สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการอาสาประชารัฐเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ

โครงการอาสาประชารัฐเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการอาสาประชารัฐเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
หน่วยงานหลัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
หน่วยงานร่วม กรมประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เครือข่ายปลากัดไทยภาคเหนือตอนบน และเครือข่ายปลากัดไทยภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อชุมชน ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยกลุ่มภาคเหนือ
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางสายนที ทรัพย์มี
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 200 ม.17 ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นายสรวิทย์ ปานพินิจ การตลาด/คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
นายวชิระ หล่อประดิษฐ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ/คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์
นายศราวุธ เอกบาง วิศวกรรมอุตสาหการ/คณะวิศวกรรมศาสตร์
นายเรืองพันธุ์ ทรัพย์มี ประมง/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
นางพรพิมล จุลพันธ์ ประมง/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
นางสาวสุภัทรชา ธุระกิจ ประมง/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
นายสมเกียรติ ตันตา ประมง/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
นายจตุพร โปธาคำ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มทร. ล้านนา ลำปาง
นางสาวจารุวรรณ สุยะ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มทร. ล้านนา ลำปาง
การติดต่อ 0820334693
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 300,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ผู้ประกอบธุรกิจการเลี้ยงปลากัด กลุ่ม Cluster Plakad ในเขตภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยระดับครัวเรือน ศักยภาพในการเพาะเลี้ยง การสร้างอาหารให้กับปลากัดยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการในการสร้างคุณภาพในการเพาะเลี้ยงในแต่ละช่วงวัยของปลากัด รวมถึงยังไม่มีการพัฒนานวัตกรรมในการเพาะเลี้ยง
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ผู้ประกอบการธุรกิจเพาะเลี้ยงปลากัดในเขตภาคเหนือ มีผู้ที่สนใจในการเพาะเลี้ยงเป็นจำนวนมากมีศักยภาพในการเพาะเลี้ยง แต่ทรัพยากรในการเพาะเลี้ยงไม่เพียงพอ ได้แก่อาหารธรรมชาติที่จำเป็นได้แก่ ไรแดง หนอนแดง ไส้เดือนดิน ทำให้ต้นทุนในการเพาะเลี้ยงสูงกว่าผู้ประกอบการในภาคกลางที่มีปริมาณอาหารธรรมชาติที่เพียงพอต่อความต้องการในการเพาะเลี้ยง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
การขาดความรู้พื้นฐานในการพัฒนาปลากัดสายพันธ์ใหม่ ๆ
ปัญหาในการเพาะเลี้ยงที่ขาดแหล่งอาหารที่มีชีวิต ได้แก่ ไรแดง
การดูแลปลา
การกำจัดโรคปลาที่มักระบาดในฤดูฝน
ขาดช่องทางการจัดจำหน่ายที่ยั่งยืน
พบปัญหาการตายของปลาเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
การสนับสนุนทางด้านวิชาการด้านการผลิต (เพาะเลี้ยงปลากัด)
การตลาดออนไลน์

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

การเพาะเลี้ยงปลากัดไทย
การผลิตอาหาร ไรแดง หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ
การตลาดออนไลน์
สารสนเทศปลากัดไทย

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กลุ่มภารกิจด้านการอุดมศึกษา) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนระดับอุดมศึกษา จึงจัดทำโครงการอาสาประชารัฐเพื่อผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 ที่มีคุณภาพ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษากับการปฏิบัติงานจริง ลดระยะเวลาเรียนในชั้นเรียนให้น้อยลง มุ่งเน้นการปฏิบัติงานจริงมากขึ้น เพื่อให้นิสิต/นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์การทำงานตรงตามสาขาวิชา และองค์ความรู้ที่เรียน โดยมีชุมชนเป็นฐานในการนำองค์ความรู้ทางวิชาชีพในสาขาที่เรียนสู่การปฏิบัติ (Community-based Learning Program: CBL) ผ่านโครงงานที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ของชุมชน (Area-based) และมุ่งเน้นผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาด้านความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ และเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป

ด้วยเหตุนี้โครงการ “พัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ” มีความประสงค์จะดำเนินกิจกรรมโครงการอาสาประชารัฐควบคู่ไปกับการบริการวิชาการ โดยการนำนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ที่เป็นกลุ่มบุคคลที่กำลังศึกษาหาความรู้ทางวิชาการทั้งจากตำราและในชั้นเรียน และความรู้จากประสบการณ์จริงที่เกิดจากทักษะปฏิบัติ หรือจากสภาวะการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง หากนักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่หลากหลายในมหาวิทยาลัย และประสบการณ์ที่มีมาบูรณาการ และปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา และพัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล อาจสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมทางสังคมร่วมกับกลุ่ม หรือชุมชน จากการปฏิบัติหน้าที่เป็นอาสาสมัครในโครงการอาสาประชารัฐในโครงการบริการข้างต้น

จากการรวบรวมปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการของกลุ่ม Cluster Plakad ในเขตภาคเหนือ และตอนล่าง ในวันที่ 23 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมแกรนด์ จังหวัดพิษณุโลก ในเบื้องต้นพบว่า ผู้ประกอบยังประสบปัญหาของการขาดความรู้พื้นฐานในการพัฒนาสายพันธ์ใหม่ ๆ ปัญหาในการเพาะเลี้ยงที่ขาดแหล่งอาหารที่มีชีวิต ได้แก่ ไรแดง จึงต้องการให้มีการส่งเสริมการสร้างอาหารทดแทนในการเพาะเลี้ยง การดูแลปลา การกำจัดโรคปลาที่มักระบาดในฤดูฝน นอกจากนี้ผู้ประกอบการบางส่วนประสบปัญหาด้านเงินลงทุน และต้องการได้รับการจัดสรรงบประมาณที่สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงแหล่งทุนเพื่อการเพาะเลี้ยง อีกทั้งยังพบปัญหาผลผลิตปลากัดไทย ที่ขาดช่องทางการจัดจำหน่ายที่ยั่งยืน ทั้งการจัดจำหน่ายผ่านเว็บไซด์และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ รวมถึงปัญหาของการทำสต๊อกออนไลน์เป็นต้น

เพื่อให้โครงการอาสาประชารัฐของนักศึกษาเป็นไปด้วยความราบรื่น ทางผู้ดำเนินโครงการฯ จึงได้จัดทำข้อเสนอโครงการที่ครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจและตระหนักถึงสภาพปัญหาพื้นฐาน ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ และกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงภารกิจ กิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจ และตระหนักเห็นว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือ หรือเป็นอีกหนึ่งพลังที่สามารถทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมได้ นอกจากนี้นักศึกษายังได้ประโยชน์จากการร่วมกิจกรรมอาสาสมัครทำงานเพื่อสังคม ในแง่ของการได้นำความรู้ที่เรียนมาไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง ได้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับชุมชน หรือกลุ่มผู้ประกอบการ และผู้อื่น ตามนโยบายด้านการอุดมศึกษาที่มุ่งสร้างและพัฒนาคนไทยเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ขับเคลื่อนหลักสูตรอุดมศึกษายุคใหม่ให้เข้ากับอาชีพแห่งอนาคต อันเป็นช่วยเสริมสร้างบัณฑิตสู่โลกใบใหม่ แห่งศตวรรษที่ 21 และขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะร่วมกับผู้ประกอบการจริงเพื่อก้าวสู่อาชีพแห่งอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการใช้ศักยภาพจากการเรียนรู้จากสถานศึกษาในช่วยขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ด้วยการบูรณาการนโยบายเศรษฐกิจ บีซีจี โมเดล (BCG Model) เพื่อการปรับเปลี่ยนประเทศด้วยปัญญาจากฐานรากและเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นต่อไป

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ความสามารถในการแข่งขัน
  • ผู้ประกอบการปลากัดไทยในเขตภาคเหนือ
  • ศักยภาพในการบริหารจัดการ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย kriengkrai sriprasert kriengkrai sriprasert เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 21:27 น.