โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 กิจกรรมหลักที่ 1 อบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และร่วมกันค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชนสร้างสรรค์แนวคิดการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานสูง เพื่อยกระดับหัตถกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืน
โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 กิจกรรมหลักที่ 1 อบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และร่วมกันค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชนสร้างสรรค์แนวคิดการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานสูง เพื่อยกระดับหัตถกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืน
ข้อมูลโครงการ
ชื่อโครงการ | โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 กิจกรรมหลักที่ 1 อบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และร่วมกันค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชนสร้างสรรค์แนวคิดการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานสูง เพื่อยกระดับหัตถกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืน |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ |
หน่วยงานหลัก | คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร |
หน่วยงานร่วม | คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร |
ชื่อชุมชน | พิพิธภัณฑ์ป้าทุ้ม ป้าไท้ บ้านหนองแข้ ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เลขที่ 59 หมู่ 1 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000 |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | อาจารย์ ดร.ภูริชชญา แตปรเมศามัย |
การติดต่อ | 089-712-4041 , 085-925-2825 |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 22 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 1,032,000.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
สกลนคร | โคกศรีสุพรรณ | ตองโขบ | ชนบท | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
การท่องเที่ยวโดยชุมชนมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่ยังคงมีปัญหาพื้นฐานอีกหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากร ทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางวัฒนธรรม เนื่องจากมีความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวที่ขาดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตลอดจนขาดการเก็บรวบรวมฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งความไม่ชัดเจนในการเปิดโอกาสให้ชุมชน หรือ เจ้าของพื้นที่ (Local Community) มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงเป็นระบบพี่เลี้ยง ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน อาทิ การพักโฮมสเตย์ การเรียนทำอาหารท้องถิ่น การศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2558) ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนในท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และผู้ประกอบการ ตลอดจนสถาบันการศึกษาขั้นสูงในประเทศไทยต้องปรับตัวในการทำงานร่วมกันภายใต้รูปแบบภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นสำคัญข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จังหวัดสกลนครถือเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าย้อมสีธรรมชาติ เนื่องจากสกลนครเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จึงกลายเป็นแหล่งรังไหม แหล่งปลูกคราม ที่นำมาสร้างสรรค์งานทอผ้าได้อย่าง งดงาม และสืบสานเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวสกลนครสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง “ผ้าไหมสกลนคร” ถือเป็นแหล่งผ้าไหมที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศเพราะมีทรัพยากรที่เหมาะแก่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมถือเป็นรังไหมของอีสาน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ผลิตจำนวนมากได้รับการการพัฒนาจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จนกลายเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ และ “ผ้าย้อมคราม” เป็นผ้าฝ้ายย้อมครามสีธรรมชาติที่ได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) และเป็นที่นิยมตามกระแสโลกในเรื่องสินค้าที่เป็นมิตรกับร่างกายและสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันผ้าครามสกลนครเป็นที่รู้จักในระดับประเทศและอาเซียน ผู้สนใจจากทั่วโลกหันมาสนใจผ้าครามจากสกลนครมากขึ้น และเริ่มตามรอยผ้าครามมาดูแหล่งผลิตที่สกลนครมากขึ้น ดังนั้น หากนำไหมมาย้อมครามจะถือเป็นการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่น (ประเภทผ้า) ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งจะเป็นจุดขาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใครและสามารถสร้างเรื่องราว (Story) ให้น่าสนใจในทางการตลาด และจะทำให้ผ้าไหมย้อมครามของสกลนครเป็นผ้าระดับพรีเมี่ยมได้ เนื่องจากผ้าไหมมีราคาแพงและการย้อมครามก็เป็นการย้อมสีธรรมชาติที่มีต้นทุนในการย้อมพอสมควร และหากพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมย้อมครามสู่แฟชั่นร่วมสมัยจะทำให้ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดสกลนครมีความโดดเด่นทรงคุณค่าเกิดผลิตภัณฑ์และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในจังหวัดสกลนครข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัจจุบันกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ยังขาดศูนย์การเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยว และเป็นศูนย์เรียนรู้จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอหัตถกรรมย้อมคราม ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งส่งเสริมและพัฒนาองค์ประกอบด้านบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งประกอบด้วยความรู้และประสบการณ์อย่างแท้จริง ในการให้บริการบรรยายนำชมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานคุณภาพของการท่องเที่ยวให้มีความพร้อม โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อภารกิจในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ปัจจุบันการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวกำลังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ และได้รับการสนับสนุนจากเอกชนหลายๆฝ่ายเนื่องจากการท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันช่วยให้เกิดการสร้างรายได้และอาชีพให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยสมาชิกของชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และจัดการบริหารพื้นที่ในชุมชน ซึ่งการที่จะสร้างแหล่งท่องเที่ยวตามหลักการข้างต้นได้นั้นจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งให้เกิดกับชุมชนโดยใช้การจัดการด้วยระบบการจัดการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการบริหารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แนวทางสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยใช้ระบบการจัดการการท่องเที่ยว คือ การสร้างวงกลมของการบริหารที่ดีด้วยการใช้ PDCA เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการแผนการท่องเที่ยวของชุมชน ร่วมกับการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จโดยการควบคุมกระบวนการผลิตแบบครบวงจรคือ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชนด้วยการใช้หลักการขยะเป็นศูนย์ (zero waste) เข้ามาร่วมปัจจุบันแนวทางในการบริหารจัดการรูปแบบนี้เป็นแนวทางแบบประยุกต์ซึ่งยังไม่มีการนำไปใช้จริง ซึ่งทางคณะผู้วิจัยมุ่งหวังที่จะสร้างต้นแบบการท่องเที่ยวด้วยระบบการจัดการการท่องเที่ยวด้านศูนย์เรียนรู้จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอหัตถกรรม เพื่อการขยายฐานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากวัตถุดิบภาคการเกษตรที่มีชื่อของแต่ละพื้นถิ่นประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
1. พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นศูนย์การเรียนรู้และการจัดการท่องเที่ยวให้เกิดการบริหารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์จากภูมิปัญญาสิ่งทอพื้นถิ่นเพื่อให้เกิดการบริหารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้นวัตกรรม ตามอัตลักษณ์ของชุมชน ให้กับสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้ตรงตามความต้องการตลาด
4. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตสิ่งทอ และการเชื่อมโยงความรู้ทางอัตลักษณ์ในท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ให้แก่ชุมชน
รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล
การท่องเที่ยวเป็นรากฐานสำคัญและยังประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในการทำธุรกิจในประเทศไทย และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยลงทุนในธุรกิจภาคบริการมากขึ้น ห่วงโซ่ อุปทานการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย ผนวกกับรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น เป็นแรงผลักดันให้เกิดอุปสงค์ผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวเป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก (World Tourism Organization : UNWTO Tourism Highlights. 2014) จากข้อมูลสรุปมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP เฉพาะสาขาการท่องเที่ยวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคบริการ มีสัดส่วนมากกว่าภาคการผลิตอื่นๆ หรือมากกว่าร้อยละ 50 ของ GDP ทั้งประเทศสอดคล้องกับรายงานสรุปสถานการณ์การท่องเที่ยวในปี 2559 ที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้มากกว่า 2.59 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากที่ตั้งเป้าไว้ 2.4 ล้านล้านบาท (ผู้จัดการออนไลน์. 2559) เป็นไปตามรายงานขององค์การการท่องเที่ยวโลก World Tourism Organization : UNWTO) นอกจากนี้ ในปี 2559 ตามสถิติการสรุปรายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศ บ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก พร้อมกับชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อเนื่องในมิติเชิงเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีชุมชนหรือพื้นที่ที่มีการทำอุตสาหกรรมหลักเพียงอย่างเดียว อาจร่วมมือกันในชุมชนเพื่อสร้างหมู่บ้านโฮมสเตย์ สะท้อนชีวิต คนในชุมชนท้องถิ่นให้แก่นักท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ หรือในช่วงที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ หรือไม่สามารถทำการเกษตรได้ตามฤดูกาล เกษตรกรสามารถประยุกต์แนวทางการทำการเกษตรเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน (COMMUNITY-BASED SUSTAINABLE TOURISM : CBT) (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2558) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจพร้อมกับช่วยสร้างงานทั้งในภาคการท่องเที่ยวการบริการ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องในชุมชน ตลอดจนในส่วนภูมิภาคมวลรวมของประเทศ ตลอดจนคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชน และชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิในการจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน โดยมุ่งครอบคลุม 5 ด้าน พร้อมกันทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมีชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วนในการจัดการ (วีระพล ทองมา. 2560) ซึ่งในปัจจุบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) กำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวและมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ เช่น บ้านภูโฮมสเตย์จังหวัดมุกดาหาร โฮมสเตย์บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม โฮมสเตย์บ้านท่าวัดใต้ จังหวัดสกลนคร วังน้ำมอกโฮมสเตย์ จังหวัดหนองคาย เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่เกิดแก่ชุมชนคือการพัฒนาที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งชุมชนจะเป็นผู้จัดการในกรรมสิทธิ์ของชุมชน (HOST) และเป็นผู้กำหนดเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อสารกับนักท่องเที่ยว ซึ่งความสัมพันธ์ทั้งหมดจะขับเคลื่อนอย่างเป็นองค์รวม รวมทั้งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาคนในชุมชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของถิ่นอาศัย ภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองซึ่งสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างรายได้อย่างทั่วถึงโดยที่ชุมชนเป็นผู้จัดการดูแล ในทางเดียวกันการนำเสนอวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติแก่นักท่องเที่ยว ส่งผลให้คนในชุมชนรู้จักอนุรักษ์ หวงแหนทรัพยากรและวัฒนธรรมไม่ให้สูญหายตามกาลเวลา นำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคตอันใกล้ ของความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน ธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเป็นจุดเด่นในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดและประเทศไทย (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2558) ตลอดจนระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และเชื่อมโยงต่อยอดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างลึกซึ้งในประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้ (Responsible Tourism in GMS. 2017)
ถึงแม้ว่าการนำการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่ยังคงมีปัญหาพื้นฐานอีกหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากร ทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางวัฒนธรรม เนื่องจากมีความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวที่ขาดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตลอดจนขาดการเก็บรวบรวมฐานข้อมูลด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งความไม่ชัดเจนในการเปิดโอกาสให้ชุมชน หรือ เจ้าของพื้นที่ (Local Community) มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงเป็นระบบพี่เลี้ยง ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน อาทิ การพักโฮมสเตย์ การเรียนทำอาหารท้องถิ่น การศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2558) ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนในท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และผู้ประกอบการ ตลอดจนสถาบันการศึกษาขั้นสูงในประเทศไทยต้องปรับตัวในการทำงานร่วมกันภายใต้รูปแบบภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นสำคัญ
จังหวัดสกลนครถือเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นของผ้าทอ ทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าย้อมสีธรรมชาติ เนื่องจากสกลนครเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จึงกลายเป็นแหล่งรังไหม แหล่งปลูกคราม ที่นำมาสร้างสรรค์งานทอผ้าได้อย่างงดงาม และสืบสานเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวสกลนครสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง “ผ้าไหม สกลนคร” ถือเป็นแหล่งผ้าไหมที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศเพราะมีทรัพยากรที่เหมาะแก่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ถือเป็นรังไหมของอีสาน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ผลิตจำนวนมากได้รับการการพัฒนาจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จนกลายเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ และ “ผ้าย้อมคราม” เป็นผ้าฝ้ายย้อมครามสีธรรมชาติที่ได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) และเป็นที่นิยมตามกระแสโลกในเรื่องสินค้าที่เป็นมิตรกับร่างกายและสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันผ้าครามสกลนครเป็นที่รู้จักในระดับประเทศและอาเซียน ผู้สนใจจากทั่วโลกหันมาสนใจผ้าครามจากสกลนครมากขึ้น และเริ่มตามรอยผ้าครามมาดูแหล่งผลิตที่สกลนครมากขึ้น ดังนั้น หากนำไหมมาย้อมครามจะถือเป็นการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่น (ประเภทผ้า) ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งจะเป็นจุดขาย เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และสามารถสร้างเรื่องราว (Story) ให้น่าสนใจในทางการตลาด และจะทำให้ผ้าไหมย้อมครามของสกลนครเป็นผ้าระดับพรีเมี่ยมได้ เนื่องจากผ้าไหมมีราคาแพงและการย้อมครามก็เป็นการย้อมสีธรรมชาติที่มีต้นทุนในการย้อมพอสมควร และหากพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมย้อมครามสู่แฟชั่นร่วมสมัย จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดสกลนครมีความโดดเด่นทรงคุณค่า เกิดผลิตภัณฑ์และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในจังหวัดสกลนคร
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพ และการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าสินค้าผ้าไหมย้อมครามของสกลนคร สร้างแรงกระตุ้นเชิงอัตลักษณ์ของจังหวัด ให้เกิดความต้องการสินค้าและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ ในการสร้างงาน สร้างรายได้เพิ่มให้กับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนและท้องถิ่นอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
2. สรุปสาระสำคัญ
ปัจจุบันการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวกำลังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ และได้รับการสนับสนุนจากเอกชนหลายๆฝ่ายเนื่องจากการท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันช่วยให้เกิดการสร้างรายได้และอาชีพให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยสมาชิกของชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และจัดการบริหารพื้นที่ในชุมชน ซึ่งการที่จะสร้างแหล่งท่องเที่ยวตามหลักการข้างต้นได้นั้นจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้มแข็งให้เกิดกับชุมชนโดยใช้การจัดการด้วยระบบการจัดการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการบริหารการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แนวทางสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยใช้ระบบการจัดการการท่องเที่ยว คือ การสร้างวงกลมของการบริหารที่ดีด้วยการใช้ PDCA เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการแผนการท่องเที่ยวของชุมชน ร่วมกับการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จโดยการควบคุมกระบวนการผลิตแบบครบวงจรคือ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชนด้วยการใช้หลักการขยะเป็นศูนย์ (zero waste) เข้ามาร่วมปัจจุบันแนวทางในการบริหารจัดการรูปแบบนี้เป็นแนวทางแบบประยุกต์ซึ่งยังไม่มีการนำไปใช้จริง ซึ่งทางคณะผู้วิจัยมุ่งหวังที่จะสร้างต้นแบบการท่องเที่ยวด้วยระบบการจัดการการท่องเที่ยวด้านศูนย์เรียนรู้จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอหัตถกรรม เพื่อการขยายฐานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากวัตถุดิบภาคการเกษตรที่มีชื่อของแต่ละพื้นถิ่น โดยในโครงการจะจัดทำแผนบูรณาการ 3 ปี ซึ่งเน้นด้านสิ่งทอหัตถกรรม โดยปี 2563 จะเน้นเรื่องเส้นทางสายครามที่ขึ้นชื่อ จ. สกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งปลูกครามและขึ้นชื่อการย้อมผ้าคราม โดยครามเป็นพืชตระกูลถั่ว ที่ปลูกดั้งเดิมบนที่ราบสูงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้เพราะชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ดังกล่าวมีวัฒนธรรมด้านเครื่องนุ่งห่มใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเป็นหลักทำให้มีการใช้ครามกันมากับกลุ่มพื้นเมืองเหล่านี้จนประทั่งประมาณปี 2535 จังหวัดสกลนครเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ฟื้นฟูและบำรุงผ้าฝ้ายย้อมครามจากต้นตอของภูมิปัญญาที่ถูกกลบไว้ด้วยวัฒนธรรมชนบทสมัยใหม่ 10 ปีต่อมาจึงมีงานวิจัยเผยแพร่รองรับทำให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง สร้างความภูมิใจแก่คนสกลนคร ซึ่งพื้นที่ปลูกคราม ทำครามและย้อมคราม กลายเป็นศูนย์เรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวให้ขาวไทยและต่างชาติ นิยมมาพัก ท่องเที่ยว ซึ่งทำให้เกิดเส้นทางย้อมครามที่น่าสนใจผนวกกับแหล่งวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเดิมของ จ. สกลนคร จึงทำให้โครงการฯ มีความสนใจในการจัดทำศูนย์การเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวและเป็นศูนย์เรียนรู้จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอหัตถกรรมย้อมคราม เพื่อการขยายฐานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและกิจกรรมเพื่อสร้างอาชีพและวิธีวัฒนธรรม
3. ความเร่งด่วน
สภาพปัญหาที่สำคัญ คือ ปัจจุบันกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๒ ยังขาดศูนย์การเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวและเป็นศูนย์เรียนรู้จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอหัตถกรรมย้อมคราม ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งส่งเสริมและพัฒนาองค์ประกอบด้านบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งประกอบด้วยความรู้และประสบการณ์อย่างแท้จริงในการให้บริการบรรยายนำชมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานคุณภาพของการท่องเที่ยวให้มีความพร้อม โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อภารกิจในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- โครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2
- พัฒนาผลิตภัณฑ์
- ยกระดับหัตถกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนอย่างยั่งยืน
ประเมินคุณค่าโครงการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น | ผลที่เกิดขึ้น | ||
---|---|---|---|
1 | เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน | find_in_page | |
2 | เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ | find_in_page | |
3 | การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) | find_in_page | |
4 | การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ | find_in_page | |
5 | เกิดกระบวนการชุมชน | find_in_page | |
6 | มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ | find_in_page |
ภาพถ่าย
วีดิโอ
- เรื่องราวของผ้าไหมย้อมคราม
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ