สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบริการวิชาการจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุน ความรู้ ปรัชญา สู่การปฎิบัติ โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการบริการวิชาการจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุน ความรู้ ปรัชญา สู่การปฎิบัติ โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการบริการวิชาการจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุน ความรู้ ปรัชญา สู่การปฎิบัติ โดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
หน่วยงานหลัก คณะบัญชี
หน่วยงานร่วม สาขาการบัญชี
ชื่อชุมชน หมู่บ้านเสียว ตำบลหัวงัว อำเภอยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสาวอมราลักษณ์ ศิริทองสุข
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 94/15 ถ.พิมพสุต ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
การติดต่อ 098 1589898
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 พฤษภาคม 2563 -
งบประมาณ 393,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ ยางตลาด หัวงัว place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ตำบลหัวงัว กำนันคนแรกชื่อนายสอน ภูต่างแดน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 หมู่บ้าน ปี 2537 ตำบลหัวงัวแบ่งแยกเขตออกเป็น 2 ตำบล คือตำบลหนองอีเฒ่า ดังนั้นตำบลหัวงัวในปัจจุบันมีเขตการปกครอง 12 หมู่บ้าน ปัจจุบันโกศรี ภูวิภาค เป็นกำนันตำบลหัวงัว
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ผลิตปลอกหมอน
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ขาดความรู้ความเข้าใจการจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุน ทำให้ประมาณการณ์รายได้หรือกำไรคลาดเคลื่อน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
-

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

-ดำเนินการโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติจริงให้ชุมชนทราบเชิงประจักษ์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุนแก่ชุมชน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

จากสภาวะสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสวัตถุนิยม และความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ จนทำให้คนไทยหลงเดินทางผิดไปตามกระแสนิยมจนกลายเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาหนี้สินที่ไม่มีวัน จบสิ้น อย่างไรก็ตามคนไทยยังมีทางออก ซึ่งการจะดำรงชีวิตให้อยู่รอดภายใต้สังคมในปัจจุบัน แนวทางหนึ่งที่ประชาชนไทยควรยึดถือคือการพึ่งตนเอง รู้จักความพอประมาณ และไม่ประมาท ตามแนวปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมองเห็นถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง รู้จักความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ คำนึงถึงหลักเหตุผลและการประมาณตนเอง พร้อมกับทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต
การทำบัญชี คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ชุมชน รวมถึงประเทศ ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีตปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้ ที่บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว
ดังที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการจัดทำบัญชีครัวเรือนมีความสำคัญกับชุมชน โดยคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น มุ่งที่จะให้ความรู้กับชุมชนในเขตจังหวัดกาฬสินธิ์ จึงเลือกหมู่บ้านเสียว ตำบลหัวงัว อำเภอยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรจำนวนมาก ดังนั้น คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น จึงได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน หมู่บ้านบ้านเสียวโดยไปให้ความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีต้นทุน เพื่อให้ชาวบ้านสามารถ พึ่งตนเอง รู้จักความพอประมาณ และไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต ตามแนวปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ find_in_page
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) find_in_page
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ find_in_page
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ find_in_page

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย kriangkrai.sa01 kriangkrai.sa01 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 20:49 น.