การเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกข้าวตอกแตกเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรม สู่ชุมชน
การเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกข้าวตอกแตกเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรม สู่ชุมชน
ข้อมูลโครงการ
ชื่อโครงการ | การเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกข้าวตอกแตกเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรม สู่ชุมชน |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา |
หน่วยงานหลัก | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ |
หน่วยงานร่วม | |
ชื่อชุมชน | กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีบ้านไพรพยัคฆ์ ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | นายนิรัติศักดิ์ คงทน |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | |
การติดต่อ | |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
สุรินทร์ | สังขะ | เทพรักษา | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล
ข้าวพองเบาสีขาว มีกระบกวนการแปรรูปคือการนำข้าวเปลือกมาคั่วไฟแรงจัด หรือประมาณ 240 องศาเซลเซียส เมื่อความร้อนกระจายเข้าไปในเมล็ดข้าวแล้ว จะทำให้เกิดแรงดันเปลือกข้าวแตกเป็นข้าวพองเบาสีขาวนำมาคัดเลือกเปลือกทิ้ง ซึ่งปัญหาในการคัดเปลือกทิ้งต้องใช้แรงงานคนในการคัดแยกโดยการนำข้าวตอกแตกที่คั่วเสร็จแล้วใส่ตะแกรงร่อนเอาเปลือกออกเก็บกากหรือเปลือกที่ติดอยู่กับข้าวตอกอยู่ออกจนหมดซึ่งใช้เวลานานจึงทำให้ล่าช้าไม่ทันต่อความต้องการของลูกค้าในการที่จะนำไปแปรรูปในกระบวนการต่อไป
เครื่องคัดแยกเปลือกข้าวตอกแตกเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นค่าแรงงานในการจ้างคนคัดแยกเปลือกข้าวตอกแตกซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และต้องใช้ค่าใช้จ่ายตลอดทั้งปี จึงได้คิดค้นการคัดแยกเปลือกข้าวตอกแตกนี้ โดยคาดหวังว่าจะนำผลการศึกษาที่ได้ไปประยุกต์ใช้และช่วยเหลือกเกษตรกรได้
จากการลงสำรวจพื้นที่ของสมาชิกกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีบ้านไพรพยัคฆ์ ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ยังพบว่าการคัดแยกข้าวเปลือกซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตข้าวตอกแตก และการคัดแยกข้าวตอกแตกออกจากเปลือกข้าวยังต้องใช้แรงงานคนในการคัดแยกซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ดังแสดงในภาพที่ 4 ดังนั้นข้อสรุปเบื้องต้นของโครงการบริการวิชาการนี้ได้เล็งเห็นความสำคัญของการคัดแยกเปลือกข้าวตอกแตก โดยการนำผลการวิจัยเครื่องคัดแยกเปลือกข้าวตอกแตกนำไปแยกเปลือกข้าวตอกแตกแทนการใช้แรงงานคนของกลุ่มเกษตรกรหมู่บ้านเทพรักษา ที่ยังต้องใช้แรงงานคนในการคัดแยกอยู่ โดยงานนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการคัดแยกเปลือกข้าวตอกแตก และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวตอกแตกเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และยิ่งไปกว่านั้นเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มมากขึ้นจากผลิตภัณฑ์ข้าวตอกแตก
สมาชิกกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีบ้านไพรพยัคฆ์ เป็นแหล่งผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จำพวกผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องงอก ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว และผลิตภัณฑ์ขนมพื้นบ้านไทยโบราณ โดยเฉพาะขนมนางเล็ด ขนมดอกจอก และขนมโดนัทเขมร และขนมกระยาสารท แต่กระบวนการผลิตและกระบวนการคัดแยกข้าวตอกแตกยังเป็นปัญหาซึ่งยังไม่สามารถคัดแยกเปลือกข้าวออกจากข้าวตอกแตกได้สะอาดในรอบเดียวทำให้เสียเวลาในกระบวนการผลิตและที่สำคัญหากแยกได้ไม่หมดก็จะส่งผลให้เป็นปัญหาในการผลิตและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป ซี่งหากเกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาตรงส่วนนี้ได้ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการคัดแยกเพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้นและที่สำคัญผลิตภัณฑ์สะอาดถูกหลักอนามัยเพิ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น ส่งผลให้มีรายได้เข้ากลุ่มได้มากขึ้นเกษตรกรสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเมื่อมีรายได้มากกว่ารายจ่าย สมาชิกกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีบ้านไพรพยัคฆ์นับวันมีแต่จะเพิ่มจำนวนสมาชิกมากขึ้นซึ่งในขณะนี้มีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 200 คน ซึ่งทางกลุ่มฯ มีความพร้อมในการเรียนรู้กระบวนการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ มีการส่งเสริมให้นำวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้เป็นสูตรหรือส่วนผสมของอาหาร การลดการใช้สารเคมีในกระบวนการปลูกข้าว มีการวางแผนงานการพัฒนาองค์ความรู้ ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตขนมกระยาสารท สร้างงานสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ สร้างระบบการทำงานเป็นทีม แบ่งหน้าที่กันทำงาน และขยายกำลังผลิต สร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าขนมพื้นบ้าน และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน มีผลให้สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความเข้มแข็งให้กลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีบ้านไพรพยัคฆ์ เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
ในส่วนของความเชื่อมโยงของการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับกาวิจัย/การเรียนการสอน และการนำไปใช้ประโยชน์ของชุมชน/ผู้รับบริการ จากการที่อาจารย์ประทีป ตุ้มทอง อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเครื่องกลได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ทำวิจัยเรื่อง การศึกษาการคัดแยกข้าวตอก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งอยู่ในช่วงของการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ดังแสดงในภาพที่ 5 ซึ่งจากการที่ได้พูดคุยกับอาจารย์ถึงปัญหาของกลุ่มผู้ผลิตข้าวตอกแตก เครื่องมือที่สร้างขึ้นสามารถที่จะช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรได้ จึงได้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างข้าพเจ้านายศิริชัย เสาะรส อาจารย์สาขาเครื่องจักรกลเกษตร และอาจารย์ประทีป ตุ้มทอง อาจารย์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล และอาจารย์อธิรัช ลี้ตระกูล อาจรย์โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร ในการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนการวิจัยและบริการวิชาการในการส่งเสริมให้นักศึกษาร่วมเป็นวิทยากรในการบริการวิชาการในครั้งนี้เนื่องจากเป็นปริญญานิพนธ์ของนักศึกษาในรายวิชาโครงงานเทคโนโลยีเครื่องกล และบูรณาการร่วมกับรายวิชาการการขนถ่ายวัสดุในหลักสูตรเครื่องจักรกลเกษตร รายวิชาเครื่องยนต์ต้นกำลังในหลักสูตรเทคโนโลยีเครื่องกล และรายวิชาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ในหลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร โดยให้นักศึกษาสามารถเห็นภาพจริงในการทำงานและการเรียนรู้นอกห้องเรียนซึ่งจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาทั้ง 3 หลักสูตรอย่างมาก อย่างไรก็ตามการศึกษา การแก้ปัญหาคือการเรียนรู้ ทั้งนี้ต้องอาศัยขบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองบนพื้นฐานของวิชาการ ตลอดจนประสบการณ์ที่สั่งสมอย่างต่อเนื่อง จะทำให้อาจารย์ นักศึกษา และสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความชำนาญ สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง สังคม ชุมชน สามารถดำเนินโครงการไปอย่างต่อเนื่อง ขยายวงกว้างไปยังชุมชนข้างเคียง เพิ่มกำลังการผลิต ให้เพียงพอกับความต้องการ และสร้างความมั่นใจให้กับตนเองและผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มาจากข้าวตอกแตก
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
- การคัดแยก
- ข้าวตอกแตก
ประเมินคุณค่าโครงการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น | ผลที่เกิดขึ้น | ||
---|---|---|---|
1 | เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน | ||
2 | เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ | ||
3 | การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) | ||
4 | การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ | ||
5 | เกิดกระบวนการชุมชน | ||
6 | มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ |
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ