สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

พัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากรังไหมและสมุนไพรพื้นบ้านและการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

พัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากรังไหมและสมุนไพรพื้นบ้านและการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากรังไหมและสมุนไพรพื้นบ้านและการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
หน่วยงานหลัก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
หน่วยงานร่วม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ชื่อชุมชน บ้านปจิก ตำบลประทัดบุ อำเภอปราสาท จัหวัดสุรินทร์
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวกาญจนา เถาว์ชาลี
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1.1 นางสาวกาญจนา เถาว์ชาลี อาจารย์ประจำสาขาการพัฒนาสังคม
1.2 นางสาวลดาวัลย์ ปัญตะยัง อาจารย์ประจำสาขาการพัฒนาสังคม
1.3 นายพงษ์พันธ์ พึ่งตน อาจารย์ประจำสาขาสังคมศึกษา
1.4 นายกิติศักดิ์ จันฤาไชย อาจารย์ประจำสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
1.5 นักศึกษาสาขาการพัฒนาสังคม จำนวน 6 คน
1.6 นักศึกษาสาขาสังคมศึกษา จำนวน 2 คน
1.7 นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 2 คน
การติดต่อ 088 3514365 email : aor_ld@hotmail.com
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
สุรินทร์ place directions
สุรินทร์ ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีอาชีพเสริมคือ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม จึงมีรังไหมที่เหลือจากการใช้ประโยชน์มีจำนวนมาก ชาวบ้านปจิก ยังปลูกสมุนไว้ใช้ในครัวเรือนของตน โดยจะร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากรังไหมและสมุนไพรพื้นบ้าน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ชาวบ้านมีทุนทางสังคมพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ลงพื้นที่ศึกษาชุมชนบ้านปจิก หมู่ที่ 4 ตำบลประทัดบุ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ชาวบ้านมีปัญหาความยากจน และจากการทำประชาคมจากการลงพื้นที่เพื่อศึกษาถึงความต้องการพัฒนาและแก้ปัญหาความยากจน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีอาชีพเสริมคือ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม จึงมีรังไหมที่เหลือจากการใช้ประโยชน์มีจำนวนมาก ชาวบ้านปจิก ยังปลูกสมุนไว้ใช้ในครัวเรือนของตน โดยจะร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากรังไหมและสมุนไพรพื้นบ้าน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การนำองค์ความรู้เรื่องการศึกษาชุมชน เพื่อเรียนรู้การเข้าถึงเพื่อการพัฒนาชุมชน/ สังคม และนำเอาสิ่งที่ชาวบ้านต้องการพัฒนามาต่อยอดการพัฒนา นำผลิภัณฑ์ท้องถิ่นมาใช้ เพื่อเพิ่มมูลค่า นำทุนทางสังคมมาใช้ประโยชน์ คือ มีการสร้างผลิตภัณฑ์ เช่น แชมพู ครีมนวด สบู่ จากรังไหมและ น้ำยาล้างจากสมุนไพรพื้นบ้าน และส่งเสริมให้ชาวบ้านสามารถเรียนรู้การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม เป็นหลักสูตรที่มีความมุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถด้านการพัฒนา การบริหารโครงการ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ควบคู่การพัฒนาร่วมกับสังคม และมีอุดมการณ์ในการพัฒนา รวมทั้งวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมได้อย่างถูกต้อง พร้อมที่จะออกไปทำหน้าที่ในฐานะผู้นำทางการพัฒนารับใช้สังคมได้อย่างกว้างขวาง ทั้งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทั้งภาครัฐและเอกชน ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติมีความสามารถในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับสังคมอย่างเป็นระบบและแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ให้มีความสามารถคิด วิเคราะห์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์และแสวงหาองค์ความรู้ ร่วมกับชุมชน สามารถนำความรู้ความสามารถไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรู้ความเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้สากลบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาสังคมที่มีความสุขได้อย่างยั่งยืนมีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ หมั่นแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีทักษะการจัดการและบุคลิกภาพที่ดี ปรับตัวและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีวินัย มีภาวะผู้นำ มีจิตสำนึกสาธารณะ รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพ ซึ่งในพันธกิจของหลักสูตรได้มีการดำเนินตามยุทธศาสตร์ชาติคือ มีการเรียนการสอนที่เน้นชุมชนเป็นฐานแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้ลงพื้นที่ศึกษาชุมชนและบริบทของชุมชน เพื่อนำข้อมูลของชุมชนมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาตามบริบทและความต้องการของชุมชนแต่ละชุมชนที่มีบริบท มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องประวัติศาสตร์เข้ามา เพื่อค้นหาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอันนำมาสู่การเกิดภูมิปัญญาและทุนทางสังคมของชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์มียุทธศาสตร์ 6 ด้าน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาอาจารย์และบุคลากรสู่มืออาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรและระบบการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานทันสมัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์การด้วยเทคโนโลยี และธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ 4 วิจัยเข้มแข็งแหล่งภูมิปัญญาพัฒนาท้องถิ่น และยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ก็ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารคณะที่มีความสอดคล้องกับมหาวิทยาลัย โดยกำหนดนโยบายทางการบริหารงาน งบประมาณ และบุคลากรที่สอดคล้องกับพันธกิจทุกด้านและได้มีการจัดสรรงบประมาณลงสู่หลักสูตรและในการดำเนินโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากรังไหมและสมุนไพรพื้นบ้านนี้
การจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตรคือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคมหลักสูตร ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาสังคมศึกษาและ หลักสูตร ครุศาสตร์บัณฑิตสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ต่างมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ศึกษาปัญหาและความต้องการพร้อมทั้งวิเคราะห์ทุนทางสังคมในแต่ละชุมชนเพื่อนำมาใช้ในคือหลักสูตรการพัฒนานั้น นักศึกษาพร้อมด้วยอาจารย์ได้มีโอกาสได้ลงพื้นที่ศึกษาชุมชนบ้านปจิก หมู่ที่ 4 ตำบลประทัดบุ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ชาวบ้านมีปัญหาความยากจน และจากการทำประชาคมจากการลงพื้นที่เพื่อศึกษาถึงความต้องการพัฒนาและแก้ปัญหาความยากจน พบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีอาชีพเสริมคือ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม จึงมีรังไหมที่เหลือจากการใช้ประโยชน์มีจำนวนมาก ชาวบ้านปจิก ยังปลูกสมุนไว้ใช้ในครัวเรือนของตน โดยจะร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากรังไหมและสมุนไพรพื้นบ้าน อันเป็นการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษากับการปฏิบัติงานจริง ลดระยะเวลา เรียนในชั้นเรียนให้น้อยลง มุ่งเน้นการปฏิบัติงานจริงมากขึ้น เพื่อให้นิสิต/นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ การท างานตรงตามสาขาวิชาและองค์ความรู้ที่เรียน โดยมีชุมชนเป็นฐานในการน าองค์ความรู้ทางวิชาชีพ ในสาขาที่เรียนสู่การปฏิบัติ (Community-based Learning Program: CBL) ผ่านโครงงานที่ตอบสนอง ต่อปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ของชุมชน (Area-based) และมุ่งเน้นผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาด้าน ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป จากยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีเป้าหมาย การพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” และได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่มีเป้าหมายการพัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากร
ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้ร่วมหารือกับชาวบ้านและชาวบ้านจึงมีความต้องการที่จะนำรังไหมมาใช้ประโยชน์ (ประโยชน์ของรังไหม) โดยใช้ในส่วนผสมของเครื่องสำอางเช่น สบู่ แชมพู ครีมนวด นอกจากนี้ยังสามารถนำผลิตภัณฑ์ที่ทำในชุมชนต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และจัดตั้งเป็นวิสาหกิจของชุมชนเพื่อจำหน่ายและบริโภคในครัวเรือน พร้อมทั้งยังสามารถนำสมุนไพรที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้เพื่อในชุมชนอีกทั้งยังมีการเผบแพร่ในการทำตลาดออนไลน์หรือประชาสัมพันธ์โดยหลักสูตรบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • สมุนไพร รังไหม สบู่ แชมพู ครีมนวด น้ำยาล้างจาน

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย aorthao aorthao เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562 17:54 น.