สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การสร้างชุมชนแข้มแข็งในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

การสร้างชุมชนแข้มแข็งในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

ข้อมูลโครงการ

ชื่อโครงการ การสร้างชุมชนแข้มแข็งในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานหลัก วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หน่วยงานร่วม มูลนิธิปิดทองหลังพระ, เทศบาลตำบลสมเด็จ
ชื่อชุมชน เทศบาลตำบลสมเด็จ อ.สมเด็จ
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. 123/2017 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0817174430, sirisaklao@kku.ac.th
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 304,100.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
กาฬสินธุ์ place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตําบลสมเด็จ เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล โดยการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสี่แยก ในปี พ.ศ.2504 มีชื่อเรียกว่า "สุขาภิบาลสี่แยก" และมีอํานาจหน้าที่ตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 ในปี พ.ศ.2507 ได้มีการจัดตั้งกิ่งอําเภอสมเด็จ สุขาภิบาลสี่แยกยังขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของอําเภอสหัสขันธ์ ต่อมาในปี พ.ศ.2512 กิ่งอําเภอสมเด็จได้ยกฐานะเป็นอําเภอสมเด็จ สุขาภิบาลสี่แยกจึงได้มาขึ้นอยู่ในการปกครองของอําเภอสมเด็จ และในปี พ.ศ. 2522 ได้เปลี่ยนชื่อจากสุขาภิบาลสี่แยกเป็นสุขาภิบาลสมเด็จ ประกอบด้วยบางส่วนของตําบลสมเด็จ อันได้แก่ท้องที่ในหมู่ 2,3,4,5,6,10 ของตําบลสมเด็จ จากการวัดพื้นที่ตามแนวหลักเขตตามประกาศกระทรวงมหาดไทย สุขาภิบาลสมเด็จมีพื้นที่ 4.5 ตารางกิโลเมตร และเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลทั่วประเทศสุขาภิบาลสมเด็จจึงได้ยกฐานะเป็นเทศบาล มีชื่อว่าเทศบาลตําบลสมเด็จ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นมา
จากการสำรวจของเทศบาลตำบลสมเด็จ ในปี พ.ศ. 2559 เทศบาลตำบลสมเด็จมีประชากรที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน จํานวน 7,266 คน จํานวนครัวเรือน 3,108 ครัวเรือน ปริมาณความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตร ต่อพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งมีพื้นที่ 4.5 ตร.กม. คือ มีความหนาแน่น เท่ากับ 1,614.66 คนต่อตารางกิโลเมตร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกนำไปใช้ในการพัฒนาและเกิดความเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศมีลักษณะรวมศูนย์ขาดการเชื่อมโยงกับพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม ระบบนิเวศชายฝั่งถูกทำลาย และทรัพยากรน้ำยังมีส่วนที่ไม่สามารถจัดสรรได้ตามความต้องการ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และชุมชนเมือง ภาวะความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดลอมจากการใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการบริโภคและการผลิตของมนุษย พิจารณาไดจาก เมื่อการใชประโยชนดานใดดานหนึ่งเริ่มมีขอจํากัดเกิดขึ้นขอจํากัดดังกลาวจะเปนดัชนีที่บงชี้ถึงภาวการณเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางดานปริมาณและคุณภาพจากที่เคยเปนกับภาวะที่เปนอยูจริง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ 9 (2545-2549) ไดนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเปนแนวทางโดยยุทธศาสตรดานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมไดใหความสําคัญกับการปรับกลไกและกระบวนการจัดการเชิงบูรณาการที่เนนการมีสวนรวมของทองถิ่นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยใหมีจิตสํานึกในการอนุรักษสภาพแวดลอมของชาติและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใชกฎหมายที่ประชาชนมีสวนรวมในการบริหารจัดการ
จากการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในเทศบาลตำบลสมเด็จ เมื่อปี พ.ศ. 2561 พบว่า ปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่ง ซึ่งข้อเสนอปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่
(1) การไม่มีท่อระบายน้ำหรือท่อระบายน้ำชํารุด ทําให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังจากน้ำทิ้งและน้ำเสียที่ใช้ตามบ้านเรือน ร้านค้า โรงงานขนาดเล็ก รวมทั้งมีน้ำท่วมขังจากสภาวะฝนตก ท่อระบายน้ำ และรางระบายน้ำ เนื่องด้วยลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตําบลสมเด็จ มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับเนิน และการถมดินที่สูงมากในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน รวมทั้งการวางผังเมืองที่ไม่ได้วางระบบการไหลของน้ำที่เกิดจากการใช้ในบ้านเรือน ร้านค้า โรงงาน และน้ำฝน ดังนั้น ปัญหาน้ำเน่าเสียและท่วมขังจึงเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งมีปริมาณน้ำท่วมขังมาก อันส่งผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตของประชาชนอย่างไรก็ตามการก่อสร้างถนนของเทศบาลในอดีตไม่ได้ก่อสร้างท่อระบายน้ำพร้อมกันไปด้วย ทําให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังจากครัวเรือน ร้านค้าโดยทั่วไปและจากการขยายตัวของเมืองที่ออกไปสู่รอบนอกซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่นา
(2) ปัญหาเรื่องความสะอาด ปัญหาขยะตกค้าง ถังขยะมีไม่ถั่วถึง ทิ้งขยะไม่เป็นระเบียบ การที่ประชาชนนอกเขตเทศบาลนําขยะเข้ามาทิ้งในพื้นที่เขตเทศบาลเป็นจํานวนมากทําให้เทศบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการกําจัดขยะ ความสะอาด เทศบาลตําบลสมเด็จเป็นท้องถิ่นเป็นชุมชนที่มีความหนาแน่นและแออัด จํานวนประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่ค่อนข้างสูง ทําให้ขยะที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจําวันมีจํานวนมากตามขึ้นไปด้วย ประกอบกับประชาชนของท้องถิ่นรอบนอกได้นําขยะเข้ามาทิ้งในเขตพื้นที่ของเทศบาล เมื่อขยะมูลฝอยมีจํานวนเพิ่มขึ้น ทําให้ส่งผลกระทบต่อการรักษาความสะอาดของชุมชน เกิดขยะตกค้างมากโดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นชุมชนหนาแน่น เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านเรือน ร้านค้า และตลาดสด
จากปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมชุมชน ดังที่กล่าวมาข้างต้น หากให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดชอบแก้ปัญหาเพียงฝ่ายเดียวจะจะไม่สามารถทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้ การพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งจึงต้องสนับสนุนให้ชุมชนรู้เท่าทันสถานการณ์สิ่งแวดล้อมตามบริบทของพื้นที่ และสามารถจัดการปัญหาหรือความเสี่ยงสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนและก่อเกิดของการมีส่วนร่วมในชุมชน เกิดนวัตกรรมชุมชนที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชนอื่น ๆ เกิดการสร้างภาคีเครือข่ายการทำงาน สำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือการที่ประชาชนในชุมชนมีความร่วมมือร่วมใจกันในการควบคุมการใช้และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน โดยมีส่วนร่วมตั้งแต่การศึกษาประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่มีในชุมชน การหาสาเหตุของปัญหา การกำหนดแนวทางแก้ไข ปัญหา และแนวทางในการป้องกันปัญหา การตัดสินใจและการดำเนินการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมของชุมชน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายในการช่วยกันแก้ไขปัญหา จะสามารถนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต ซึ่งการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดตั้งแต่การดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกำหนดปัญหา วางแผนตัดสินใจ ระดมทรัพยากรบริหารจัดการ ติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงกับความต้องการของคนในชุมชนอันจะสร้างความเข้มแข็งจากภายใน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

รายละเอียดโครงการ/หลักการและเหตุผล

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ประเมินคุณค่าโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้นผลที่เกิดขึ้น
1 เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
2 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
4 การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
5 เกิดกระบวนการชุมชน
6 มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 17:12 น.