สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การพัฒนาเยาวชนขยะความดีสู่การพัฒนาอาชีพ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนาเยาวชนขยะความดีสู่การพัฒนาอาชีพ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
หน่วยงานหลัก คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์
หน่วยงานร่วม หน่วยงานภายนอก : มัสยิดยาเมร์ และกลุ่มเยาวชนก็อลบุลวาฮิด หน่วยงานภานใน คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอัสสลาม
ชื่อชุมชน เทศบาลตำบลยี่งอ
ชื่อผู้รับผิดชอบ นายอับดุลการีม อัสมะแอ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 7 ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นายธีรวัช จาปรัง หัวหน้าสาขาวิชาบริหารธุรกิจ
นายฮากีม เจะนิ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร
นายซูไฮมิน เจะมะลี อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
การติดต่อ 0895971230
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มกราคม 2563 - 5 เมษายน 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
นราธิวาส ยี่งอ ยี่งอ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ประชากรในเขตเทศบาลตำบลยี่งอ มีทั้งสิ้น 3,128 คน เป็นชาย 1,555 คน หญิง 1,573 คนจำนวนหลังคาเรือน 980 หลังคาเรือน มีทั้งสิ้น 6 ชุมชน อาชีพหลักค้าขายและรับจ้างแรงงาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
เป็นชุมชนกึ่งเมืองเป็นแหล่งรายได้ของคนในชุมชนด้วยอาชีพค้าขาย และรับจ้างแรงงาน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
เยาวชนขาดการดูแลจากครอบครัว และสังคม เป็นพื้นที่ระบาดทั้งการจำหน่ายและเสพยาเสพติด ต้องแยกเยาวชนให้ออกจากสิ่งแวดล้อมยาเสพติด โดยการสร้างคุณค่าและให้อาชีพต่อเยาวขน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ผู้นำชุมชนต้องการความร่วมมือจากผู้ปกครองเยาวชน และองค์กรภาคประชาสังคม ที่มีกลไกการสร้างและการปรับเปลี่ยนทัศนคติของเยาวชนต่อการสร้างคุณค่าให้กับตนเอง ให้ออกจากสิ่งแวดล้อมยาเสพติดพร้อมกับการสร้างคุณค่าของเยาวชนให้ได้รับการยอมรับของสังคมและชุมชนโดยใช้การสร้างอาชึพเก็บขยะพลาสติกคัดแยกและจำหน่ายกับโรงงานรีไซเคิ

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1.ให้ความรู้ด้านกฎหมาย เช่น พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ, พรบ.ยาเสพติด เป็นต้น
2.พัฒนาคุณค่าเยาวชนด้วยหลักการศาสนาอิสลาม
3.การบริหารจัดการขยะพลาสติกและการสร้างมุลค่าของขยะพลาสติก
4.การพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นผุ้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิล

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติด พื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติด จากสถิติการจับกุมคดียาเสพติดทุกข้อหาทุกตัวยาในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ปีงบประมาณ 2561 พบว่ามีการจับกุมทั้งหมด 36,796 คดี ผู้ต้องหา 39,882 คน เปรียบเทียบกับปีงบประมาณที่ผ่านมาพบว่าสถิติการจับกุมมีจำนวนคดีเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 21.68 (ปีงบประมาณ 2560 จับกุมได้ 30,241 คดี ผู้ต้องหา 34,367 ราย) 5 จังหวัดมีสถิติการจับกุมเพิ่มขึ้น ได้แก่ จ.สงขลา จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.ตรัง และ จ.ยะลา และลดลง 2 จังหวัด ได้แก่ จ.สตูล และ จ.พัทลุง โดยจังหวัดที่มี การจับกุมสูงสุดได้แก่ จ.สงขลา และต่ำสุดได้แก่ จ.พัทลุง (รายงานการตรวจราชการระดับเขตสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 หัวข้อ การบำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดเขตสุขภาพที่ 12) ซึ่งพื้นที่ชุมชนเทศบาลตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ตระหนักต่อปัญหาการระบาดยาเสพติดในชุมชนและต้องการให้แก้ไขมากที่สุดโดย การยับยั้งการระบาดของยาเสพติดในหมู่เยาวชน การลดจำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และการปัองกันเยาวชนกลุ่มเสี่ยงให้ออกห่างต่อสิ่งแวดล้อมด้านยาเสพติด ซึ่งเป็นโจทย์ที่สำคัญของชุมชน เป็นความตระหนักของสมาชิกในชุมชน แต่ยังไม่มีกระบวนการขับเคลื่อนชุมชมในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกับให้กับเยาวชนได้ จากการสังเกตุพบว่า มีกลุ่มเยาวชนกลุ่มหนึ่งภายใต้การกำกับดูแลของมัสยิดยาเมร์ ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลยี่งอ ได้มีความพยายามรวมกลุ่มเยาวชนกลุ่มเสี่ยงมาสร้างกิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าต่อตัวเยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้ตระหนักต่อคุณค่าความเป็นบุคคลในชุมชน มีความสามารถ มีพลังในตัวเยาวชน โดยมีกิจกรรมการเก็บขยะพลาสติกซึ่งเป็นเครื่องมือ หรือสื่อกลางระหว่างกลุ่มเยาวชนกลุ่มเสี่ยงกับสมาชิกในชุมชนเทศบาลตำบลยี่งอ ให้ชุมชนได้เห็นคุณค่าของเยาวชน และเยาวชนได้รู้จักคุณค่าของตนเองผ่านการเป็นจิตอาสา หรืออาสาสมัครทำความดี การเก็บขยะพลาติกเพื่อนำไปสู่โรงงานรับซื้อพลากติกนำไปรีไซเคิล เยาวชนกลุ่มนี้ได้รับกำลังใจจากชุมชนว่า “กลุ่มเยาวชนขยะความดี” แต่ปัจจัยที่สำคัญต่อการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเยาวชนที่ได้เริ่มสร้างคุณค่าของตนเองด้วยตนเองแล้ว คือ ความยั่งยืนด้วยปัจจัยของเศรษฐกิจ ที่จะต่อยอดความดีที่ไม่สิ้นสุด ให้ขยะความดีได้เป็นพื้นที่ของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในรุ่นต่อไป ได้ใช้พื้นที่ของขยะความดี นี้ สร้างคุณค่าให้กับตนเอง
ทางมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้เห็นถึงความสำคัญต่อชุมชน เยาวชน และมัสยิด แต่ทั้งหมดนี้ยังขาดองค์ความรู้ อยู่มากต่อการแก้ปัญหากับยาเสพติด ดังนั้นมหาวิทยาลัยฟาฏอนีต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือ กลไกในการขับเคลื่อน องค์กร ชุมชน ต่อการแก้ปัญหา ด้วยความยั่งยืนในการพัฒนาตามโครงการจิตอาสาประชารัฐ

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • เยาวชนขยะความดี การพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาอาชีพ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย Abdulkareem Abdulkareem เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 11:48 น.