โครงการบริการวิชาการสู่สังคม "การสร้างสรรค์และผลิตสื่อด้วย Smartphone เพื่อเผยแพร่บนสื่อออนไลน์ ชุมชนตลาดน้ำวัดสะพาน ราชพฤกษ์ กรุงเทพฯ"
ข้อมูลโครงการ
ชื่อโครงการ | โครงการบริการวิชาการสู่สังคม "การสร้างสรรค์และผลิตสื่อด้วย Smartphone เพื่อเผยแพร่บนสื่อออนไลน์ ชุมชนตลาดน้ำวัดสะพาน ราชพฤกษ์ กรุงเทพฯ" |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน |
หน่วยงานหลัก | คณะนิเทศศาสตร์ |
หน่วยงานร่วม | |
ชื่อชุมชน | ชุมชนตลาดน้ำวัดสะพาน ราชพฤกษ์ กรุงเทพฯ |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | ผศ.วรรณี งามขจรกุลกิจ |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | ผศ.นับทอง ทองใบ และ ผศ.บุณยนุช สุขทาพจน์ สาขาวิชาวิทยุ-โทรทัศน์, อ.จิตรา วรรณสอน และ อ.ชุมพล มียิ่ง สาขาวิชาการออกแบบสื่อสารออนไลน์ |
การติดต่อ | 025791111 ต่อ 2235 |
ปี พ.ศ. | 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 ธันวาคม 2561 - 10 พฤษภาคม 2562 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ตลาดน้ำวัดสะพานเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตรอีกหนึ่งแห่งแถบย่านฝั่งธนฯ ในสมัยก่อนที่มีพม่าบุกเข้ามาถึงตรงนี้ได้ โดยทิ้งหลักฐานร่องรอยเอาไว้คือรอยเผา ที่ทำรายวัตถุมงคลต่างๆรวมไปถึงการขุดหาทอง โดยในปัจจุบันเวลาผ่านมานานสองร้อยกว่าปีแล้ว ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าทองที่ฝังอยู่ภายในบริเวณวัดนั้นอยู่ที่ใด โดยวัดไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านวัตถุมงคล แต่วัดสะพานเป็นสำนักสงฆ์ การก่อพระประธานองค์ใหม่เพื่อมาทดแทนองค์เก่าที่ถูกพม่าเผาไปในครั้งกรุงศรีอยุธยา มากจากการช่วยเหลือ,บริจาคของชาวบ้านที่แบ่งทรัพย์สินและทองในการปั้นพระประธานองค์ใหม่ โดยพระประธานอีกองค์ที่ได้อัญเชิญมาตั้งสถานไว้ภายในวัดสะพานแห่งนี้มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมามีการตัดถนนเข้าถึงบริเวณวัด และมี3พี่น้อง ได้นำเงินและที่ดินที่ได้จากการขายหรือเวียนคืน นำมาสร้างพระอุโบสถจำนวนเงิน53ล้านบาท และได้บริจาคที่ดินให้แก่วัดสะพาน แต่ในสัญญายังมีข้อระบุอยู่ว่า หากทางวัดจะปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมอะไรต้องขออนุญาติจากทางเจ้าของที่ดินนี้ก่อนโดยการก่อตั้งตลาดน้ำสะพานมานี้มีมานาน11-12ปี ตั้งตลาดน้ำสะพานระยะเวลาใก้ลๆกับตลาดน้ำคลองลัดมะยม การตั้งตลาดน้ำสะพานนี้ขึ้นเกิดจากการร่วมมือในการทำโครงการ สามตลาด โดยมี ตลาดน้ำตลิ่งชั่น,ตลาดน้ำคลองลัดมะยม,ตลาดน้ำวัดสะพาน โดยตลาดที่เปิดก่อนก็คือตลาดน้ำตลิ่งชั่น โดยการสัญจรไปมาในสมัยก่อนจะเดินทางข้ามสะพานมายังวัดสะพาน ซึ่งอยู่ตรงข้ามใก้ลๆกับชุมชนวัดสะพานมานานนับหลายร้อยปี นอกจากนี้แล้วตลาดน้ำวัดสะพาน ยังเป็นหนึ่งในตลาดน้ำในกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืน ที่ประกอบไปด้วยตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำคลองลัดมะยม แล้วก็ที่ตลาดน้ำวัดสะพานแห่งนี้
และตลาดน้ำสะพานแห่งนี้ได้เข้าร่วมโครงการชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืนที่ว่านี้เป็นความร่วมไม้ร่วมมือกันระหว่าง ผู้ดูแลพื้นที่คือ กรุงเทพมหานคร ที่มีกองการท่องเที่ยวและการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนโดยผ่านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตัวตลาดน้ำอยู่ในบริเวณวัดสะพาน ที่ตั้งอยู่ริมคลองบางน้อย โดยตัววัดจะหันหน้าเข้าสู่คลอง ที่เป็นเส้นทางคมนาคมหลักในอดีต ส่วนด้านที่เป็นถนนเข้ามาที่วัดนี้ ชาวบ้านจะเรียกกันว่าด้านหลังวัด บริเวณถัดไปจากวัดจะเป็นเขตย่านชานเมืองกรุง ที่ยังมีบริเวณพื้นที่สีเขียวโดยวงกว้าง ต่างจากพื้นที่รอบนอกที่เต็มไปด้วยวิ่งปลูกสร้างต่างๆ อีกทั้งแล้วยังมีบริการเรืออีกด้วย วิหารที่วัดสะพานนี่เรียกว่า วิหารโถง หรือก็คือเป็นวิหารที่เปิดโล่ง ไม่มีผนัง แต่เดิมตรงนี้เคยเป็นวิหารหลังเล็ก 3 หลังเรียงกัน แต่ด้วยผ่านกาลเวลาจนชำรุดทรุดโทรม ชาวบ้านและชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนวัดสะพานก็ได้ร่วมใจกันสร้างใหม่ ให้เป็นวิหารใหญ่หลัง ที่วัดสะพานนี้เชื่อกันว่าเป็นวัดเก่าแก่มีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่บ้านเราจะไม่พบบันทึกว่าวัดสร้างกันขึ้นในสมัยไหน อาศัยจากการคาดเดาได้จากพระพุทธรูปเก่าแก่ที่พบอยู่ที่วัดสะพานแห่งนี้ ที่มีทั้งที่ยังมีสภาพค่อนข้างดีหรือที่ชำรุดแบบนี้ไปแล้ว ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยอยุธยา จากแนวคลองหน้าวัด มีคลองซอยสั้น ๆ ที่แยกเข้ามาในบริเวณวัด ซึ่งเป็นแหล่งศูนย์กลางของตลาดน้ำสะพานนี้ มีเรือมาจอดขายอาหารกัน
โดยไม่ได้มีแต่เรือแม่ค้า ชาวบ้านพายเรือมาซื้อก็มี หรือจะเป็นร้านค้าที่ตั้งบนบก อยู่ในเต้นท์ ซึ่งแต่ละร้านค้าจะมีจุดเด่นความอร่อยของแต่ละร้านต่างกันออกไป ร้านค้าอาหารที่ตลาดน้ำสะพานแห่งนี้ได้รับการยอมรับจากกระทรวงสาธารณสุข อีกทั้งยังมีอาหารที่หารับประทานได้ยาก เป็นอาหารทานเล่นของชาววังสมัยรุ่นปู่-ย่า ตา-ยาย อาทิ ไส้กรอกปลาแนม
นอกจากจะมีร้านค้าต่างๆที่น่าสนใจแล้ว ตลาดน้ำสะพานแห่งนี้ยังรณงค์ให้ชาวบ้านอาศัย กินอยู่กันอย่างพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยร้านค้าพืชผัก,ผลไม้ในตลาดน้ำสะพาน มักมาจากชาวบ้านที่เป็นเกษตตรหรือปลูกไว้ และนำส่วนที่เหลือแบ่งมาค้าขายกัน สินค้าผลผลิตที่ปลอดสารพิษเขียวชอุ่มจากสวนของชาวบ้าน อีกทั้งการให้ความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนสะพานและพ่อค้าแม่ค้าในตลาดน้ำสะพาน ในการพัฒนาตลาดน้ำสะพานให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป แต่แฝงไปด้วยกลิ่นไอความเป็นชาวบ้านวัดสะพานและการอนุรักษ์โบราณสถานที่อยู่คู่กับวัดสะพานมานานนับ 230กว่าปีแล้ว
ตลาดน้ำวัดสะพานถือได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตลาดน้ำในย่านชานเมืองที่น่าท่องเที่ยว นอกจากจะเป็นตลาดน้ำแล้วยังมีโบราณสถานอันเก่าแก่มากว่า230กว่าปี สมัยอยุธยาที่อยู่เคียงคู่วัด และต้นสะดืดที่เป็นต้นไม้ใหญ่มีสรรพคุณนำมาเป็นยารักษา ที่คนปัจจุบันไม่ค่อยได้ทราบ เป็นอีกหนึ่งตลาดน้ำที่อยู่ในย่านชานเมือง โดยมีบริเวณพื้นที่สีเขียววงกว้างโดยรอบตลาดน้ำสะพาน อีกทั้งตลาดน้ำสะพานไม่มีการแบ่งราคาในการค้าขายสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ โดยเป็นราคาขายเช่นเดียวกันหมด ตลาดน้ำสะพานแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวควรแก่การเชิญชวนมาท่องเที่ยวของกลุ่มชาวไทยและชาวต่างชาติ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ขาดความรู้และทักษะในการสร้างสรรค์และผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ชุมชนตลาดน้ำข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
ประเมินคุณค่าโครงการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น | ผลที่เกิดขึ้น | ||
---|---|---|---|
1 | เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน | ||
2 | เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ | ||
3 | การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) | ||
4 | การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ | ||
5 | เกิดกระบวนการชุมชน | ||
6 | มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ |
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
