สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การพัฒนาความหลากหลายของรสชาติผลิตภัณฑ์ถั่วตัด : กรณีศึกษา กลุ่มแปรรูปถั่วลิสงเมืองเพีย ตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

การพัฒนาความหลากหลายของรสชาติผลิตภัณฑ์ถั่วตัด : กรณีศึกษา กลุ่มแปรรูปถั่วลิสงเมืองเพีย ตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนาความหลากหลายของรสชาติผลิตภัณฑ์ถั่วตัด : กรณีศึกษา กลุ่มแปรรูปถั่วลิสงเมืองเพีย ตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาการจัดการ
หน่วยงานร่วม สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
ชื่อชุมชน กลุ่มแปรรูปถั่วลิสงเมืองเพีย ตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์วฤธรณ์ ตุลย์ณวัฒน์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นิศาชล บุญน้อย
ชลธิชา ชนชิด
จิราภรณ์ อุ่นดวง
สุดารัตน์ โคตรศรี
ลัลน์ลลิต มาตย์เมือง
Bui Thi Le Quynh (สุจิรา)
การติดต่อ 0894221212
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
อุดรธานี กุดจับ เมืองเพีย place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเมืองเพีย ตั้งอยู่ที่บ้านโสกแก-คำเจริญ ตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี เป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรเมืองเพียในเรื่องของการปลูกถั่วลิสง ในปี พ.ศ.2540 เกษตรกรในหมู่บ้านปลูกถั่วลิสงเป็นจำนวนมาก และได้ผลผลิตดีเพื่อขายให้กลับพ่อค้าแม่ค้าในหมู่บ้านใกล้เคียงที่มารับซื้อเพื่อนำไปแปรรูปขายตามตลาด ต่อมามีเพื่อนบ้านเข้าร่วมกลุ่มแม่บ้านจนมีสมาชิกทั้งหมด 10 คน เห็นว่าการขายถั่วได้กำไรดีจึงเข้ามาร่วมขยายพื้นที่การปลูกถั่วลิสง ต่อมาเมื่อมีผลผลิตเยอะแต่พ่อค้าที่มารับซื้อกลับเริ่มน้อยลงและให้ราคาต่ำ เนื่องจากผลผลิตมีจำนวนมากและเหลือค้างไว้นานจึงส่งผลกระทบให้ถั่วเน่าเสีย

เกษตรจังหวัดอุดรธานี จึงเช้ามาช่วยแก้ปัญหาโดยแนะนำให้ไปเรียนรู้วิธีถนอมอาหารและยืดอายุถั่วลิสงด้วยการหาวิธีแปรรูปต่างๆ จนเกิดเทคนิคการแปรรูปถั่วลิสง หลังจากที่ชาวบ้านเห็นพัฒนาการของกลุ่มแม่บ้านจึงมีการเข้ารวมกลุ่มเพิ่มขึ้นจนมีสมาชิกทั้งหมด 15 คนจนถึงปัจจุบัน
โดยมีแม่หนูจันทร์ สมศิลา เป็นประธานกลุ่ม นอกจากนี้กลุ่มแม่บ้านยังมีการออกบูธจำหน่ายถั่วลิสงแปรรูป กลุ่มแม่บ้านก็ได้พบปะกับกลุ่มที่จาหน่ายสินค้า OTOP อื่นที่แปรรูปถั่วเหมือนกัน และได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน จนสามาทำถั่วลิสงแปรรูปได้ และได้มีการลองผิดลองถูก จนได้เทคนิคในการทำถั่วลิสงแปรรูป รวมไปถึงการคัดเลือกเมล็ดถั่วลิสงที่มีคุณภาพ
จากนั้นจึงได้รับการสนับสนุนโครงการจากหน่วยงานต่างๆ จนเกิดเป็นกลุ่มแปรรูปถั่วลิสงเมืองเพีย จนถึงปัจจุบัน การทำถั่วลิสงแปรรูปของกลุ่มแม่บ้าน ได้แก่ ถั่วลิสงคั่วทราย ถั่วตัด เป็นต้น และมีช่องทางการจัดจำหน่ายตามร้านค้าของชำตามหมู่บ้าน และส่งออกตลาด
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
- ผลิตภัณฑ์ถั่วตัดมีรสชาติมากกว่า 1 รสชาติ
- ผลิตภัณฑ์มีราคาถูกกว่าคู่แข่งขันบางราย
- กลุ่มแม่บ้านมีความรู้ ความชำนาญในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ถั่วตัดเป็นอย่างดี
- กลุ่มแม่บ้านมีความเชี่ยวชาญในด้านกระบวนการผลิต มีหน่วยงานให้การสนับสนุนหลายแห่ง และสินค้าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
- ผลิตภัณฑ์ถั่วตัดสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน และมีการควบคุมคุณภาพในด้านของรสชาติให้มีมาตรฐานความอร่อยของรสชาติที่เหมือนกันทุกห่อ
- มีโครงสร้างกลุ่มโดยมีการตั้งคณะกรรมการ แบ่งบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบชัดเจน
- การดำเนินมีความโปร่งใส คือมีระบบงานขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
- ผลิตภัณฑ์ถั่วตัดของทางกลุ่มแม่บ้านสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย
- บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ถั่วตัดไม่เป็นที่ดึงดูดใจของลูกค้า
- ทางกลุ่มแม่บ้านยังขาดการสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนานวัตกรรม และกระบวนการผลิตให้ทันสมัย
- อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการผลิตยังขาดความทันสมัย
- แรงงานมีจำนวนไม่เพียงพอในกระบวนการแปรรูปถั่วตัด และขาดแรงงานในช่วงฤดูการทำนา
- สถานที่ในการผลิตถั่วตัดยังไม่ได้มาตรฐาน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
พัฒนารสชาติของผลิตภัณฑ์ถั่วตัดขึ้น โดยจะเปลี่ยนจากรสชาติเดิมซึ่งมีแต่รสหวานคือเพิ่มเป็นรสหลายรส ได้แก่ รสนมสด รสช็อกโกแลต เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มความแปลกใหม่และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยผู้บริโภคจะได้มีทางเลือกทานขนมถั่วตัดหลายรสชาติ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

-ทฤษฏีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และภายนอกองค์กร (SWOT Analysis)
-ทฤษฏีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน (5 Forces Model)
-ทฤษฏีการแบ่งส่วนตลาด เลือกตลาดเป้าหมาย (STP Marketing)
-ทฤษฏีส่วนประสมทางการตลาด (Market Mix)
-ทฤษฏีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break Even Point)
-ทฤษฏีการวิเคราะห์ต้นทุน (Cost Analysis)

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ถั่วลิสงนอกจากการใช้เมล็ดเป็นวัตถุดิบในการสกัดน้ำมันแล้ว ยังได้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ถั่วลิสงต้ม ถั่วสมุนไพร ถั่วอบแห้ง ถั่วกระจก ถั่วตัด ถั่วคั่ว และ อีก ฯลฯ ด้วยรสชาติหวานมัน อร่อย จนสามารถทานเล่นได้อย่างเพลิดเพลิน รวมไปถึงเรื่องของคุณประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากการทานถั่วลิสงไม่ว่าจะเป็น โปรตีน ที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ไบโอตินหรือวิตามินบี 7 ที่เป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างเล็บ ผม และ ผิวหนังให้มีสุขภาพดี มีกากใยช่วยในการขับถ่าย(สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, 2552)
กากใยในอาหารเป็นสารที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่าไฟเบอร์ (fiber) เป็นสารที่อยู่ในพืชผักที่ร่างกายเราย่อยสลายหรือดูดซึมไม่ได้ ซึ่งต่างจากสารอาหารอย่างอื่น เช่น แป้ง ไขมัน โปรตีน ที่ร่างกายเราสามารถย่อยและดูดซึมได้ กากใยอาหารจึงผ่านลำไส้กลายเป็นอุจจาระ(ดร.นพ. ประสงค์ เทียนบุญ, 2555)
ดังนั้นถั่วลิสงจึงกลายมาเป็นส่วนผสมหลักในขนมขบเคี้ยวหลากชนิดที่ผู้คนทุกเพศทุกวัยชอบทานมาช้านาน และขนมถั่วตัด ยังนำไปใช้ในงานหมั้น พิธีแต่งงานจีน พิธีแต่งงานไทย เทศกาลตรุษจีน สารทจีน เป็นขนมมงคลที่มีมาแต่โบราณ ความหมายดี หวาน เจริญงอกงาม
(www.ang-kee.com สืบค้นวันที่ 30 ต.ค. พ.ศ. 2560)
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเมืองเพีย เป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรเมืองเพียในเรื่องของการปลูกถั่วลิสง ในปี พ.ศ.2540 เกษตรกรในหมู่บ้านปลูกถั่วลิสงเป็นจำนวนมากเวลานำมาขายทำให้ได้ราคาต่ำ ดังนั้นกลุ่มแม่บ้านจึงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มและได้นำถั่วลิสงมาคั่วด้วยทรายและนำออกมาจัดจำหน่ายตามหมู่บ้านและส่งตลาด ทำให้มีราคาที่ดีขึ้นหลังจากนั้นจึงมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ คือ ถั่วตัด และได้มีการพัฒนาการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าของถั่วลิสง กลุ่มแม่บ้านได้ทำถั่วตัดออกจำหน่าย ลักษณะของถั่วตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีรสชาติหวาน บรรจุใส่ห่อถุงพลาสติกใส ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 15 คน แม่หนูจันทร์ สมศิลา เป็นประธานกลุ่ม โดยมีเทศบาลตำบลเมืองเพีย และเกษตรชุมชน เป็นผู้สนับสนุนเงินและสถานที่จำหน่าย

กลุ่มแม่บ้านได้เลือกผลิตภัณฑ์ ถั่วตัด เพราะถั่วตัดมีรสชาติเดียวคือรสชาติหวาน มีลักษณะเดียวคือเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า บรรจุภัณฑ์ที่ใส่เป็นห่อพลาสติกใสธรรมดา จึงไม่เป็นที่ดึงดูดใจของผู้บริโภค ดังนั้นกลุ่มผู้จัดทำจึงได้พัฒนารสชาติของผลิตภัณฑ์ถั่วตัดขึ้น โดยจะเปลี่ยนจากรสชาติเดิมซึ่งมีแต่รสหวานคือเพิ่มเป็นรสหลายรส ได้แก่ รสนมสด รสช็อกโกแลต เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มความแปลกใหม่และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยผู้บริโภคจะได้มีทางเลือกทานขนมถั่วตัดหลายรสชาติ และจะมีการปรับเปลี่ยนลักษณะบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้น่าดึงดูดใจผู้บริโภคได้ยิ่งขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กลุ่มแปรรูปถั่วลิสงเมืองเพีย
  • ผลิตภัณฑ์ถั่วตัด

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย udonthani_ru udonthani_ru เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 12:45 น.