โครงการเพิ่มศักยภาพทางการค้าผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมจังหวัดสกลนครสู่สากล
โครงการเพิ่มศักยภาพทางการค้าผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมจังหวัดสกลนครสู่สากล
ข้อมูลโครงการ
ชื่อโครงการ | โครงการเพิ่มศักยภาพทางการค้าผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมจังหวัดสกลนครสู่สากล |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ |
หน่วยงานหลัก | คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร |
หน่วยงานร่วม | คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร |
ชื่อชุมชน | พิพิธภัณฑ์ป้าทุ้ม ป้าไท้ บ้านหนองแข้ ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000 |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ |
การติดต่อ | 089-712-4041 , 085-925-2825 |
ปี พ.ศ. | 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 996,480.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
สกลนคร | โคกศรีสุพรรณ | ตองโขบ | ชนบท | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดสกลนครถือเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าย้อมสีธรรมชาติ เนื่องจากสกลนครเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จึงกลายเป็นแหล่งรังไหม แหล่งปลูกคราม ที่นำมาสร้างสรรค์งานทอผ้าได้อย่างงดงาม และสืบสานเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวสกลนครสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง “ผ้าไหม สกลนคร” ถือเป็นแหล่งผ้าไหมที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศเพราะมีทรัพยากรที่เหมาะแก่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ถือเป็นรังไหมของอีสาน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ผลิตจำนวนมากได้รับการการพัฒนาจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จนกลายเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ และ “ผ้าย้อมคราม” เป็นผ้าฝ้ายย้อมครามสีธรรมชาติที่ได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) และเป็นที่นิยมตามกระแสโลกในเรื่องสินค้าที่เป็นมิตรกับร่างกายและสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันผ้าครามสกลนครเป็นที่รู้จักในระดับประเทศและอาเซียน ผู้สนใจจากทั่วโลกหันมาสนใจผ้าครามจากสกลนครมากขึ้น และเริ่มตามรอยผ้าครามมาดูแหล่งผลิตที่สกลนครมากขึ้น ดังนั้น หากนำไหมมาย้อมครามจะถือเป็นการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่น (ประเภทผ้า) ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งจะเป็นจุดขาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และสามารถสร้างเรื่องราว (Story) ให้น่าสนใจในทางการตลาด และจะทำให้ผ้าไหมย้อมครามของสกลนครเป็นผ้าระดับพรีเมี่ยมได้ เนื่องจากผ้าไหมมีราคาแพงและการย้อมครามก็เป็นการย้อมสีธรรมชาติที่มีต้นทุนในการย้อมพอสมควร และหากพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมย้อมครามสู่แฟชั่นร่วมสมัย จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดสกลนครมีความโดดเด่นทรงคุณค่า เกิดผลิตภัณฑ์และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในจังหวัดสกลนครข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดที่มีผลิตผลทางการเกษตรที่ต่อยอดมาเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมีความเป็นอัตลักษณ์ไม่เหมือนใคร อาทิ ผ้าย้อมคราม น้ำเม่า ข้าวฮาง ฯลฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ได้รับตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แสดงถึงความเป็นสุดยอดผลิตผลทางการเกษตร อีกทั้งมีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าย้อมคราม และผ้าย้อมสีธรรมชาติ ที่มีการผลิตครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกอำเภอในจังหวัดสกลนคร และเพื่อพัฒนาผ้าไหมไทยพื้นบ้านในจังหวัดสกลนครให้มีความร่วมสมัยและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมกันนี้การย้อมไหมด้วยครามซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทำให้ไหมสกลนครมีความโดดเด่นและเป็นที่สนใจในตลาดโลก และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการในจังหวัดสกลนคร และคงความเป็นอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดสกลนคร จึงต้องมีการต่อยอด บูรณาการ และผสมผสานไหมและครามให้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนและเป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาเด่นของจังหวัดสกลนครได้อย่างยั่งยืนข้อมูลประเด็นปัญหา
สถานการณ์การแข่งขันทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการของจังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ SMEs / OTOP การพาณิชย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของจังหวัด การค้าเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดเป็นมูลค่ามาก ซึ่งนับวันมีความสำคัญมากขึ้น การยกระดับการค้ามีความจำเป็นที่ต้องหาตลาดใหม่ โดยใช้โอกาสการขยายตลาดหรือตัวแทนทางการค้า (Trader) ไปสู่ตลาดต่างประเทศ ถ้าหากการตลาดมียอดขายที่ลดลงหรือการค้าถดถอยไปเรื่อยๆ ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถอยู่รอดในการแข่งขันกับตลาดที่มีการแข่งขันในขณะนี้ และจะค่อยๆ หยุดกิจการไป ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในจังหวัด ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์รวมมวลจังหวัดลดลงตามด้วยสกลนครเป็นจังหวัดที่มากด้วยแหล่งทางศิลปวัฒนธรรมและเป็นศูนย์รวมแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนา จังหวัดสกลนครจึงมีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผสมผสานกับคำสอนทางพุทธศาสนาได้อย่างลงตัว รวมถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางสิ่งทอพื้นบ้านของคนในจังหวัดสกลนคร หนึ่งในสิ่งทอพื้นบ้านที่มีความงดงามและมีประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดสกลนคร ผ้าไหมย้อมคราม โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงอุปถัมภ์กิจกรรมของโครงการศิลปาชีพในจังหวัดสกลนครโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูเรื่องของภูมิปัญญาในการผลิตผ้าไหมและผ้าไทยต่าง ๆ ให้ดำรงคงอยู่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในกระบวนการผลิตและการจำหน่ายผ้าไหมส่วนใหญ่เป็นการออกแบบและผลิตจากทักษะความชำนาญ และความรู้ความเข้าใจที่สืบทอดกันมา ขาดความเข้าใจตลาด ขาดการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่เหมาะสม ทำให้สินค้าจำนวนมากมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมแก่การใช้งาน ขาดความคงทน มีความสูญเปล่าทางวัสดุ แรงงาน ทำให้มีต้นทุนสูง อุปทานการผลิตมากกว่าอุปสงค์ในความต้องการ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ผ้าไหมไทยและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยนับเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมยุทธศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้มีความสามารถในการแข่งขัน โดยการนำความรู้จากการศึกษาวิจัยมาขยายผลให้แก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ผลิต ผู้ประกอบการยังประสบปัญหาการขาดความเชี่ยวชาญในการออกแบบของสินค้า ขาดทักษะความชำนาญในการคิดสร้างสรรค์ / นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เป็นที่ดึงดูดใจของผู้ซื้อ ไม่มีจุดขายสินค้า สินค้ายังเป็นลักษณะคล้ายคลึงกัน ทำให้มีการแข่งขันภายในกลุ่มประเภทสินค้าเดียวกันจำเป็นต้องหาจุดยืนของสินค้า หรือความเป็นเอกลักษณ์ให้แตกต่างกัน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและขายสินค้าได้มากขึ้น และที่สำคัญคือ “ไหมสกลนคร” กำลังจะเลือนหายไป ควรอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูผ้าไหมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยนำมาผสมผสานกับคราม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดสกลนครถือเป็นภูมิปัญญาที่ล้ำค่าที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน จึงควรที่จะอนุรักษ์ต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์เด่นคู่กันของจังหวัดสกลนครต่อไปประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล
นโยบายรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบาย ในการส่งเสริมช่วยเหลือธุรกิจ SME ซึ่งเป็นธุรกิจระดับรากหญ้าให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยทั้งนี้ การช่วยเหลือ SME นอกจากจะช่วยเหลือในเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนแล้ว ยังให้ความสำคัญในเรื่องของการนำสินค้าและบริการที่มีมาตรฐานของธุรกิจ SME ออกสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน ซึ่งมีความต้องการสินค้าของประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ยังส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SME มีความรู้ในเรื่องของการทำการตลาดออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ส หรือการนำเทคโนโลยีดิจิตอลให้สามารถทำธุรกิจได้ดีขึ้น สามารถแข่งขันได้ในเวทีอาเซียนและภูมิภาคอื่นๆได้รวมทั้ง ภาครัฐและเอกชนได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืนโดยพัฒนาและส่งเสริมด้านการตลาดผู้ประกอบการ และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมสามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
จังหวัดสกลนครถือเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าย้อมสีธรรมชาติ เนื่องจากสกลนครเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จึงกลายเป็นแหล่งรังไหม แหล่งปลูกคราม ที่นำมาสร้างสรรค์งานทอผ้าได้อย่างงดงาม และสืบสานเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวสกลนครสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง “ผ้าไหมสกลนคร” ถือเป็นแหล่งผ้าไหมที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศเพราะมีทรัพยากรที่เหมาะแก่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ถือเป็นรังไหมของอีสาน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ผลิตจำนวนมากได้รับการการพัฒนาจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จนกลายเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ และ “ผ้าย้อมคราม” เป็นผ้าฝ้ายย้อมครามสีธรรมชาติที่ได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) และเป็นที่นิยมตามกระแสโลกในเรื่องสินค้าที่เป็นมิตรกับร่างกายและสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันผ้าครามสกลนครเป็นที่รู้จักในระดับประเทศและอาเซียน ผู้สนใจจากทั่วโลกหันมาสนใจผ้าครามจากสกลนครมากขึ้น และเริ่มตามรอยผ้าครามมาดูแหล่งผลิตที่สกลนครมากขึ้น ดังนั้น หากนำไหมมาย้อมครามจะถือเป็นการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่น (ประเภทผ้า) ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งจะเป็นจุดขาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และสามารถสร้างเรื่องราว (Story) ให้น่าสนใจในทางการตลาด และจะทำให้ผ้าไหมย้อมครามของสกลนครเป็นผ้าระดับพรีเมี่ยมได้ เนื่องจากผ้าไหมมีราคาแพงและการย้อมครามก็เป็นการย้อมสีธรรมชาติที่มีต้นทุนในการย้อมพอสมควร และหากพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมย้อมครามสู่แฟชั่นร่วมสมัย จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดสกลนครมีความโดดเด่นทรงคุณค่า เกิดผลิตภัณฑ์และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในจังหวัดสกลนคร
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพ และการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าสินค้าผ้าไหมย้อมครามของสกลนคร สร้างแรงกระตุ้นเชิงอัตลักษณ์ของจังหวัดให้เกิดความต้องการสินค้าและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ ในการสร้างงาน สร้างรายได้เพิ่มให้กับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนและท้องถิ่นอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
2. สภาพปัญหา/ความต้องการ
สถานการณ์การแข่งขันทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลกระทบโดยตรงต่อของผู้ประกอบการของจังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ SMEs / OTOP การพาณิชย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของจังหวัด การค้าเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดเป็นมูลค่ามาก ซึ่งนับวันมีความสำคัญมากขึ้น การยกระดับการค้ามีความจำเป็นที่ต้องหาตลาดใหม่ โดยใช้โอกาสการขยายตลาดหรือตัวแทนทางการค้า (Trader) ไปสู่ตลาดต่างประเทศ ถ้าหากการตลาดมียอดขายที่ลดลงหรือการค้าถดถอยไปเรื่อยๆ ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถอยู่รอดในการแข่งขันกับตลาดที่มีการแข่งขันในขณะนี้ และจะค่อยๆ หยุดกิจการไป ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในจังหวัด ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์รวมมวลจังหวัดลดลงตามด้วย สกลนครเป็นจังหวัดที่มากด้วยแหล่งทางศิลปวัฒนธรรมและเป็นศูนย์รวมแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนา จังหวัดสกลนครจึงมีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผสมผสานกับคำสอนทางพุทธศาสนาได้อย่างลงตัว รวมถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางสิ่งทอพื้นบ้านของคนในจังหวัดสกลนคร หนึ่งในสิ่งทอพื้นบ้านที่มีความงดงามและมีประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดสกลนคร ผ้าไหมย้อมคราม โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงอุปถัมภ์กิจกรรมของโครงการศิลปาชีพในจังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูเรื่องของภูมิปัญญาในการผลิตผ้าไหมและผ้าไทยต่าง ๆ ให้ดำรงคงอยู่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในกระบวนการผลิตและการจำหน่ายผ้าไหมส่วนใหญ่เป็นการออกแบบและผลิตจากทักษะความชำนาญ และความรู้ความเข้าใจที่สืบทอดกันมา ขาดความเข้าใจตลาด ขาดการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่เหมาะสม ทำให้สินค้าจำนวนมากมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมแก่การใช้งาน ขาดความคงทน มีความสูญเปล่าทางวัสดุ แรงงาน ทำให้มีต้นทุนสูง อุปทานการผลิตมากกว่าอุปสงค์ในความต้องการ
3. ความเร่งด่วน
ผ้าไหมไทยและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยนับเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมยุทธศาสตร์ที่ควรส่งเสริมให้มีความสามารถในการแข่งขัน โดยการนำความรู้จากการศึกษาวิจัยมาขยายผลให้แก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ผลิต ผู้ประกอบการยังประสบปัญหาการขาดความเชี่ยวชาญในการออกแบบของสินค้า ขาดทักษะความชำนาญในการคิดสร้างสรรค์ / นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เป็นที่ดึงดูดใจของผู้ซื้อ ไม่มีจุดขายสินค้า สินค้ายังเป็นลักษณะคล้ายคลึงกัน ทำให้มีการแข่งขันภายในกลุ่มประเภทสินค้าเดียวกันจำเป็นต้องหาจุดยืนของสินค้า หรือความเป็นเอกลักษณ์ให้แตกต่างกัน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและขายสินค้าได้มากขึ้น และที่สำคัญคือ “ไหมสกลนคร” กำลังจะเลือนหายไป ควรอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูผ้าไหมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยนำมาผสมผสานกับคราม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดสกลนครถือเป็นภูมิปัญญาที่ล้ำค่าที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน จึงควรที่จะอนุรักษ์ต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์เด่นคู่กันของจังหวัดสกลนครต่อไป
4. สรุปสาระสำคัญ
จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดที่มีผลิตผลทางการเกษตรที่ต่อยอดมาเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมีความเป็นอัตลักษณ์ไม่เหมือนใคร อาทิ ผ้าย้อมคราม น้ำเม่า ข้าวฮาง ฯลฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ได้รับตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แสดงถึงความเป็นสุดยอดผลิตผลทางการเกษตร อีกทั้งมีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าย้อมคราม และผ้าย้อมสีธรรมชาติ ที่มีการผลิตครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกอำเภอในจังหวัดสกลนคร และเพื่อพัฒนาผ้าไหมไทยพื้นบ้านในจังหวัดสกลนครให้มีความร่วมสมัยและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมกันนี้การย้อมไหมด้วยครามซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทำให้ไหมสกลนครมีความโดดเด่นและเป็นที่สนใจในตลาดโลก และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการในจังหวัดสกลนคร และคงความเป็นอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดสกลนคร จึงต้องมีการต่อยอด บูรณาการ และผสมผสานไหมและครามให้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนและเป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาเด่นของจังหวัดสกลนครได้อย่างยั่งยืๅ
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- โครงการเพิ่มศักยภาพทางการค้าผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมจังหวัดสกลนครสู่สากล
- นวัตกรรมใหม่ไหมย้อมคราม
- ผ้าย้อมครามสกลนคร
- ผ้าไหมย้อมคราม
ประเมินคุณค่าโครงการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น | ผลที่เกิดขึ้น | ||
---|---|---|---|
1 | เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน | find_in_page | |
2 | เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ | find_in_page | |
3 | การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) | find_in_page | |
4 | การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ | find_in_page | |
5 | เกิดกระบวนการชุมชน | find_in_page | |
6 | มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ | find_in_page |
ภาพถ่าย
วีดิโอ
- เรื่องราวของผ้าไหมย้อมคราม
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ