สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและนวัตกรรมการแปรรูปอาหารจากไหมอีรี่ ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและนวัตกรรมการแปรรูปอาหารจากไหมอีรี่ ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและนวัตกรรมการแปรรูปอาหารจากไหมอีรี่ ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน บ้านใหม่ปฏิรูป,บ้านใหม่พัฒนา
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.เดือนเพ็ญ วงค์สอน
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
นครราชสีมา ชุมพวง โนนรัง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
บ้านใหม่ปฏิรูปและบ้านใหม่พัฒนา อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เกษตรเกษตรปลูกมันสำปะหลังสำหรับขายหัวมันสำปะหลัง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
เกษตรยังไม่สามารถผลิตไข่ไหมอีรี่ได้เอง และยังไม่สามารถเพาะแม่พันธุ์เองได้ จึงทำให้การเพาะเลี้ยงในทุกๆครั้งต้องขอความอนุเคราะห์ไข่ไหมมายังสาขาเทคโนโลยีการเกษตรเสมอมา อีกทั้งเกษตรกรยังไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมอีรี่ได้ เฉพาะการเพาะเลี้ยงเพื่อรวบรวมรังไหมไว้ขาย และการแปรรูปอาหารจากไหมอีรี่แบบดังเดิมด้วยการนำมาคั่วหรือทอดเท่านั้น
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
พัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมอีรี่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ไหมอีรี่ (Samia ricini D.) เป็นไหมป่าที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอของโลก ร่วมทั้งการทำมาใช้ประโยชน์ในด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป อาหารเสริมสุขภาพ ยาอายุวัฒนะ เป็นต้น (Akai, 2002; Sirimungkararat et al., 2010a; Sirimungkararat, 2012) ปัจจุบันได้รับความนิยมและมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงอย่างมากในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังแหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศ ด้วยความแข็งแรงของไหมอีรี่จึงทนทานต่อโรคและแมลงศัตรู ในการเพาะเลี้ยงไม่มีการใช้สารเคมีพิษใดๆ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(eco-product)ได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติที่ดีของไหมอีรี่ที่สามารถกินพืชอาหารหลากหลายชนิด เช่น ละหุ่ง (Ricinus communis Linn.), พระเจ้าร้อยท่า (Heteropanax fragrans Roxb.), Payam (Evodia fraxinifolia Hook.), มันสำปะหลัง(Manihot esculenta Crantz) และพืชอาหารอื่นๆ ที่สามารถนำมาเลี้ยงไหมอีรี่สลับได้ในบางวัย ได้แก่ แอปเปิ้ลป่า, แอปเปิ้ล, ก่อ และปาริชาด (Wongtong et al., 1980; Sarkar, 1988; ทิพย์วดี และคณะ, 2535) นั้น ในด้านการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของดักแด้ไหมอีรี่นั้น นั้นศิวิลัย และคณะ (2547ก)ได้วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ(proximate analysis)ของไหมอีรี่ที่เลี้ยงด้วยใบมันสำปะหลัง เปรียบเทียบกับไหมบ้านพันธุ์ไทยพื้นเมือง(นางลาย)และพันธุ์ต่างประเทศ(102 x 105) พบว่าดักแด้ไหมอีรี่มีโปรตีนสูงมาก(65.63%) โดยโปรตีนในดักแด้ไหมอีรี่ส่วนใหญ่เป็นชนิด globular protein ที่มี albumin สูงสุดเท่ากับ 28.50 – 30.20 เปอร์เซ็นต์ และ histone ค่อนข้างสูง (4.50 – 6.20%) อีกทั้งยังพบว่าไหมอีรี่ที่กินใบมันสำปะหลังเป็นอาหาร เมื่อนำมาวิเคราะห์ถึงกรดไฮโดรไซยานิค (hydrocyanic acid, HCN) ในหนอนและดักแด้ไหมอีรี่ พบว่าอยู่ในปริมาณที่ต่ำมากๆ จึงปลอดภัยต่อการบริโภคของคนและการกินของสัตว์ (ศิวิลัย และคณะ, 2547ข) ส่วนในต่างประเทศ Singh และ Saratchandra (2012) รายงานว่าดักแด้ไหมอีรี่ให้พลังงานสูง 460 กิโลอแคลอรี่(kcal)/100 กรัมน้ำหนักแห้ง หรือ 133 กิโลแคลอรี่/100 กรัมน้ำหนักสด ซึ่งมีค่าสูงกว่าที่ได้จากนมวัว (69 กิโลแคลอรี่/100 มิลลิลิตร), ไข่ (163 กิโลแคลอรี่/10 กรัม), เนื้อไก่ (120 กิโลแคลอรี่/100 กรัม), น้ำตาลทรายขาว(385 กิโลแคลอรี่/100 กรัม) และแครอทสด(42 กิโลแคลอรี่/100 กรัม) อีกทั้งดักแด้ไหมอีรี่ยังอุดมไปด้วยโปรตีน(53.3%) ขณะที่มีไขมัน 25.6 เปอร์เซ็นต์ และคาร์โบไฮเดรต 4.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปัจจับันนี้การบริโภคแมลงนับว่าได้รับความนิยมและยอมรับกันมากขึ้น หลายๆประเทศเริ่มยอมรับการใช้แมลงเป็นอาหารโปรตีนสำรองสำหรับประชากรโลกเพิ่มขึ้น องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ. 2050 จะมีประชากรมากถึง 9,000 ล้านคน จากปัจจุบันอยู่ที่ 7,300 ล้านคน และสถานการณ์อาหารโลกอาจเข้าสู่ภาวะวิกฤต แมลงจะเป็นทางเลือกใหม่ เนื่องจากมีราคาถูก และหาง่ายตามท้องถิ่นในประเทศต่างๆ (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, 2561)
จากการลงพื้นที่หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอำภอชุมพวง (บ้านใหม่ปฏิรูปและบ้านใหม่พัฒนา อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา) จากการทำความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนากับอำเภอชุมพวง ในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา ในปีงบประมาณ 2561 จะพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เกษตรเกษตรปลูกมันสำปะหลังสำหรับขายหัวมันสำปะหลัง จึงได้มีการส่งเสริมเกษตรทำอาชีพเสริมด้วยการนำใบมันสำปะหลังมาเลี้ยงไหมอีรี่ ในเบื้องต้นได้อบรมเชิงปฏิบัติการการเลี้ยงไหมอีรี่ซึ่งเกษตรกรให้การตอบรับอย่างดี และเกษตรกรเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีความรู้พื้นฐานในการเพาะเลี้ยงไหมหม่อน(ไหมกินใบหม่อน)อยู่แล้ว และปัจจุบันยังมีเกษตรกรที่ยังคงเพาะเลี้ยงไหมอีรี่อย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากเกษตรยังไม่สามารถผลิตไข่ไหมอีรี่ได้เอง และยังไม่สามารถเพาะแม่พันธุ์เองได้ จึงทำให้การเพาะเลี้ยงในทุกๆครั้งต้องขอความอนุเคราะห์ไข่ไหมมายังสาขาเทคโนโลยีการเกษตรเสมอมา อีกทั้งเกษตรกรยังไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมอีรี่ได้ เฉพาะการเพาะเลี้ยงเพื่อรวบรวมรังไหมไว้ขาย และการแปรรูปอาหารจากไหมอีรี่แบบดังเดิมด้วยการนำมาคั่วหรือทอดเท่านั้น
ดังนั้น สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ จึงเห็นถึงความสำคัญ ในการจัดโครงการอบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติแก่เกษตรกรให้สามารถเพาะเลี้ยงไหมอีรี่และแปรรูปอาหารจากไหมอีรี่ได้ เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การแปรรูปไหม
  • ไหมอี่รี่

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย monteearu monteearu เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 17:11 น.