สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การพัฒนาสูตรปุ๋ยชีวภาพเพื่อป้องกันรากผักเน่า กรณีศึกษา สวนผักบ้านห้วยสำราญ ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

การพัฒนาสูตรปุ๋ยชีวภาพเพื่อป้องกันรากผักเน่า กรณีศึกษา สวนผักบ้านห้วยสำราญ ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนาสูตรปุ๋ยชีวภาพเพื่อป้องกันรากผักเน่า กรณีศึกษา สวนผักบ้านห้วยสำราญ ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาการจัดการ
หน่วยงานร่วม สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
ชื่อชุมชน สวนผักบ้านห้วยสำราญ ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ศศิประภา พรหมทอง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางสาวอรวรรณ พรมโพธิน
นางสางกาญจนา สูรย์ศร
นางสาวพนิดา สารผล
นางสาวอุไรรัตน์ ศรีสร้อยพร้าว
นางสาวสะกาวเดือน แก้วเชียงหวาง
การติดต่อ 0894221212
ปี พ.ศ. 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
อุดรธานี เมืองอุดรธานี หนองไฮ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
สวนผักอรัญญาชีไทยและผักสลัด ตั้งอยู่เลขที่ 54/2 หมู่ที่ 9 บ้านห้วยสำราญ ตำบลหนองไฮ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000 โดยมี คุณอรัญญา เป็นผู้ประกอบการเจ้าของสวน ซึ่งได้เริ่มทำการปลูกผักชีไทยและผักสลัด เพื่อการจำหน่ายนี้เป็นเวลามากว่า 20 ปี ผู้ประกอบการปลูกผักจำนวน 10 ไร่ เพื่อจำหน่ายให้แก่ตลาดเมืองทอง และตลาดแหล่งอื่นๆ ในจังหวัดอุดรธานีที่ใกล้เคียง และดำเนินกิจการมาตลอดจนถึงทุกวันนี้
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
- ผู้ประกอบการทำการเพาะกล้าผักชีไทยและผักสลัดเพื่อทำการปลูกเอง
- สวนผักอยู่ใกล้ตลาดแหล่งรับซื้อหลัก ๆ ของอำเภอเมืองอุดรธานี
- ผักชีไทยและผักสลัด เป็นผักที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
- ผู้ประกอบการสวนผักชีไทยและผักสลัดได้มีการใช้สารเคมีที่มีต้นทุนสูงในการเพิ่มผลผลิตอยู่ก่อนแล้ว
- ผู้ประกอบการไม่มีความรู้ในการใช้สารชีวภาพในการช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
แนวทางในการแก้ไขโดยการค้นหาและพัฒนาสูตรปุ๋ยหมักสารชีวภาพที่มีประสิทธิสูงสุดในการในการป้องกันรากเน่า เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรที่สนใจสามารถผลิตและนำไปใช้ได้ในการทำธุรกิจการปลูกผักชีไทยและผักสลัดเพื่อจำหน่ายได้จริง และไม่เป็นอันตรายได้ด้วยเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตด้านลงทุนซื้อปุ๋ยเคมี

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1. พัฒนาสูตรปุ๋ยชีวภาพ
2. ขั้นตอนกระบวนการทดลองปุ๋ยชีวภาพ
3.วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis)

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและประเทศไทยจะอาศัยการเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรมการเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะพืช ผลทางการเกษตรเป็นสินค้าที่ส่งออกที่สำคัญนำรายได้เข้าประเทศได้ปีละมหาศาล และผลักดันประเทศไปเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลกแต่ปัจจุบันการเกษตรได้ รับผลกระทบจากการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงมากส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนการ ผลิตสูงขึ้นประกอบกับคนไทยนิยมทำการเกษตรเคมีมากกว่ายึดรูปแบบตามธรรมชาติ การใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรประเทศไทยมีแนวโน้มมากขึ้นแต่กำลังความสามารถใน การผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรของประเทศไทยนั้นไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องนำ ปุ๋ยเคมีเข้าจากต่างประเทศทำให้ประเทศไทยเสียดุลการค้า การใช้ปุ๋ยเคมีใน ปริมาณมากแทนธาตุอาหารที่เป็นอินทรียวัตถุและการใช้สารเคมีฆ่าแมลงแทน สมุนไพร เพื่อการกำจัดศัตรูพืช ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่าง ๆ เช่นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เกิดจากสารปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำและดินทำให้ระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตเสียไป ปัญหาต่อความปลอดภัยสุขภาพของเกษตรกรซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพชีวิตของ เกษตรกรต่ำลงเนื่องจากได้รับสารเคมีเข้าไปในร่างกายมากๆ ตลอดจนปัญหาการตก ค้างของสารเคมี ผลิตผลทางการเกษตร ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค (ที่มา:สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560,จาก https://jantip.wordpress.com)
จากการที่ชุมชนในละแวกบ้านของผู้ประกอบการเองนั้นมีการปลูกผักชีไทยและผักสลัดจำหน่ายให้แก่ตลาดเมืองทอง และตลาดแหล่งอื่น ๆ ในจังหวัดอุดรธานีที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในช่วงนั้นเพราะผู้ประกอบการในชุมชนที่ปลูกผักชีไทยและผักสลัดได้ปลูกในปริมาณที่น้อย เนื่องจากมีการทำการเกษตรอย่างอื่นผสมผสานกันไปด้วยทางคุณไพวันเจ้าของสวนจึงมีความสนใจในการทำธุรกิจปลูกผักชีไทยและผักสลัดเพื่อจำหน่าย ก็ได้พบกับปัญหาหลักๆทั่วไปที่ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรมักพบและมักเกิดขึ้นในการทำการเกษตรคือ ปัญหารากเน่าและแมลงศัตรูพืชจะมาอาศัยกัดกินและทำลายผลผลิตของผู้ประกอบการหรือเกษตรกร ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตน้อย ผู้ประกอบการและเกษตรกรส่วนใหญ่จึงเลือกใช้สารเคมีที่มีอันตรายและต้นทุนสูงที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปในการเพิ่มผลผลิตแทนการใช้สารชีวภาพซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการทำธุรกิจสูงขึ้นและผู้ประกอบการก็เสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ดังนั้นทางผู้ศึกษาจึงมองเห็นปัญหาและแนวทางในการแก้ไขโดยการค้นหาและพัฒนาสูตรปุ๋ยหมักสารชีวภาพที่มีประสิทธิสูงสุดในการในการป้องกันรากเน่า เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรที่สนใจสามารถผลิตและนำไปใช้ได้ในการทำธุรกิจการปลูกผักชีไทยและผักสลัดเพื่อจำหน่ายได้จริง และไม่เป็นอันตรายได้ด้วยเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตด้านลงทุนซื้อปุ๋ยเคมี คณะผู้ศึกษาคิดค้นพัฒนาสูตรปุ๋ยชีวภาพได้ 2 สูตร เพื่อทำการทดสอบและเปรียบเทียบประสิทธิภาพ

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • สวนผักบ้านห้วยสำราญ
  • สูตรปุ๋ยชีวภาพเพื่อป้องกันรากผักเน่า

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย udonthani_ru udonthani_ru เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 14:49 น.