สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากกล้วยน้ำว้า กรณีศึกษา : ไร่กล้วยสุขสมใจ ต.นากว้าง อ.เมือง จ.อุดรธานี

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากกล้วยน้ำว้า กรณีศึกษา : ไร่กล้วยสุขสมใจ ต.นากว้าง อ.เมือง จ.อุดรธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากกล้วยน้ำว้า กรณีศึกษา : ไร่กล้วยสุขสมใจ ต.นากว้าง อ.เมือง จ.อุดรธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานหลัก
หน่วยงานร่วม คณะวิทยาการจัดการ
ชื่อชุมชน ไร่กล้วยสุขสมใจ ต.นากว้าง อ.เมือง จ.อุดรธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ศศิประภา พรหมทอง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางสาว ชุติภรณ์ ชนะบุญ
นางสาว สิริพร มิเขมา
นางสาว สุวนันท์ ฤกษ์งาม
นายNguyen Hoang Long
นางสาวTran ThiHoaiNhi
การติดต่อ 0894221212
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
อุดรธานี เมืองอุดรธานี นากว้าง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ไร่กล้วยสุขสมใจ ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 79หมู่9 บ้านนาทาม ตำบลนากว้าง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อ40ปีที่แล้ว นายสมใจ ช่วยแสง เจ้าของกิจการได้เริ่มทดลองนำหน่อกล้วยมาปลูกแล้วขยายเนื้อที่การปลูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนสามารถเป็นที่รู้จักของคนที่ชอบปลูกกล้วยต่อมาได้นำ มะนาว แตงกวาและผักอื่นๆ มาปลูกเพิ่มเพื่อขยายช่องทางการตลาดเพิ่มปัจจุบันมีลูกค้ามาติดต่อซื้อหน่อเพื่อไปปลูกเป็นจำนวนมากและทางไร่กล้วยจะรับซื้อผลผลิตจากลูกค้าที่นำกล้วยจากไร่ไปปลูก ผลจะส่งออกไปตามจังหวัดต่างๆเช่นหนองบัวลำภู สกลนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศเพื่อนบ้านเช่นประเทศเวียดนาม จีน ลาว เป็นต้น และได้ส่งขายปลีกที่ตลาดเทศบาล 1และได้ทำการแปรรูปผลผลิตจากกล้วยคือกล้วยตากเพื่อส่งให้กับลูกค้าอีกหลายจังหวัดช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนมากจะสั่งซื้อทางออนไลน์ เฟสบุ๊ค:สมใจ ช่วยแสง
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
- มีแหล่งวัตถุดิบเป็นของตัวเองทำให้ลดต้นทุนในการผลิต
- มีไร่กล้วยที่ปลูกกล้วยปลอดสารพิษทำให้ลูกค้าไว้วางใจในผลิตภัณฑ์
- มีไร่กล้วยที่ปลูกกล้วยปลอดสารพิษทำให้ลูกค้าไว้วางใจในผลิตภัณฑ์
-มีลูกค้ารายเก่าอยู่จำนวนมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
-มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยตากที่แตกต่างจากที่อื่นคือเป็นกล้วย
ปลอดสารพิษไม่ใส่สารเจือปนมีรสชาติเป็นธรรมชาติ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
-กล้วยแต่ละช่วงฤดูกาลได้ผลผลิตไม่เท่ากันเช่นหน้าร้อนจะได้ผลผลิตที่น้อย
-การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยตากไม่สามารถทำได้ในช่วงฤดูฝนจึง
ทำให้ขาดรายได้
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
แปรรูปเป็นเฟรนฟรายกล้วย เพื่อเป็นสินค้าทดแทนในขณะที่ เฟรนฟรายกล้วยนั้นสามารถที่จะทำได้ทุกฤดูไม่จำเป็นต้องมีแดด และได้คิดค้นรสชาติของเฟรนฟรายกล้วยใหม่ให้มีรสชาติแตกต่างจากเดิม เช่น เฟรนฟรายกล้วยรสบาบีคิวเฟรนฟรายกล้วยรสชิสและเฟรนฟรายกล้วยรสออริจินอลซี่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรจากกล้วยน้ำหว้าและเพิ่มทางเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. ขั้นตอนการทำกล้วยตาก
2. ทฤษฏีวิเคราะห์ Swot analysis
3. ส่วนประสมทางการตลาด (4P)
4. แรงกระทบทั้ง5ในการทำธุรกิจ (Five force model analysis)
5. แนวคิดที่เกี่ยวกับการทดสอบตลาด
6. แนวคิดการแปรรูปกล้วยน้ำว้า

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

กล้วยน้ำว้า สามารถผลิตออกสู่ตลาดได้ตลอดทั้งปี พื้นที่เพาะปลูกกล้วยน้ำว้าปี 2551/52 มีประมาณ 686,937 ไร่ ผลผลิต 1,115,101 ตัน ทั้งพื้นที่เพาะปลูก และผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ 0.06 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สำหรับแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ ได้แก่ ชุมพร เลย ระนอง นครราชสีมา และหนองคาย ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552 อยู่ที่ 5.4 บาท/กิโลกรัม สูงขึ้นกว่าปีที่แล้วที่มีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 5.0 บาท/กิโลกรัมศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ไทยยังมีโอกาสขยายมูลค่าการส่งออกกล้วยได้อีกมาก รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยรูปแบบอื่น ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น เช่น เสื้อผ้าจากเส้นใยกล้วย กระเป๋าสาน เป็นต้น แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับการส่งเสริม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากทุกหน่วยงานทั้งทางภาครัฐ และเอกชนให้ความร่วมมือในการส่งเสริม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการค้า ก็จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จากกล้วยของไทยนั้น สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และทำให้เป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติมากขึ้น( ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย2555)
กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้พื้นเมืองของประเทศอาเซียน ที่ปลูกง่าย โตเร็ว สามารถปลูกและให้ผลผลิตตลอดทั้งปีสำหรับประเทศไทยสามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศและมีผลผลิตปีละประมาณ 2 ล้านตัน กล้วยเป็นผลไม้ที่ยังคงมีอัตราการหายใจสูงหลังการเก็บเกี่ยว (climacteric fruit) จึงสุกเร็ว และเมื่อสุกงอมเปลือกผลกล้วยจะเกิดจุดสีดำและหลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย จึงมีอายุการเก็บสั้น เน่าเสียได้ง่าย ทำให้ราคาตกต่ำ แต่ผลกล้วยสุกงอมยังคงมีคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานสูง เพราะแป้งในผลกล้วยจะเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลซูโครส ฟรุคโตสและกลูโคสในระหว่างการสุก ซึ่งเป็นชนิดน้ำตาลที่ดูดซึมได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีโปรตีน เกลือแร่และวิตามินอีกหลายชนิด รวมไปถึงมีเส้นใยอาหารที่ย่อยยากชนิดเพคตินและเซลลูโลสอยู่ในปริมาณสูง กล้วยน้ำว้าสุกงอมจึงยังสามารถที่จะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ ( ที่มา: นางสาวภาวดี อาทรกิจวัฒน์และคณะ2556)
ปัญหาของผู้ประกอบการที่พบคือ ไร่กล้วยสุขสมใจมีการแปรรูปผลผลิตเพียงหนึ่งอย่าง คือ กล้วยตาก ถ้าอยู่ในช่วงฤดูฝนจะไม่สามารถตากกล้วยได้ ผู้ประกอบการจึงมีการแปรรูปผลผลิตเพิ่ม เนื่องจากกล้วยเยอะล้นตลาดและฤดูฝนปัญหาขอการทำกล้วยตากนั้นจะไม่สามารถทำได้เพราะจะไม่มีแดดให้ตากกล้วย ซึ่งการทำกล้วยตากนั้นจะต้องอาศัยแสงแดดในการตาก อย่างน้อย 2 วัน แล้วต้องนำมาบีบก่อน จากนั้นจึงนำไปตากแดดอีก 1 วัน ถึงจะออกมาเป็นกล้วยตากได้ และทางผู้ประกอบการยังไม่มีโลโก้สินค้า
ดังนั้นผู้ประกอบการจึงเสนอคิดอยากที่จะแปรรูปเป็นเฟรนฟรายกล้วย เพื่อเป็นสินค้าทดแทนในขณะที่ เฟรนฟรายกล้วยนั้นสามารถที่จะทำได้ทุกฤดูไม่จำเป็นต้องมีแดด และได้คิดค้นรสชาติของเฟรนฟรายกล้วยใหม่ให้มีรสชาติแตกต่างจากเดิม เช่น เฟรนฟรายกล้วยรสบาบีคิวเฟรนฟรายกล้วยรสชิสและเฟรนฟรายกล้วยรสออริจินอลซี่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรจากกล้วยน้ำหว้าและเพิ่มทางเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย udonthani_ru udonthani_ru เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 10:40 น.