สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงงานอาสาประชารัฐ: กิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและรายได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

โครงงานอาสาประชารัฐ: กิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและรายได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงงานอาสาประชารัฐ: กิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและรายได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
หน่วยงานหลัก คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน 319 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยฉัตร ทองแพง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 099-1494661
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

2.หลักการและเหตุผล
ภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นความภูมิใจในรากเหง้าแห่งปัญญา ความสามารถและการประยุกต์ใช้ทักษะของคนในท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมของชุมชน ที่มีความเด่นชัดในหลากหลายด้าน อย่างไรก็ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ฝังลึกอยู่ในแต่ละชุมชน ยังขาดการนำองค์ความรู้และแนวคิดในการจัดการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพ มาช่วยในการบูรณาการทำให้ภูมิปัญญาดังกล่าวส่งผลดีต่อความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้นในการยกระดับคุณภาพชีวิต ขับเคลื่อนความมั่นคง และความสุขให้กับคนในชุมชน ทั้งนี้ มีเป้าหมายในการส่งเสริมเอกลักษณ์จำเพาะถิ่นฐาน ให้เป็นแบบอย่างของภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดกระบวนการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งนำมายังความภูมิใจของชุมชน ด้วย ในการจัดกิจกรรมด้านการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยมีการบูรณาการภูมิปัญญาและวิทยาการสมัยใหม่ของสถาบันอุดมศึกษากับภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อสร้างกระบวนการในการเสริมสร้างและพัฒนา ยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการของกลุ่มชุมชนที่รวมตัวกันสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม สามารถยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดซึ่งเป็นการเสริมความมั่นคงในอาชีพและรายได้ การมีวินัยทางการเงินและศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นให้มีความมั่นคง เกิดผลที่ยั่งยืนในขณะเดียวกันนักศึกษาของที่เข้าร่วมโครงการจะเกิดการเรียนรู้ เข้าใจในวิถีชีวิต เอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทยและทรัพยากรอันมีค่า และเป็นการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยกับการปฏิบัติงานจริง เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์การทำงานตามองค์ความรู้ของแต่ละศาสตร์ โดยมีชุมชนเป็นฐานในการนำองค์ความรู้ทางวิชาชีพสู่การปฏิบัติ ( Community-based Learning Program : CBL) ผ่านโครงงานที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของพื้นที่ของชุมชน (Area-based) ส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป
3. ประเด็นปัญหาหลักหรือความต้องการของชุมชนในด้านปัญหาคุณภาพชีวิต
มาตรฐานการดำรงชีวิตอันเหมาะสมของประชากรในสังคมคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยทำให้มนุษย์มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพในการทำงานเพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ดังสถานการณ์คุณภาพชีวิตของประชากรไทยในปัจจุบัน ซึ่ง 1 ใน 6 ประเด็นเร่งด่วน คือ ด้านการประกอบอาชีพ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่หลัง พ.ศ. 2539 สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่ม เปลี่ยนแปลงไป เริ่มจากปัญหาด้านการเงินขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงินต่าง ๆ อันมีผลกระทบต่อระบบการเงินการคลังระดับชาติ ประชากรได้รับผลกระทบ จากนโยบายการปรับค่าเงินบาท การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศและการส่งออกเริ่มมีปัญหา โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนเงินตรา กิจการต่าง ๆ ต้องปรับตัวและหลาย กิจการต้องล้มเลิกไป อัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ประชาชนยากจนลง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาประชากรของประเทศไทย คือ การเพิ่มขึ้นของประชากร อย่างรวดเร็ว และการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจและ เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นผลให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายมากขึ้น ตัวเมืองอุตสาหกรรมขยายเพิ่มขึ้น ผู้คนต้องเร่งรีบแข่งขัน ฯลฯ
กระบวนการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ และเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย มีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ และชุมชนยังสามารถนำสินค้ามาจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนกันจะเป็นทุนหมุนเวียนในชุมชน ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันอันจะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาในระดับเศรษฐกิจรากหญ้า ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถกลุ่มอาชีพต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพความเข้มแข็งต่อชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ตลอดจนให้คนจนไม่มีอาชีพ ให้มีรายได้เสริม อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนให้อยู่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
จากการศึกษาประเด็นปัญหาหลักและความต้องการของชุมชนบ้านคำคา ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ชุมชนบ้านคำคา ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์แทบทุกหลังคาเรือนนั้นมีการน้อมนำแนว “ปรัชญาเศรษฐกกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของครัวเรือนและชุมชนเป็นรูปธรรมนั้น แต่ยังขาดการรวมกลุ่มในการพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ให้กับชุมชน ขาดความต่อเนื่องและขาดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ทางคณะทำงานโครงการจึงได้พิจารณาคัดเลือกชุมชนดังกล่าวที่จะสามารถพัฒนาได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการอาสาประชารัฐ ซึ่งเป็นชุมชนหนึ่งที่สมาชิกชุมชนมีความเข้มแข็ง แต่ยังขาดระบบการบริหารจัดการตลอดจนการประชาสัมพันธ์ และการตลาดดิจิทัล จึงได้ทำการเข้าสำรวจชุมชน เก็บข้อมูล พร้อมนำข้อมูลของชุมชนร่วมกับการศึกษาถึงโอกาสและความเป็นไปได้ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านการประกอบอาชีพซึ่งสามารถสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนได้ และเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้นำความรู้ที่ได้ศึกษามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริงก่อนออกไปสู่ตลาดแรงงาน โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหมู่บ้าน ในรูปแบบต่าง ๆ โดยได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ คณาจารย์ต่างสาขาวิชา ตลอดจนนักศึกษาอย่างน้อย 3 สาขาวิชาด้วยกัน เริ่มตั้งแต่การนำองค์ความรู้ด้านการผลิต การตลาด การบริหารจัดการ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย การจัดการสินค้าและวัตถุดิบ การจัดทำงบประมาณ การคิดต้นทุนผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการจัดสรรกำไรและผลประโยชน์ รวมไปถึงการลดต้นทุนเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย drnanny8080 drnanny8080 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 19:05 น.