สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่านการเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่านการเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ ยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ด้านการอ่านการเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
หน่วยงานหลัก คณะครุศาสตร์
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน
ชื่อผู้รับผิดชอบ
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 113 หมู่ 12 ต.เกาะแก้ว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา สถานศึกษาสังกัด สพฐ. จังหวัดร้อยเอ็ด
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 2,040,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ร้อยเอ็ด place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

จากการจัดอันดับคะแนนด้านการศึกษาของไทยโดย IMD (International Institute for Management Development : IMD) ปี พ.ศ. 2557 (2014) พบว่าคะแนนตัวชี้วัดด้านการศึกษาของประเทศไทยอันดับลดลงเกือบทุกด้านโดยประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาด้านการศึกษาอย่างเร่งด่วน อาทิเช่น ผลการทดสอบ PISA 2012 (อันดับที่ 44) คุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (อันดับที่ 44) โดยพื้นฐานสำคัญของปัญหาบางส่วนเกิดจาก นักเรียนในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานบางระดับชั้นยังมีปัญหาในเรื่องการอ่านออกเขียนได้ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาในฐานะหน่วยงานปฏิบัติการดำเนินงานจากนโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม จึงกำหนดนโยบายให้นักเรียนทุกระดับชั้นอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง การอ่านจัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคมไทย การอ่านจัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคมไทย การอ่านทำให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญาความรู้ความสามารถพฤติกรรมและค่านิยมต่างๆรวมทั้งช่วยในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตโดยพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดของชีวิตการอ่านจึงมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างยิ่ง 2 ประการ คือ ประการแรก สำคัญต่อชีวิตประจำวัน กล่าวคือ การอ่านเป็นการแสวงหาความรู้เพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ประการที่สองมีความสำคัญต่อการเรียนเพราะการอ่านเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมทั้งหลายในการเรียนการสอนและมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จอันส่งผลต่อการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาหากเริ่มต้นดีรากฐานการอ่านของเด็กก็จะดีด้วย
มหาวิทยาลัยราชภัฏ ๓๘ แห่ง ทั่วประเทศ เป็นสถาบันการศึกษาของท้องถิ่นมีพันธกิจหลักตาม พรบ.มหาวิทยาลัยราชภัฏปี พ.ศ. 2547 ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีรากเหง้าของการพัฒนาสถาบันการศึกษา มาจากโรงเรียนการฝึกหัดครูซึ่งมีประสบการณ์อันยาวนานในการผลิตและพัฒนาครู ตลอดจนบัณฑิตในสาขาอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีบุคลากรที่มีความเชียวชาญเฉพาะด้านโดยเฉพาะด้านการผลิตและพัฒนาครู โดยจุดแข็งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุคือมีความใกล้ชิดกับท้องถิ่น มีฐานข้อมูลและสถานการณ์ปัญหาจริงของชุมชน ตลอดจนความสามารถในการประสานกับผู้บริหารทุกระดับ ได้รับการยอมรับจากภาคีเครือข่ายในระดับจังหวัดและภูมิภาค เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ให้บริการการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการ “การอ่านการเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มวิชาภาษาไทยที่สูงขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 11:07 น.