โครงการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลของผู้นำชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อก้าวสู่หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบ
โครงการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลของผู้นำชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อก้าวสู่หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบ
ข้อมูลโครงการ
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลของผู้นำชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อก้าวสู่หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบ |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
หน่วยงานหลัก | ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |
หน่วยงานร่วม | องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกุลา |
ชื่อชุมชน | ชุมชนในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์ ดร.วาฤทธิ์ นวลนาง |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 186 หมู่ 1 ตำบอลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000 |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | 1. อาจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ หวังชอบ 2. อาจารย์ กัญญาณี สมอ 3. นายวิรุฬห์ ชุ่มมาก สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ 4. นายจักรพงษ์ แสนเสร็จ สาขา วิทยาศาสตร์กการกีฬา 6. นายดนุพร ขยันกสิกรรม สาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์ 7. นางสาวตรงหทัย เจือจันทร์ สาขา ชีววิทยา 8. นางสาวพลอยไพลิน ใจดี สาขา ชีววิทยา 9. นางสาวสุดารัตน์ ลายทอง สาขา ชีววิทยา 10. นางสาวชลพีชชา คำขะ สาขา ชีววิทยา 11. นางสาวเบญจมาศ พรหมบุตร สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา 12. นางสาววรรณทนา ศาลางาม สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา |
การติดต่อ | 088-1080777 |
ปี พ.ศ. | 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 11 พฤศจิกายน 2562 - 11 กุมภาพันธ์ 2563 |
งบประมาณ | 452,000.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
สุรินทร์ | ท่าตูม | ทุ่งกุลา | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกุลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่บ้านตานบ หมู่ที่ ๔ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอท่าตูม ห่างจากอำเภอท่าตูม ระยะทางประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ ระยะทางประมาณ ๖๙ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดกับ แม่น้ำมูล เขตตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลพรมเทพ อำเภอท่าตูม และตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลทุ่งกุลา มีเนื้อที่ประมาณ ๖๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 41,875 ไร่มีลักษณะเป็นที่ราบ สภาพหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันซึ่งเป็นพื้นที่ทำการเกษตรและเป็นที่อยู่อาศัย
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของตำบลทุ่งกุลา มี ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ร้อน ฝน น้ำฝนน้อยไม่พอแก่การเพาะปลูก ขาดระบบการชลประทานที่ดี
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว พื้นราบเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำลำพลับพลา แม่น้ำน้ำมูล
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ในพื้นที่อยู่ในเขตป่าไม้เสื่อมโทรมบางส่วน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1. การเกษตรราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าวที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
2. การประมง
ตำบลทุ่งกุลามีการเลี้ยงปลาในบ่อเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือน
3. การปศุสัตว์
ตำบลทุ่งกุลา มีการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค และการเลี้ยงสุกร ในทุกหมู่บ้านของตำบลทุ่งกุลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
4. การบริการ
บริการนวดพื้นบ้าน ที่กลุ่มนวดพื้นบ้าน หมู่ที่ 4บ้านตานบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งกุลา
มีร้านบริการทำผม เสริมสวย พื้นที่ จำนวน 5 แห่ง
มีโรงสีข้าวขนาดใหญ่ในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง
มีโรงสีข้าวขนาดเล็กในพื้นที่ จำนวน 51 แห่ง
มีโรงสับไม้ จำนวน 1 แห่ง
5. การท่องเที่ยว
ตำบลทุ่งกุลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่
6. อุตสาหกรรม
ตำบลทุ่งกุลา อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่
7. การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
-กลุ่ม ธกส. 1 กลุ่ม
-กลุ่มออมทรัพย์ 10 กลุ่ม
-กลุ่มเกษตร 1 กลุ่ม
-กลุ่มสตรีทอผ้าไหม 10 กลุ่ม
-กลุ่มออมทรัพย์ 10 กลุ่ม
-กลุ่มสหกรณ์การเกษตร 1 กลุ่ม
8. แรงงาน
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ผู้นำชุมชนในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ประสบปัญหาในเรื่องของการขาดทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเป็นอย่างมาก ซึ่งจากการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พบว่าปัจจัยดังกล่าวเกิดมาจากเทคโนโลยีมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และขีดความสามารถในการใช้งานเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีราคาถูกลง ซึ่งหากผู้นำชุมชนขาดทักษะดังกล่าวอาจเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ประชาชนหรือเยาวชนในพื้นที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการนัดหมายในการแข่งรถ หรือจำหน่ายสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ ปัจจัยดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้ผู้นำชุมชนต้องมาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อเพื่อคอยสอดส่องและติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของชุมเพื่อหาแนวทางป้องกันและเสริมสร้างความรู้ให้กับประชาชนและเยาวชนในชุมชน อีกทั้งทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลยังสามารถช่วยส่งเสริม และเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุนของผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งปัญหาในเรื่องของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือนๆ กัน คือสินค้าข้าวไม่มีความแตกต่าง อีกทั้งระบบห่วงโซ่อุปทานนั้นเป็นเพียงแค่ต้นน้ำเท่านั้น (Up stream) ซึ่งละเลยขั้นตอนการเพิ่มมูลค่า (Value added) สินค้าเข้าไปทำให้ต้องขายข้าวในราคาที่ถูกกำหนดมาแล้วเท่านั้น จากปัญหาดังกล่าว หากผู้นำชุมชนมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล จะสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชากรในชุมชน และยังเข้าใจในการหาช่องทางและจำหน่ายสินค้า ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบและยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ผู้นำชุมชนในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลอย่างเร่งด่วน เพื่อรู้เท่าทันสื่อในโลกโลกาภิวัตน์และเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุนของผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น ข้าวหอมมะลิ ผ้าไหมท้องถิ่น และผลิตเครื่องจักสาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชั้นดีของชุมชน แต่ยังขาดความรู้และความเข้าใจในการหาช่องทางและจำหน่ายสินค้า ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบและยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ว่าการอำเภอ หรือแม้กระทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนก็ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลมาช่วยในการทำงาน รับบาลเองก็ได้กำหนดนโยบายและให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยได้ทำการสร้างระบบ E-Government Portal หรือระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ คือระบบสารสนเทศที่เป็น “ศูนย์กลาง” ระหว่างประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐ เป็นเว็บไซต์รวมบริการต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐที่ประชาชนสามารถเลือกบริการได้ตามความต้องการผ่านอุปกรณ์สื่อสารหลายประเภท ระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์นี้จัดได้ว่ามีความสำคัญที่จะต้องได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคธุรกิจ โดยจะได้รับทั้งความโปร่งใสและธรรมาภิบาลเพิ่มมากขึ้นในระบบการทำงานของทางราชการ ซึ่งประชาชนทุกคนสามารถเห็นข้อมูลที่ถูกต้องและยังเข้าไปตรวจสอบได้ตลอดเวลาจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาในด้านของการเกิดการคอร์รัปชั่นได้ ซึ่งจากการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพบว่า ผู้นำชุมชนยังขาดทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเป็นอย่างมาก ปัจจัยดังกล่าวอาจเกิดมาจากเทคโนโลยีมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถในการใช้งานเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันก็มีราคาถูกลง ซึ่งหากผู้นำชุมชนขาดทักษะดังกล่าวอาจเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ประชาชนหรือเยาวชนในพื้นที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการนัดหมายในการแข่งรถ หรือจำหน่ายสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ ปัจจัยดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้ผู้นำชุมชนต้องมาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อเพื่อคอยสอดส่องและติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของชุมเพื่อหาแนวทางป้องกันและเสริมสร้างความรู้ให้กับประชาชนและเยาวชนในชุมชน
หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเป็นโครงการภายใต้การดูแลของกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานชุมชนอำเภอ ดำเนินการโครงการหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ตระหนักถึงความสำคัญเห็นประโยชน์ของข้อมูล ยอมรับและนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีเป้าประสงค์ของโครงการ คือรูปแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและบริหารจัดการชุมชน ตลอดจนการเกิดเครือข่ายการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน การพัฒนาหมูบ้านสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการนำข้อมูลสารสนเทศของชุมชนข้อมูลจำเป็นพื้นฐาน และข้อมูลอื่นๆ มาใช้ประโยชน์ เป็นปัจจัยนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชนอย่างมีเหตุผล ตามบริบทแต่ละชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมภายในชุมชน มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ประชาชนและเยาวชนสามารถบริหารและจัดการตนเอง แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศของตนเองได้อย่างทั่วถึง และสนับสนุนให้มีการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญว่า การพัฒนาชุมชน พัฒนาตำบล พัฒนาท้องถิ่น และการให้ความรู้โดยการจัดการอบรมเพื่อพัฒนาให้กับบุคลากรของผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชนเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการอบรมให้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำมาปรับปรุงประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลของผู้นำชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อก้าวสู่หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบ ซึ่งตำบลทุ่งกุลาเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสม โดยมีแหล่งท่องเทียวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด อีกทั้งยังผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุรินทร์ เช่น ข่าวหอมมะลิทุ่งกุลา และผ้าไหม หากผู้นำชุมชนมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลจะช่วยในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนและผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกช่องทางหนึ่งอีกด้วย
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
ประเมินคุณค่าโครงการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น | ผลที่เกิดขึ้น | ||
---|---|---|---|
1 | เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน | ||
2 | เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ | ||
3 | การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) | ||
4 | การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ | ||
5 | เกิดกระบวนการชุมชน | ||
6 | มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ |
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ