สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการ การส่งเสริมและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการ การส่งเสริมและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
หน่วยงานหลัก สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ ม.ทักษิณ
หน่วยงานร่วม 1.เทศบาลตำบลลานข่อย 2.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ชื่อชุมชน เทศบาลตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ชื่อผู้รับผิดชอบ อ.ดร.สุนิสา คงประสิทธิ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ ม.ทักษิณ
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อ.ดร. พีรนาฏ คิดดี
การติดต่อ 074693992
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 100,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ป่าพะยอม ลานข่อย place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตำบลลานข่อย แบ่งเขตการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 2,086 ครัวเรือน คิดเป็น 7,122 คน แยกเป็น ชาย 3,567 คน หญิง 3,555 คน เนื้อที่ประมาณ 37,344 ไร่ คิดเป็น 59.75 ตารางกิโลเมตร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การจัดการขยะ
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่มีความพยายามในการแก้ปัญหาเรื่องมูลฝอยในชุมชน เทศบาลตำบลลานข่อย แบ่งเขตการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 2,086 ครัวเรือน คิดเป็น 7,122 คน แยกเป็น ชาย 3,567 คน หญิง 3,555 คน เนื้อที่ประมาณ 37,344 ไร่ คิดเป็น 59.75 ตารางกิโลเมตร ตำบลลานข่อยเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดพัทลุงที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างจังหวัดให้เข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันมี สถานประกอบการประเภทโรงแรมและที่พัก ที่ก่อสร้างเสร็จแล้วจำนวน 23 แห่ง คือ ล่องแก่งหนานมดแดง ล่องแก่งหนานท่าส้าน ล่องแก่งชายคลองรีเวอร์ไซด์ ล่องแก่งลานข่อย ล่องแก่งวังไม้ไผ่ ล่องแก่งระฆังทอง ล่องแก่งลุงทันโฮมสเตย์ ล่องแก่งชมดาว ล่องแก่งวังชมพู่ ล่องแก่งนายพล&รีสอร์ท ล่องแก่งหนานชุมพล บ้านพักธาราริน ป่าพะยอมรีสอร์ท สบายดีรีสอร์ท บ้านนายรีสอร์ท แม็คโฮมสเตย์ บ้านบ้านโฮมสเตย์ ริมห้วยรีสอร์ท บ้านพักริมน้ำ บ้านพักริมน้ำ1 บ้านพักริมน้ำ 2 บ้านกลางสวนล่องแก่ง กู๊ดลัคการ์เด้น โดยรายละเอียดแต่ละโรงแรมและสถานประกอบการท่องเที่ยวมีดังนี้ แต่ประเด็นปัญหาที่ทางเทศบาลเป็นกังวลในเรื่องความยั่งยืนของชุมชน คือปริมาณมูลฝอยที่มีปริมาณมาก และการที่ชุมชน สถานประกอบการ และบุคลากรการท่องเที่ยวขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชนหรือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(เทศบาลตำบลลานข่อย, 2558) เทศบาลตำบลลานข่อย (2558) มีการกำหนดเป้าในการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในแผนพัฒนา 3 ปี (2559-2561) เทศบาลตำบลลานข่อย โดยเทศบาลลานข่อยมุ่งเน้นในเรื่องการจัดการขยะ ขณะนี้มีการดำเนินการก่อสร้างระบบการเผาขยะชุมชนไร้มลพิษ ขนาด 500 กิโลกรัมต่อชั่วโมง แล้วเสร็จและเปิดดำเนินการตั้งแต่เดือน กันยายน 2557 เพื่อกำจัดขยะทั้งหมดในชุมชน ปัจจุบันเทศบาลตำบลลานข่อยมีปริมาณขยะประมาณวันละ 800 กิโลกรัม โดยปริมาณขยะดังกล่าวยังไม่ได้นับรวมปริมาณจากชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะมูลฝอยที่เกิดจากสถานประกอบการประเภทโรงแรมและที่พัก แต่ประเด็นปัญหาที่ทางเทศบาลประสบอยู่คือปัญหาการขาดความร่วมมือในการคัดแยกขยะจากสถานประกอบการดังกล่าว ขยะที่เก็บขนได้ เป็นขยะรวมที่ไม่มีการคัดแยก เมื่อนำมาเผาทำลายต้องใช้พลังงานสูง ส่งผลต่อต้นทุนเชื้อเพลิงในการเผามูลฝอย และการบริหารจัดการของเทศบาล (เสนอ รอดเรืองฤทธิ์, 2558) การมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการคัดแยกขยะจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชนเทศบาลลานข่อย เพื่อให้การดำเนินงานด้านการจัดการขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เทศบาลลานข่อยมีความจำเป็นที่จะต้องทราบปัจจัยที่จะส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของสถานประกอบการและเทศบาลลานข่อย หากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีปัญหาในการบริหารจัดการ มีขยะตกค้างในชุมชน อาจจะเป็นประเด็นปัญหากระทบธุรกิจการท่องเที่ยวของชุมชนในอนาคตได้
โดยจากการประชุมหารือระหว่างเทศบาลลานข่อย ชมรมล่องแก่งลานข่อย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2559


พบว่าชุมชนมีความคาดหวังให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือในหลายๆ ประเด็น คือ
1. การไม่แยกขยะ ทิ้งขยะรวมในถังเดียวกัน
2. ถึงแม้ว่าบางสถานประกอบการมีการแยกขยะที่ต้นทาง พนักงานเก็บขนขยะ ไม่แยกขยะในขณะเก็บขน
3. พนักงานในสถานประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะ
4. ควรปลูกฝังการคัดแยกขยะในโรงเรียน โดยให้เทศบาลจัดสรรบประมาณเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการขยะแก่ครูและนักเรียน

จากการที่เทศบาลลานข่อยขาดการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ การบริการวิชาการในครั้งนี้ต้องการ พัฒนาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการโรงแรมและที่พัก โรงเรียนและชุมชน ในการจัดการมูลฝอย การคัดแยกขยะ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชนลานข่อย เพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนทั้งในส่วนของ การบริหารจัดการ การท่องเที่ยว และ เศรษฐกิจชุมชนต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การจัดการขยะ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 18:46 น.