สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายจากเปลือกกล้วย กรณีศึกษา : ชุมชนสีกาย ตำบลสีกาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายจากเปลือกกล้วย กรณีศึกษา : ชุมชนสีกาย ตำบลสีกาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายจากเปลือกกล้วย กรณีศึกษา : ชุมชนสีกาย ตำบลสีกาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
หน่วยงานหลัก คณะวิทยาการจัดการ
หน่วยงานร่วม สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
ชื่อชุมชน ชุมชนสีกาย ตำบลสีกาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางสาวศิริสุข เพชรภูมี
นางสาววรดา เดชสุทธิ
นางสาววาทินี ศรีสุภักตร์
นางสาวธณัสดา บรรณารักษ์
นางสาวสุรัฏฎา ชาภา
นางสาวณัฐพร ค้ำชู
การติดต่อ
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 ตุลาคม 2561 - 30 พฤศจิกายน 2561
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
หนองคาย เมืองหนองคาย สีกาย place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ปัจจุบันแหล่งชุมชนต่างๆ ในจังหวัดหนองคาย ได้มีการปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย ทุกชุมชนและมีการนำกล้วยมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ กล้วยม้วน กล้วยตาก เป็นต้น ซึ่งทำให้เปลือกกล้วยมีจำนวนมาก ส่งกลิ่นเหม็นเน่า โดยไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ทั้งที่เปลือกกล้วยมีคุณค่าและสารอาหารต่างๆ เปลือกกล้วยมีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่สามารถพบได้ในอาหารโดยเฉพาะพืชผัก สมุนไพร และเปลือกผลไม้ เปลือกกล้วยสามารถนำมาพัฒนาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวได้ ซึ่งเปลือกกล้วยเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และที่สำคัญกล้วยยังมีสารอาหารที่สำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินซี โพแทสเซียม แคลเซียม และสารประกอบฟีนอลิก โดยผลดิบมีสารแทนนินมาก
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
• ชุมชนสีกายมีกลุ่มแม่บ้านที่แปรรูปกล้วยน้ำว้าอยู่แล้ว ซึ่งในแต่ละครั้งที่แปรรูปมีเปลือกกล้วยเหลือทิ้งจำนวนมาก ทำให้ไม่ขาดแคลนวัตถุดิบ ไม่มีค่าจัดส่ง ไม่มีต้นทุนของวัตถุดิบ และมีเพียงพอในการทำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายจากเปลือกกล้วย
• การมีส่วนร่วมของกลุ่มแม่บ้านชุมชนสีกาย ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันตัดสินใจ พัฒนาและแก้ไขร่วมกัน เกี่ยวกับสินค้าของกลุ่มแม่บ้านเพื่อให้สินค้าติดตลาด
• ส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชนสีกาย
• มีวัตถุดิบในพื้นที่ เนื่องจากชุมชนสีกายมีการปลูกกล้วยจำนวนมาก
• ไม่ขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากมีผลผลิตจากกล้วยตลอดทั้งปี
• ต้นทุนในการผลิตต่ำ เนื่องจากใช้เปลือกกล้วยที่เหลือทิ้งจากการแปรรูปผลกล้วย
• ต้นทุนในการผลิตต่ำ
• มีการทำบัญชีของกลุ่มแม่บ้านชุมชนสีกายอย่างต่อเนื่องและโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
• มีฐานลูกค้าเดิมที่ซื้อสินค้าจากกลุ่มแม่บ้านเป็นประจำอยู่แล้ว
• กลุ่มแม่บ้านชุมชนสีกายมีสมาชิกเพียงพอต่อการดำเนินงาน
• กลุ่มแม่บ้านชุมชนสีกายให้ความร่วมมือและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี
• เปิดโอกาสและยอมรับความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดสินค้าให้กับชุมชนสีกาย
ข้อมูลประเด็นปัญหา
• กลุ่มแม่บ้านชุมชนสีกายยังขาดความความรู้ ความชำนาญ ทักษะ ทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเปลือกกล้วย
• สินค้าที่กลุ่มแม่บ้านชุมชนสีกายทำ ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปรับรอง
• ไม่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่มีเทคโนโลยีสูงเข้ามาช่วยในการผลิต
• ยังไม่มีการวางแผนและการมอบหมายหน้าที่ในการผลิตอย่างชัดเจน
• ไม่มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกลุ่มแม่บ้านชุมชนสีกายไม่ได้มีการแปรรูปกล้วยทุกวัน
• กลุ่มแม่บ้านชุมชนสีกาย ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเปลือกกล้วย
• ขาดการประชาสัมพันธ์หรือโฆษณาสินค้าที่ทันสมัย
• ช่องทางการกระจายสินค้าของกลุ่มแม่บ้านชุมชนสีกายมีน้อย ไม่ทั่วถึงครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
• กลุ่มแม่บ้านชุมชนสีกายยังไม่มีการสร้างแบรนด์ของสินค้าที่ชัดเจน
• กลุ่มแม่บ้านชุมชนสีกายยังขาดความรู้ ความชำนาญ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเปลือกกล้วยและการออกแบบบรรจุภัณฑ์
• ขาดความรู้ในการนำเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในช่องทางการจัดจำหน่าย
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
พัฒนาเปลือกกล้วยที่เหลือทิ้งให้ได้ประโยชน์มากกว่าการนำมาแปรรูปหรือนำมาประกอบอาหาร โดยการทำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายจากเปลือกกล้วย

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกขององค์กร (SWOT Analysis)
2 ทฤษฎีการวิเคราะห์การแข่งขันทางธุรกิจด้วยแรงกระทบ 5 ประการ (Five Forces Model)
3 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ
4 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุน
5 แนวคิดและทฤษฏีแบ่งส่วนประสมทางการตลาดและแผนการตลาด(4Ps)

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

กล้วยน้ำว้าเมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย นอกจากนั้นกินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2560)
กล้วยเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของจังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะอำเภอสังคม มีพื้นที่ปลูกกล้วยในทุกตำบลรวมกันมากที่สุดถึงประมาณ 3 หมื่นไร่ โดยเกษตรกรจะปลูกกล้วยน้ำว้าตามพื้นที่ว่างหัวไร่ปลายนาจนถึงปลูกเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม รายละ 1–10 ไร่ และมีรายได้จากการขายกล้วยและผลผลิตจากกล้วยเช่นหัวปลี หยวกกล้วย หน่อกล้วย ชนิดกล้วยที่ปลูกมากคือกล้วยน้ำว้า ในอดีตที่ผ่านมาเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยน้ำว้าจะขายกล้วยแบบยกเครือ โดยพ่อค้าจะจ้างคนงานไปตัดกล้วยในสวน โดยเจ้าของสวนไม่ต้องตัดเอง เส้นทางการจำหน่ายพ่อค้าจะนำไปขายส่งที่จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี และสุรินทร์ ซึ่งมีความต้องการผลผลิตกล้วยน้ำว้าจากจังหวัดหนองคายเป็นอย่างมาก ปัจจุบันราคารับซื้อจากสวน หวีละ ๘ – ๑๐ บาท ซึ่งความต้องการของผู้บริโภคมีมากแต่ผลผลิตไม่เพียงพอในบางช่วง เนื่องจากพื้นที่ปลูกกล้วยลดลง (สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย,2557)
ปัจจุบันแหล่งชุมชนต่างๆ ในจังหวัดหนองคาย ได้มีการปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย ทุกชุมชนและมีการนำกล้วยมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ กล้วยม้วน กล้วยตาก เป็นต้น ซึ่งทำให้เปลือกกล้วยมีจำนวนมาก ส่งกลิ่นเหม็นเน่า โดยไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ทั้งที่เปลือกกล้วยมีคุณค่าและสารอาหารต่างๆ เปลือกกล้วยมีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่สามารถพบได้ในอาหารโดยเฉพาะพืชผัก สมุนไพร และเปลือกผลไม้ เปลือกกล้วยสามารถนำมาพัฒนาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวได้ ซึ่งเปลือกกล้วยเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และที่สำคัญกล้วยยังมีสารอาหารที่สำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินซี โพแทสเซียม แคลเซียม และสารประกอบฟีนอลิก โดยผลดิบมีสารแทนนินมาก
ดังนั้น คณะผู้ศึกษาจึงจะพัฒนาเปลือกกล้วยที่เหลือทิ้งให้ได้ประโยชน์มากกว่าการนำมาแปรรูปหรือนำมาประกอบอาหาร โดยการทำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายจากเปลือกกล้วย และเพื่อทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกายจากเปลือกกล้วยจากกลุ่มคนวัยทำงานในชุมชนต่างๆในจังหวัดหนองคาย

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย udonthani_ru udonthani_ru เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 14:02 น.