สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านสนามคลี ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการธนาคารผลผลิตการเกษตรด้านการประมง)

โครงการส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านสนามคลี ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการธนาคารผลผลิตการเกษตรด้านการประมง)

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านสนามคลี ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการธนาคารผลผลิตการเกษตรด้านการประมง)
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยนเรศวร
หน่วยงานหลัก กองส่งเสริมการบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ชื่อชุมชน ชุมชนสนามคลี หมู่ที่ 6 ตำบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.สมคิด คำแหง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 99 ม.9 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางสาวศศิวิมล คำเมือง
การติดต่อ 055-968628
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พิษณุโลก บางกระทุ่ม สนามคลี place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ระบบนับคน RFID / ระบบนับคะแนน /ระบบการจองแพ

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ชุมชนสนามคลี หมู่ที่ 6 ตำบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก มีประชากรทั้งสิ้น 327 คน จากจำนวน 130 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็นชาย 150 คน และหญิง จำนวน 177 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรทำนา ปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่คือ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่รู้จักกันทั่วไปว่า “บึงบัว” ที่เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่เป็นแหล่งอาหารและแหล่งรายได้สำหรับคนในชุมชน แหล่งน้ำแห่งนี้ยังสามารถบริหารจัดการเพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพาะปลูกพืชผักสวนครัวสร้างรายได้หลักให้กับชุมชนอีกด้วย นอกจากแหล่งน้ำนี้จะเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว ยังเป็นแหล่งน้ำที่สร้างรายได้ด้านการประมง โดยคณะกรรมการได้นำทุนหมุนเวียนมาจัดซื้อพันธุ์สัตว์น้ำจืดทั้งปลาและกุ้งมาปล่อยในแหล่งน้ำแห่งนี้เพื่ออนุบาลให้เจริญเติบโตเต็มวัย เพื่อให้มีพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่หลากหลายสร้างแรงจูงใจแก่กลุ่มนักตกปลาให้เข้ามาตกปลาในชุมชนแห่งนี้ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งช่วยยังประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชุมชนหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการขายอาหารและเครื่องดื่ม ผลผลิตทางการเกษตรชุมชน แนวคิดดังกล่าว เป็นการสร้างกิจกรรมกีฬาตกปลาสำหรับบุคคลภายในและภายนอกชุมชน โดยเปิดให้ทำกิจกรรมตกปลาปีละ 1 ครั้งคือ ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นอกเหนือจากการบริหารจัดการบึงบัวเพื่อสร้างรายได้แล้ว ปัจจุบันชุมชนได้นำเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต ชุมชนได้เห็นประโยชน์ของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมาช่วยในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุนให้กับเกษตรกร โดยการดึงน้ำจากบึงบัวมาใช้ในกระบวนการผลิตผ่านแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้มากพอสมควร ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐมาบางส่วน โดยการดึงน้ำจากบึงบัวมาใช้ประโยชน์และกระจายผลประโยชน์ด้านการผลิต แบบ LOW CARBON ให้แก่ประชาชนโดยรอบบึงอีกด้วย
ปัญหาและความต้องการของชุมชนที่สาคัญที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
ไปแก้ปัญหาหรือไปพัฒนา กล่าวคือ ปัจจุบันบ้านสนามคลี ใช้วิถีการบริหารจัดการตามแนววิถี โดยเป็นการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับผู้มาตกปลาในชุมชนคันละ 50 บาท โดยไม่ได้จำกัดจำนวนคันเบ็ดที่นำเข้ามา ปัญหาที่พบคือ ปริมาณสัตว์น้ำจืดที่ถูกนำขึ้นมาจากกิจกรรมตกปลาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการชำระค่าคันเบ็ดไม่ครบเก็บค่าธรรมเนียมได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ระบบนิเวศเริ่มเปลี่ยนแปลงจากการใช้ประโยชน์จากการตกปลาในปริมาณมาก โดยที่ชุมชนไม่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เลย แต่ปริมาณการลงทุนในการซื้อสัตว์น้ำจืดในแต่ละปีปริมาณเท่ากันทุกปี ส่งผลให้การลงทุนขาดการพิจารณาเรื่องของความสามารถในการรองรับ และช่องทางในการหารายได้เข้าสู่ชุมชนในรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถทำกระทำได้ ประกอบกับในขณะนี้ ชุมชนได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเน้นการพัฒนาบึงบัวแห่งนี้ สร้างกิจกรรมทางน้ำ โดยใช้แพ 10 อัน ขนาด 3*5 เมตร ซึ่งดำเนินการควบคู่ไปพร้อมๆ กับการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน ถือเป็นช่องทางการหารายได้จากทรัพยากรชุมชนที่มีอยู่ โดยไม่ได้สร้างความลำบากแก่ชุมชนที่หลากหลายอีกด้วย หากนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้งาน จะมีผู้ได้รับผลประโยชน์กว่า 300 คน จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อพัฒนาชุมชน ณ บ้านสนามคลี
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในกระบวนการบริหารจัดการชุมชน และเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศให้คงอยู่อย่างยั่งยืนระหว่างคนกับธรรมชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวรจึงเล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสนับสนุนการบริหารจัดการชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนผ่านเทคโนโลยี เทคโนโลยีจะมีประโยชน์ในการสร้างรายได้ และรักษาระบบนิเวศให้แก่ชุมชนได้อย่างแท้จริง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย jantana8628 jantana8628 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 14:42 น.