สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ต่อยอดการสร้างความเข้มแข็งชุมชนหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

โครงการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ต่อยอดการสร้างความเข้มแข็งชุมชนหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ต่อยอดการสร้างความเข้มแข็งชุมชนหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
สถาบันอุดมศึกษาหลัก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
หน่วยงานหลัก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
หน่วยงานร่วม 1. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร 2. สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 3. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพร
ชื่อชุมชน 1. ชุมชนบ้านห้วยใหญ่ ม.2 ต.ห้วยใหญ่ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 2. ชุมชนบ้านจันทึง ม.5 ต.หินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 3. ชุมชนบ้านน้ำหัก ม.10 ต.ท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.ชัญญาภัค หล้าแหล่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจ ภาควิชาพื้นฐานทั่วไป
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ 17/1 หมู่6 ต.ชุมโค อ.ปะทิว จ.ชุมพร 86160
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 063-3138279 ,061-542-9891
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
งบประมาณ 500,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ชุมพร place directions
ชุมพร ท่าแซะ สองพี่น้อง ชนบท place directions
ชุมพร ท่าแซะ หินแก้ว ชนบท place directions
ชุมพร ท่าแซะ ท่าแซะ ชนบท place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัติวิถี ในพื้นที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร จำนวน 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
บ้านห้วยใหญ่ ม.2 ต.ห้วยใหญ่ บ้านจันทึง ม.5 ต.หินแก้ว และ บ้านน้ำหัก ม.10 ต.ท่าแซะ โดยพื้นที่อำเภอท่าแซะมีแหล่งทรัพยากรและแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดชุมพร เช่น บ้านห้วยใหญ่ ม.2 ต.ห้วยใหญ่
มีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่โดดเด่นคือ ป่าชุมชนห้วยใหญ่ บ้านจันทึง ม.5 ต.หินแก้ว น้ำตกจันทึง มีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่โดดเด่นคือ น้ำตกโตนฟ้าหินแก้ว บ้านจันทึง และชาดอกกาแฟ และสถานที่ดำเนินการจัดทำตลาดน้ำ
บ้านน้ำหัก ซึ่งมีเรื่องเล่าความเป็นมาของหมู่บ้านที่น่าสนใจ นอกจากนี้ในพื้นที่เชื่อมโยงยังมีผลิตภัณฑ์และสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่โดดเด่น คือ กาแฟอินทรีย์ และทุเรียนอินทรีย์ สวนลุงไข่ โดยสินค้าเกษตรทุกตัวที่เกษตรกรผลิตได้ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องราคา ต่อมาเกษตรกรสวนลุงไข่ และเกษตรในพื้นที่ขอสู้กับปัญหาหันมาเปลี่ยนแนวคิด
การผลิตการตลาดแบบใหม่ผลิตได้แปรรูปให้เป็นเริ่มจากต้นน้ำด้วยขบวนการไร้สารเคมีผลผลิตที่มีหาวิธีแปรรูปออกมาเป็นสินค้ามีค่ามีราคาและมีคุณภาพให้ตลาด จากการสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรสวนลุงไข่ ซึ่งเป็นผู้ผลิตกาแฟอินทรีย์ ทุเรียนอินทรีย์ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของชุมชน
ในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร รวมถึงกลุ่มชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีทั้งสามหมู่บ้านในอำเภอท่าแซะ ต้องการเชื่อมโยง สร้างอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวที่เพิ่งได้รับการบุกเบิก นำมา
สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ในปัจจุบันประเทศไทยต้องได้รับการพัฒนาในหลายมิติทั้งในมิติเศรษฐกิจที่ต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การผลิตของภาคบริการและภาคเกษตรที่ต้องขับเคลื่อนทั้งในมิติทางสังคมด้วยการยกระดับรายได้ของประชาชน พัฒนาคุณภาพการให้บริการ และในมิติสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศไทยในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ 1) ต่อยอดอดีต โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายนำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม 2) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ 3) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต”
ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ ให้สามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางและลดความเลื่อมล้ำของคน
ในประเทศได้ในคราวเดียวกัน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยต้องได้รับการพัฒนาในหลายมิติทั้งในมิติเศรษฐกิจที่ต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การผลิตของภาคบริการและภาคเกษตรที่ต้องขับเคลื่อนทั้งในมิติทางสังคมด้วยการยกระดับรายได้ของประชาชน พัฒนาคุณภาพการให้บริการ และในมิติสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศไทยในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ 1) ต่อยอดอดีต โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายนำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม 2) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ 3) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต”
ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ ให้สามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางและลดความเลื่อมล้ำของคน
ในประเทศได้ในคราวเดียวกัน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สาขาบริหารธุรกิจร่วมกับ สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ ด้านการตลาดในการปฏิบัติงานจริงกับชุมชน สร้างประโยชน์ให้กับชุมชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิติที่ดีของคนในชุมชน ตลอดจนสถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาและจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการร่วมกับชุมชนในการ นำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปช่วยแก้ไขปัญหาชุมชน โดยการประยุกต์แนวคิดการเกษตรสร้างมูลค่า สร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยวของชุมชน ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่ ด้วยการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการเกษตร และผู้ประกอบการชุมชนยุคใหม่ ให้มีทักษะและจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการแข่งขันและมีอัตลักษณ์ชัดเจน ด้วยการเดินหน้าสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากต่อเนื่อง พัฒนาผู้ประกอบการโอทอปชุมชนสู่ความเป็นมืออาชีพ เจาะกลุ่มผู้ประกอบการด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ต่อยอดความแข็งแกร่ง พร้อมจับกระแสสังคมสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเชิงสร้างสรรค์เอาใจตลาด เน้นความแปลกใหม่ มีความร่วมสมัย กระตุ้นความต้องการซื้อสินค้าโดยเฉพาะผู้บริโภครุ่นใหม่ โดยเร่งดำเนินการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างโอกาสในการเข้าถึงช่องทางการตลาดทุกระดับอย่างยั่งยืน รวมทั้งผลักดันให้ผลิตภัณฑ์โอทอปสามารถเข้าถึงการใช้ชีวิตประจำวัน
ของผู้บริโภค เพื่อตอบสนองพฤติกรรมวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เป็นการกระจายสินค้า/เพิ่มยอดขาย
ให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น และสร้างความรู้จักสินค้ามากขึ้น เน้นการสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางการค้า
ในรูปแบบคลัสเตอร์รายพื้นที่และกลุ่มผลิตภัณฑ์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประกอบธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดการส่งต่อเทคโนโลยีและกลุ่มลูกค้าระหว่างกันเป็นการขยายตลาดให้กว้างขึ้น นอกจากนี้ จะสร้างโอกาสทางการตลาดเพิ่มขึ้นโดยการเจรจาจับคู่ธุรกิจ และการจัดงานแสดงสินค้า (Event Marketing) เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้การเข้าสู่ช่องทางการตลาดทั้งการเจรจาและการออกร้าน ขณะเดียวกัน ได้มีการผลักดันให้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างความแตกต่างและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า รวมถึงนำการตลาดดิจิทัล
(Digital Marketing) เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจ และการทำการตลาดออนไลน์ เพื่อให้สามารถจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการตลาดออนไลน์ถือเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ และทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน สอดรับกับกระแสบริโภคนิยมที่คนรุ่นใหม่มักใช้
ช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้า โดยเฉพาะการทำการประชาสัมพันธ์และการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์
(Social Media) เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ ฯลฯ ที่สามารถเข้าถึงตัวผู้บริโภคได้ใกล้ชิดมากขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • OTOP
  • OTOP นวัตวิถี
  • นวัตวิถี
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน
  • เสริมสร้างความเข้มแข็ง
  • โอทอป

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย tippawan tippawan เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 14:57 น.