สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การแปรรูปอาหารแพะเพื่อลดต้นทุน กรณีศึกษา : ฟาร์มคุณพ่อโส บ้านนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวภู

การแปรรูปอาหารแพะเพื่อลดต้นทุน กรณีศึกษา : ฟาร์มคุณพ่อโส บ้านนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวภู

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การแปรรูปอาหารแพะเพื่อลดต้นทุน กรณีศึกษา : ฟาร์มคุณพ่อโส บ้านนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวภู
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
หน่วยงานร่วม สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
ชื่อชุมชน บ้านนามะเฟือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวภู
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ศศิประภา พรหมทอง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา จารุภา รอตสุวรรณ์
พิมพกานต์ พระนคร
ธัญญารัตน์ ราชหุ่น
การติดต่อ 0894221212
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 พฤศจิกายน 2561
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
หนองบัวลำภู place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ฟาร์มคุณพ่อโสมีจุดแข็งของสถานที่ในการเลี้ยงแพะของฟาร์มคุณพ่อโส มีความปลอดภัย สะอาด สถานที่เลี้ยงแพะมีความกว้างเพียงพอรองรับในการอยู่อาศัยของแพะมีการตรวจสอบสุขภาพแพะอย่างน้อย 5 ครั้ง ต่อสัปดาห์อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงแพะมีความปลอดภัยต่อสุขภาพของแพะ ดังนั้น แพะทุกตัวที่ส่งออกให้กับฟาร์มแพะใหญ่ในจังหวัดหนองบัวลำภู
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ในจังหวัดหนองบัวลำภู มีการเลี้ยงแพะส่งให้ฟาร์มใหญ่ๆในตัวจังหวัดอยู่มาก กลุ่มเกษตรกรจึงหันมาเลี้ยงแพะกันเพิ่มมากขึ้น และการเลี้ยงแพะในแต่ละครั้งจะใช้ต้นทุนอยู่มากพอสมควร นอกจากเกษตรกรจะปลูกหญ้าไว้เพื่อเกี่ยวไว้เลี้ยงแพะแล้ว ยังจะมีเรื่องที่อยู่อาศัยของแพะที่ต้องทำความสะอาด และแพะจะต้องทานหญ้าที่สดและไม่เปียกไม่ชื่น ทำให้น่าฝนมักจะมีปัญหาเรื่องการเลี้ยงแพะที่ลำบากขึ้นเพราะแพะสามารถทานหญ้าที่เปียกฝนได้และไม่สามารถจะเกี่ยวมาเป็นอาหารแพะได้ เพราะถ้าแพะทานหญ้าที่ชื้นแล้วจะทำให้แพะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว และอาจจะป่วยได้ง่ายๆ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
เกษตรกรต้องการแก้ปัญหาโดยการใช้อาหารเม็ดของแพะมาแทนหญ้าที่ไม่สามารถเกี่ยวให้แพะทานในส่วนนทางผู้ประกอบการมีปัญหาหลักคือการที่ใช้อาหารเม็ดให้แพะแทนหญ้าเปียกทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

สูตรอาหารแพะให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยเมื่อแพะได้ทานเข้าไป

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

แพะ (Goat)เป็นสัตว์ให้เนื้อ และให้นมที่นิยมเลี้ยงชนิดหนึ่ง เนื่องจากนมแพะที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ใกล้เคียงหรือสูงกว่านมโค กระบือ และมนุษย์ มีไขมันในระดับต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ โมเลกุลไขมันมีขนาดเล็ก ทำให้ง่ายต่อการย่อย และการดูดซึมง่ายในระบบทางเดินอาหารสามารถนำใช้บริโภคแทนนมมนุษย์ได้ดีกว่านมโคและนมกระบือ แพะเป็นสัตว์ให้เนื้อเป็นอาหารที่มีโปรตีนที่ย่อยได้ในระดับสูงกว่าเนื้อโค สุกร และไก่ และมีไขมันในระดับต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ รวมถึงขน และหนังแพะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน อาทิ ใช้ทำกระเป๋า เสื่อ พรม และเชือก ส่วนมูลแพะใช้ทำเป็นปุ๋ย เขา และกีบนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เลือด และกระดูกนำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ แพะเนื้อมีการเลี้ยงมากในภาคใต้และภาคกลางของประเทศไทย การเลี้ยงแพะมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปีโดยในช่วงปี 2549-2554 มีการขยายการเลี้ยงแพะจาก 324,150 ตัว ในปี 2549 เป็น 427,567 ตัว ในปี 2554หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.72 ต่อปี (กรมปศุสัตว์, 2554) จังหวัดที่มีการเลี้ยงแพะเนื้อมากที่สุด คือ จังหวัดยะลา รองลงมาได้แก่ จังหวัดปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ และสงขลา ตามลำดับ แต่เนื้อแพะยังไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคโดยทั่วไปในประเทศ นอกจากผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม สภาพการเลี้ยงส่วนใหญ่ เกษตรกรจึงเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพรอง แต่การเลี้ยงแพะเนื้อสามารถพัฒนาเป็นอาชีพหลักที่มีความมั่นคงได้ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงแพะและพัฒนาทั้งด้านการผลิตและการตลาด รวมทั้งมีนโยบายส่งเสริมการผลิตและส่งออกอาหารฮาลาล ซึ่งจะทำให้แพะเนื้อเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นการศึกษาที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเน้นศึกษาด้านการผลิต ส่วนการศึกษาด้านการตลาดยังมีน้อย ดังนั้นการศึกษาด้านการตลาดในเรื่องโครงสร้างตลาด หน้าที่การตลาด พฤติกรรมตลาด วิถีการตลาด ส่วนเหลื่อมการตลาด และประสิทธิภาพการตลาด เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการกำหนดแนวทางในการพัฒนาการตลาดแพะเนื้อ รวมทั้งการพัฒนาการผลิตแพะเนื้อให้มีคุณภาพ และเพื่อใช้ประกอบในการส่งเสริมนโยบายการผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลของภาครัฐ(ที่มา :https://esan108.com )
ในจังหวัดหนองบัวลำภู มีการเลี้ยงแพะส่งให้ฟาร์มใหญ่ๆในตัวจังหวัดอยู่มาก กลุ่มเกษตรกรจึงหันมาเลี้ยงแพะกันเพิ่มมากขึ้น และการเลี้ยงแพะในแต่ละครั้งจะใช้ต้นทุนอยู่มากพอสมควร นอกจากเกษตรกรจะปลูกหญ้าไว้เพื่อเกี่ยวไว้เลี้ยงแพะแล้ว ยังจะมีเรื่องที่อยู่อาศัยของแพะที่ต้องทำความสะอาด และแพะจะต้องทานหญ้าที่สดและไม่เปียกไม่ชื่น ทำให้น่าฝนมักจะมีปัญหาเรื่องการเลี้ยงแพะที่ลำบากขึ้นเพราะแพะสามารถทานหญ้าที่เปียกฝนได้และไม่สามารถจะเกี่ยวมาเป็นอาหารแพะได้ เพราะถ้าแพะทานหญ้าที่ชื้นแล้วจะทำให้แพะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว และอาจจะป่วยได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นเกษตรกรจึงแก้ปัญหาโดยการใช้อาหารเม็ดของแพะมาแทนหญ้าที่ไม่สามารถเกี่ยวให้แพะทานได้ดังนั้นทางผู้ประกอบการจึงมีปัญหาหลักคือการที่ใช้อาหารเม็ดให้แพะแทนหญ้าเปียกทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง
ทางกลุ่มแปรรูปอาหารแพะจึงมีแนวคิดที่จะลดต้นทุนและใช่ได้ผลในระยะยาวนั้นก็คือมีการคิดค้นสูตรอาหาร มา 2 สูตรนั่นก็คือ สูตรที่ 1 การใช้มันสำปะหลังเลี้ยงแพะ โดยสูตรคือการใช้ มันสำปะหลัง 1 ส่วน 2. กระถิน 1 ส่วน 3. รำละเอียด 1 ส่วน 4. กากถั่วเหลือง 1 ส่วน สูตรที่ 2 คือการใช้หญ้าหมักเกลือเลี้ยงแพะ การทำหญ้าหมักเกลือ เป็นวิธีหนึ่งของการถนอมอาหารของแพะ ให้สามารถเก็บไว้ได้นาน และเป็นอาหารที่มีโปรตีนเทียบเท่ากับอาหารข้นด้วย 1. หญ้า หญ้าขน หญ้าคา(อายุ 1 ปี) 100 กิโลกรัม หรือ 10 ส่วน 2. เกลือเม็ด 1 กิโลกรัม หรือ 1 ส่วน 3. ถังหมักขนาด 200 ลิตรอาหารเลี้ยงแพะเนื้อ(แพะขุน)ประหยัดต้นทุนที่จะกล่าวถึงในวันนี้ จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผู้เลี้ยงมีรายรับเพิ่มขึ้นได้จากต้นทุนที่ลดลงนั่นเอง อาหารเม็ดสำหรับแพะมีราคาอยู่ที่ 350 ต่อ 5 กิโล และต้องใช่จำนวนมากเพราะแพะมีจำนวนมากถึง50 ตัวยังช่วยประหยัดต้นทุนลงอีก เป็นการลงทุนระยะยาว และเห็นผลอย่างชัดเจนจึงเป็นแนวทางที่จะทำให้ผู้เลี้ยงมีรายรับเพิ่มขึ้นได้จากต้นทุนที่ลดลงนั่นเอง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การแปรรูปอาหารแพะ
  • แปรรูปอาหารแพะ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย udonthani_ru udonthani_ru เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 14:10 น.