค่าสูงมากในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคมของทุกปี โดย Oanh (2007) ได้ทำการศึกษาแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและพบว่าฝุ่น PM2.5 ที่เขตดินแดงมาจากไอเสียรถดีเซลร้อยละ 52 จากการเผาชีวมวลร้อยละ 35 ฝุ่นทุติยภูมิและอื่นๆ ร้อยละ 13 ขณะที่ Oanh (2017) ได้ศึกษาแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ในประเทศแถบเอเชียและพบว่าฝุ่น PM2.5 มาจากไอเสียรถดีเซลร้อยละ 20.8-29.2 จากการเผาชีวมวลร้อยละ 24.6-37.8 ฝุ่นทุติยภูมิร้อยละ 15.8-20.7 และอื่นๆ ทั้งนี้ ในช่วงหน้าแล้งจะมีการเผาชีวมวลสูงกว่าในช่วงหน้าฝน
บ้านโนนเขวา ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ที่ประชาชนส่วนมากมีอาชีพทำนาซึ่งมีทั้งการทำนาปีและนาปรัง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำชีซึ่งการทำนาของเกษตรกรส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้จะใช้เครื่องจักรกลมาช่วยในการทำนา อีกทั้งยังมีการเผาตอซังข้าวเพื่อเตรียมการเพาะปลูกต่อไป จึงก่อให้เกิดปริมาณฝุ่นละออง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่ปัจจุบันมีผลกระทบต้อสุขภาพของมนุษย์ ดังนั้น คณะดำเนินการจึงมีความสนใจที่จะจัดโครงการ ลดการเผา ลดPM2.5 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนขึ้น เพื่อร่วมกันจัดการตอซังข้าวด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวล้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรและเป็นการลดปัญหาฝุ่นละอง และปัญหาภาวะโลกร้อนจากการเผาตอซังข้าวของเกษตรกร โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนรวมถึงการบูรณาการกับการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มนักศึกษา นักเรียน อาจารย์ และชุมชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและหาแนวทางในการจัดการที่เหมาะสมและยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • PM2.5
  • คุณภาพชีวิต
  • สิ่งแวดล้อมชุมชน
  • สุขภาวะ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย chompoo chompoo เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 13:28 น.