สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการจัดการขยะอินทรีย์

โครงการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการจัดการขยะอินทรีย์

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการจัดการขยะอินทรีย์
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
หน่วยงานหลัก ส่วนกิจการเพื่อสังคม
หน่วยงานร่วม คณะสังคมศาสตร์
ชื่อชุมชน หนองแสง
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 114 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซอย สุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10250
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา ผู้ช่วยศาสตราจารย์หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์ หัวหน้าโครงการ
อาจารย์ณัฐพร ไทยจงรักษ์ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีย์พร นิพิฐวิทยา กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ กรรมการ
อาจารย์กัมปนาท บริบูรณ์ กรรมการ
อาจารย์ธีรเวทย์ ลิมโกมลวิลาศ กรรมการ
อาจารย์ปกรณ์ เมฆแสงสวย กรรมการ
อาจารย์ชูเดช โลศิริ กรรมการ
อาจารย์อชิระ อุตมาน กรรมการ
อาจารย์อสมาภรณ์ สิทธิ กรรมการ
นายอนุพนธ์ คำปัน กรรมการ
นางสาวนฤมล บุญเคลิ้ม กรรมการ
นางสาวศุภรดา เต็มภัทรกุล กรรมการ
นางสมทรง แสงอุทัย กรรมการ
นางสาวนนทพร มีศิริ กรรมการ
นายเอกชัย มณีนารถ กรรมการ
นายประเสริฐ จันทร์พิมี กรรมการ
นายชลัช ฉันทะวิริยะกิจ กรรมการ
ผู้แทนโรงเรียนวัดป่าศรีถาวรนิมิตร กรรมการ
ผู้แทนโรงเรียนบ้านมุ่งเข้ กรรมการ
นางสาวอำภารัตน์ นวลทอง กรรมการและเลขานุการ
นายนพดล ช่วยอุปการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
การติดต่อ 026495000
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มกราคม 2562 - 30 เมษายน 2562
งบประมาณ 120,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
นครนายก ปากพลี หนองแสง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่สำคัญในโลกปัจจุบันซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของมนุษย์อันเนื่องมาจากความต้องการพื้นฐานและความต้องการความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ กระตุ้นให้มนุษย์พัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการในการนำทรัพยากรธรรมชาติใช้อย่างสะดวกสบายและง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการพัฒนากระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าทั้งที่เป็นสินค้าประเภททุน (CapitalGoods) และสินค้าบริโภค (Consumer Goods) ซึ่งกระบวนการผลิตนี้เองที่ก่อให้เกิดของเสียออกสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาอากาศเป็นพิษ ปัญหาด้านเสียง และผลของการบริโภคก็ทำให้เกิดของเสียกระจายสู่สิ่งแวดล้อมในรูปของขยะมูลฝอย น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ฯลฯ จากข้อมูลของแผนพัฒนาจังหวัดนครนายก (พ.ศ. 2561-2564) พบว่า จัวหัดนครนายกประสบปริมาณปัญหาขยะมูลฝอย ตกค้างสะสมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเภทขยะมูลฝอยเปียก (เศษอาหาร ผัก และผลไม้) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.94 ของขยะมูลฝอยทั้งหมด ซึ่งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีเก็บรวบรวมขยะและนำไปกำจัดมีจำนวน 27 แห่ง หากแต่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่ยังไม่มีการเก็บรวบรวมขยะมีจำนวน 18 แห่ง หรือร้อยละ 40 และศักยภาพในการเก็บรวบรวมขยะของจังหวัดได้ 126.03 ตัน/วัน จากอัตราการเกิดขยะ 148.33 ตัน/วัน และมีปริมาณขยะที่ส่งเสริมการกำจัดในครัวเรือน 22.3 ตัน/วัน
จากการประชุมร่วมกันกับ คุณนฤมล บุญเคลิ้ม นักวิจัยในโครงการนักวิจัยชุมชนรุ่นที่ 1 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พบว่า ตำบลหนองแสง กำลังประสบปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างต่อเนื่อง เพราะมีปริมาณขยะ 1 พันตันต่อวันหรือ 3,650 ตันต่อปี และไม่สามารถกำจัดขยะเองได้ ต้องนำไปเทกองและฝังกลบที่บ่อขยะเอกชนในอบต.นาหินลาด อีกทั้งยังขาดการส่งเสริมการกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่สำคัญในโลกปัจจุบันซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของมนุษย์อันเนื่องมาจากความต้องการพื้นฐานและความต้องการความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ กระตุ้นให้มนุษย์พัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการในการนำทรัพยากรธรรมชาติใช้อย่างสะดวกสบายและง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการพัฒนากระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าทั้งที่เป็นสินค้าประเภททุน (CapitalGoods) และสินค้าบริโภค (Consumer Goods) ซึ่งกระบวนการผลิตนี้เองที่ก่อให้เกิดของเสียออกสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาอากาศเป็นพิษ ปัญหาด้านเสียง และผลของการบริโภคก็ทำให้เกิดของเสียกระจายสู่สิ่งแวดล้อมในรูปของขยะมูลฝอย น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ฯลฯ จากข้อมูลของแผนพัฒนาจังหวัดนครนายก (พ.ศ. 2561-2564) พบว่า จัวหัดนครนายกประสบปริมาณปัญหาขยะมูลฝอย ตกค้างสะสมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเภทขยะมูลฝอยเปียก (เศษอาหาร ผัก และผลไม้) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.94 ของขยะมูลฝอยทั้งหมด ซึ่งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีเก็บรวบรวมขยะและนำไปกำจัดมีจำนวน 27 แห่ง หากแต่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่ยังไม่มีการเก็บรวบรวมขยะมีจำนวน 18 แห่ง หรือร้อยละ 40 และศักยภาพในการเก็บรวบรวมขยะของจังหวัดได้ 126.03 ตัน/วัน จากอัตราการเกิดขยะ 148.33 ตัน/วัน และมีปริมาณขยะที่ส่งเสริมการกำจัดในครัวเรือน 22.3 ตัน/วัน
จากการประชุมร่วมกันกับ คุณนฤมล บุญเคลิ้ม นักวิจัยในโครงการนักวิจัยชุมชนรุ่นที่ 1 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พบว่า ตำบลหนองแสง กำลังประสบปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างต่อเนื่อง เพราะมีปริมาณขยะ 1 พันตันต่อวันหรือ 3,650 ตันต่อปี และไม่สามารถกำจัดขยะเองได้ ต้องนำไปเทกองและฝังกลบที่บ่อขยะเอกชนในอบต.นาหินลาด อีกทั้งยังขาดการส่งเสริมการกำจัดขยะมูลฝอยในครัวเรือน ด้วยเหตุนี้ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงเล็งเห็นว่าการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนต้องมาจากความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่และเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของคณะฯ จึงได้จัด “โครงการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนนักปฏิบัติการจัดการขยะอินทรีย์” ขึ้น เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่มีความรู้และความเข้าใจในการจัดการขยะอินทรีย์โดยใช้ธรรมชาติบำบัด จนเกิดความความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชนของตน ในขณะเดียวกัน จะส่งผลถึงความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนอีกด้วย โดยมีการบูรณาการการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมร่วมกับพันธกิจด้านการเรียนการสอนและการทำวิจัย รวมทั้งมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างบุคลากรสายวิชาการ สายสนับสนุน รวมทั้งโรงเรียน เครือข่ายนักวิจัยชุมชน และประชาชนในพื้นที่

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย SSOSWU SSOSWU เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 14:32 น.