สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ธุรกิจการเลี้ยงสุกรด้วยขมิ้นชัน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเลี้ยงสุกรของชุมชนในบ้านหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน

ธุรกิจการเลี้ยงสุกรด้วยขมิ้นชัน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเลี้ยงสุกรของชุมชนในบ้านหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ ธุรกิจการเลี้ยงสุกรด้วยขมิ้นชัน เพื่อลดการใช้สารเคมีในการเลี้ยงสุกรของชุมชนในบ้านหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
หน่วยงานร่วม -
ชื่อชุมชน บ้านหลุบ ต.หลุบ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์พุฒิพัฌน์ คุณะปัญญาดิลก
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 62 ม.6 ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50210
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อ.สพ.ญ.ภลิตา คุณดิลกพจน์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
อ.ดร.นภาพร วงษ์วิชิต อาจารย์สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารศาสตร์
นายอนุวัฒน์ มานะวงษ์ 1469900492476 นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารศาสตร์
นายชัยชนะ ทรัพย์ไพบูลย์ 1119900868291 นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารศาสตร์
นส กันยาพร สุไผ่โพธิ์ 1469900450498 นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารศาสตร์
นางสาวณฤดี ภูเด่นแดน 1419901913742 นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารศาสตร์
นางสาวปิยะรัตน์ นพอาจ 1460500267353 นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
นางสาวศิริพร ประทุมทอง 1469900511829 นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
นางสาวศิรินยา โยธสิงห์ 1469900480192 นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร
นางสาววชิราภรณ์ คัสโส 1460600159480 นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การติดต่อ 62/1 ถ.เกษตรสมบูรณ์ ต.กาฬสินธุ์ อ.เมือง
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 488,790.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ เมืองกาฬสินธุ์ หลุบ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านหลุบมีเขตการปกครองจำนวน 16 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 2,092 หลังคาเรือน จำนวนประชากรประมาณ 9,515 คน สภาพทั่วไปตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองกาฬสินธุ์ ระยะห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร เนื้อที่ของตำบลหลุบมีประมาณ 28,772 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.4 ของพื้นที่่ทั้งหมดของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ลักษณะพื้นที่ของตำบลหลุบ มีลักษณะพื้นที่ราบและราบลุ่ม มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ ลำน้ำปาว แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเกษตรและการปศุสัตว์ผลผลิตของพื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลหลับอาศัยแหล่งน้ำจากโครงการชลประทานจังหวัดกาฬสินธุ์ และแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ลำน้ำปาว ส่วนในการทำการเกษตร คือ การทำนาปี นาปรัง และการปลูกพืชฤดูแล้ง เช่นมะเขือ พริก ข้าวโพด ถั่วลิสง ฯลฯ เพราะฉะนั้นจะเห็นว่ารายได้ส่วนใหญ่ของประชาชนในท้องถิ่นส่วนใหญ่มากจากการทำการเกษตรมากที่สุด
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของหน่วยที่ดินนี้ได้แก่ ดินที่ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนาหรือใช้ปลูกพืชล้มลุกในช่วงฤดูแล้งหน่วยที่ดินดังกล่าว พบบริเวณกว้างร้อยละ 64.7 ของพื้นที่ตำบลหรือ 24.59 ตารางกิโลเมตร หรือปริมาณ 15,368.5 ไร่ บริเวณที่พบอยู่ข้างบ้านกุดอ้อ หมู่ที่ 2 บ้านสุขสวัสดิ์ หมู่ที่ 14 บ้านโคกกลาง หมู่ที่ 3 บ้านหนองคอนชัย หมู่ที่ 10 และบ้านดอนสนวน หมู่ที่ 9
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในบ้านหลุบตระหนักถึงปัญหาเรื่องโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสัตว์ตระกูลสุกร ซึ่งมีสุกรป่าเป็นแหล่งรังโรค และมีเห็บอ่อนเป็นพาหะนำโรค โรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นในอนุภูมิภาคซาฮาราของทวีปแอฟริกา ประเทศซาดิเนียของทวีปยุโรป ต่อมาพบการระบาดของโรคในประเทศ โดยสถาณการณ์ภายในฟาร์มที่มีการสำรวจข้อมูลภายในพื้นที่มีการใช้ยาต้านไวรัสผสมในอาหารให้สุกรกินเพื่อแก้ไขปัญหาอาการไอ อีกทั้งเกษตรกรมีความต้องการลดต้นทุนค่าอาหารสุกรโดยการใช้มันสำปะหลังหมักยีสต์ ถึงแม้ว่าจะมีการงดการฉีดวัคซีนบางตัวเพื่อเข้าสู่มาตราฐานอาหารปลอดภัย แต่ก็ยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบอยู่อย่างต่อเนื่อง การนำนวัตกรรมโดยการใช้สมุนไพร (ขมิ้นชัน) ผสมลงในอาหารสุกรซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์การรักษาจากงานวิจัยที่ใช้ในคน หรือสัตว์บางชนิดแล้วพบว่าได้ผลด้านการต้านการอักเสบ และฆ่าแบคทีเรียบางชนิดได้ ซึ่งการใช้ขมิ้นชั้นลงไปในอาหารนั้นเป็นการเสริมภูมิต้านทานให้สุกร ทั้งยังเป็นการลดการใช้ยาในการรักษาโรค จากการสำรวจลงพื้นที่เกษตรกรมีความสนใจการนำขมิ้นชันไปใช้ในการเลี้ยงสุกร เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเนื้อสุกร เพื่อยกระดับสู่มาตรฐานอาหารปลอดภัย

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1.นวัตกรรมการใช้สมุนไพร (ขมิ้นชัน) ผสมลงในอาหารสุกรเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดการใช้ยาปฏิชีวนะ
2.นวัตกรรมการส่งเสริมการขายอย่างมีระบบ สร้างมูลค่าเพิ่มในกับเนื้อสุกร

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

จากปัญหาดังกล่าว มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มีความพร้อมที่จะนำองค์ความรู้และแนวทางการสร้างนวัตกรรมการดำเนินธุรกิจสุกรสมุนไพร โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพรด้วยขมิ้นชันของชุมชนในบ้านหลุบ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากมีบุคลากรและนักศึกษาที่มีองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมทางการดำเนินธุรกิจและพื้นที่ที่สามารถนำมาเชื่อมต่อให้เกิดเป็นรูปธรรมเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร โดยนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการสัตวแพทย์และนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ทุกภาคการศึกษาในรายวิชาการเรียนรู้ภาคปฏิบัติด้านการผลิตขมิ้นชั้น การเจริญเติบโตของสุกร และการจัดการธุรกิจค้าปลีกและนักศึกษาได้ศึกษารายวิชาพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อการบริหารสินค้าในธุรกิจค้าปลีก นักศึกษานั้นสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคสุกรสมุนไพร โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพรต่างชนิดของชุมชนในบ้านหลุบ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมการดำเนินธุรกิจสุกรสมุนไพร โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพรต่างชนิดของชุมชนในบ้านหลุบ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้กับเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแนวคิดห่วงโซ่อุปทาน ที่นำไปปฏิบัติงานจริง โดยนักศึกษามีความสามารถในการค้นคว้า คิดวิเคราะห์ ประมวลผล มีความคิดสร้างสังสรรค์ สามารถ ออกแบบระบบงานมีความฉลาดในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีสำนึกในความเป็นธรรมและมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความใฝ่รู้อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตร่วมกับชุมชนท้องถิ่นของตนเอง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การใช้สมุนไพรขมิ้นชัน ยาปฏิชีวนะ ชุมชนบ้านหลุบ ห่วงโซ่อุปทาน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo ฟาร์มสุกรของเกษตรกรฟาร์มสุกรของเกษตรกร
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย vettech vettech เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 15:15 น.