สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชอินทรีย์แบบครบวงจร ภายใต้กิจกรรมหลักที่ 3 การสร้างแบรนด์ที่มีการเชื่อมโยงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างบูรณาการ

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชอินทรีย์แบบครบวงจร ภายใต้กิจกรรมหลักที่ 3 การสร้างแบรนด์ที่มีการเชื่อมโยงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างบูรณาการ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชอินทรีย์แบบครบวงจร ภายใต้กิจกรรมหลักที่ 3 การสร้างแบรนด์ที่มีการเชื่อมโยงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างบูรณาการ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ
หน่วยงานหลัก คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
หน่วยงานร่วม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
ชื่อชุมชน ชุมชนในเขตพื้นที่ จังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
การติดต่อ 089-712-4041 , 085-925-2825
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 พฤศจิกายน 2560 - 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 3,354,800.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สกลนคร place directions
นครพนม place directions
มุกดาหาร place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (นครพนม สกลนคร มุกดาหาร) ถือว่าเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญและมีคุณภาพเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวหอมมะลิ ลิ้นจี่ นพ. 1 สับปะรด โคเนื้อ ไข่ไก่ ไก่งวง รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ได้แก่ ข้าวฮาง ข้าวกล้อง จมูกข้าว น้ำจมูกข้าว น้ำหมากเม่า ผ้าย้อมคราม เป็นต้น อีกทั้งเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของกลุ่มจังหวัดที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย GAP และสินค้ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ รวมถึงสินค้าที่เป็นอัตราลักษณ์และเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น GI ได้แก่ข้าวฮางวาปีปทุม ลิ้นจี่ นพ. 1 และสับปะรดท่าอุเทน ซึ่งถือว่ามีความโดดเด่นและคุณภาพเฉพาะตัวที่ผู้บริโภคให้การยอมรับ
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วยจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักและมีรายได้จากการผลิตสินค้าเกษตรเป็นรายได้สำคัญอันดับต้นๆของรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) เฉลี่ยทั้ง 3 จังหวัด มีมูลค่า 32,815 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2557 มีพื้นที่ทำการเกษตรรวมกันประมาณ 7,711,921 ไร่ ผลิตพืชต่างๆ เช่น ข้าว พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก เป็นอาหารและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวรวมกันประมาณ 3,503,219 ไร่ ผลผลิตข้าวเปลือกต่อปีประมาณ 1,273,707 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 364 กิโลกรัม มีพื้นที่ผลิตข้าวอินทรีย์เพียง 2500 ไร่
ข้อมูลประเด็นปัญหา
สำหรับการแปรรูปสินค้าข้าวของกลุ่มจังหวัด ประสบปัญหาในเรื่องของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือนๆกัน คือสินค้าข้าวไม่มีความแตกต่าง อีกทั้งระบบห่วงโซ่อุปทานนั้นเป็นเพียงแค่ต้นน้ำเท่านั้น (Up stream) ซึ่งละเลยขั้นตอนการเพิ่มมูลค่า (Value added) สินค้าเข้าไปทำให้ต้องขายข้าวในราคาที่ถูกกำหนดมาแล้วเท่านั้น และการสร้างตราสินค้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มจังหวัดฯ ที่เกิดการบูรณาการความรู้ ความคิด ความร่วมมือและทรัพยากรเพื่อสร้างเครือข่ายของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวให้เกิดการแบ่งปัน ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ มีการจัดการด้านการผลิต การตลาด อันจะนำมาซึ่งคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ข้าว ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก เกิดการแข่งขันด้านการตลาดสูง ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิตฯ ในเขตจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหารโดยตรง ดังนั้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหารและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน และสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและเจาะจงกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคที่มีศักยภาพในการซื้อสินค้า เช่น ชีเรียลจากข้าว เวชสำอางที่ผลิตจากข้าว น้ำข้าวสกัด ขนมจากข้าว ฯลฯ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวของกลุ่มจังหวัด และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันนำมาซึ่งรายได้ให้กับชุมชน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การบริโภคสินค้าเกษตรที่เป็นแหล่งอาหารของคนทั่วโลก ต่างให้การยอมรับในการบริโภคสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยในมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ ซึ่งผู้บริโภคให้ความสนใจและใส่ใจในสุขภาพและสิงแวดล้อม กลุ่มจังหวัดจึงให้ความสำคัญของการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เน้นการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตพืชสนับสนุนการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์และส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตด้านการเกษตรที่ปลอดภัยต่อชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

โครงการมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชแก่เกษตรกรในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชให้ได้มาตรฐานอินทรีย์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ยกระดับการผลิตพืชให้ได้มาตรฐานอินทรีย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม / องค์กรเกษตรกรให้สามารถบริหารจัดการการผลิต การตลาดพืชได้อย่างครบวงจร
ศึกษาโซ่อุปทานในการผลิตและตลาดข้าวของเครือข่ายเกษตรกรข้าวสนุก สร้างรูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจข้าวของเครือข่ายเกษตรกร

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมคมแห่งชาติ ฉบับ 12 กำหนดแนวทางการพัฒนาการยกระดับศักยภาพการแข่งขันและการหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง การปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรโดยการปรับเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าเกษตรขั้นปฐม เป็นสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีมูลค่าสูง มีคุณภาพและมาตรฐานสากล และแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฐานการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง มาตรฐานปลอดภัยและอินทรีย์ และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและอาทานอลของประเทศ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วยจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักและมีรายได้จากการผลิตสินค้าเกษตรเป็นรายได้สำคัญอันดับต้นๆของรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) เฉลี่ยทั้ง 3 จังหวัด มีมูลค่า 32,815 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2557 มีพื้นที่ทำการเกษตรรวมกันประมาณ 7,711,921 ไร่ ผลิตพืชต่างๆ เช่น ข้าว พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก เป็นอาหารและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ และมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวรวมกันประมาณ 3,503,219 ไร่ ผลผลิตข้าวเปลือกต่อปีประมาณ 1,273,707 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 364 กิโลกรัม มีพื้นที่ผลิตข้าวอินทรีย์เพียง 2500 ไร่ การบริโภคสินค้าเกษตรที่เป็นแหล่งอาหารของคนทั่วโลก ต่างให้การยอมรับในการบริโภคสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยในมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ ซึ่งผู้บริโภคให้ความสนใจ และใส่ใจในสุขภาพ และสิงแวดล้อม กลุ่มจังหวัดจึงให้ความสำคัญของการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เน้นการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตพืชสนับสนุนการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ และส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตด้านการเกษตรที่ปลอดภัยต่อชีวิตของเกษตรกร และผู้บริโภค

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การเชื่อมโยงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างบูรณาการ
  • การสร้างแบรนด์
  • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชอินทรีย์แบบครบวงจร

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย musika musika เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 06:53 น.