การผลิตถ่านจากชานอ้อย : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนครอบครัวอิสาน หมู่บ้านโพธิ์เงิน ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
การผลิตถ่านจากชานอ้อย : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนครอบครัวอิสาน หมู่บ้านโพธิ์เงิน ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ข้อมูลโครงการ
ชื่อโครงการ | การผลิตถ่านจากชานอ้อย : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนครอบครัวอิสาน หมู่บ้านโพธิ์เงิน ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี |
หน่วยงานหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี |
หน่วยงานร่วม | สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ |
ชื่อชุมชน | วิสาหกิจชุมชนครอบครัวอิสาน หมู่บ้านโพธิ์เงิน ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อ.วฤธรณ์ ตุลย์ณวัฒน์ |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | นางสาวณัฐกฤตา ผการัตน์ นางสาวนัฐชา พิมานเมฆินทร์ นางสาวนัฐริกา พิมานเมฆินทร์ นายวสันต์ มาลาศรี นางสาวอัจฉรา นิลพัฒน์ |
การติดต่อ | 0894221212 |
ปี พ.ศ. | 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2562 - 31 พฤษภาคม 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
หนองคาย | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
วิสาหกิจชุมชนครอบครัวอิสาน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 201 หมู่ 13 หมู่ บ้านโพธิ์เงิน ตำบลค่ายบกหวานอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ 5 ไร่ วิสาหกิจชุมชนครอบครัวอิสานก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรหมู่บ้านโพธิ์จำนวน 7 ราย โดยมี นางสาวหนูรัก วรโคตร เป็นประธานกลุ่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนครอบครัวอิสานได้ทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรโดยใช้วัตถุดิบหลักคืออ้อยพันธ์ขอนแก่น 3 มาทำการผลิตสุรากลั่นชุมชน ประเภท 3 มีแรงแอลกอฮอล์ 40 % ดีกรี ภายใต้ชื่อแบรนด์ Issan Rum เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีคุณภาพและเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ และยังเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสุรากลั่นที่ใช้น้ำอ้อย 100 % เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเพียงกลุ่มเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ในการผลิตแต่ละวันมีเศษชานอ้อยเหลือและไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไร ซึ่งเกิดปัญหาคือเศษชานอ้อยกองทับถมกันเป็นจำนวนมากและยังส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงอีกด้วยข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ด้านการผลิต ผู้ประกอบการมีวิธีการผลิตโดยใช้เครื่องกลั่นแบบหม้อต้ม (หม้อกลั่นทองแดง) และในการผลิตสุรามีปริมาณน้ำสุราที่ผลิตได้อยู่ในเกณฑ์ดีคือปริมาณน้ำสุราระหว่าง 201-300 ลิตร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการผลิต อีกทั้งยังรักษามาตรฐานคุณภาพของน้ำสุราเป็นอย่างดีและยังได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรสชาติที่ดีขึ้นอีกด้วย มีการจัดตารางการผลิตโดยผลิตอย่างสม่ำเสมอภายใน 7 เดือนที่ทำการผลิตด้านการตลาด กลุ่มวิสาหกิจชุมชนครอบครัวอิสานจะใช้วิธีการขายส่ง การขายผ่านตัวแทนจำหน่าย และมีการขายปลีกบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นการขายโดยการส่งออกยังประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะมีบริษัทที่ทำการกระจายสินค้าไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น เบลเยี่ยม อิตาลี และขายภายในประเทศจะส่งออกไปยังต่างจังหวัด เช่น จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น พัทยา ภูเก็ต เกาะสมุย โดยจะขายเป็นเงินสดประมาณ 80% แต่ก็มีบางรายที่มีการขายเป็นเงินเชื่อประมาณ 20% ซึ่งกิจการยังมีโอกาสที่จะเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายได้มากยิ่งขึ้น โดยการขยายตลาดไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงให้มากขึ้น ด้านการจัดการ การบริหารจัดการของผู้ประกอบการมีการจัดการที่ดีทั้งทางด้านการเงินที่มี สภาพคล่อง มีเงินหมุนเวียนอยู่ตลอด มีการจัดสรรไว้ใช้ในการซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์แสตมป์และใช้จ่าย อื่น ๆ ในการประกอบธุรกิจ มีเงินทุนของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ในการลงทุนและใช้จ่ายในกิจการ ทั้งการจัดการทางด้านวัตถุดิบ ก็มีการวางแผนการไว้สำหรับราคาที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้น โดยจะมีการซื้อกักตุนไว้บ้าง อีกทั้งด้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ก็มีการดูแลรักษาเป็นอย่างดีหากชำรุด ส่วนทางด้านแรงงานก็มีการกระจายรายได้สู่ชุมชนโดยสรรหาแรงงานจากคนในชุมชนและจากญาติโดยมีการการแบ่งหน้าที่ตามความ ถนัดของตนเอง
ด้านการเงิน ผู้ประกอบการใช้เงินลงทุนของตัวเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายและรายได้ของกิจการที่เกิดขึ้นบริษัทยังคงมีกำไรที่อยู่ในช่วงที่พอสามารถดำเนินกิจการได้ในสภาพคล่องทางการเงินได้เป็นอย่างดี ส่วนด้านปัญหาอุปสรรคของการประกอบธุรกิจสุรากลั่นชุมชนยังประสบปัญหากับต้นทุนที่สูง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัตถุดิบที่มีราคาแพง และแสตมป์สุราที่มีราคาที่สูง และยังมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอีก อีกทั้งยังมีการลักลอบขายสุราเถื่อนอีกส่งผลทำให้ยอดขายลดลง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนครอบครัวอิสานใช้อ้อยวันละ 1,200 กิโลกรัม คิดเป็น 420 กิโลกรัมต่อวัน และยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์และยังส่งกลิ่นเหม็นข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การนำเอาชานอ้อยที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งจากชานอ้อยประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
การอัดถ่านแท่งจากชานอ้อยมี 2 วิธีคือ
1. การอัดร้อน เป็นการอัดวัสดุโดยที่วัสดุไม่จำเป็นต้องเป็นถ่านมาก่อน เมื่ออัดเป็นแท่งเสร็จแล้ว ค่อยนำเข้าเตาให้เป็นถ่านอีกครั้งหนึ่ง วัสดุที่สามารถผลิตโดยวิธีการอัดร้อน ขณะนี้มี 2 ชนิด คือ แกลบ และขี้เลื้อย เพราะวัสดุทั้ง 2 ชนิดนี้เมื่อโดนอัดด้วยความร้อน จะมีสารในเนื้อของวัสดุยึดตัวมันเอง จึงทำให้สามารถยึดเกาะเป็นแท่งได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ตัวประสาน โดยที่เครื่องอัดต้องเป็นเครื่องอัดชนิดอัดร้อน ซึ่งราคาค่อนข้างสูง
2. การอัดเย็น เป็นการอัดวัสดุที่เผาถ่านมาแล้ว แล้วนำมาผสมกับแป้งมันหรือวัสดุประสานอื่นๆ โดยทั่วไปจะเป็นแป้งมัน ถ้าวัสดุใดมีขนาดใหญ่ เช่น กะลามะพร้าว เมื่อผ่านการเผาแล้ว ต้องมีเครื่องบดให้ละเอียดก่อน แล้วค่อยนำมาผสมกับแป้งมันและนำในอัตราส่วนตามที่ต้องการ
ประโยชน์ของถ่านอัดแท่งจากชานอ้อย
1. การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม
ถ่านบริสุทธิ์เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีต่าง ๆ เช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์ (Carbondisulpide), โซเดียมไซยาไนด์ (Sodium Cyanide) ซิลิคอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide) เป็นต้น
2. การใช้ประโยชน์ในครัวเรือน
คุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นและความชื้นของถ่าน เป็นที่รับรู้กันดีแล้วสำหรับผู้อ่าน แต่ในต่างประเทศ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับจากถ่านเพื่อใช้ประโยชน์ในบ้านเรือนได้รับความนิยมมาก คนญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างของผู้ที่มองเห็นคุณประโยชน์ของถ่านอย่างชัดเจน การใช้ถ่านเพื่อทำหน้าที่ลดกลิ่นในห้องปรับอากาศ มีประสิทธิภาพที่ดีมาก ในห้องแอร์ ที่ทำงานหรือในรถ โดยเฉพาะที่ที่มีผู้สูบบุหรี่ หรืออาจจะมีเชื่อจุลินทรีย์ ควรนำถ่านไม้ไปวางดักไว้ที่ช่องดูดอากาศกลับของเครื่องดูดอากาศ รูพรุนและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในถ่านไม้จะดูดซับกลิ่นและเชื้อโรคต่างๆเอาไว้ ช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้อย่างดี หรือจะใช้ถ่านเพื่อการบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือน ก่อนปล่อยสู่ท่อระบายสาธารณะก็ยังเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
3. การใช้ประโยชน์ในการเกษตร
ในภาคการผลิตเชิงเกษตร การนำถ่านไม้มาใช้ประโยชน์นับว่ามีคุณค่าที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องว่าถ่านมีคุณสมบัติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อพืชและสัตว์จึงสามารถใช้ทดแทนสารเคมีราคาแพงได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กันทีเดียว
2.3.3 วิธีการทำถ่านอัดแท่งจากชานอ้อย
ถ่านอัดแท่งจากชานอ้อย คือ ถ่านที่ได้มาจากชานอ้อยที่ถูกรีดน้ำอ้อยออกหมดเรียบร้อยแล้ว นำมาตากแดด 2-3 แดด เพื่อนำชานอ้อยมาเผา หลังจากนั้นจะได้เนื้อถ่านของเศษชานอ้อย และนำเศษวัสดุเหลือใช้ เช่น กะลามะพร้าว และ แกลบ นำมาเผาให้เป็นถ่านเช่นเดียวกัน แล้วนำมารวมกันด้วยปริมาณที่พอเหมาะ แล้วใช้แป้งมันสำปะหลังและน้ำเพื่อเป็นตัวประสาน จากนั้นนำมาอัดให้เป็นแท่งด้วยแท่งเหล็กอัดถ่าน จะได้ถ่านที่เป็นแท่งขนาดที่พอเหมาะ ขั้นตอนสุดท้ายนำไปจากแดดให้แห้ง จะได้ถ่านอัดแท่งจากชานอ้อยเพื่อนำมาให้ประโยชน์ได้ต่อไป
รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน จึงทำให้วิสาหกิจชุมชนครอบครัวอิสาน มีการผลิตสุรากลั่นเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในการผลิตสุรากลั่นของวิสาหกิจชุมชนครอบครัวอิสาน จะใช้อ้อยวันละ 1,200 กิโลกรัม คิดเป็น 420 กิโลกรัมต่อวัน และยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์และยังส่งกลิ่นเหม็น ผู้ศึกษาจึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาของวิสาหกิจชุมชุน ครอบครัวอิสาน ที่มีชานอ้อยเหลือจากการหีบน้ำอ้อย ซึ่งเป็นต้นทุนความสูญเสีย จึงมีแนวคิดที่จะนำเอาชานอ้อยที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งจากชานอ้อย
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- ผลิตถ่านจากชานอ้อย
ประเมินคุณค่าโครงการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น | ผลที่เกิดขึ้น | ||
---|---|---|---|
1 | เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน | find_in_page | |
2 | เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ | ||
3 | การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) | ||
4 | การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ | ||
5 | เกิดกระบวนการชุมชน | ||
6 | มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ |
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ