สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการการผลิตแมลงเบียนเพื่อกำจัดแมลงวัน ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

โครงการการผลิตแมลงเบียนเพื่อกำจัดแมลงวัน ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการการผลิตแมลงเบียนเพื่อกำจัดแมลงวัน ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จำกัด
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.อโนทัย วิงสระน้อย
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0857407755
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สกลนคร วาริชภูมิ ค้อเขียว place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
แมลงวันเป็นแมลงที่มีความสำคัญทำให้สภาพแวดล้อมภายในฟาร์มเสีย กลิ่น และแมลงวันจำนวน มากรบกวนผู้อาศัยรอบข้างในฟาร์มเลี้ยงสัตว์จำนวนมากประสบปัญหาเรื่องแมลงวันสร้างความรำคาญหากตัวเต็มวัยแมลงวันดูดกินเลือดโคและกระบือจะส่งผลให้น้ำหนักตัวสัตว์ ประสิทธิภาพในการกินอาหารและการผลิตน้ำนมลดลง
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
กำจัดแมลงวันโดยไม่ใช้สารเคมี เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างในร่างกายและในผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

นำองค์ความรู้จากโครงการวิจัยเรื่อง “ความหลากชนิดและชีววิทยาของแมลงเบียนแมลงวันในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากสำนักบริหารโครงการส่งเสริมวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2558 และผลงานวิจัยจากโครงการเรื่อง “ผลของระดับความลึก ชนิดและอายุของแมลงเบียนต่อประสิทธิภาพการเบียนของแมลงเบียนดักแด้แมลงวันบ้านและการใช้ประโยชน์” และ “การศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงแมลงเบียนดักแด้แมลงวันบ้าน Spalangia gimina” ที่ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2557-2558 และ 2560-2561 มาถ่ายทอดสู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเกษตรกรให้รู้จัก เข้าใจ สามารถเพาะเลี้ยงแมลงเบียน และนำแมลงเบียนไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงวันแทนการใช้สารเคมีและช่วยอนุรักษ์แมลงเบียนให้คงอยู่ในสภาพแวดล้อมต่อไป

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

แมลงวันเป็นแมลงที่มีความสำคัญทำให้สภาพแวดล้อมภายในฟาร์มเสีย กลิ่น และแมลงวันจำนวน มากรบกวนผู้อาศัยรอบข้างในฟาร์มเลี้ยงสัตว์จำนวนมากประสบปัญหาเรื่องแมลงวันสร้างความรำคาญหากตัวเต็มวัยแมลงวันดูดกินเลือดโคและกระบือจะส่งผลให้น้ำหนักตัวสัตว์ ประสิทธิภาพในการกินอาหารและการผลิตน้ำนมลดลง ส่งผลให้น้ำหนักตัวโคลดลง 0.22 กก. ต่อวัน และการผลิตน้ำนมลดลง 30-40% เกษตรกรมีการใช้สารเคมีต่างๆ เสียเงินค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งค่อนข้างสูง แต่ปริมาณแมลงวันไม่ได้ลดลง กลับพบปัญหาสารเคมีตกค้างในสภาพแวดล้อมตามมา ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค การใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงเบียนซึ่งเป็นวิธีการควบคุมที่ปลอดภัยและเฉพาะเจาะจงต่อแมลงวันจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เหมาะสำหรับการน่าจะนำมาใช้ในการควบคุมแมลงวัน ในสภาพธรรมชาติพบแมลงเบียนเข้าทำลายดักแด้ของแมลงวัน 4 ชนิด 2 วงศ์ โดยแมลงเบียนสามารถเข้าทำลายดักแด้แมลงวันบ้านและแมลงวันคอกสัตว์ได้ถึง 50% ส่งผลให้จำนวนประชากรแมลงวันลดลงเนื่องจากระยะตัวหนอนของแมลงเบียนกัดกินเนื้อเหยื่อภายในของดักแด้แมลงวัน ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยและตายในที่สุด คุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของแมลงเบียนคือ มีความเฉพาะเจาะจงต่อเหยื่อสูง ทำให้แมลงเบียนมีศักยภาพสูง ในการนำมาใช้ควบคุมประชากรแมลงวัน ไม่มีอันตรายกับสัตว์ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และนอกจากนี้ช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีที่เกิดการตกค้างในสภาพแวดล้อมด้วย แมลงเบียนดักแด้แมลงวันบ้านสามารถขยายพันธุ์โดยมีแมลงวันบ้านเป็นแมลงอาศัย จากข้อมูลดังกล่าวเบื้องต้นทำให้ผู้เสนอโครงการเล็งเห็นความสำคัญของแมลงเบียนในการควบคุมประชากรแมลงวัน จึงมุ่งที่จะนำองค์ความรู้จากโครงการวิจัยเรื่อง “ความหลากชนิดและชีววิทยาของแมลงเบียนแมลงวันในอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากสำนักบริหารโครงการส่งเสริมวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2558 และผลงานวิจัยจากโครงการเรื่อง “ผลของระดับความลึก ชนิดและอายุของแมลงเบียนต่อประสิทธิภาพการเบียนของแมลงเบียนดักแด้แมลงวันบ้านและการใช้ประโยชน์” และ “การศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงแมลงเบียนดักแด้แมลงวันบ้าน Spalangia gimina” ที่ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2557-2558 และ 2560-2561 มาถ่ายทอดสู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเกษตรกรให้รู้จัก เข้าใจ สามารถเพาะเลี้ยงแมลงเบียน และนำแมลงเบียนไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงวันแทนการใช้สารเคมีและช่วยอนุรักษ์แมลงเบียนให้คงอยู่ในสภาพแวดล้อมต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การกำจัดแมลงวัน
  • แมลงเบียน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย monteearu monteearu เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 14:42 น.