สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การสร้างการตระหนักรู้และส่งเสริมการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง

การสร้างการตระหนักรู้และส่งเสริมการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การสร้างการตระหนักรู้และส่งเสริมการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานหลัก วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาลัยขอนแก่น
หน่วยงานร่วม เทศบาลตำบลไผ่, ทสจ.กาฬสินธ์
ชื่อชุมชน ตำบลไผ่
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.พัฒนพงศ์ โตภาคงาน
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. 123/2017 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0851685552, pattto@kku.ac.th
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 439,500.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตำบลไผ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 12 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลอื่นดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลนาจารย์ และตำบลขมิ้น ทิศตะวันออก ติดกับ กิ่งอำเภอดอนจานและตำบลเหนือ ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลหนองกุง ทิศใต้ ติดกับ ตำบลโพนทอง มีเนื้อที่ 42.60 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 26,625 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลไผ่ ทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้เป็นที่ราบลุ่ม ทางทิศเหนือ และบริเวณพื้นที่ตอนกลางมีลักษณะเป็นที่ดอน ความหนาแน่นของประชากร 111 คนต่อตารางกิโลเมตร มีจำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลไผ่ มี 9 หมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหนองโพน หมู่ 2 บ้านหนองไผ่ หมู่ 3 บ้านโคกล่าม หมู่ 4 บ้านคำเม็ก หมู่ 5 บ้านโนนสะอาด (บางส่วน) หมู่ 6 บ้านเริงนาแก หมู่ 7 บ้านโคกกว้าง หมู่ 8 บ้านดอนสวรรค์ หมู่ 9 บ้านโนนทอง
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ขยะ คือ ของเหลือทิ้งจากการใช้สอยของมนุษย์ซึ่งเกิดจากการอุปโภค บริโภคและกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ในชีวิตประจำวัน ประเภทของขยะมูลฝอยสามารถแบ่งตามลักษระทางกายภาพขยะได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียก หรือขยะย่อยสลายได้ 2) ขยะรีไซเคิล 3) ขยะทั่วไป และ 4) ขยะพิษหรือขยะอันตราย ในเขตเทศบาลที่อยู่ใน เขตชนบท ขยะมูลฝอย ส่วนใหญ่ จะเป็นลักษณะขยะที่ย่อยสลายได้ คือ เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร หญ้า ใบไม้ ซากพืช ซากสัตว์ เป็นต้น ขยะเปียกนี้ ถ้าตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึงเกิดเหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน มีผลต่อปัญหาคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม ขยะอินทรีย์นี้สามารถจัดการได้ง่าย และสามารถนำมาหมักทำปุ้ยได้ โดยการจัดการขยะอินทรีย์นี้สามารถ กระทำได้ในระดับชุมชน และระดับครัวเรือน ในเขตเทศบาล โดยไม่ต้องใช้บริการการจัดเก็บขยะจากทางเทศบาลเข้าไปจัดการ
ปัจจุบันปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนานและ นับวันยิ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สาเหตุหนึ่งของปัญหา คือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน และปัญหาสำคัญที่ประชาชนไม่คัดแยกขยะตั้งแต่ปลายทาง คือการขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับประเภทของขยะชนิดต่าง ๆ การไม่คัดแยกขยะยังส่งผลให้เกิดการสูญเสียปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น งบประมาณในการบริหารจัดการ สูญเสียเวลาของเจ้าหน้าที่ที่ต้องมาคัดแยกขยะ และในขณะเดียวกันขยะที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องถูกวิธียังคิดเป็นสัดส่วนที่ต่ำ แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทั้งการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย รวมทั้งการกาจัด ถึงแม้จะได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
หากประชาชนร่วมมือกับภาครัฐในการดำเนินการ ก็จะสอดคล้องตามแนวทาง “ประชารัฐ” และประชาชนช่วยกันลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทางโดยใช้หลัก ๓Rs ซึ่งได้แก่ การลดปริมาณขยะ(Reduce)การนำกลับมาใช้ซ้ำ(Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่(Recycle) พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างพอเพียง เพื่อมุ่งสู่ชุมชนปลอดขยะอย่างแท้จริง และขยายต่อจนกลายเป็นสังคมรีไซเคิล ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของแนวคิดโครงการอาสาประขารัฐ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จะนักศึกษานำที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการ
1). สำรวจว่าแต่ละครัวเรือนมีการคัดแยกขยะหรือไม่
2.จัดหา/จัดทำถังขยะ (ในรูปแบบและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มี)
3. นักศึกษาดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ
4. นักศึกษาช่วยรณรงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะภายในครัวเรือน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 18:33 น.