สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน สู่การเป็นศูนย์สาธิตการตลาดดิจิทัล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัย คลองตาล หมู่ 8

โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน สู่การเป็นศูนย์สาธิตการตลาดดิจิทัล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัย คลองตาล หมู่ 8

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน สู่การเป็นศูนย์สาธิตการตลาดดิจิทัล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัย คลองตาล หมู่ 8
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยนเรศวร
หน่วยงานหลัก กองส่งเสริมการบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ชื่อชุมชน บ้านคลองตาล หมู่ที่ 8 ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.สมคิด คำแหง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 99 ม.9 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางสาวศศิวิมล คำเมือง
การติดต่อ 055-968628
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ภาคเหนือ place directions
พิษณุโลก พรหมพิราม หนองแขม place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ชุมชนมีระบบสหกรณ์/ระบบคิดเงินปันผล/ระบบการ POS ขายสินค้า หน้าร้าน 1 ระบบ

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

บ้านคลองตาล หมู่ที่ 8 ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก มีประชากรทั้งสิ้น 838 คน จำนวน 304 ครัวเรือน แบ่งเป็นหญิง 440 คน และชาย 398 คน ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็น ดินเหนียว ประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา รองลงมาคือ รับจ้างและทำสวนบางส่วน ความเป็นอยู่และการใช้จ่ายของคนในชุมชน เป็นจะใช้จ่ายจากร้านขายของชำภายในชุมชน เนื่องจากชุมชนอยู่ห่างไกลตัวเมืองและตลาดประจำอำเภอ
บ้านคลองตาล เป็นหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการบริหารจัดการกองทุนชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยกลุ่มอาชีพที่มีชื่อเสียง ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัยบ้านคลองตาล บริหารงานโดยผู้ใหญ่พะยอม เนียมเหลี่ยม ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับศูนย์สาธิตการตลาดบ้านคลองตาล ระดับอำเภอ ซึ่งเหลืออยู่แห่งเดียว ณ ปัจจุบัน กล่าวคือ สมาชิกผู้ปลูกข้าวปลอดภัยภายในชุมชนจะมาใช้จ่ายวัตถุดิบทางการเกษตรของศูนย์ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อถึงช่วงฤดูเกษตรกรรม จะเห็นได้ว่า เกษตรกรภายในหมู่บ้านจะนำเครื่องจักรทางการเกษตรมาต่อแถวเติมน้ำมันแต่เช้า เพื่อออกไปทำเกษตรในที่ดินทำกินของตนเอง ที่มาของความโดดเด่นคือ การเปลี่ยนวิธีคิดของประชาชนภายในชุมชน โดยแกนนำชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการตนเองภายในชุมชน จากการสร้างทางเลือกให้ประชาชนรับรู้ “ระหว่างการจ่ายแบบได้เงินคืน” กับ “จ่ายแล้วจ่ายเลยไม่ได้อะไรคืนมา” ประชาชนต้องการแบบไหน ผลสุดท้ายแล้ว ทุกคนก็ต่างต้องการเงินคืน นั่นก็คือ เงินปันผลจากการระดมหุ้น นั่นเอง จึงเป็นที่มาของศูนย์สาธิตการตลาดบ้านคลองตาลที่ยังคงดำเนินการแบบพึ่งตนเองมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้ว
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ผลิตและแปรรูปข้าวปลอดภัย คลองตาล หมู่ 8 โดยการบริหารงานของผู้ใหญ่พะยอม เนียมเหลี่ยม จึงเกิดแนวคิดร่วมกับคนในชุมชน โดยการประชาคมร่วมกันและมีความเห็นตรงกันที่จะก่อตั้งร้านค้าภายในชุมชนขึ้น ภายใต้ชื่อว่า “ศูนย์สาธิตการตลาดบ้านคลองตาล” ศูนย์ฯ ดังกล่าวจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมหุ้นจากสมาชิกภายในชุมชน เพื่อหาเงินทุนหมุนเวียนในการบริหารจัดการภายในศูนย์ฯ ซึ่งมีผลตอบแทนในเรื่องของเงินปันผลที่สมาชิกจะได้รับคืนจากการซื้อสินค้าที่มีจำหน่ายภายในศูนย์ โดยสินค้าที่นำมาจำหน่ายภายในศูนย์ฯ จะเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพ และวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ย ยา น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนในชุมชนและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร อีกทั้งยังมีผลให้เกิดแหล่งทุนหมุนเวียนภายในชุมชนอีกด้วย กระบวนการบริหารจัดการดังกล่าว เป็นการบริหารจัดการแบบตั้งคณะกรรมการร่วมกันทำงาน และนำเงินทุนจากการสมัครสมาชิกมาจ้างงานคนในชุมชนเป็พนักงานขายและลงบัญชีภายในร้านค้า แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในกระบวนการบริหารจัดการแบบการรวมกลุ่มของชุมชน เพื่อระดมทุนกันเองภายในชุมชนเป็นหลัก และเป็นการลดอัตราพึ่งพิงงบประมาณภาครัฐ ซึ่งไม่มีความต่อเนื่องในการสนับสนุนงบประมาณ การระดมทุนกันเองช่วยให้ชุมชนมีเงินทุนหมุนเวียนตลอดปี และมีเงินออมและมีงบประมาณส่วนหนึ่งไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ในรูปแบบของการจัดการตนเองสำหรับประชาชนในพื้นที่

ปัญหาและความต้องการของชุมชนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
ไปแก้ปัญหาหรือไปพัฒนา กล่าวคือ ปัจจุบันเป็นการบริหารจัดการโดยคนในชุมชนด้วยกันเอง อาศัยระบบความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันการทำบัญชี การบันทึกรายรับ-รายจ่ายและบริหารจัดการต่างๆ เป็นการลงรายละเอียดด้วยลายมือทั้งสิ้น ส่วนสินค้าใดที่เป็นความต้องการและไม่มีจำหน่ายจะแจ้งให้ลูกค้าสั่งไว้แล้วรอสินค้ามาส่ง จึงมารับเอาไป ซึ่งเป็นความเคยชินของคนในชุมชนที่พบเห็นเป็นปกติทั่วไป หากประชาชนจับจ่ายใช้สอยอะไรจะมีการจดบันทึก เพื่อสะสมรายจ่าย สรุปผลรายวัน รายเดือน และรวบรวมข้อมูลเป็นรายปี เพื่อดูผลกำไรรอบปี และจัดสรรคืน ในรูปแบบของเงินปันผลกลับคืนไปสู่สมาชิกในชุมชน ซึ่งแต่ละปีจะได้รับเงินปันผลไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับรายรับในแต่ละปีด้วย รูปแบบการบริหารจัดการดังกล่าวเป็นรูปแบบที่ดี ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนหลักล้าน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ตามมาก็คือ เมื่อมีเงินทุนหมุนเวียนจำนวนมาก ก่อให้เกิดความไม่วางใจจากสมาชิกในเรื่องของการชี้แจงข้อมูลข่าวสาร ทำให้พบปัญหาในเรื่องของการขาดระบบบริหารจัดการด้านข้อมูลที่กระจัดกระจายและสูญหายของข้อมูลสำคัญและจำเป็นต้องใช้งาน เมื่อถึงเวลาจัดสรรเงินปันผลรายปี คณะกรรมการชุมชน จะต้องค้นหาข้อมูลแต่ละส่วนแล้วนำมาคิดด้วยเครื่องคิดเลข ซึ่งก่อให้เกิดความผิดพลาดในการจัดระบบข้อมูลของศูนย์ฯ อีกทั้งการลงบันทึกการใช้สอยของสมาชิก ยังพบว่า เป็นการจดบันทึกด้วยมือ และยังเป็นการใช้ความจำของพนักงานจ้าง จึงมีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการลงบัญชีการใช้จ่ายของสมาชิกตามมา
ดังนั้น หากมีการนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่จำเป็นมาหนุนเสริมและเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนในด้านการบริหารจัดการข้อมูล และสินค้าเพื่อสร้างความสะดวก และสร้างความโปร่งใสระหว่างสมาชิกศูนย์ฯ และคณะกรรมการบริหารจัดการของชุมชนได้ เทคโนโลยีจะมีประโยชน์อย่างมากที่จะช่วยในกระบวนการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจชุมชนแบบครบวงจร ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์กับสมาชิกกว่า 800 คน อีกทั้งยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถของศูนย์สาธิตการตลาดบ้านคลองตาล ซึ่งในอนาคตอาจจะสามารถพัฒนาไปสู่สหกรณ์ดิจิทัลและเป็นต้นแบบที่ดีในการบริหารจัดการตนเองต้นแบบโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก ใช้งานง่ายสำหรับคณะกรรมการและสมาชิกในชุมชนในการการจัดเก็บและรายงานข้อมูล บริหารจัดการสินค้าภายในศูนย์ให้เพียงพอและตรงกับความต้องการของสมาชิกอีกด้วย รวมทั้งป้องกันความเสี่ยง ลดระยะเวลา และลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบันทึกข้อมูลด้วยมือโดยไม่ได้ตั้งใจ อีกทั้งยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำชุมชนในการจัดทำรายงานข้อมูลให้สมาชิกได้รับทราบการใช้จ่ายของตนเองอยู่ตลอดเวลา (real time) สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสมาชิกลดปัญหาความไม่โปร่งใส สามารถตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายได้โดยตลอด และยังเป็นการคุมยอดสินค้าที่นำมาจำหน่ายได้ โครงการฯ ดังกล่าว จะเป็นการสร้างแรงจูงใจที่น่าสนใจให้กับคนในชุมชนได้เรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติการใช้งานเทคโนโลยีจนแทรกซึมในการดำเนินชีวิตประจำวันจนเคยชิน การยอมรับการใช้เทคโนโลยีจะเกิดขึ้นโดยปริยาย

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย jantana8628 jantana8628 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 14:18 น.