สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการมหาวิทยาลัยนเรศวรสัญจร เอื้ออาทรชุมชนประจำปี 2562

โครงการมหาวิทยาลัยนเรศวรสัญจร เอื้ออาทรชุมชนประจำปี 2562

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการมหาวิทยาลัยนเรศวรสัญจร เอื้ออาทรชุมชนประจำปี 2562
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยนเรศวร
หน่วยงานหลัก กองส่งเสริมการบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน ตำบลสนามคลี
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวศศิวิมล คำเมือง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 หมู่ที่ 9 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 055-968628
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นสถาบันอุดมศึกษาอีกแห่งหนึ่งที่มีความรับผิดชอบในการดูแลชุมชน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก กว่า 207 สาขาวิชา ลักษณะการจัดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็นกลุ่มสาขาวิชาประกอบด้วย 1) กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2) กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 3) กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงสำนักงานอธิการบดี ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการบริหารจัดการ นอกจากวัตถุประสงค์หลักในด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแล้ว ยังมีภารกิจสำคัญ ในด้านการส่งเสริมและสร้างเข้มแข็งให้ชุมชนอีกด้านหนึ่ง โดยการนำองค์ความรู้ ทั้งด้านวิชาการและผลงานวิจัยของคณาจารย์ ต่อยอดสู่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งสร้างให้ชุมชนไทยมีความรู้ควบคู่กับการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในเขตภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี และอุตรดิตถ์ ซึ่งถือเป็นประตูทางการศึกษา การเรียนรู้ของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นที่มีความต้องการในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับตนเองและชุมชนตามศักยภาพ สามารถรับองค์ความรู้ทางด้านวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม โดยการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันเป็นกลไกขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นฐานความรู้สำคัญ (Knowledge Based)
จากการดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคมในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมา พบปัญหาสำคัญที่เป็นผลทำให้การตอบเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ชี้วัดของ สกอ. ตัวชี้วัดที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคมไม่บรรลุตามเกณฑ์ตามเกณฑ์ที่ สกอ.กำหนด โดยเฉพาะข้อที่ระบุว่า “จำนวนบุคลากรสายวิชาการเข้าร่วมโครงการต่ำกว่าร้อยละ 5 และคณะวิชาต้องเข้าร่วมครบทุกคณะ” ทำให้ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยไม่บรรลุ 5 คะแนนเป็นระยะเวลา 2 ปีติดต่อกัน
ดังนั้น จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว ทำให้กองส่งเสริมการบริการวิชาการในฐานะผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการมหาวิทยาลัยนเรศวรสัญจร เอื้ออาทรชุมชนขึ้น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกคณะ/วิชาภายในมหาวิทยาลัยออกให้บริการวิชาการกับชุมชนภายในจังหวัดพิษณุโลก ในลักษณะของการถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการ โดยเปิดโอกาสให้คณาจารย์ นิสิตนักศึกษาและบุคลากรนำองค์ความรู้ตามภารกิจของคณะ/วิชาออกให้บริการประชาชน เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา ตลอดจนเป็นการตอบสนองการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปสู่การการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดประเด็นปัญหาและความต้องการ และแนวทางการพัฒนา ร่วมกันอย่างตรงประเด็น อีกทั้งได้โจทย์การบริการวิชาการเฉพาะเรื่อง มาดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกลไก การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากของสังคม บรรเทาผลกระทบจากภาวะต่างๆ ตลอดจนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของตนและครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย jantana8628 jantana8628 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 13:55 น.