สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการต้นกล้าน้อยพาเที่ยวเลี้ยวเลาะชุมชนศรีฐานภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

โครงการต้นกล้าน้อยพาเที่ยวเลี้ยวเลาะชุมชนศรีฐานภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการต้นกล้าน้อยพาเที่ยวเลี้ยวเลาะชุมชนศรีฐานภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรมสู่ชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน บ้านศรีฐาน
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.สุมาลี นันทศิริพล
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0951592194
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ขอนแก่น เมืองขอนแก่น ในเมือง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้ที่ใช้ในการบรรยายและฝึกปฎิบัติในโครงการมี 4 ประเด็น ดังต่อไปนี้
1. ความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น
2. การจัดการเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชน
3. การสื่อความหมายแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น
4. ศิลปะการพูดสำหรับผู้สื่อความหมาย

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

การท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการทรัพยากรทางการท่องเที่ยว ที่เป็นธรรมชาติและวัฒนธรรมในท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว การที่จะให้ชุมชนจะสามารถดำเนินการท่องเที่ยวตามหลักการดังกล่าวข้างต้น มีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันต้องรณรงค์คนในชุมชนให้เห็นความสำคัญของทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่ และสามารถเป็นเจ้าของบ้านที่ดีให้กับผู้มาเยือนได้ นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มการรับรู้และความเข้าใจในบทบาทของชุมชนท้องถิ่นต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้ การท่องเที่ยวโดยชุมชนอาจไม่ได้หมายความถึงเพียงการต้อนรับนักท่องเที่ยว และการสร้างรายได้เพิ่มจากรายได้หลัก หากแต่เป็นการสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นชุมชนดั้งเดิม และความต้องการจะบอกกล่าวเล่าเรื่อง ความเป็นมาเป็นไปของชุมชน ให้บุคคลอื่นได้ร่วมภาคภูมิใจไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนในชุมชนที่มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ควรที่จะได้เรียนรู้รากเหง้าของตนเอง ในฐานะการเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน การจัดการท่องเที่ยวจึงเกิดประโยชน์อีกด้านหนึ่ง คือ การร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรม การสืบสานวิถีชีวิตอันดีงามให้คงอยู่ในรุ่นต่อ ๆ ไป
ชุมชนบ้านศรีฐาน จากข้อมูลกรมศิลปากร บันทึกไว้ว่ามีการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยทวารวดีตอนต้น โดยมีสภาพทั่วไปเป็นเนินดินค่อนข้างกลม พื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปทางตะวันออก มีแหล่งโบราณคดีเป็นที่ตั้งชุมชนขนาดค่อนข้างใหญ่ ห่างออกไป 4 กิโลเมตร เป็นลำน้ำชีและแหล่งน้ำอื่น ๆ มีแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง คือ บ้านกอก ดินของแหล่งโบราณคดีนี้คือ ดินชุดร้อยเอ็ด โดยหลักฐานโบราณวัตถุที่พบ เช่น เศียรพระพุทธรูป เสมาหินทรายชนิดแผ่นแบน ซึ่งจากการบอกเล่าของผู้สูงอายุ สันนิษฐานว่าบ้านศรีฐานมีมาตั้งแต่สมัยทวารวดีตอนต้น เดิมชื่อว่าบ้านสี่ถ่าน ปัจจุบันมีทรัพยากรในชุมชนที่สามารถดำเนินกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวได้หลายประเภท เช่น โบสถ์ หอระฆัง วัดจอมศรี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2379 ศาลเจ้าปู่ครูจัด สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2546 สมัยก่อนใครจะตัดต้นไม้ไม่ได้ เพราะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง จะทำพิธีบวงสรวงศาลเจ้าปู่ครูจัด ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 โดยชาวบ้านจะตบประทาย หรือเรียกว่า การก่อพระทราย (ก่อปะทาย) โดยนำเอาทรายมาก่อเป็นรูปเจดีย์ การทำพิธีนี้เพื่อไม่ให้พายุเข้ามาในหมู่บ้าน ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน ให้ปัดเป่าสิ่งไม่ดีให้ออกไป หรือใครจะเดินทางไปต่างประเทศจะมาขอพรให้ได้ไป หรือใครที่ เดินทางไกล ๆ จะมาขอพรให้เดินทางปลอดภัย บ่อพญานาค ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน มี ศาลปู่สุทโธ ชาวบ้านจะสักการะทุกวันพระ และมีความเชื่อว่าหากต้องการสมหวังสิ่งใดก็จะมาขอพรจากบ่อพญานาคนี้ อีกทั้ง น้ำในบ่อไม่เคยแห้ง ต้นมะขามใหญ่ อายุ 100 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ในชุมชน ได้แก่ เนื้อแดดเดียว แหนมหมู แหนมวัว แจ่วบอง ไส้กรอก ขนมครกโบราณ ข้าวต้มหมู กลุ่มจิตอาสาผลิตภัณฑ์จากไม้ มีภูมิปัญญาชาวบ้าน หมอเป่าแก้งูสวัด หมอนวดแผนโบราณ หมอเป่าน้ำมนต์
จากทรัพยากรดังกล่าวข้างต้นจึงมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เล็งเห็นความโดดเด่น และความสำคัญในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น เช่น เทศบาลนครขอนแก่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมอีสาน ได้เข้ามามีบทบาทสนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สร้างจิตสำนึกของท้องถิ่นและการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ในปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา ทำให้เกิดกิจกรรมการสืบค้นเมืองเก่า การตักบาตรทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน ศูนย์ประวัติศาสตร์ วัด ชุมชน คนศรีฐาน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมเหล่านี้จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ หากปราศจากการสืบสาน ส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ชุมชนศรีฐานจึงมีความต้องการที่จะส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรมต่าง ๆ ไว้ให้มากที่สุด โดยในปี พ.ศ. 2562 ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาสนับสนุนการจัดการท่องเที่ยวดังนั้น เพื่อร่วมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งเพิ่มขึ้น สาขาการท่องเที่ยวและการบริการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในฐานะมหาวิทยาลัยของชุมชนได้ตระหนักถึงภารกิจในการช่วยเหลือชุมชนและสังคมให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้อยู่อาศัยอย่างมีความสุขในท้องถิ่นของตนเอง ไม่เดินทางออกนอกชุมชน เพื่อไปทำงานในเมืองใหญ่ รวมทั้งให้คนรุ่นใหม่มีส่วนในการร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ชุมชนศรีฐานเป็นพื้นที่ซึ่งสาขาการท่องเที่ยวและการบริการได้เริ่มต้นศึกษาพื้นที่ในปี 2561 และได้จัด “โครงการการสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความรู้ด้านการท่องเที่ยวและการบริการแก่ชุมชนในจังหวัดขอนแก่น” เป็นการให้บริการวิชาการในชุมชนเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาร่วมกัน นับเป็นกิจกรรมบริการวิชาการเพื่อสร้างเครือข่ายและองค์ความรู้ให้กับชุมชนศรีฐานไปพร้อมๆ กัน จากการจัดกิจกรรม พบว่า ชุมชนมีทรัพยากรการท่องเที่ยวอยู่ในเทศบาลเมืองขอนแก่น เหมาะที่จะส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ประกอบกับชุมชนมีความต้องการการจัดทำตลาดริมน้ำคูเมืองเก่า พัฒนาการจัดการโฮมสเตย์ซึ่งยังไม่มีมาตรฐาน การนำเที่ยวโดยเยาวชนในท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวบ่อน้ำพญานาค และการส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งทรัพยากรที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเหล่านี้ นับเป็นขุมคลังของชุมชนที่จะช่วยเสริมรายได้ ทำให้ชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างเกิดประโยชน์ต่อชุมชนตนเอง ดังนั้น ในปี 2562 นี้ สาขาฯ จึงได้จัด “โครงการต้นกล้าพาเที่ยว เลี้ยวเลาะชุมชนศรีฐาน” ขึ้น เป็นการต่อยอดและส่งเสริมชุมชนให้ต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนเกิดองค์ความรู้และทักษะในการเป็นผู้สื่อความหมายของชุมชน เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการนำเสนอวิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่นแก่ผู้มาเยือนได้ สร้างความภาคภูมิใจในทรัพยากรท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งค้นหาศักยภาพอื่น ๆ ที่มีในชุมชน เพื่อช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนตามบริบทที่เหมาะสมกับความสามารถและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสมดุลและยั่งยืน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ชุมชนศรีฐาน
  • ต้นกล้าน้อย

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย monteearu monteearu เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 15:14 น.