สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การประเมินการจัดการพลังงานในกระบวนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้นต่อการปรับเปลี่ยนเตาผลิจไอน้ำก้อนเห็ด

การประเมินการจัดการพลังงานในกระบวนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้นต่อการปรับเปลี่ยนเตาผลิจไอน้ำก้อนเห็ด

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การประเมินการจัดการพลังงานในกระบวนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้นต่อการปรับเปลี่ยนเตาผลิจไอน้ำก้อนเห็ด
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
หน่วยงานหลัก สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
หน่วยงานร่วม เทศบาลตำบลปงยางคก
ชื่อชุมชน บ้านทุ่งบ่อแป้น
ชื่อผู้รับผิดชอบ ผศ ดร รวิภา ยงประยูร
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา 1.น.ส.ลัดดาวัลย์ เสียงเย็น
2.น.ส.วรรณวิสา สารทอง
3.นายบุญช่วย ญาวิลาศ
การติดต่อ 0819986523
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2562 - 8 พฤศจิกายน 2562
งบประมาณ 40,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ลำปาง ห้างฉัตร ปงยางคก place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับบ้านทุ่งบ่อแป้น ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง พบว่าในชุมชนมีอาชีพหลัก คือ การทำนา แต่เมื่อปีพุทธศักราช 2531 ผู้ใหญ่ถาวร มณียศ ได้นำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการเข้าอบรม ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดขึ้นในบริเวณภายในบ้านและได้ขยายกิจการในชื่อ “ฟาร์มเห็ดสายฟ้า” จนทำให้สมาชิกในหมู่บ้านมีความสนใจเข้ามาเรียนรู้
ในรูปแบบการจ้างงานจนสามารถนำไปประกอบอาชีพ เป็นธุรกิจของตน จนนำไปสู่การจัดตั้งเป็นกลุ่ม
วิสาหกิจชุมชนอาชีพเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น”
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
จากข้อมูลในปี 2560 พบว่าสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจจำนวน 21 คน มีประสบการณ์ในการเพาะเห็ดจำนวน 25 ปี โดยมีการเพาะเห็ด และชนิดของเห็ดที่เพาะจำนวน 8 ชนิด ได้แก่ เห็ดนางฟ้า, เห็ดขอนขาว, เห็ดลม, เห็ดเป๋าฮื้อ, เห็ดหูหนู, เห็ดฮังการี และเห็ดภูฐาน อีกทั้ง ปัจจุบันปี 2562 ยังพบ แนวโน้มในการเพิ่มของโรงเรือนที่ใช้ในการเพาะเห็ดเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2–5 โรงเรือน อันเนื่องมาจากสมาชิกในชุมชนสามารถเพาะเห็ดสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน และนอกจากนี้ในการเพาะเห็ดในโรงเรือนจนสามารถเพาะได้จำนวนมาก โดยใน 1 โรงเรือนสามารถผลิต และเพาะเห็ด
ในปริมาณ 3,000–4,000 ก้อน และในขั้นตอนการผลิตก้อนเห็ด สมาชิกในกลุ่มมีการนำเตานึ่งก้อนเชื้อเห็ด มาใช้ในขั้นตอนการนึ่งก้อนเห็ด และพบลักษณะการใช้พลังงานในกระบวนการเพาะเห็ด ของกลุ่มจำแนกรายละเอียดได้ดังนี้ การใช้เชื้อเพลิงแข็ง (ฟืน) ในการนึ่งก้อนเห็ด เฉลี่ยครั้งละ 2 ชั่วโมงคิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ ของการใช้พลังงานในกระบวนการเพาะเห็ดของกลุ่ม ซึ่งมีการใช้เตานึ่งก้อนเห็ดแบบถัง 200 ลิตรหรือเตาลูกทุ่งในการนึ่งวัสดุเพาะเห็ด โดยปัจจุบันสมาชิกในกลุ่มได้มีการปรับเปลี่ยนเตาผลิตไอน้ำในการนึ่งก้อนเห็ดในกลุ่มวิสาหกิจจำนวน 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. เตาดั้งเดิม 200 ลิตร, 2. เตานึ่งแบบ 3 กลับ 3. เตาฟิวชั่น 4. เตาลุงชูชาติ
ข้อมูลประเด็นปัญหา
โดยเตาที่สมาชิกในกลุ่มใช้ในการนึ่งก้อนเห็ดมีประสิทธิภาพ และสามารถนึ่งก้อนเห็ดเพื่อใช้ในการผลิตก้อนเห็ด หากแต่ยังไม่มีการวัด และทดสอบประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ของเตาแต่ละชนิด ที่สมาชิกในกลุ่มใช้ในการนึ่งก้อนเห็ด จึงทำให้คณะผู้วิจัยมีความสนใจในการเก็บข้อมูล และวัดประเมินการจัดการพลังงานในกระบวนการผลิตเห็ดของเตา แต่ละชนิด ที่สมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาชีพเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ และเป็นแนวทางในการลดการใช้พลังงานความร้อนจากการใช้เชื้อเพลิงแข็ง (ฟืน) ของเตาผลิตไอน้ำ ในขั้นตอนการนึ่งก้อนเห็ดของสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาชีพเพาะเห็ด บ้านทุ่งบ่อแป้น อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ต่อไป
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
เตาผลิตไอน้ำนึ่งก้อนเห็ดที่ปรับเปลี่ยนแล้ว สามารถช่วยลดการใช้ฟืนจากกิจกรรมการเพาะเห็ดในชุมชนได้ และสามารถลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตเห็ดของชุมชน

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

1.การประเมินผลการจัดการพลังงานในกระบวนการผลิต
2.การออกแบบ และพัฒนานวัตกรรมสำหรับการใช้งานระดับชุมชน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการจัดการพลังงาน ในกระบวนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ต่อการปรับเปลี่ยนเตาผลิตไอน้ำนึ่งก้อนเห็ด ผู้วิจัยได้ทำศึกษา
เพื่อเปรียบเทียบการลดใช้พลังงานในกระบวนการผลิตเห็ด การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของเตาผลิตไอน้ำ พร้อมทั้งศึกษาต้นทุนการผลิต โดยมีการเก็บข้อมูลการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตเห็ดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ซึ่งประกอบไปด้วย การบดขี้เลื่อย การบดผสม การอัดก้อนเชื้อเห็ด การนึ่งก้อนวัสดุเพาะเห็ด การใส่เชื้อเห็ด การนำก้อนวัสดุพักในโรงเรือน การรดน้ำ และการเก็บเกี่ยว
ผลการประเมิน พบว่า สัดส่วนการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตนั้นมีการใช้พลังงาน ในการนึ่งก้อนวัสดุเพาะเชื้อเห็ด มีปริมาณการใช้พลังงาน 84% กระบวนการรดน้ำ สัดส่วนการใช้พลังงาน 12.8% และมีกระบวนการบดผสมมีสัดส่วนใช้พลังงาน 3% สำหรับการลดใช้พลังงานความร้อนจากการใช้เชื้อเพลิงแข็ง (ฟืน) ของเตาผลิตไอน้ำทั้ง 3 ชนิด เปรียบเทียบกับเตาดั้งเดิม ซึ่งเป็นถังขนาด 200 ลิตรได้แก่ เตานึ่งแบบ 3 กลับ เตาฟิวชัน และเตาลุงชูชาติ จะเห็นได้ว่า มีการลดใช้พลังงานของเตาทั้ง 3 ชนิด โดย เตาลุงชูชาติ มีการลดใช้พลังงาน 1,252.7 MJ/tonก้อนเชื้อเห็ด และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในกระบวนการผลิตต่อปีของเตาผลิตไอน้ำทั้ง 3 ชนิด พบว่า เตาลุงชูชาติมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด 1,563.41 kgCO2 –eq /ปี สำหรับการคำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตเห็ดที่มีต้นทุนมากที่สุด คือ ขี้เลื่อย 600 บาท/ton ก้อนเชื้อเห็ด

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การจัดการพลังงาน
  • เตานึ่งแบบ 3 กลับ
  • เตาฟิวชัน
  • เตาลุงชูชาติ

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน find_in_page
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน find_in_page
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

  • เตาไอน้ำนึ่งก้อนเห็ดของคุฯลุงชูชาติ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย rawipha_lpru rawipha_lpru เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 16:47 น.