สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานความรู้ ภูมิปัญญา และอาชีพ

โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานความรู้ ภูมิปัญญา และอาชีพ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานความรู้ ภูมิปัญญา และอาชีพ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยนเรศวร
หน่วยงานหลัก กองส่งเสริมการบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน บ้านสนามคลี ต.บางกระทุ่ม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ,ต.งิ้วงาม อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.สมคิด คำแหง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 99 ม.9 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 055-968628
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พิษณุโลก บางกระทุ่ม สนามคลี place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ชุมชนเป้าหมายได้รับการพัฒนาตามความต้องการที่จะนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิต พัฒนาอาชีพและสร้างรายได้
ชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพชุมชน/กลุ่มบนพื้นฐานของการนำความรู้ ภูมิปัญญาและอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต
คณาจารย์ได้นำความรู้ไปเผยแพร่ ถ่ายทอดเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสู่ชุมชน
กิจกรรม “การทำยาหม่องสมุนไพร และ ยาดมสมุนไพร” การทำน้ำยาล้างจาน และน้ำยาล้างห้องน้ำ จากสมุนไพร”
กิจกรรม “การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักเศษอาหาร”
กิจกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เพื่อสร้างอาชีพและรายได้”
กิจกรรม “การแปรรูปสัตว์ประมงน้ำจืดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม”

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัยที่ดูแลขอบเขต 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยมีพันธกิจหลักประการหนึ่งที่สำคัญคือ การบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตบัณฑิต ผลงานวิจัย และการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างแท้จริง จนไปสู่การสร้างความร่วมมือในรูปแบบการสร้างเครือข่าย (Networking) ทั้งภายในและภายนอกในกระบวนการบริการวิชาการ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายด้านบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ มหาวิทยาลัยตอบสนองความต้องการและสร้างความเสมอภาคให้กับประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โดยการกระจายโอกาสด้านการเรียนรู้ การบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง และเป็นมหาวิทยาลัยของปวงชนที่มีความผูกพันของชุมชนและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา (Public Participation) และจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม (University Social Responsibility)
การพัฒนาชุมชนที่จะนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนมหาวิทยาลัยต้องแสดงบทบาทในการนำความรู้จากภายในไปเผยแพร่สู่ภายนอกทั้งในรูปของภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และนำความรู้นั้นไปสู่การแก้ไขปัญหาการดำรงชีวิต และ/หรือการพัฒนาการประกอบอาชีพเพื่อให้คนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และพึ่งอาศัยซึ่งกันและกัน จากการบริการวิชาการที่ผ่านมา พบว่า หลายชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนโครงการบริการวิชาการจากมหาวิทยาลัยไม่ได้รับการพัฒนาที่ต่อเนื่องทำให้กระบวนการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนหยุดชะงัก ชุมชนยังไม่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง เนื่องจากขาดการให้คำปรึกษาและสนับสนุนการพัฒนา การจัดโครงการต่างๆ ที่ผ่านมาจึงไม่เกิดความคุ้มค่ากับงบประมาณที่สูญเสียไป โดยเฉพาะเรื่องของการสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่เป็นที่ต้องการของชุมชน ความรู้ดังกล่าวที่ได้รับ จึงไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงการพัฒนาที่แท้จริง
จากเหตุผลดังกล่าว กองส่งเสริมการบริการวิชาการ จึงขอเสนอโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานความรู้ ภูมิปัญญา และอาชีพ โดยมุ่งเน้นการบริการวิชาการบนพื้นฐานของข้อมูลและปัญหา/ความต้องการของชุมชน และการวางแผนกิจกรรมการพัฒนาร่วมกันก่อนดำเนินกิจกรรมในลักษณะของการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้าง/ปรับกระบวนการเรียนรู้ เชิงปฏิบัติ และเกิดการนำความรู้และวิธีปฏิบัติเทคนิควิทยาการต่างๆ ไปพัฒนาศักยภาพ/เสริม/เติมเต็ม/ใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพ ตลอดจนสามารถรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมร่วมกันสร้างรายได้ พัฒนาอาชีพและชุมชนของตนเองได้ต่อไปในอนาคต
เชิงผลผลิต (Output) 1. ชุมชนที่ร้องขอการสนับสนุนการบริการวิชาการได้รับการพัฒนาตามประเด็นที่มีการร้องขอ
2. คณาจารย์ ผู้บริหาร บุคลากรสายสนับสนุน นิสิตมีพื้นที่ในการเผยแพร่ความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่
เชิงผลลัพธ์ (Outcome) 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านอาชีพ และการเพิ่มรายได้ของกลุ่มเป้าหมาย
2. ชุมชนได้รับการตอบสนองการแก้ไขปัญหา/ได้รับความรู้ตามความต้องการและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและการพัฒนา/แก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย jantana8628 jantana8628 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 15:01 น.