สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการรณรงค์ขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ร่วมกับเครือข่ายขยายแนวคิด โครงการปิดทองหลังพระ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

โครงการรณรงค์ขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ร่วมกับเครือข่ายขยายแนวคิด โครงการปิดทองหลังพระ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ร่วมกับเครือข่ายขยายแนวคิด โครงการปิดทองหลังพระ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
หน่วยงานหลัก สาขาปรัชญาศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วยงานร่วม คณะมนุษย์ศาสาสตร์และสังคมศาสตร์
ชื่อชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อผู้รับผิดชอบ นายสันติภาพ ผิวศิลา นักศึกษา ฯ ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ชมนาถ แปลงมาลย์ ที่ปรึกษา
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ E-mail : chommanat2511@gmail.com มือถือ
ปี พ.ศ. 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
มหาสารคาม place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

รายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
โครงการรณรงค์ขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่

ร่วมกับเครือข่ายขยายแนวโครงการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันติภาพ ผิวศิลา และคณะ

องค์กรรับทุน สาขา ปรัชญาศาสนา และวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

โครงการรณรงค์ขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่
ร่วมกับเครือข่ายขยายแนวโครงการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ ปีที่ 2
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
รหัสโครงการ 58-00-001
สัญญาเลขที่ 58-00-001
เจ้าของโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันติภาพ ผิวศิลา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คณะทำงานโครงการ
นางสาวอรอุมา แสงสุวรรณ รองประธาน
นายพันศักดิ์ พันธ์เลิศ เลขา
นางสาวอมรพรรณ แคนลาด ผู้ช่วยเลขา
นายเมทิวัฒน์ ภูกองไชย เหรัญญิก
นางสาวสุภาวดี ศรีมาตย์ ผู้ช่วยเหรัญญิก
นายพลวัฒน์ แดงรัตน์ ประชาสัมพันธ์
นางสาวศิริยากร ไชยศรี กรรมการ

ที่ปรึกษาโครงการ ดร.ชมนาถ แปลงมาลย์

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อ ใช้ประกอบในการรายงานผลการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ร่วมกับเครือข่ายขยายแนวคิดโครงการปิดทองหลังพระ มหาวิทยาลัยราชภัชมหาสารคาม รหัสโครงการ 58-00-001

คณะทำงานโครงการฯ

เมษายน 2559

กิตติกรรมประกาศ

โครงการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามสำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่าน ซึ่งไม่อาจจำนำมากล่าวได้หมด ซึ่งผู้มีพระคุณท่านแรก คือ อ.ดร.ชมนาถ แปลงมาลย์ อาจารย์ผู้ที่นำโครงการมาเสนอให้กับนักศึกษา ลำดับที่สองขอขอบคุณ คณะผู้ใหญ่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามที่ให้โอกาส สนับสนุนอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ขอขอบคุณผู้นำชุมชนและชาวบ้านที่ให้ความร่วมมือ และขอขอบคุณอาจารย์ และ เพื่อนๆพี่ๆ น้องๆ สาขาปรัชญาศาสนาและวัฒนธรรมทุกคนที่ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ

ขอขอบคุณทีมพี่เลี้ยงโครงการที่เสียสละเวลามาให้คำแนะนำและช่วยเหลือโดยตลอดมา
ขอขอบคุณ โครงการปิดทองหลังพระและสำนักงาน สสส. ที่ได้จัดโครงการที่ดี ที่มีประโยชน์ต่อนักศึกษาผู้ที่ซึ่งเป็นเยาวชน สังคมและประเทศชาติ

บทสรุปย่อการดำเนินงาน

โครงการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ร่วมกับเครือข่ายขยายแนวคิดโครงการปิดทองหลังพระ มหาวิทยาลัยราชภัชมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลัก ดังนี้ เพื่อสร้างอาชีพใหม่ให้กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนือโดยการเลี้ยงไก่ไข่, เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนือ โดยการเลี้ยงไก่ไข่, เพื่อที่จะให้ไข่ไก่เข้าสู้ตลาดสีเขียวของกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนือ, เพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร กับกลุ่มแกนนำของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ในการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง โดยมีกลุ่มแกนนำนักศึกษาจาก สาขา ปรัชญาศาสนาและวัฒนธรรม คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานโครงการในครั้งนี้

โครงการในครั้งนี้ ได้จัดการดำเนินงานโครงการที่ ชุมชนบ้านส่องเหนือ ต.ตลาด อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม โดยมีขั้นตอนการดำเนินการที่สำคัญ ดังตารางต่อไปนี้

ระยะเวลา กิจกรรม สถานที่ดำเนินกิจกรรม ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

มีนาคม 2559

1. การประชุมเสวนาเพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างคณะนักศึกษา ผู้นำชุมชน แกนนำในชุมชน และประชาชนในหมู่บ้าน ศูนย์อุทัยทิศชุมชนบ้านส่อง และศาลากลางหมู่บ้านชุมชนบ้านส่องเหนือ 4 มีนาคม 2559
2. การอบรมเชิงปฏิบัติการ ศูนย์เกษตรปลอดสารพิษชุมชนบ้านส่องเหนือ 11-12 มีนาคม 2559
3. การจัดตั้งกองทุนอาหารไก่ ศูนย์เกษตรปลอดสารพิษชุมชนบ้านส่องเหนือ 18 มีนาคม 2559
4. การปรับปรุงสถานที่เพื่อใช้เป็นโรงเรือนกลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ ศูนย์เกษตรปลอดสารพิษชุมชนบ้านส่องเหนือ 25-26 มีนาคม 2559
5. การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โรงเรือนไก่ไข่ชุมชนบ้านส่องเหนือและชุมชนบ้านส่องเหนือ 30 มีนาคม 2559
6. เวทีสรุปผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเลี้ยงไก่ไข่แบบพึ่งพาตนเองตาม แนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง ศูนย์เกษตรปลอดสารพิษชุมชนบ้านส่องและศาลากลางหมู่บ้าน 16 มีนาคม 59 / 20 มีนาคม 59 / 28 มีนาคม 59

จาการดำเนินงานตามกิจกรรมตามตารางในข้างต้นทำให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่ไว้ตั้งไว้ และเกิดผลมากกว่าวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนี้ ร้อยละร้อยของสมาชิกกลลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนบ้านส่องเหนือมีอาชีพใหม่เกิดขึ้น คืออาชีพการเลี้ยงไก่ไข่, ร้อยละร้อยของสมาชิกกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนือมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงไก่ไข่,มีไก่ไข่ที่ได้จากการเลี้ยงของชาวส่องเหนือเข้าจำหน่ายในตลาดสีเขียวของกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนือประมาณเดือนล่ะ 1,200 ฟอง, มีไข่ไก่ให้นักเรียนในโรงเรียนในเขตชุมชนบ้านส่องได้รับประทาน เพื่อเพิ่มสารอาหารให้แก่เด็กประมาณเดือนละ 600 ฟอง, มีไก่ไข่จำหน่ายในหมู่บ้านประมาณเดือนละ600 ฟอง, เยาวชนในชุมชนบ้านส่องเหนือประมาณ 20 คนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการหันมาดูแลไก่ไข่,ได้เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร กับกลุ่มแกนนำของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

คำสำคัญ ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจชุมชน ส่องเหนือ

ความเป็นมา

จากที่ได้สอบถามกลุ่มตัวแทนปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน ทำให้เรารู้ถึงสภาพของปัญหาที่มีในชุมชนในส่วนลึก ทำให้ทราบสาเหตุว่าที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างนั้น ก็เพราะว่าความเจริญก้าวหน้าของสังคมเมืองได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในชุมชน เช่น การดำรงชีวิตประจำวัน การทำมาหากิน การทำการเกษตร ที่นาเปลี่ยนมือเป็นของนายทุน จากเดิมทีชาวบ้านก็จะมีที่นาเป็นของตัวเอง สามารถทำให้ประกอบอาชีพเกษตรได้อย่างเต็มที่ แต่ปัจจุบันก็ผันตัวไปเป็นลูกจ้างของนายจ้าง ก็เกิดปัญหาหลาย ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องมีอาชีพที่ไม่แน่นอน ปัญหาการขาดแคลนแหล่งอาหาร ที่ขาดแคลนแหล่งอาหารก็เพราะว่าชาวบ้านไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง ถึงมีก็มีน้อย พอมีน้อยก็ไม่สามารถจัดการกับที่ดินของตนได้ ทั้งๆที่ที่ดินตรงนั้นก็สามารถที่จะปรับทำการเกษตรอย่างอื่นได้ เช่น การเพราะเห็ด ปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น เมื่อขาดแคลนแหล่งอาหารชาวบ้านก็ต้องจำเป็นที่จะต้องซื้ออาหาร หรือวัตถุดิบการทำอาหาร อันเป็นเหตุให้เกิดปัญหาสูญเสียเงินทองโดยมิใช่เหตุจึงก่อให้เกิดปัญหาเรื่องหนี้สินตามมา
ทางชาวบ้านและคณะผู้จัดทำจึงได้ข้อสรุปร่วมกันว่า จะเลือกปัญหาที่ต้องการแก้ไขร่วมกันคือ การแก้ไขปัญหาในมิติด้านการเกษตร ในมิติเกษตรนี้ชาวบ้านได้เสนอว่าอยากจะเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ ชาวบ้านได้ให้เหตุผลว่าการเลี้ยงไก่ไข่จะช่วยแก้ปัญหาได้ในหลายด้าน การเลี้ยงไก่ไข่จะช่วยให้ชาวบ้านมีแหล่งอาหารที่มั่นคง มีอาชีพที่มั่นคง และยังเป็นการสร้างรายได้ลดรายจ่ายได้ ที่สำคัญคือได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
จากผลการสำรวจวิเคราะห์ปัญหา และผลการทำประชาคมระหว่างกลุ่มนักศึกษากับชาวบ้าน มีความเห็นตรงกันว่า จะแก้ไขปัญหาในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารในระดับครัวเรือนและระดับชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนได้เข้าถึงอาหารปลอดภัยและเป็นธรรม และสร้างทางเลือกการบริโภคอาหารให้แก่คนในชุมชน รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามและกลุ่มเกษตรชุมชนบ้านส่องเหนือ ในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้การเลี้ยงไก่ไข่ในชุมชนบ้านส่องเหนือ

วัตถุประสงค์

- เพื่อสร้างอาชีพใหม่ให้กลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนือโดยการเลี้ยงไก่ไข่
- เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนือ โดยการเลี้ยงไก่ไข่
- เพื่อที่จะให้ไข่ไก่เข้าสู้ตลาดสีเขียวของกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนือ
- เพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร กับกลุ่มแกนนำของมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ในการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง

กลุ่มเป้าหมาย

- สมาชิกกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนือ
- เยาวชนชุมชนบ้านส่องเหนือ
- ชาวบ้านผู้ที่มีความสนใจในการเลี้ยงไก่ไข่ (ชุมชนบ้านส่องเหนือ)

กลวิธีและกิจกรรม

ในการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นั้นได้น้อมนำเอาหลักการ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน โดยให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา ที่มาของปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ที่อยู่ภายใต้ของบริบทชุมชนนั้นอย่างแท้จริง จากที่ได้ใช้หลักการเข้าใจ และเข้าถึง โดยการลงสำรวจข้อมูลเบื้องต้น สอบถามปัญหาและสำรวจความต้องการของชุมชน จึงได้ข้อสรุปที่ได้ดำเนินกิจกรรรมในขั้นพัฒนา ดังกิจกรรมดังต่อไปนี้

ผลการดำเนินงาน

1. การประชุมเสวนาเพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างคณะนักศึกษา ผู้นำชุมชน แกนนำในชุมชน และประชาชนในหมู่บ้าน ศูนย์อุทัยทิศชุมชนบ้านส่อง และศาลากลางหมู่บ้านชุมชนบ้านส่องเหนือ ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และชาวบ้านชุมชนส่องเหนือ - เกิดความร่วมมือและความเข้าใจในทิศทางเดี่ยวกันระหว่าง คณะอาจารย์ นักศึกษา และผู้นำ แกนนำ ประชาชนในพื้นที่
- ได้แนวทางและวิธีการทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินกิจกรรมตามที่ได้ข้อตกลงกัน
2. การอบรมเชิงปฏิบัติการ
- วิธีการเลี้ยงไก่ไข่
- การผลิตอาหารไก่ไข่จากวัตถุดิบในหมู่บ้าน
- การป้องกันโรคติดต่อและการดูแลรักษาไก่ไข่ ศูนย์เกษตรปลอดสารพิษชุมชนบ้านส่องเหนือ ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และชาวบ้านชุมชนส่องเหนือ -ได้รับความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงไก่ไข่
- รับทราบแนวทางในการที่จะผลิตอาหารสำหรับเลี้ยงไก่ไข่ และวิธีการดูแลให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ
3. การจัดตั้งกองทุนอาหารไก่ ศูนย์เกษตรปลอดสารพิษชุมชนบ้านส่องเหนือ ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และชาวบ้านชุมชนส่องเหนือ
- เกิดกองทุนอาหารสำหรับเลี้ยงไก่ไข่
- เกิดความร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชน
4. การปรับปรุงสถานที่เพื่อใช้เป็นโรงเรือนกลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ ศูนย์เกษตรปลอดสารพิษชุมชนบ้านส่องเหนือ ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และชาวบ้านชุมชนส่องเหนือ -โรงเรือนสำหรับพร้อมที่จะเลี้ยงไก่ไข่สองโรง ขนาดความกว้าง 3 x 6 ตารางเมตร และ 5 x 7 เมตร
- เกิดความสมัคสมานสามัคคีกันของคนในชุมชน
- ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์บางส่วน ที่จะใช้ในการสร้างโรงเรือนจากชาวบ้าน และห้างร้านต่างๆ
5. การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โรงเรือนไก่ไข่ชุมชนบ้านส่องเหนือและชุมชนบ้านส่องเหนือ ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และชาวบ้านชุมชนส่องเหนือ -ได้รับรู้ถึงการมีส่วนร่วมของเยาวชนและชาวบ้าน ในการดูแลไก่ไข่
- ได้รับรู้ถึงผลผลิตที่ได้จาการเลี้ยงไก่ไข่
- ได้รับรู้ถึงการจัดการกับผลผลิต
- ได้รับรู้ถึงผลการดำเนินงานว่าได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ร่วมกันก่อนหน้านี้
6. เวทีสรุปผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเลี้ยงไก่ไข่แบบพึ่งพาตนเองตาม แนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง ศูนย์เกษตรปลอดสารพิษชุมชนบ้านส่องและศาลากลางหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน และชาวบ้านชุมชนส่องเหนือ -ได้เห็นถึงความมีส่วนร่วมที่ชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือมาตั้งแต่ต้นจนจบ
- ได้ส่งต่อโครงการเลี้ยงไก่ไข่ ให้กับกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนืออย่างเป็นทางการ
- ได้เห็นถึงการที่ชาวบ้านมีความสนใจที่เรียนรู้และนำเอาอาชีพเลี้ยงไก่ไข่เข้าไปเป็นอาชีพเสริมของครอบครัว
- ได้รับรู้ถึงการที่ชาวบ้านจะนำผลจากกิจกรรมที่ได้ไปต่อยอดให้เกิดกิจกรรมอื่นๆต่อไป เช่น การนำผลกำไรที่ได้ไปสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด,เลี้ยงปลาในบ่อปูน เป็นต้น

ผลสรุปสำคัญโดยภาพรวม

ผลสัมฤทธิ์ในภาพรวมของการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการที่ชุมชนบ้านส่องเหนือ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม การดำเนินโครงการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนือและประชาชนชุมชนบ้านส่องเหนือ ผู้ซึ่งใช้ประโยชน์จากการดำเนินโครงการการเลี้ยงไก่ไข่นั้น ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยภาพรวมใน 4 ด้านดังนี้

1. ด้านเศรษฐกิจ

1.1. รายได้ของกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษชุมชนส่องเหนือ

การดำเนินการการลี้ยงไก่ไข่ ตามแผนพัฒนาชุมชนด้านการเกษตร โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางด้านอาหาร ซึ่งส่งผลให้รายได้ของกลุ่มเกษตรปลอดสารและชาวบ้านเพิ่มขึ้น เช่น กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในชุมชน กิจกรรมการเพิ่มสัตว์เลี้ยงในด้านการเกษตร การจัดตั้งกองทุนอาหารไก่ กิจกรรมกองทุนเพื่อการจัดการทรัพยากร กิจกรรมการจัดการกับต้นทุนทางทรัพยากรมีอยู่ในชุมชนเพื่อการจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชน กิจกรรมการพัฒนาชุมชนส่องเหนือให้เป็นแหล่งศึกษาดูงานทางด้านการเกษตร เป็นต้น จากการประเมินผลการดำเนินงานของชุมชนพบว่า ชาวชุมชนส่องเหนือเป็นพื้นที่เป้าหมายของหลายของชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมที่หลากหลาย และปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เป็นแหล่งรวมการเกษตรที่ค่อนข้างที่จะครบวงจร ซึ่งมีผลโดยตรงให้ชุมชนมีเครือข่ายด้านการเกษตร ,ผลผลิตทางด้านการเกษตร และรายได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เป็นต้น

1.2. ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรการเกษตร

แผนพัฒนาชุมชนส่องเหนือได้จากการระดมความคิดของผู้มีส่วนได้เสียในชุมชน และการจัดการโดยชุมชนมีส่วนร่วม สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนดินให้เป็นผืนดินทางด้านการเกษตรที่มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น เหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเป็นตัวชี้วัดเบื้องต้นได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรด้านการเกษตรในพื้นที่เป้าหมายโครงการ ฯ

1.3. โอกาสในการพัฒนาหรือขยายโอกาสด้านอาชีพของคนในชุมชน

การดำเนินโครงการฯ นอกเหนือจากการสร้างรายได้จากการทำการเกษตรแล้ว กิจกรรมต่อเนื่องอื่นๆที่ได้จากการดำเนินงานล้วนแล้วแต่สามารถสร้างรายได้แก่ กลุ่มเกษตรฯ และคนในชุมชน อันได้แก่ การรวบรวมผลผลิตที่ได้ออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด และยังสามารถแปรรูปผลผลิตที่ได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิต การกระจายการตลาดสินค้าชุมชน การทำเครื่องมือการทำการเกษตรแบบพื้นบ้าน รวมทั้งการส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้อีกด้วย

2.ด้านสังคม

2.1. สร้างความสามัคคีในชุมชน

ความร่วมมือเป็นผลต่อเนื่องจากการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกิดทัศนคติที่ดี และเห็นความสำคัญในการร่วมกันจัดการทรัพยากรของชุมชน จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาความร่วมมือในแบบบูรณาการของการทำงาน ทั้งระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกับหน่วยงานหรือองค์กรทั้งรัฐหรือชุมชน ระหว่างชาวเกษตรกรด้วยกัน และระหว่างชุมชนใกล้เคียง ภายใต้หลักคิดว่าทรัพยากรเป็นของทุกคน ฉะนั้นการนำมาใช้และการคงความหลากหลายของทรัพยากรจะต้องอาศัยคนในชุมชนช่วยกัน ทุกคนต้องมีความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และคิดไปในแนวทางเดียวกัน ปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดร่วมกันให้ได้ พร้อมๆกับการประสานงานกับเครือข่ายต่างๆอย่างต่อเนื่อง

2.2. เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

การดำเนินการโครงการ ฯ ทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลซึ่งกันและกัน นักศึกษาผู้ดำเนินงานสามารถให้ข้อมูลกับชุมชนเพื่อประกอบการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ วัฒนธรรม ประเพณีและค่านิยมท้องถิ่นของชุมชน การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษฯในชุมชนด้วยกันเอง ความรู้ความชำนาญ ประสบการณ์ของทั้งสองฝ่าย มีพลังสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในกระบวนการระดมความคิดเห็น การกำหนดเป้าหมายชุมชน การจัดทำแผนชุมชน การปฏิบัติงานตามแผนชุมชน การติดตามประเมินผลความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน สิ่งเหล่านี้จะเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนในทุกเวทีของชุมชน

2.3. ลดความขัดแย้งทางสังคม

การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานระดับพื้นที่ ระหว่างชาวบ้านด้วยกันเอง สามารถสร้างความสนิทสนมให้เกิดขึ้น เมื่อเกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้ง สามารถตกลงทำความเข้าใจได้โดยง่าย สำหรับชาวบ้านด้วยกันเองเมื่อได้ปฏิบัติงานร่วมกัน ทุกคนมีภาระหน้าที่ร่วมกันในการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชน การปฏิบัติตามกฎกติกาของชุมชนที่ออกร่วมกัน การจัดสรรหรือแบ่งพื้นที่การใช้ประโยชน์ร่วมกัน สามารถลดความขัดแย้งทางสังคมได้

2.4. เพิ่มบทบาททางสังคมให้แก่ทุกเพศวัย

ในการเข้ามาร่วมบริหารจัดการทรัพยากรภายใต้การดำเนินโครงการฯ ได้เปิดโอกาสให้กับทุกๆคนอย่างเท่าเทียมกันในการเข้ามามีบทบาทในแสดงความคิดเห็น การเสนอแนะ และการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม

3.ด้านสิ่งแวดล้อม

พื้นที่ฐานการผลิตมีทรัพยากรเพิ่มขึ้น

การกำหนดขอบเขตพื้นที่บริหารจัดการภายใต้แผนชุมชนตามโครงการฯ ทำให้ชุมชนส่องเหนือมีพื้นที่ฐานการผลิตทางด้านการเกษตรของชุมชนเพิ่มขึ้น และทำให้การเกษตรของชาวชุมชนส่องเหนือครบวงจรเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากชาวเกษตรกรสามารถนำผลกำไรไปต่อยอดทำสิ่งอื่นได้

4.ด้านโภชนาการ
จากการดำเนินโครงการ เกษตรกรชาวชุมชุนส่องเหนือสามารถเพิ่มแหล่งอาหารให้กับชมชนได้อย่างชัดเจน คือผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงไก่ไข่นั้น สามารถช่วยเพิ่มโปรตีนให้กับเด็กหรือแม้กระแต่ผู้ใหญ่ที่ขาดโปรตีนได้

การประเมินผลโครงการ

ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลที่ได้รับ หมายเหตุ

ร้อยละผู้เข้าอบรมมีความรู้และสามารถปฏิบัติได้ ร้อยละ 80 ร้อยละ 85

มีไก่ไข่เกิดขึ้นต่อเดือน

ย่างน้อย 5,100 ฟอง ผลิตไก่ไก่ได้ประมาณ 2,640 ฟองต่อเดือน เนื่องจากว่าทางทีมผู้รับผิดชอบโครงการได้ลดจำนวนแม่ไก่ลง จาก 175 ตัว ลดลงเหลือ 100ตัว ด้วยเหตุผลเพราะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องขอบเขตและกฎเกณฑ์ของการใช้งบประมาณ ปัจจุบัน (วันที่ 30 เมษายน 2559) ผลิตไข่ไก่ได้ วันละ 86 วัน =2,580 ฟองต่อเดือน
เกิดกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงไก่ไข่ 1 กลุ่ม 2 กลุ่ม เนื่องด้วยการจำกัดของพื้นที่ และทรัพยากรที่มีอยู่

เป็นผลดีคือก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการเปรียบเทียบในการบริหารจัดการ และการเลี้ยงและดูแลไก่ไข่

สมาชิกมีรายได้มากขึ้น เป้าหมายขั้นต้นจำนวน 40 คน และชาวเกษตรกรที่ได้เห็นความสำเร็จจาก 40 คนนี้ก็จะตามมาศึกษาและนำไปต่อยอดในครอบครัวได้เอง 100 คน 70 ครัวเรือน
ไข่ไก่เข้าเป็นวัตถุดิบส่วนหนึ่งในตลาดสีเขียว และตลาดทั่วไป มีไข่ไก่ของชาวชุมชนส่องเหนือขายในตลาดอย่างน้อย 2 แห่ง มีไข่ไก่เข้าจำหน่ายในตลาดสีเขียวของชาวชุมชนบ้านส่อง,มีไข่ไก่จำหน่ายให้คนในหมู่บ้านในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด และยังมีไก่ไข่ให้กับทางโรงเรียนในหมู่บ้านเพื่อเพิ่มโปรตีนให้กับแด็ก ณ ปัจจุบันนี้ (วันที่ 30 เมษายน 2559) ไข่ไก่ยังไม่สามารถเข้าถึงตลาดสีเขียวของชาวชุมชนบ้านส่องได้ เนื่องจากว่าชาวบ้านในหมู่บ้าน และชาวบ้านในเขตใกล้เคียงเข้ามาสั่งซื้อไข่ไก่ถึงโรงเรือน ทำให้แม่ไก่ยังไม่สามารถผลิตไข่ได้ทันต่อความต้องการของชาวบ้าน


ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหา

- ไม่ได้รับงบประมาณเพื่อการดำเนินการต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ

- ท้องถิ่นควรมีการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ชุมชนเข้มแข็ง
  • เศรษฐกิจชุมชน
  • ส่องเหนือ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย chommanat2511 chommanat2511 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2562 17:11 น.