สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตจากห้องเรียนสู่ชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตจากห้องเรียนสู่ชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
หน่วยงานหลัก ส่วนกิจการเพื่อสังคม
หน่วยงานร่วม คณะเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
ชื่อชุมชน องครักษ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรุษา เชาวนลิขิต
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 114 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซอย สุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10250
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์พรรณทิพา เจริญไทยกิจ หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.พรทิพย์ ศิริสุนทราลักษณ์ กรรมการ
ผศ.ดร.วาสินี จันทร์นวล กรรมการ
อ.ดร.ปรมาภรณ์ เกิดทรัพย์ กรรมการ
ผศ.ดร.นันทรัตน์ ณ นครพนม กรรมการ
อ.ดร.วิไลพร ไกรสุวรรณ กรรมการ
อ.ดร.ชลินันท์ เพ็งสุข กรรมการ
นางสาวไพจิตรี ป่าขมิ้น กรรมการ
นางสาวสุพรรณา แดงเจริญ กรรมการ
นางสาวกรองกาญจน์ มณีรักษ์ กรรมการ
นางสาวกมลวรรณ เกตุโกมุท กรรมการ
นางสาวนัยนา ตั้งใจดี กรรมการและเลขานุการ
การติดต่อ 026495000
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 -
งบประมาณ 270,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
นครนายก องครักษ์ องครักษ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ส่วนที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากพลาสติกรีไซเคิล
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีพื้นที่เขตปกครอง/รับผิดชอบในปัจจุบัน จำนวน 6 หมู่บ้าน/ชุมชน มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น 5-6 ตันต่อวัน โดยในแต่ละชุมชนไม่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่ แต่มีการเก็บขยะนำไปกำจัดกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทรายมูลเพียงที่เดียว นอกจากนี้การลงพื้นที่สำรวจปัญหาในพื้นที่จัดเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทรายมูล อ.องครักษ์ จ.นครนายก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2559 ของสาขาเทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์ พบว่าขยะที่มาจากมหาวิทยาลัยซึ่งประกอบด้วย ขยะอันตรายและขยะมูลฝอย อาทิเช่น เศษอาหาร ของสด แก้ว พลาสติก ผ้า และโลหะ เป็นต้น มีปริมาณมากและขาดการจัดการที่เหมาะสม ทำให้เป็นอุปสรรคต่อเจ้าหน้าที่จัดเก็บขยะและกำจัดขยะ ของ อบต. ทรายมูล
ส่วนที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากห้องเรียนสู่ชุมชน
ในอีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ถึงแม้รัฐบาลจะเตรียมมาตรการรองรับไว้หลายอย่าง ได้แก่ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถหารายได้ด้วยตนเอง และสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วยการออกนโยบายเรื่องเงินออม เป็นต้น มาตรการเหล่านี้จะสัมฤทธิ์ผลได้ถ้าผู้สูงอายุมีสุขภาพดี มีกำลังพอที่จะดูแลตนเอง ปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ ได้แก่ การขาดสารอาหารและการเป็นโรคไม่ติดต่อชนิดเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของเซลล์ (เช่น ความดันโลหิต เบาหวาน และไต เป็นต้น)
ส่วนที่ 3 การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น(ปลาดู)เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาความปลอดภัยด้านจุลินทรีย์
ปลาดูเป็นผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านของชาวไทยพวน ผลิตจากปลาดุกหรือปลาช่อนนำมาหมักเกลือและสมุนไพรชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถนอมอาหารที่สืบทอดกันมา จะใช้ระยะเวลาการหมักไม่นาน เป็นอาหารท้องถิ่นที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายกได้ดี แต่การผลิตในระดับครัวเรือนนั้น มีความผันแปรของคุณภาพและการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน และอาจส่งผลเสียอย่างยิ่งหากผลิตภัณฑ์อาหารมีการปนเปื้อนจนเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค สาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัญหาการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ แม้ว่าอาหารกลุ่มนี้ ได้ผ่านกระบวนการหมักที่อาจช่วยทำลายหรือยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ แต่ยังมีโอกาสพบการปนเปื้อนจุลินทรีย์ต่างๆ รวมถึงเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
1.ดำเนินการจัดการขยะ เพื่อให้อำเภอองครักษ์เป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
2.ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.ยืดอายุการเก็บรักษาความปลอดภัยด้านจุลินทรีย์

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. เกิดองค์ความรู้เพื่อให้นิสิตนำไปพัฒนากระบวนการขึ้นรูปพอลิเมอร์(เส้นพลาสติก)ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย และมีความคงทนมากขึ้นกระบวนการขึ้นและการทดสอบและพิสูจน์ลักษณะเฉพาะของวัสดุพอลิเมอร์
2. การใช้ความรู้ทางด้านจุลินทรีย์ โดยการนำความรู้พื้นฐานทางจุลชีววิทยา มาใช้ในโครงการ
3. การใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หลักโภชนาการในสภาพปกติและพยาธิสภาพ

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2552 โดยโครงการบริการวิชาการของคณะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ชุมชนในระดับต่างๆ ได้รับข้อมูล ความรู้ ทักษะทางด้านผลิตภัณฑ์การเกษตร และเป็นโอกาสที่จะสามารถพัฒนาตนเอง เพิ่มคุณภาพชีวิต และพึ่งตนเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และของประเทศในที่สุด ทั้งนี้การดำเนินงานของโครงการฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในการบริการวิชาการแก่สังคมโดยมุ่งเน้นการดำเนินงานที่เห็นผลในพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ได้แก่ อ.องครักษ์ จ.นครนายก และตรงกับนโยบายที่ต้องการให้มีการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกับการพัฒนามหาวิทยาลัย รวมทั้งให้มีการบูรณาการของพันธกิจด้านการบริการวิชาการกับพันธกิจอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอน และมีการ บูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
ในปี 2562 จะดำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตจากห้องเรียนสู่ชุมชน เป็นโครงการที่นิสิตที่เรียนในวิชาต่างๆ ของคณะฯ จะเข้าไปเรียนรู้ในชุมชนตามลักษณะของรายวิชา และนำปัญหามาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ผ่านการเรียนในชั้นเรียน แล้วนำคำตอบที่ได้กลับมาแลกเปลี่ยนกับชุมชน โดยจะแบ่งกิจกรรมเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากพลาสติกรีไซเคิล
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก มีพื้นที่เขตปกครอง/รับผิดชอบในปัจจุบัน จำนวน 6 หมู่บ้าน/ชุมชน มีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น 5-6 ตันต่อวัน โดยในแต่ละชุมชนไม่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่ แต่มีการเก็บขยะนำไปกำจัดกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทรายมูลเพียงที่เดียว นอกจากนี้การลงพื้นที่สำรวจปัญหาในพื้นที่จัดเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทรายมูล อ.องครักษ์ จ.นครนายก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2559 ของสาขาเทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์ พบว่าขยะที่มาจากมหาวิทยาลัยซึ่งประกอบด้วย ขยะอันตรายและขยะมูลฝอย อาทิเช่น เศษอาหาร ของสด แก้ว พลาสติก ผ้า และโลหะ เป็นต้น มีปริมาณมากและขาดการจัดการที่เหมาะสม ทำให้เป็นอุปสรรคต่อเจ้าหน้าที่จัดเก็บขยะและกำจัดขยะ ของ อบต. ทรายมูล
ดังนั้น จึงเล็งเห็นว่าควรมีการดำเนินการจัดการขยะ เพื่อให้อำเภอองครักษ์เป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้นิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการจัดการแยกขยะ และการแปรรูปขยะพลาสติกเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า เพื่อลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาและฝังกลบ และจะขยายผลโครงการจัดการขยะ ในรูปแบบขยายผลสู่ชุมชน อำเภอองครักษ์ ที่มีความประสงค์จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะในรูปธนาคารขยะ และขยายผลสู่โรงเรียนในพื้นที่ ทั้งนี้จะทำให้ อำเภอองครักษ์ เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและความร่วมมือของชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการขยะแบบคัดแยกจากต้นกำเนิด และจัดการขยะอย่างเป็นระบบและถูกวิธี ส่งผลให้เป็นชุมชนต้นแบบแห่งการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง
ส่วนที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากห้องเรียนสู่ชุมชน
ในอีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ถึงแม้รัฐบาลจะเตรียมมาตรการรองรับไว้หลายอย่าง ได้แก่ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถหารายได้ด้วยตนเอง และสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วยการออกนโยบายเรื่องเงินออม เป็นต้น มาตรการเหล่านี้จะสัมฤทธิ์ผลได้ถ้าผู้สูงอายุมีสุขภาพดี มีกำลังพอที่จะดูแลตนเอง ปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ ได้แก่ การขาดสารอาหารและการเป็นโรคไม่ติดต่อชนิดเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของเซลล์ (เช่น ความดันโลหิต เบาหวาน และไต เป็นต้น) ดังนั้นการพัฒนาอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายและสอดคล้องกับโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่เป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งรับผิดชอบหลักสูตร วท.บ.สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ ได้เปิดสอนวิชา วอภ 332 หลักโภชนาการในสภาพปกติและพยาธิสภาพที่มุ่งเน้นให้นิสิตได้มีความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาหารให้เหมาะสำหรับบุคคลทั้งสภาวะปกติและสภาวะเจ็บป่วย ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้นิสิตได้เห็นความสำคัญของวิชาชีพ และปลูกจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคม โครงการนี้จึงได้มีการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนกับรายวิชาดังกล่าว
ส่วนที่ 3 การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น(ปลาดู)เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาความปลอดภัยด้านจุลินทรีย์
ปลาดูเป็นผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านของชาวไทยพวน ผลิตจากปลาดุกหรือปลาช่อนนำมาหมักเกลือและสมุนไพรชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถนอมอาหารที่สืบทอดกันมา จะใช้ระยะเวลาการหมักไม่นาน เป็นอาหารท้องถิ่นที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายกได้ดี แต่การผลิตในระดับครัวเรือนนั้น มีความผันแปรของคุณภาพและการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน และอาจส่งผลเสียอย่างยิ่งหากผลิตภัณฑ์อาหารมีการปนเปื้อนจนเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค สาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัญหาการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ แม้ว่าอาหารกลุ่มนี้ ได้ผ่านกระบวนการหมักที่อาจช่วยทำลายหรือยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ แต่ยังมีโอกาสพบการปนเปื้อนจุลินทรีย์ต่างๆ รวมถึงเชื้อโรคอาหารเป็นพิษได้
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารด้านชนิดและปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหาร จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหาร จุลินทรีย์ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหาร รวมทั้งสารพิษที่เชื้อจุลินทรีย์สร้างขึ้น จึงมีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัยของอาหารให้ถูกสุขลักษณะและสามารถพัฒนากระบวนการถนอมอาหารเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้มีคุณภาพทัดเทียมกับมาตรฐานที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาและสืบสานผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านของชาวจังหวัดนครนายก สาขาเทคโนโลยีชีวภาพและผลิตภัณฑ์การเกษตร จึงดำเนินการลงพื้นที่สำรวจปัญหา ตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางด้านจุลชีววิทยาแก่กลุ่มชุมชน เพื่อให้ทราบถึงปริมาณจุลินทรีย์และชนิดของจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นดัชนีแสดงคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร พัฒนาวิธีการยืดอายุการเก็บรักษา รวมทั้งเพื่อเป็นการควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนดและยอมรับได้

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย SSOSWU SSOSWU เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 19:12 น.