สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการการผลิตภัณฑ์โลชันจากสารสกัดใบเม่า ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรม สู่ชุมชน

โครงการการผลิตภัณฑ์โลชันจากสารสกัดใบเม่า ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรม สู่ชุมชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการการผลิตภัณฑ์โลชันจากสารสกัดใบเม่า ภายใต้โครงการบริการความรู้ นวัตกรรม สู่ชุมชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
หน่วยงานร่วม
ชื่อชุมชน ห้างหุ้นส่วนจำกัดน้ำผลไม้ภูพานช้างพลังสอง บ้านโนนหัวช้าง อำเภอภูพาน
ชื่อผู้รับผิดชอบ นายเปรมศักดิ์ พวงพลอย
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0630541379
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สกลนคร ภูพาน place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านโนนหัวช้าง ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
หมากเม่า (Antidesma ghaesembilla) เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้ผลกลุ่มเบอร์รี่พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย พบมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะตอนเหนือแถบจังหวัดสกลนคร มุกดาหาร หนองคาย และนครพนม (สุจิตรา และคณะ, 2550) ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร มีเกษตรกรปลูกหมากเม่า เป็นจำนวนมาก เพื่อจำหน่ายผลสดให้กับโรงงานแปรรูปน้ำผลไม้ในพื้นที่
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ใบเม่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญและพบมากในการปลูกหมากเม่าแต่ยังขาดการศึกษาวิจัยและนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง มีรายงานวิจัยหลายฉบับที่กล่าวถึงสารสำคัญ (Phytochemical compounds) ที่พบในใบหมากเม่า อาทิเช่น สุดารัตน์ สกุลคู และคณะ (2557) ได้ทำการวิจัยเพื่อตรวจสอบชนิดและปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระจากใบเม่าเปรียบเทียบกับ ดอกเม่าจาก 20 สายพันธุ์ ด้วยวิธีวิเคราะห์แบบ High Performance Liquid Chromatography (HPLC) พบว่าใบเม่ามีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดได้แก่ Catechin, Rutin, Syringic, Procyanidin B1, Procyanidin B2, Myicetin, Lutelin และ Quercetin โดยเฉพาะ Gallic acid ที่พบในใบเม่ามากกว่าดอกเม่า (สุดารัตน์, 2557) ยังมีงานวิจัยของบานุช เดชายนต์และคณะ (2560) ที่ทำการศึกษาชนิดของสารที่พบในใบเม่าที่สกัดด้วยน้ำและเอทานอลด้วยวิธีการหมักและการต้ม แล้วนำสารสกัดที่ได้นำมาวิเคราะห์ชนิดของสารสำคัญด้วยวิธี ESI-QTOF-MS/MS พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิดที่พบในใบเม่าโดยเฉพาะสารสำคัญในกลุ่มฟีนอล (โดยเฉพาะกลุ่มไฮดรอกซีซินนามิกเอซิด) และกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ Lactic Acid, Tartaric Acid, Malic Acid Gallic Acid, Caffeic Acid , Ellagic acid และ Anthocyanin เป็นต้น ซึ่งสารสำคัญเหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีความสำคัญในการช่วยชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณ และมีฤทธิ์ทำให้ผิวขาวกระจ่างขึ้น นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยจากประเทศเกาหลีใต้ที่ระบุว่าพืชที่มีสารกลุ่ม anthocyanin จำนวนมากจะสามารถนำมาทำให้ผิวขาวขึ้นได้อีกด้วย (ประไพพิศ, 2561) จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ข้าพเจ้ามีความสนใจนำสารสกัดจากใบเม่าหลากหลายสายพันธุ์นำมาพัฒนาเป็นโลชั่นผิวขาวเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์จากใบเม่าให้มากขึ้น
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การแปรรูป การพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากสารสกัดใบเม่า

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

หมากเม่า (Antidesma ghaesembilla) เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้ผลกลุ่มเบอร์รี่พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย พบมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะตอนเหนือแถบจังหวัดสกลนคร มุกดาหาร หนองคาย และนครพนม (สุจิตรา และคณะ, 2550) หมากเม่ามีประมาณ 30 สายพันธุ์ (Holfmann, 2000) ผลหมากเม่าเมื่อสุกจะมีสีแดงไปจนถึงม่วงเข้ม มีปริมาณแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) สารประกอบฟีนอลิก (Phenolic) สูง และมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันมะเร็ง และบำรุงสายตา เป็นต้น ทำให้ปัจจุบันนิยมนำผลสุกของหมากเม่ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนหลายชนิด อาทิ ไวน์หมากเม่า แยม หมากเม่า น้ำหมากเม่า หรือแม้กระทั่งการรับประทานผลสุกเนื่องจากผลให้รสชาติหวานอมเปรี้ยวและมีสีสันสวยงาม อันดึงดูดให้น่ารับประทาน (สนิทพิมพ์, 2552) แต่อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์ผลเม่าสุกสามารถเก็บผลผลิตได้เพียง หนึ่งครั้งต่อปีเท่านั้น ทำให้เกษตรกรที่เพาะปลูกหมากเม่าและบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับหมากเม่าขาดรายได้หลังจากที่หมดฤดูการเก็บเกี่ยวผลสุกของหมากเม่าไปแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษานำส่วนอื่นของเม่า เช่น ใบ ดอก ลำต้น หรือราก นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ตลอดทั้งปี
ใบเม่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญและพบมากในการปลูกหมากเม่าแต่ยังขาดการศึกษาวิจัยและนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง มีรายงานวิจัยหลายฉบับที่กล่าวถึงสารสำคัญ (Phytochemical compounds) ที่พบในใบหมากเม่า อาทิเช่น สุดารัตน์ สกุลคู และคณะ (2557) ได้ทำการวิจัยเพื่อตรวจสอบชนิดและปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระจากใบเม่าเปรียบเทียบกับ ดอกเม่าจาก 20 สายพันธุ์ ด้วยวิธีวิเคราะห์แบบ High Performance Liquid Chromatography (HPLC) พบว่าใบเม่ามีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดได้แก่ Catechin, Rutin, Syringic, Procyanidin B1, Procyanidin B2, Myicetin, Lutelin และ Quercetin โดยเฉพาะ Gallic acid ที่พบในใบเม่ามากกว่าดอกเม่า (สุดารัตน์, 2557) ยังมีงานวิจัยของบานุช เดชายนต์และคณะ (2560) ที่ทำการศึกษาชนิดของสารที่พบในใบเม่าที่สกัดด้วยน้ำและเอทานอลด้วยวิธีการหมักและการต้ม แล้วนำสารสกัดที่ได้นำมาวิเคราะห์ชนิดของสารสำคัญด้วยวิธี ESI-QTOF-MS/MS พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิดที่พบในใบเม่าโดยเฉพาะสารสำคัญในกลุ่มฟีนอล (โดยเฉพาะกลุ่มไฮดรอกซีซินนามิกเอซิด) และกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ Lactic Acid, Tartaric Acid, Malic Acid Gallic Acid, Caffeic Acid , Ellagic acid และ Anthocyanin เป็นต้น ซึ่งสารสำคัญเหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีความสำคัญในการช่วยชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณ และมีฤทธิ์ทำให้ผิวขาวกระจ่างขึ้น นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยจากประเทศเกาหลีใต้ที่ระบุว่าพืชที่มีสารกลุ่ม anthocyanin จำนวนมากจะสามารถนำมาทำให้ผิวขาวขึ้นได้อีกด้วย (ประไพพิศ, 2561) จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ข้าพเจ้ามีความสนใจนำสารสกัดจากใบเม่าหลากหลายสายพันธุ์นำมาพัฒนาเป็นโลชั่นผิวขาวเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์จากใบเม่าให้มากขึ้น
ห้างหุ้นส่วนจำกัดน้ำผลไม้ภูพานช้างพลังสอง อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร เป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนที่มีการลงทุนทำธุรกิจด้านการปลูกและส่งเสริมการแปรรูปสินค้าจากหมากเม่าหลากหลายชนิด โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการนำผลสุกของ หมากเม่ามาแปรรูปอาทิเช่น น้ำหมากเม่า เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามทางบริษัทยังขาดการนำประโยชน์จากใบเม่ามาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า ซึ่งถ้ามีการนำใบเม่ามาผลิตเป็นสารสกัดเพื่อทำให้ผิวขาวแล้ว นอกจากจะเป็นการใช้ประโยชน์จากใบเม่าซึ่งไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางเครื่องสำอางมาก่อน แต่ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร อีกทางหนึ่งอีกด้วย

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ใบเม่า
  • ผลิตภัณฑ์โลชันจากสารสกัดใบเม่า
  • หมากเม่า

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย monteearu monteearu เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2562 11:28 น.